สศช.ร่วมกับ ททท. และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ หาแนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
เมื่อเร็วๆ นี้ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม เมอร์ชั่น คอร์ท กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประสานความคิดระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในทุกระดับและทุกภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนนำไปสู่การวางกรอบทิศทางการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศในอนาคต
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่นบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ รักษา และดูแลสภาพแวดล้อมของบริเวณแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม ดังนั้นการจัดทำแผนเรื่องการท่องเที่ยวจึงต้องมีความชัดเจน โดยต้องเน้นในเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้วมาใช้ผสมผสานกับทุนทางเศรษฐกิจที่เรามีอยู่ เช่น การนำวัฒนธรรมในท้องถิ่นมาเป็นจุดขายดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในการหาแนวทางการบริหรจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ 1) ความชัดเจนในการกำหนดนิยามการท่องเที่ยว 2) การวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว 3) การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และ 4) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการแก่หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งนี้การกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้น จะใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือผลการวิจัยที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ประกอบกับการประเมินศักยภาพด้านการตลาด ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
สำหรับการปรับปรุงมาตรฐานระบบบริการด้านการท่องเที่ยว ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานด้านการขนส่งและบริการภายในประเทศ การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวในทุกสาขา
นอกจากนี้ ในด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ควรให้องค์กรหรือกลุ่มในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรท้องถิ่น เพื่อรองรับบทบาทการมีส่วนร่วมดังกล่าว รวมทั้งมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อติดตามสถานการณ์ท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้มีความทันสมัย ตลอดจนมีการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
เมื่อเร็วๆ นี้ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม เมอร์ชั่น คอร์ท กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และประสานความคิดระหว่าง ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในทุกระดับและทุกภาคส่วนเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนนำไปสู่การวางกรอบทิศทางการลงทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศในอนาคต
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้น จะต้องสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่นบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ รักษา และดูแลสภาพแวดล้อมของบริเวณแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้เสื่อมโทรม ดังนั้นการจัดทำแผนเรื่องการท่องเที่ยวจึงต้องมีความชัดเจน โดยต้องเน้นในเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้วมาใช้ผสมผสานกับทุนทางเศรษฐกิจที่เรามีอยู่ เช่น การนำวัฒนธรรมในท้องถิ่นมาเป็นจุดขายดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในการหาแนวทางการบริหรจัดการโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้น สรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ 1) ความชัดเจนในการกำหนดนิยามการท่องเที่ยว 2) การวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว 3) การปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และ 4) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการแก่หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งนี้การกำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้น จะใช้ประโยชน์จากข้อมูล หรือผลการวิจัยที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ประกอบกับการประเมินศักยภาพด้านการตลาด ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ด้านการตลาด รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
สำหรับการปรับปรุงมาตรฐานระบบบริการด้านการท่องเที่ยว ควรมีการปรับปรุงมาตรฐานด้านการขนส่งและบริการภายในประเทศ การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวในทุกสาขา
นอกจากนี้ ในด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ควรให้องค์กรหรือกลุ่มในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พร้อมกับเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรท้องถิ่น เพื่อรองรับบทบาทการมีส่วนร่วมดังกล่าว รวมทั้งมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อติดตามสถานการณ์ท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้มีความทันสมัย ตลอดจนมีการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-