แท็ก
ภาคใต้
นายโกมล ชอบชื่นชม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเปิดเผยผลการสำรวจภาวะธุรกิจของภาคใต้ พบว่า ภาวะธุรกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก โดยเฉพาะในหมวดการค้า สถาบันการเงิน และธุรกิจโรงแรม รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะธุรกิจก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ส่วนไตรมาสที่ 3 คาดว่าภาวะธุรกิจจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยบวกในไตรมาสที่ 2 ส่งผลต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานผลการสำรวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2/2545 และคาดการณ์แนวโน้มภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 3/2545 โดยการวิเคราะห์จากแบบสอบถามผู้ประกอบการตามสาขาการผลิตที่สำคัญ อาทิ สาขาอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน การค้า และการบริการ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลการสำรวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เห็นว่า ภาวะธุรกิจโดยรวมดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 โดยปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ คือ สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไป แม้ว่าจะมีบางปัจจัย อาทิ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน ผลประกอบการสุทธิของธุรกิจ และบรรยากาศทางการเมือง ที่ส่งผลทางลบต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่ 1/2545 ก็ตาม นอกจากนี้แล้วยังพบว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาวะธุรกิจ
หากจำแนกภาวะธุรกิจตามสาขาการผลิตที่สำคัญ พบว่า สาขาอุตสาหกรรมอยู่ในภาวะแย่ลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 ซึ่งปัจจัยทางลบที่ส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรม คือ ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน คำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต ยอดขาย ผลประกอบการ การใช้กำลังการผลิต การส่งออกและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของภาคใต้ให้แย่ลงไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ส่วนสถาบันการเงินนั้น พบว่าภาวะธุรกิจสถาบันการเงินอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป การปล่อยสินเชื่อภายในประเทศ รายได้จากค่าบริการ และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อธุรกิจ คือ ผลจากอัตราการแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
สำหรับสาขาการค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าภาวะการค้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 โดยพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ คือ สภาพคล่องทางการเงิน ผลประกอบการสุทธิของธุรกิจ ขีดความสามารถในการแข่งขัน คำสั่งซื้อ และยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลทางลบคือ ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน บรรยากาศทางการเมือง และราคาขายที่ลดลง
ส่วนในสาขาบริการ พบว่า ภาวะธุรกิจภัตตาคารแย่ลง โดยมีปัจจัยส่วนใหญ่ที่ส่งผลทางลบต่อธุรกิจคือ สภาพคล่องทางการเงิน ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยนผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป บรรยากาศทางการเมือง รายได้ จำนวนโต๊ะว่าง รวมทั้งจำนวนแขกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ในขณะที่ภาวะธุรกิจโรงแรมดีขึ้นโดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นผลมาจากปัจจัยทางบวกคือ สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป รายได้ ปริมาณการจองห้องพัก และจำนวนแขกภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางลบก็คือ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ผลประกอบการสุทธิ บรรยากาศทางการเมือง จำนวนแขกต่างประเทศ และรายได้อื่น ๆ นอกจากค่าที่พักลดลง
รองเลขาธาการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีผลมาจากปัจจัยบวกในไตรมาสที่ 2 ที่ส่งผลต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 เช่น สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ขีดความสามารถในการแข่งขัน และบรรยากาศทางการเมือง อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยบางรายการที่ส่งผลลบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และผลประกอบการสุทธิ
นอกจากนี้แล้ว ผู้ประกอบการยังได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจภาคใต้ที่น่าสนใจไว้หลายประการ กล่าวคือ รัฐควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของภาคธุรกิจอย่างจริงจัง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งมีมาตรการที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ในการสร้างงานสร้างรายได้อย่างจริงจัง ควรมีการปรับปรุงกฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้คล่องตัว ทันกับสถานการณ์ ปัจจุบัน โดยเฉพาะกฎระเบียบทางภาษีที่เคร่งครัดเกินไป ไม่เป็นธรรม และไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานผลการสำรวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2/2545 และคาดการณ์แนวโน้มภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 3/2545 โดยการวิเคราะห์จากแบบสอบถามผู้ประกอบการตามสาขาการผลิตที่สำคัญ อาทิ สาขาอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน การค้า และการบริการ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลการสำรวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เห็นว่า ภาวะธุรกิจโดยรวมดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 โดยปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ คือ สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไป แม้ว่าจะมีบางปัจจัย อาทิ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน ผลประกอบการสุทธิของธุรกิจ และบรรยากาศทางการเมือง ที่ส่งผลทางลบต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่ 1/2545 ก็ตาม นอกจากนี้แล้วยังพบว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาวะธุรกิจ
หากจำแนกภาวะธุรกิจตามสาขาการผลิตที่สำคัญ พบว่า สาขาอุตสาหกรรมอยู่ในภาวะแย่ลง เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 ซึ่งปัจจัยทางลบที่ส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรม คือ ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน คำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต ยอดขาย ผลประกอบการ การใช้กำลังการผลิต การส่งออกและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของภาคใต้ให้แย่ลงไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพารา อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเลและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ส่วนสถาบันการเงินนั้น พบว่าภาวะธุรกิจสถาบันการเงินอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป การปล่อยสินเชื่อภายในประเทศ รายได้จากค่าบริการ และสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อธุรกิจ คือ ผลจากอัตราการแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
สำหรับสาขาการค้า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าภาวะการค้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2545 โดยพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อธุรกิจ คือ สภาพคล่องทางการเงิน ผลประกอบการสุทธิของธุรกิจ ขีดความสามารถในการแข่งขัน คำสั่งซื้อ และยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลทางลบคือ ต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยน บรรยากาศทางการเมือง และราคาขายที่ลดลง
ส่วนในสาขาบริการ พบว่า ภาวะธุรกิจภัตตาคารแย่ลง โดยมีปัจจัยส่วนใหญ่ที่ส่งผลทางลบต่อธุรกิจคือ สภาพคล่องทางการเงิน ต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ผลของอัตราการแลกเปลี่ยนผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป บรรยากาศทางการเมือง รายได้ จำนวนโต๊ะว่าง รวมทั้งจำนวนแขกทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลดลง ในขณะที่ภาวะธุรกิจโรงแรมดีขึ้นโดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นผลมาจากปัจจัยทางบวกคือ สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ผลประกอบการสุทธิ ภาวะเศรษฐกิจทั่วไป รายได้ ปริมาณการจองห้องพัก และจำนวนแขกภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางลบก็คือ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ผลประกอบการสุทธิ บรรยากาศทางการเมือง จำนวนแขกต่างประเทศ และรายได้อื่น ๆ นอกจากค่าที่พักลดลง
รองเลขาธาการฯ กล่าวต่อไปว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีผลมาจากปัจจัยบวกในไตรมาสที่ 2 ที่ส่งผลต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 เช่น สภาพคล่องทางการเงิน การลงทุน ขีดความสามารถในการแข่งขัน และบรรยากาศทางการเมือง อย่างไรก็ตามยังคงมีปัจจัยบางรายการที่ส่งผลลบต่อธุรกิจอย่างต่อเนื่องเช่นกัน อาทิ ต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และผลประกอบการสุทธิ
นอกจากนี้แล้ว ผู้ประกอบการยังได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจภาคใต้ที่น่าสนใจไว้หลายประการ กล่าวคือ รัฐควรให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาของภาคธุรกิจอย่างจริงจัง และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งมีมาตรการที่ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ในการสร้างงานสร้างรายได้อย่างจริงจัง ควรมีการปรับปรุงกฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้คล่องตัว ทันกับสถานการณ์ ปัจจุบัน โดยเฉพาะกฎระเบียบทางภาษีที่เคร่งครัดเกินไป ไม่เป็นธรรม และไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกันมากขึ้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-