ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 3/2545

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 17, 2002 09:38 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาพรวม : GDP ยังคงขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น
เศรษฐกิจไทยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 3/45 ขยายตัวร้อยละ 5.8 สูงกว่า
ร้อยละ 5.1 ในไตรมาสที่ 2/45 โดยมีปัจจัยหลักมาจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายของครัว
เรือนที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 3.9 ในไตรมาสที่แล้ว การลงทุนขยายตัวร้อยละ 6.9 การส่งออกสินค้าและบริการ
ขยายตัวร้อยละ 14.0 และการนำเข้า
สินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 16.6 ส่วนรายจ่ายประจำของรัฐบาลลดลงร้อยละ 3.1 จากการลดลงของค่าซื้อ
สินค้าและบริการภาวะการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากผลผลิตภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.1 และภาคนอก
เกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยสาขาที่สำคัญได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.0 สาขาอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า
และกิจกรรมทางธุรกิจขยายตัวร้อยละ 5.4 สาขาการเงินขยายตัวร้อยละ 4.6 และสาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ
4.3 GDP ที่ปรับค่าดัชนีฤดูกาลขยายตัวร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากไตรมาสที่ 2/45 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.8
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
(ร้อยละ) 2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ภาคเกษตร 3.3 2.4 1.7 0.5 6.8 2.6 0.7 1.1
ภาคนอกเกษตร 1.8 1.5 1.9 1.9 1.9 4.0 5.6 6.2
GDP 1.9 1.6 1.9 1.8 2.5 3.9 5.1 5.8
GDP ปรับฤดูกาล 1.9 -0.6 0.5 0.3 2.0 0.9 1.8 1.0
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,343.1 พันล้านบาท หักค่าตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่าย
ไปต่างประเทศ 18.3 พันล้านบาท คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) เท่ากับ
1,324.8 พันล้านบาท มูลค่า GNP ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
ดุลการค้าและบริการ เกินดุล 97.9 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จาก ต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิซึ่งขาดดุล
11.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 86.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.5 ของ GDP เทียบกับร้อยละ 3.3 ใน
ไตรมาสที่แล้ว
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่แล้ว
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
ด้านการผลิต
ภาวะการผลิตในไตรมาสที่สาม ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีอัตราการขยายตัวรวมร้อยละ 5.8 สูงกว่าในไตรมาสที่สองที่มี
การขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.2 เป็นผลมาจากสาขาหลักคือ การผลิตของสาขา
อุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.0 เทียบกับร้อยละ 6.8 ในไตรมาสที่สอง ในขณะที่ภาคเกษตรการผลิตสูงขึ้นเล็กน้อยมีการ
ขยายตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 0.7 ในไตรมาสที่สอง
สาขาเกษตร
การผลิตสาขาเกษตรขยายตัวสูงกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยคือ ขยายตัวร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 0.7 โดยหมวด
พืชผลและปศุสัตว์มีการขยายตัวรวมร้อยละ 3.4 ในขณะที่หมวดประมงยังคงหดตัวต่อเนื่องอีกร้อยละ 8.8
หมวดพืชผล ขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของพืชหลักที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยางพารา มีการ
ขยายตัวสูงตามปริมาณส่งออกประกอบกับราคาปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ผลผลิตข้าวลดลงเนื่องจากภาวะแล้งในช่วงต้นฤดูเพาะปลูก
ทำให้ไม่สามารถปลูกข้าวได้ในหลายท้องที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในช่วงไตรมาสนี้
ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหาย
หมวดปศุสัตว์ หดตัวลงร้อยละ 1.0 เนื่องจากปริมาณส่งออกไก่เริ่มลดลงหลังจากขยายตัวในระดับสูงมาเป็นเวลา
หลายไตรมาสติดกัน อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตโคและสุกรยังคงขยายตัวตามความต้องการภายในประเทศ
หมวดประมง หดตัวร้อยละ 8.8 ตามปริมาณกุ้งส่งออกที่หดตัวลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2544 จากผลกระทบ
ของปัญหาการควบคุมการนำเข้าที่เข้มงวดของสหภาพยุโรป ในส่วนของปริมาณส่งออกปลาแช่แข็งในไตรมาสนี้หดตัวลงเช่นกัน
ระดับราคาสาขาเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.1 โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกและยางพาราซึ่งปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมา
จากนโยบายรับจำนำข้าวนาปีและผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย และนโยบายความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย มาเลเซีย และ
อินโดนีเซียในการรักษาระดับอุปทานของยางในตลาดโลกเพื่อดึงราคาในประเทศให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตามราคามันสำปะหลังลดลง
เนื่องจากผลผลิตมีมากเกินความต้องการ ราคาปศุสัตว์สำคัญได้แก่ สุกร ไก่ และไข่ไก่ มีราคาลดลง ในขณะที่ราคาโคและกระบือ
สูงขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตในไตรมาสที่สาม ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.0 สูงกว่าไตรมาสที่หนึ่งและไตรมาสที่สองที่ขยายตัวร้อยละ 4.1
และ ร้อยละ 6.8 ตามลำดับ เป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.8
ตามภาวะการส่งออกที่ดีขึ้นและความต้องการในประเทศที่สูงขึ้นในบางอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมวัตถุดิบมีการขยายตัวสูงขึ้น
ร้อยละ 9.8 เป็นการขยายตัวในหมวดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะที่อุตสาหกรรมเบาขยายตัวร้อยละ 2.7
อุตสาหกรรมสำคัญที่ทำให้การขยายตัวโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นประกอบด้วย อุตสาหกรรมอโลหะ อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรม
เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศน์และอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ
อัตราการขยายตัวสาขาอุตสาหกรรม
(ร้อยละ) 2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
อุตสาหกรรมเบา 2.2 1.6 1.5 2.7 3.2 2.0 4.7 2.7
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ 3.7 -1.6 6.4 5.1 4.6 7.1 4.6 9.8
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี -1.9 2.1 -2.5 -4.0 -2.8 5.0 11.6 15.8
อุตสาหกรรมรวม 1.4 1.1 1.7 0.8 1.6 4.1 6.8 9.0
อุตสาหกรรมเบา การผลิตขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 โดยอุตสาหกรรม
ที่สำคัญในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 7.1 ชะลอลงจากร้อยละ 14.8 ในไตรมาสที่แล้ว เป็นการชะลอตัว
ลงของอุตสาหกรรมอาหาร ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากอุตสาหกรรมสำคัญเช่น การผลิตอาหารทะเล และโรงสีข้าวมีการ
ผลิตลดลง ในขณะที่การผลิตเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 18.6 เป็นผลจากการขยายการผลิตสุราที่ขยายตัวร้อยละ 211.4 เพื่อชดเชย
สินค้าคงคลังที่ลดลงในปี 2544 รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของการผลิตสุราแช่และสุราพื้นบ้าน
อุตสาหกรรมยาสูบ การผลิตหดตัวลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากการจำหน่ายบุหรี่ที่ผลิตภายในประเทศหดตัวลง ในขณะที่การ
นำเข้าบุหรี่ต่างประเทศยังคงขยายตัวสูงขึ้น
อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง การผลิตลดลงร้อยละ 7.8 เนื่องจากการส่งออกเครื่องหนังหดตัวร้อยละ 6.3 และ
การส่งออกรองเท้าหดตัวลงร้อยละ 15.3
อุตสาหกรรมวัตถุดิบ การผลิตปรับตัวดีขึ้นโดยขยายตัวร้อยละ 9.8 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่มีการขยายตัวร้อยละ 4.6
เป็นการขยายตัวในหมวดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และเป็นผลจากการส่งออกที่ดีขึ้นในบางอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม
ที่สำคัญประกอบด้วย
อุตสาหกรรมอโลหะ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการขยายตัวร้อยละ 16.1 เป็นผลจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม
ปูนซีเมนต์ที่มีการขยายตัวร้อยละ 16.0 ตามการขยายตัวของการก่อสร้างภาคเอกชนที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมแก้ว
และกระจกขยายตัวร้อยละ 22.9 เป็นผลจากการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 86.2 เนื่องมาจากบางบริษัทได้รับคำสั่งซื้อเพิ่ม
เพื่อการส่งออกไปยังประเทศผู้ร่วมทุน ในขณะที่การแข่งขันในประเทศลดลงเนื่องจากการนำเข้ากระจกราคาถูกจากประเทศ
เพื่อนบ้านลดลง นอกจากนี้ การผลิตขวดแก้วเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการผลิตสุราแช่และสุราพื้นบ้าน
อุตสาหกรรมโลหะ ขยายตัวร้อยละ 23.9 เนื่องจากการขยายตัวของการก่อสร้าง และการนำเข้าเหล็กลดลงเนื่อง
จากราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
อุตสาหกรรมยางและพลาสติก ขยายตัวร้อยละ 13.9 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์และรถจักร
ยานยนต์ตามการผลิตของยานยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น และผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นเนื่องจากการส่งออกขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 19.7
อุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี ภาวะการผลิตดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.8 เทียบกับไตรมาสที่แล้วที่
ขยายตัวร้อยละ 11.6 เป็นผลมาจากภาวะการตลาดในประเทศที่ดีขึ้น ในบางอุตสาหกรรมประกอบกับการส่งออกสูงขึ้น อุตสาห-
กรรมสำคัญที่มีการขยายตัวสูง คือ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 32.9 เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยเฉพาะแผงวงจร
ไฟฟ้าที่ขยายตัวสูงตามการส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 38.2 ประกอบกับการผลิตหดตัวลงมากในปี 2544
โทรทัศน์ วิทยุและอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 34.9 เนื่องจากความต้องการในประเทศและการส่งออกที่สูงขึ้นถึงร้อยละ
31.2 โดยเฉพาะตลาดสำคัญเช่น สหรัฐอเมริกา
ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 23.0 เป็นการขยายตัวในส่วนของรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ที่มีการขยายตัวร้อยละ 73.5
สาเหตุจากการขยายตัวของตลาดในประเทศเนื่องจากมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และกลยุทธ์การแข่งขัน รวมถึงการส่งออกดีขึ้น
ในตลาดหลักเช่น ยุโรปและออสเตรเลีย
ยานยนต์อื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 47.6 เป็นผลจากการขยายตัวสูงของการผลิตจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 56.4 ตาม
ความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะสินค้าการเกษตรสำคัญบางประเภทราคาปรับตัวดีขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้สูง
ขึ้น
สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวร้อยละ 12.6 โดยการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขยายตัวสูงร้อยละ 12.2
เนื่องจากการผลิตก๊าซธรรมชาติขยายตัวร้อยละ 8.8 ในขณะที่น้ำมันดิบขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32.4 โดยการผลิตเพิ่มขึ้นจากแหล่ง
เบญจมาสเป็นสำคัญ นอกจากนี้มีการเปิดแหล่งการผลิตใหม่ 3 แหล่ง คือแหล่งมะลิวัน แหล่งสังขจาย เริ่มทำการผลิตในเดือน
มิถุนายน และแหล่งยะลา เริ่มทำการผลิตในเดือนพฤษภาคม สำหรับปริมาณการผลิตแร่ ขยายตัวร้อยละ 13.4 ชะลอตัวลงจาก
ไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากแร่ลิกไนต์ลดลง ในขณะที่หินปูนที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์เพิ่มขึ้น
สาขาก่อสร้าง มูลค่าเพิ่มที่เกิดจากภาคการก่อสร้างรวมอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากการก่อสร้างภาครัฐที่มีสัดส่วนร้อยละ 64.7
ของการก่อสร้างรวม หดตัวร้อยละ 10.0 ในขณะที่ภาคเอกชนที่มีสัดส่วนร้อยละ 35.3 ขยายตัวร้อยละ 25.6 โดยมาจากการ
ก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย อาคารเพื่อการพาณิชย์ และอาคารโรงงานที่เพิ่มขึ้น
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 โดยหมวดไฟฟ้า
ขยายตัวร้อยละ 3.3 ตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ขยายตัวชะลอลงตามความต้องการใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภท
ผู้ใช้ไฟ ยกเว้นกิจการขนาดกลางและใหญ่ขยายตัวสูงขึ้นตามภาวะการผลิตสาขาอุตสาหกรรม ส่วนหมวดประปา ขยายตัวร้อยละ
5.2 ในขณะที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ขยายตัวร้อยละ 8.8 ตามปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
อัตราขยายตัวของปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าจำแนกตามประเภทผู้ใช้
(ร้อยละ) 2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
ที่อยู่อาศัย 9.3 11.1 10.2 11.5 4.3 1.6 4.2 1.0
สัดส่วน 23.2 22.5 24.3 23.6 22.5 22.1 23.7 22.4
กิจการขนาดเล็ก 6.7 8.5 7.8 8.3 2.1 2.1 5.5 3.1
สัดส่วน 10.2 10.0 10.5 10.3 9.9 9.9 10.4 9.9
กิจการขนาดกลาง 3.9 5.9 5.3 2.6 1.8 2.1 3.7 4.0
สัดส่วน 20.1 20.2 20.0 20.1 20.3 19.9 19.5 19.6
กิจการขนาดใหญ่ 6.0 6.8 6.6 5.3 5.4 4.4 7.1 9.4
สัดส่วน 38.7 39.4 37.5 38.2 39.8 39.8 37.7 39.3
กิจการเฉพาะอย่าง 6.0 8.0 7.8 4.2 4.1 2.4 6.2 5.2
สัดส่วน 3.3 3.4 3.3 3.2 3.1 3.3 3.3 3.2
ส่วนราชการ 9.9 11.6 11.6 9.6 7.1 1.8 6.1 4.6
สัดส่วน 3.8 3.6 3.7 4.0 3.8 3.6 3.7 3.9
อื่นๆ -9.5 -14.4 -8.3 -0.3 -13.3 75.5 175.5 182.3
สัดส่วน 0.7 0.9 0.7 0.6 0.6 1.4 1.7 1.7
รวม 6.4 7.7 7.4 6.5 4.0 3.5 5.4 6.5
ที่มา : การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.3 สูงขึ้นเทียบกับร้อยละ 3.0 ในไตรมาสที่ 2 โดยการขนส่งเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.6 เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการขนส่งทางบกที่ขยายตัวร้อยละ 7.0 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงขึ้น สำหรับ
บริการโทรคมนาคมขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามผลประกอบการของกิจการโทรศัพท์และการสื่อสารที่มีรายรับเพิ่มสูงขึ้น
อัตราขยายตัวรายการสำคัญในสาขาคมนาคมขนส่ง
(ร้อยละ) 2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
การขนส่ง 3.8 6.4 6.1 4.4 -1.6 2.5 3.0 4.6
การขนส่งทางบก 1.5 -0.1 4.8 1.2 0.2 6.5 4.5 7.0
- ผู้โดยสาร 0.4 -2.4 7.9 -0.2 3.2 8.8 1.9 9.1
- สินค้า 2.6 2.1 2.0 2.5 3.8 4.5 7.1 5.0
กิจการโทรคมนาคม
ปริมาณการใช้โทรศัพท์ท้องถิ่น -5.1 7.6 0.8 -13.1 -14.8 -11.5 -4.8 3.3
ปริมาณการใช้โทรศัพท์ทางไกล 20.2 24.1 22.8 10.7 24.3 23.2 22.2 18.2
ที่มา : บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท)
สาขาค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 3.6 สูงกว่าไตรมาสที่สองที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เป็นผลจากการขยายสาขา
ของผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกสมัยใหม่และกลยุทธ์ส่งเสริมการขายผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลสูงขึ้น
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 4.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจาก
บริการภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 3.9 ส่วนบริการโรงแรมขยายตัวร้อยละ 5.3 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 จากร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่แล้ว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียเช่น มาเลเซีย เกาหลี ฮ่องกง
อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
(พันคน) 2544 2544 2545
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3
เอเชีย 5,786 1,443 1,401 1,459 1,483 1,675 1,572 1,537
ยุโรป 2,509 787 493 527 702 837 445 541
อเมริกา 683 203 166 143 171 176 147 154
อื่นๆ 1,084 252 258 311 262 209 265 337
รวม 10,062 2,686 2,318 2,440 2,618 2,897 2,429 2,569
อัตราเพิ่มร้อยละ 5.8 8.0 7.7 6.0 6.0 7.9 4.8 5.3
ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ยังมีต่อ)

แท็ก การส่งออก   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ