- สภาพคล่องทรงตัวในระดับสูงและธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมากตลอดสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นทุกประเภทยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ ปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากการประกาศอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ทำให้นักลงทุนเกรงว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราเร่งขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงตามเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ย.จะปรับลดลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนได้ไหลคืนกลับสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในเกณฑ์สูงในสัปดาห์ก่อนมีการนำสภาพคล่องกลับมาลงทุน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.21875 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.35 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 26,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการแถลงตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ตั๋วเงินคลัง ที่เปิดประมูลก่อนการแถลงตัวเลขเงินเฟ้อมีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 6,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 20,500 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 63,509 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,403 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มสูงขึ้นมากหลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกันยายนที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี และ ธปท. ประกาศว่าจะยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนจึงเกรงว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เร่งขึ้นกว่าปกติในการประชุมครั้งหน้า ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-59 basis points และดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 225 และ 118 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีผู้บริหารของ Fed หลายรายได้ออกมาแสดงความเห็นว่า Fed จะต้องดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นการตอกย้ำแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุเพิ่มขึ้น 1-20 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 26 - 30 ก.ย. 48 41.12
3 ต.ค. 48 41.10
4 ต.ค. 48 41.07
5 ต.ค. 48 41.01
6 ต.ค. 48 40.93
7 ต.ค. 48 40.81
เฉลี่ย 3 - 7 ต.ค. 48 40.99
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนซึ่งถูกกดดันจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Tankan) ของญี่ปุ่นที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นหลังจากมีสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ทั้งจากตัวเลขภาคผลิตที่แข็งแกร่ง และท่าทีสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินรูเปียอินโดนีเซียที่แข็งค่าขึ้นหลังจากมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. เร่งตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับร้อยละ 6 รวมถึงการยืนยันจาก ธปท. ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีข่าวการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ของธนาคารกลางบางประเทศ ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ย. จะออกมาต่ำกว่าเดือน ส.ค. เป็นจำนวนมากจากผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย. ที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 7 ต.ค. ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุ ปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากการประกาศอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ทำให้นักลงทุนเกรงว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราเร่งขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงตามเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางแข็งค่าขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ปรับอ่อนค่าลงหลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ย.จะปรับลดลง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงตลอดสัปดาห์ เนื่องจากสภาพคล่องบางส่วนได้ไหลคืนกลับสู่ระบบหลังจากผ่านพ้นช่วงสิ้นเดือน โดยธนาคารพาณิชย์ที่มีการดำรงเงินสดสำรองในเกณฑ์สูงในสัปดาห์ก่อนมีการนำสภาพคล่องกลับมาลงทุน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการสำรองเงินเพื่อการปิดสภาพคล่องรายปักษ์ในวันศุกร์มาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 7 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 และ 3.25 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.21875 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 3 - 3.35 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 26,500 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 3,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 วัน 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 17,000 ล้านบาท โดยพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมาก ตอบรับการแถลงตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ตั๋วเงินคลัง ที่เปิดประมูลก่อนการแถลงตัวเลขเงินเฟ้อมีอัตราผลตอบแทนลดลง ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 6,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 20,500 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 63,509 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,403 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.5 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 74 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) เพิ่มสูงขึ้นมากหลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนกันยายนที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี และ ธปท. ประกาศว่าจะยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนจึงเกรงว่า ธปท. อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เร่งขึ้นกว่าปกติในการประชุมครั้งหน้า ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 19-59 basis points และดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 225 และ 118 basis points ตามลำดับ
สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีผู้บริหารของ Fed หลายรายได้ออกมาแสดงความเห็นว่า Fed จะต้องดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นการตอกย้ำแนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุเพิ่มขึ้น 1-20 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 26 - 30 ก.ย. 48 41.12
3 ต.ค. 48 41.10
4 ต.ค. 48 41.07
5 ต.ค. 48 41.01
6 ต.ค. 48 40.93
7 ต.ค. 48 40.81
เฉลี่ย 3 - 7 ต.ค. 48 40.99
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.99 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยในช่วงต้นสัปดาห์เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนซึ่งถูกกดดันจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Tankan) ของญี่ปุ่นที่ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นหลังจากมีสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ทั้งจากตัวเลขภาคผลิตที่แข็งแกร่ง และท่าทีสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินรูเปียอินโดนีเซียที่แข็งค่าขึ้นหลังจากมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนค่าเงินบาทจากการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. เร่งตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับร้อยละ 6 รวมถึงการยืนยันจาก ธปท. ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อและทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลงในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีข่าวการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ของธนาคารกลางบางประเทศ ประกอบกับนักลงทุนคาดการณ์ว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ย. จะออกมาต่ำกว่าเดือน ส.ค. เป็นจำนวนมากจากผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ย. ที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 7 ต.ค. ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนเงินดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-