(ต่อ1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2545

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 24, 2002 08:49 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        ด้านการใช้จ่าย
การใช้จ่ายของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่แล้ว
เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลแล้ว การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 0.9 ปัจจัยสำคัญมาจากการ
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตร เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคา สินค้าเกษตร
รวมทั้งจำนวนผู้มีงานทำและค่าจ้างเฉลี่ยโดยเฉพาะในภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคการลงทุนด้านก่อสร้างเพิ่มสูง
ขึ้น ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้ประชาชนนำเงิน
ออกมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น
เมื่อพิจารณาเฉพาะการใช้จ่ายที่ไม่รวมคนไทยในต่างประเทศและคนต่างประเทศ ในประเทศไทย การใช้จ่ายเพื่อการ
อุปโภคของคนไทยในประเทศขยายตัวร้อยละ 4.1 สูงกว่าร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ
2544 2544 2545
(ร้อยละ) Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 3.1 3.1 3.5 3.0 2.8 3.7 4.2
หักหัก :- การใช้จ่ายของชาวต่างประเทศในประเทศ 2.8 5.0 7.3 -0.5 -0.3 4.2 5.5
การใช้การใช้จ่ายของครัวเรือนไม่รวมนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 3.1 2.9 3.1 3.3 3.1 3.6 4.1
บวก :+ การใช้จ่ายของคนไทยในต่างประเทศ 12.9 44.4 26.1 -9.0 -0.5 2.1 -3.9
การใช้จ่ายของครัวเรือนไทยทั้งหมด 3.4 3.8 3.9 2.9 3.0 3.6 3.8
หมวดสินค้าเกษตร ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.6 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณพืชผลออกสู่ตลาด จูงใจ
ให้เกิดการอุปโภคสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้น
หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ และเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว
เนื่องจากการบริโภคเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 สำหรับการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรแปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ
2.6 การอุปโภคเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ขณะที่การอุปโภคยาสูบลดลงร้อยละ 3.0
หมวดไฟฟ้าและประปา ขยายตัวร้อยละ 4.8 ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของ ครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เทียบกับร้อยละ
1.5 ในไตรมาสที่ผ่านมา สำหรับ ค่าใช้จ่ายน้ำประปาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 สูงกว่าร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้านี้
หมวดยานพาหนะ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ 25.1 เทียบกับร้อยละ 20.8 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณ
จำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 และ 20.1 ตามลำดับ เป็นผลมาจากปัจจัยที่สำคัญ เช่น
การส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด การผ่อนคลายเงื่อนไขการชำระเงิน รวมทั้ง
อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ยอดจำหน่ายยานยนต์
2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
รถยนต์นั่ง (คัน) 104,559 20,818 25,941 26,422 31,378 24,446 33,296
อัตราเพิ่มร้อยละ 25.8 12.4 19.4 43.7 28.1 17.4 28.4
รถยนต์พาณิชย์ (คัน) 192,577 40,938 52,366 42,723 56,550 59,212 64,703
อัตราเพิ่มร้อยละ 7.5 12.9 14.2 -2.5 6.3 44.6 23.6
รถจักรยานยนต์ (พันคัน) 927 228 235 224 239 287 282
อัตราเพิ่มร้อยละ 16.4 5.5 17.1 24.1 20.6 25.6 20.1
ที่มา : สมาคมยานยนต์แห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย
หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักร เครื่องมือ ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 22.1 เป็นผลมาจากการส่งเสริม
การขาย ที่ให้มีการผ่อนชำระเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านระบบ การให้สินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแข่งขัน
ฟุตบอลโลกมีการซื้อโทรทัศน์เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีการติดตั้งเคเบิ้ลทีวีเพิ่มขึ้น
หมวดบริการขนส่งและสื่อสาร ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วโดยบริการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
ในขณะที่บริการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เนื่องจากมีผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหม่เข้าสู่ตลาด
ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการโดยลดราคาทั้งตัวเครื่องโทรศัพท์และ
อัตราค่าบริการ
ยอดจดทะเบียนเลขหมายโทรศัพท์
2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
โทรศัพท์พื้นฐาน* (พันเลขหมาย) 6,119 5,854 5,973 6,042 6,119 6,285 6,400
อัตราเพิ่มร้อยละ 7.8 8.1 8.4 8.1 7.8 7.3 7.1
จำนวนประชากร / เลขหมาย 10.3 10.7 10.5 10.4 10.3 10.1 9.9
โทรศัพท์เคลื่อนที่*(พันเลขหมาย) 8,008 4,423 5,331 6,492 8,008 9,951 12,337
อัตราเพิ่มร้อยละ 119.9 71.7 91.8 111.3 119.9 125.0 131.4
จำนวนประชากร / เลขหมาย 7.9 14.2 11.8 9.7 7.9 6.4 5.1
หมายเหตุ : * เป็นข้อมูล ณ วันสิ้นงวด
ที่มา : บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท)
การใช้จ่ายซื้อสินค้ายังคงขยายตัวต่อเนื่องขณะที่การใช้จ่ายซื้อบริการชะลอตัว
หมวดบริการโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 4.1 เป็นผลมาจากความ ร่วมมือของภาครัฐและเอกชน
ในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในประเทศไทย อาทิ การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
การจัดโครงการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว การขยายตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งการจัดโครงการเที่ยวทั่วไทย
ไปได้ทุกเดือน เพื่อจูงใจให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
เมื่อพิจารณาภาพรวมของการอุปโภคของครัวเรือนในตลาดภายในประเทศ พบว่า รายจ่ายเพื่อการอุปโภคอาหารและ
เครื่องดื่มของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 2.1 ส่วนรายจ่ายเพื่อการอุปโภคสินค้าและบริการอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 การอุปโภคสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 และบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
อัตราการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนในประเทศ
2544 2544 2545
(ร้อยละ) Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
การใช้จ่ายของครัวเรือนในประเทศ 3.1 3.1 3.5 3.0 2.8 3.7 4.2
อาหารและเครื่องดื่ม 3.6 4.2 4.2 3.4 2.5 3.1 2.1
อาหาร 1.9 2.6 1.6 1.2 1.9 2.1 2.5
เครื่องดื่ม 7.2 7.8 9.6 8.5 3.6 5.4 1.3
สินค้าและบริการอื่นๆ 2.9 2.6 3.2 2.8 2.9 3.9 5.2
สินค้า 2.3 1.7 2.5 2.6 2.2 3.6 6.9
บริการ 3.6 3.7 4.0 2.9 3.7 4.2 3.0
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลมีมูลค่า 146,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเบิกจ่าย
เงินของโครงการต่างๆ ภายใต้งบกลางส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายสำรอง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (58,000 ล้านบาท) ซึ่งได้มี
การเบิกจ่ายไปแล้วร้อยละ 17.1 ของวงเงินที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ดีรายจ่ายส่วนใหญ่ยังคงมาจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ค่าตอบแทนแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากเงินเดือน บำนาญ ประกอบกับมีการจ่ายเงินรางวัล
ประจำปีซึ่งจ่ายเป็นครั้งแรกในปีนี้จำนวน 2,798 ล้านบาท โดยได้เริ่มจ่ายบางส่วนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 เป็นต้นมา
ค่าซื้อสินค้าและบริการสุทธิลดลงร้อยละ 15.1 เนื่องจากค่าใช้จ่ายซื้อวัสดุ สินค้า และบริการ รวมทั้งค่าใช้จ่าย
เดินทางไปราชการลดลงมูลค่าที่แท้จริงของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลมีอัตราลดลงร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่มาจากค่า
ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการสุทธิที่ลดลงร้อยละ 15.4 ขณะที่ค่าตอบแทนแรงงานขยายตัวร้อยละ 3.1
การลงทุนรวมในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้น การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.8 โดยเฉพาะการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง
ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ การลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.8
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นหรือการลงทุน
การสะสมทุนรวมขยายตัวร้อยละ 7.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการลงทุนภาคเอกชนมี
สัดส่วนร้อยละ 69.8 ขยายตัวร้อยละ 9.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่งผลให้การลง
ทุนในภาคการก่อสร้างยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนการลงทุนภาครัฐซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 30.2 ขยายตัวเพียงร้อยละ
2.8 เนื่องจากในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการนำเข้าเครื่องบินจำนวน 2 ลำ
หากพิจารณาโดยไม่นับรวมเครื่องบินและอุปกรณ์การบินดังกล่าว การลงทุนรวมของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 13.7
อัตราการขยายตัวของการลงทุน
2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
ก่อสร้าง -0.5 -7.2 -8.7 5.2 10.5 5.6 16.5
ภาคเอกชน 10.1 9.4 5.8 9.5 16.3 21.9 18.3
ภาครัฐ -6.5 -15.0 -17.8 3.3 5.7 -4.1 15.0
เครื่องจักร 1.6 -2.0 14.9 -0.1 -5.2 2.1 2.8
ภาคเอกชน 3.7 11.1 5.1 -3.1 1.3 4.0 7.2
ภาครัฐ -6.9 -39.7 91.7 10.8 -33.3 -7.6 -16.1
มูลค่าการลงทุนรวม 0.8 -4.1 5.4 2.3 -0.2 3.5 7.6
ภาคเอกชน 5.1 10.8 5.3 0.0 4.5 7.8 9.8
ภาครัฐ -6.6 -24.1 5.9 5.3 -11.0 -5.1 2.8
การก่อสร้างภาคเอกชน
การก่อสร้างภาคเอกชน มีสัดส่วนร้อยละ 24.6 ของการลงทุนภาคเอกชน ปรับตัว ดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกัน
ของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 18.3 เป็นผลมาจากการก่อสร้างประเภทอาคารที่อยู่อาศัย และอาคารเพื่อการพาณิชย์
ซึ่งขยายตัวร้อยละ 32.8 และร้อยละ 24.7 ตามลำดับ
อัตราการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชน
2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2
อาคารที่อยู่อาศัย 25.4 30.4 19.5 24.4 28.7 39.4 32.8
อาคารโรงงาน 15.2 6.4 -0.7 18.9 40.8 16.0 0.3
อาคารเพื่อการพาณิชย์ -10.8 11.8 -2.8 -16.5 -29.8 11.0 24.7
อื่นๆ -7.7 -11.2 -6.8 -9.8 -2.3 2.0 3.6
รวม 10.1 9.4 5.8 9.5 16.3 21.9 18.3
การก่อสร้างภาครัฐ
การก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 15.0 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลา เดียวกันของปีที่แล้ว โดย
รัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นที่มีสัดส่วนร้อยละ 67.3 ของการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 12.5 เป็นผลมาจาก
การก่อสร้างของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ซึ่งเป็นการก่อ
สร้างในส่วนของสาธารณูปโภค เช่น ถนน บ่อน้ำ ระบบประปา เป็นต้น ส่วนการก่อสร้างของภาครัฐวิสาหกิจที่มีสัดส่วน
ร้อยละ 32.7 ของการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวของ ปีที่แล้ว เป็นผลมาจาก
การก่อสร้างของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชน
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.2 โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 75.4 ของการลงทุน
ภาคเอกชน ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินค้าทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดยานยนต์โดยเฉพาะรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ
การลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐ ลดลงร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว เป็นผลมาจาก
การลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรของรัฐวิสาหกิจ ที่มีสัดส่วนร้อยละ 79.0 ของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรภาครัฐลดลง
ร้อยละ 18.3 ส่วนรัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น มีสัดส่วนร้อยละ 21.0 ลดลงร้อยละ 6.5 โดยส่วนใหญ่ลดลงในหมวด
ครุภัณฑ์ของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
ส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ
มูลค่าส่วนเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือในราคาประจำปีเท่ากับ 2,550 ล้านบาท หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.2
ของ GDP ลดลงมากจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากสินค้าคงเหลือในภาคอุตสาหกรรมลดลงมาก ส่วนภาคเกษตรกรรมมี
สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น รายการที่สำคัญ คือ ข้าวนาปรัง ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลเพื่อแก้
ปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ
สำหรับการสะสมสินค้าคงเหลือในภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่แล้วมาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ น้ำตาล
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เนื่องจากมีการจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสินค้าบางรายการ เช่น
ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซิเมนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
อุปทานในสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่ ยังสูงกว่าด้านอุปสงค์ รวมทั้งภาวะการแข่งขันในด้านราคาและคุณภาพ ประกอบกับการส่ง
ออกชะลอลงตามการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศผู้นำเข้า
รายรับในรูปเงินบาทจากการส่งออกสินค้าหดตัว เนื่องจากราคาสินค้ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้า ณ ราคาประจำปี
รายการ 2544 2545
H1 H1 Q1 Q2
มูลค่า ณ ราคาประจำปี
1. การส่งออก (พันล้านบาท) 1,401 1,346 656 690
อัตราเพิ่มร้อยละ 15.1 -3.9 -5.2 -2.6
2. การนำเข้า (พันล้านบาท) 1,380 1,290 626 664
อัตราเพิ่มร้อยละ 24.4 -6.5 -9.2 -3.8
3. ดุลการค้า (พันล้านบาท) 21 56 30 26
มูลค่า ณ ราคาปีฐาน (2531)
4. การส่งออก (พันล้านบาท) 725 785 379 407
อัตราเพิ่มร้อยละ -2.6 8.4 3.9 12.9
5. การนำเข้า (พันล้านบาท) 569 602 286 317
อัตราเพิ่มร้อยละ -8.0 5.9 -0.9 12.8
6. อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอร์ลาร์ สรอ.) 44.3 43.3 43.7 42.8
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
การส่งออกสินค้าและบริการ
ปริมาณการส่งออกสินค้าในไตรมาสนี้ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่ผ่านมา
ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงหดตัวร้อยละ 2.6 เนื่องจากราคาเฉลี่ยสินค้าส่งออกโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่องจากการ
แข่งขัน สูงในตลาดโลก และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
รายรับทางด้านบริการ มีมูลค่า 150,861 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 จากรายรับนักท่องเที่ยวและบริการอื่นๆ
การนำเข้าสินค้าและบริการ
ปริมาณการนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 12.8 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าใน ไตรมาสนี้หดตัวร้อยละ 3.8
ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งลดลงร้อยละ 9.2 เนื่องจากราคาเฉลี่ยสินค้านำเข้าโดยรวมลดลง โดยมูลค่าสินค้านำเข้า
ที่เป็น สินค้าทุนที่หดตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหมวดเครื่องจักรกลและส่วนประกอบค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศ
มีมูลค่า 105,393 ล้านบาท ชะลอลงร้อยละ 11.1 ตามการชะลอตัวของค่าบริการอื่นๆ และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
ดุลการค้าและดุลบริการ
ในไตรมาสนี้ดุลการค้าเกินดุล 26,116 ล้านบาท เมื่อเทียบกับที่เกินดุล 30,282 ล้านบาทในไตรมาสที่ผ่านมา
ในขณะที่ดุลบริการเกินดุล 45,468 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ซึ่งเกินดุล 62,993 ล้านบาท เมื่อรวมดุลการค้าและ
บริการแล้วไตรมาสนี้เกินดุล 71,584 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 93,275 ล้านบาทในไตรมาสที่ผ่านมา
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ดัชนี
ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วทั้งสองรายการ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ