3.5 ภาวะการเงิน
(1) สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย : สภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ย ธพ. ลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
สภาพคล่องโดยรวม
ในระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์สูงเป็นส่วนใหญ่ โดยสาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลระหว่างสินเชื่อกับเงินฝากที่มีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเงินทุนไหลเข้าส่วนหนึ่งมาลงทุนในเงินบาทเพื่อทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นในช่วงที่ภาคธุรกิจต้องเตรียมเงินชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี แต่เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ และหลังจากการชำระภาษีแล้ว สภาพคล่องก็กลับเพิ่มขึ้นจากเงินฝากของรัฐบาลเข้าสู่สถาบันการเงินอีกรอบหนึ่งการลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตรยังคงเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 10 พันล้านบาทตลอดไตรมาส โดยความต้องการลงทุนหนาแน่นในประเภท 1 วัน และ 14 วัน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิ ณ สิ้นไตรมาส 310.9 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสสองอีก 55.3 พันล้านบาท และนับตั้งแต่ต้นปีธนาคารพาณิชย์ปรับสภาพคล่องส่วนเกินโดยลงทุนในตลาดซื้อคืนสูงถึง 216.3 พันล้านบาท สำหรับสถาบันการเงินอื่นมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินไม่มากนักเนื่องจากสามารถขยายสินเชื่อได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์ ฐานะการลงทุนในตลาดซื้อคืนจึงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วอีก 24.8 พันล้านบาท และมูลค่าสะสมในช่วง 9 เดือนลดลงจากต้นปี 17.6 พันล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
มีค่าเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 50 basis points ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างทรงตัวตลอดไตรมาส เนื่องจากสภาพคล่องใน ระบบการเงินที่อยู่ในเกณฑ์สูง โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วันปิดคงที่ที่ร้อยละ 1.125 และ 1.25 ต่อปีตลอดทั้งไตรมาส สำหรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 1 วันเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ระหว่างร้อยละ 1.09375-1.125 และมีค่าเฉลี่ยในแต่เดือนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืนเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.75-1.25 และมีค่าเฉลี่ยรายเดือนสูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคมเป็นลำดับ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ประเภทมีค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนเท่ากันที่ร้อยละ 1.10 ต่อปี
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในไตรมาสนี้ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เกิดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศยังเป็นปัจจัยเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในปัจจุบันยังคงเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรให้คงนโยบายการเงินผ่อนคลายและคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ14 วันไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ปรับลดลงอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง และการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนในระดับที่ค่อนข้างมากกระทบกับรายได้ของธนาคารพาณิชย์ซึ่งลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะสั้นเป็นมูลค่าสูงซึ่งในครั้งนี้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพียงเล็กน้อยเนื่องจากอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) อยู่ในระดับติดลบแล้ว ในขณะที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปี ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.875 และ 1.125 ต่อปี ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 1.0 และร้อยละ 1.25 ต่อปีในไตรมาสสองอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.625 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจริงลดลงน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประกาศ รวมทั้งลดลงน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายจริงด้วย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจริงของธนาคารพาณิชย์ไทยสูงขึ้นจากร้อยละ 2.71 ในไตรมาสสองเป็นร้อยละ 2.78 ในไตรมาสนี้
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องทำให้เริ่มมีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่จากสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่มากในปัจจุบัน ทำให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ชะลอการลดดอกเบี้ยไว้ในช่วงไตรมาสสาม ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีกเล็กน้อยในเดือนตุลาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งจึงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ
(2) ฐานเงินและปริมาณเงิน : ฐานเงินขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเงิน M2a เพิ่มขึ้นเป็นลำดับและมีอัตราขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ฐานเงิน เพิ่มขึ้นจาก 609.3 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 2 เป็น 616.4 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือของภาคเอกชนมูลค่า 6.7 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงใน 2 เดือนแรกก่อนเพิ่มขึ้นในเดือนสุดท้าย และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 ฐานเงินขยายตัวร้อยละ 7.3 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำลงจากไตรมาสสอง โดยเงินสดในมือสถาบันการเงินและภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.9 การเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานของฐานเงินที่สำคัญ ได้แก่ สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อสุทธิที่ให้แก่รัฐบาลมีมูลค่าลดลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเงินฝากของรัฐบาลที่ ธปท. นอกจากนี้ สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินยังมีมูลค่าลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินเพิ่มการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร และลงทุนในพันธบัตร ธปท.เพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกิน รวมทั้งสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่ ธปท. ให้ผ่านสถาบันการเงินลดลงจากไตรมาสสองเล็กน้อย แต่ยังคงสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว 111.5 พันล้านบาทปริมาณเงิน M2a เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดไตรมาสรวม 58.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราการขยายตัวในช่วง 2 เดือนแรกค่อนข้างต่ำ เป็นผลจากการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชน แต่ในเดือนกันยายน M2a ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 เนื่องจากฐานในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วต่ำลงเพราะมีการถอนเงินฝากธนาคารไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์เป็นจำนวนมาก
ในเดือนตุลาคม ฐานเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนร้อยละ 1.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.7 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้แก่รัฐบาลและสถาบันการเงิน สำหรับ M2a ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนกันยายน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าช่วงก่อนที่จะมีการถอนเงินฝากไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ และเป็นอัตราขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(3) ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน : ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเงินทุนไหลเข้าทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงิน (11 ก.ย.) ทำให้เงินบาทอ่อนลงเพียงระยะสั้น ๆ
ค่าเงินสกุลเอเชีย เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนลงในช่วงต้นไตรมาส หลังจากนั้นมีการปรับตัวแข็งขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงเงินเยนที่แข็งขึ้น และกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค แม้แต่ดอลลาร์ฮ่องกงซึ่งใช้ระบบ Currency Board ก็มีค่าแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาสหลังจากมีความพยายามผลักดันจากกลุ่มประเทศ G7 ให้ประเทศในเอเชียปล่อยให้ค่าเงินยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ ยกเว้นริงกิตมาเลเซียที่ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตลอดทั้งไตรมาส
เงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่มีค่าแข็งขึ้นเดือนเมษายนและพฤษภาคม หลังจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค SARS และมีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก กลับอ่อนตัวลงในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสสาม เป็นผลจากการปรับช่วงเคลื่อนไหวของค่าเงิน การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของรัฐบาลรวมทั้งสถานการณ์ไม่สงบในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาสดอลลาร์สิงคโปร์เริ่มแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยน การไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการมีการปรับตัวดีขึ้น
เงินรูเปียอินโดนีเซียมีทิศทางอ่อนลง เมื่อธนาคารกลางเข้าแทรกแซงค่าเงินในช่วงต้นไตรมาสเนื่องจากค่าเงินแข็งขึ้นค่อนข้างมากในไตรมาสสอง และลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง หลังจากนั้น ค่าเงินถูกกดดันจากสถานการณ์ไม่สงบภายในประเทศ มีการลอบวางระเบิดโรงแรม JW Marriott กลางกรุงจาการ์ตา และการจับกุมผู้สอนศาสนาอิสลามในข้อหากบฏ แต่เมื่อค่าเงินอ่อนลงมากธนาคารกลางได้เข้าแทรกแซงอีกครั้งในช่วงปลายไตรมาส ประกอบกับ Moody's ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของอินโดนีเซียจาก B3 เป็น B2 ช่วยให้ค่าเงินรูเปียแข็งขึ้นเล็กน้อยในเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม
เงินเปโซฟิลิปปินส์มีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเป็นลำดับตลอดไตรมาส แม้จะมีปัจจัยหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าและการขาดดุลงบประมาณในช่วงครึ่งแรกของปีน้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีเงินสำหรับใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้มากขึ้น แต่ค่าเงินเปโซถูกกดดันให้อ่อนลงทั้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่การส่งออกที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และปัญหาความไม่สงบใน ประเทศ มีความพยายามล้มล้างอำนาจประธานาธิบดี และข่าวการสั่งพักราชการผู้ว่าการธนาคารกลางจากคดีการปิดบังข้อมูลธนาคารพาณิชย์ในปี 2543 แต่การอ่อนค่าของเงินถูกจำกัดโดยการเข้าดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารกลางในช่วงปลายไตรมาส มีการควบคุมการเก็งกำไรค่าเงินโดยออกมาตรการปรามผู้มีถิ่นฐานในประเทศไม่ให้ซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าการประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2547 ของนางอาโรโยจะสั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง และกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน อาจเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินในระยะต่อไป
ค่าเงินบาท ในไตรมาสสอง เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 39.95--41.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ อัตราซื้อขายของธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยรายเดือนแข็งขึ้นจาก 41.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมิถุนายนเป็น 40.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน 2546 คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 2.8 และค่าเฉลี่ยของเงินบาทในไตรมาสสามเท่ากับ 41.27 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากไตรมาสสองร้อยละ 2.2 และจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.8 สำหรับในช่วง 9 เดือนเงินบาทมีค่าเฉลี่ยที่ 42.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2545
ในช่วงสัปดาห์แรกของไตรมาส ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นต่อเนื่องจากปลายไตรมาสสอง โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น และเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง แต่ค่าเฉลี่ยเงินบาทในเดือนกรกฎาคมอ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งขึ้นเมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และจะทรงดอกเบี้ยที่ต่ำไว้จนกว่าการฟื้นตัวจะแข็งแกร่ง และปัจจัยในประเทศ ได้แก่การขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินโดยขยายเวลาให้นิติบุคคลฝากเงินในบัญชีสกุลเงินต่างประเทศจาก 3 เป็น 6 เดือน และให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภท (บริษัทประกันชีวิต กบข. กองทุนประกันสังคม กองทุนรวมที่ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น) ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ สำหรับวินาศกรรมในอินโดนีเซียที่กดดันค่าเงินในภูมิภาค มีผลต่อค่าเงินบาทเพียงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนสิงหาคม
ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งขึ้นอย่างค่อนข้างรวดเร็วในครึ่งหลังของไตรมาส ตามเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งแรงกดดันจากกลุ่ม G7 ให้ญี่ปุ่นลดการแทรกแซงค่าเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออก ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่แข็งแกร่ง มีการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันต่าง ๆ โดย Moody's ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ 4 ธนาคารใหญ่ และ Fitch Rating ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของไทยทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ จึงมีเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และลงทุนระยะสั้นในเงินบาทเพื่อหาประโยชน์จากค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น โดย ธปท. ระบุว่ามีเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรในเงินบาทสูงถึง 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน จากระดับปกติที่มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณเดือนละ 900 ล้านดอลลาร์ สรอ. จึงออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 11 กันยายน โดยจำกัดขอบเขตการกู้ยืมเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศจากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (NR) ก่อให้เกิดความกังวลที่อาจมีมาตรการดูแลเงินทุนเพิ่มเติมออกมาอีกโดยเฉพาะในด้านภาษี รวมทั้งมีการขายบาททำกำไรหลังจากที่แข็งขึ้นมาก ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนกันยายน แต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเงินบาท S&P ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนลงอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือน หลังจาก ธปท. ออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไร (14 ต.ค.) โดยจำกัดการฝากเงินในบัญชี NR และให้สถาบันการเงินงดจ่ายดอกเบี้ยให้กับบัญชี NR ทุกบัญชี ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งมีผลเหมือนเป็นการเก็บภาษีเงินทุนระยะสั้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงและเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ อย่างมีเสถียรภาพจนถึงเดือนพฤศจิกายน
เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ค่าเงินบาทเทียบกับปอนด์สเตอร์ลิงและยูโรแข็งขึ้นเป็นลำดับตลอดไตรมาส และค่าเฉลี่ยของไตรมาสแข็งขึ้นจากไตรมาสสองร้อยละ 2.8 และ 3.3 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจในเขตยูโรค่อนข้างอ่อนแอกว่าที่อื่น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ค่าเฉลี่ยเงินบาทเทียบกับทั้ง 2 สกุลอ่อนลงร้อยละ 2.0 และ 12.3 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเงินบาทเทียบกับเงินเยนแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสและอ่อนลงในเดือนสุดท้ายเมื่อเงินเยนแข็งขึ้นมาก แต่โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยในไตรมาสสามแข็งขึ้นจากไตรมาสสองและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 1.4 และ 0.3 ตามลำดับ
(4) เงินฝากและสินเชื่อ : สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวต่อเนื่อง สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของ ธพ. ทรงตัวประมาณร้อยละ 91 และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของบริษัทเงินทุนขยายตัวสูง
4.1 เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงปลายไตรมาสสองและต้นไตรมาสสาม ทำให้การเพิ่มขึ้นของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ชะลอลงมากในเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นกลับมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนมีมูลค่าคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 5,303.3 พันล้านบาท เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 40.4 พันล้านบาท ต่ำกว่า 2 ไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 72.7 และ 58.2 พันล้านบาทตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 เงินฝากขยายตัวต่ำในเดือนกรกฎาคมและลดลงในเดือนสิงหาคมเนื่องจากฐานเงินฝากในปีที่แล้วสูงจากการครบกำหนดไถ่ถอนบัตรเงินฝากของสถาบันการเงินและเงินฝากของลูกค้าเพื่อรอตัดบัญชีชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ และเงินฝากเริ่มขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนกันยายน หลังจากที่ขยายตัวต่ำมาตลอด 12 เดือน แม้จะมีการโยกย้ายเงินบางส่วนไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็ตามทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของฐานเปรียบเทียบรวมทั้งมีเงินฝากบางส่วนจากการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกและค่อนข้างทรงตัวในเดือนสุดท้าย มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 4,834.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสสอง 41.6 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อที่อยู่อาศัย และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.7-3.8 ในช่วง 2 เดือนแรกและชะลอลงเป็นร้อยละ 2.9 ในเดือนสุดท้าย อัตราขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสสอง ตามการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ และสาธารณูปโภค ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถระดมทุนโดยตรงได้มากขึ้น นอกจากนี้สินเชื่อที่ให้กับภาคธุรกิจการเงินยังมีมูลค่าลดลงเป็นลำดับ เป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงิน สำหรับสินเชื่อภาคธุรกิจสำคัญที่มีอัตราขยายตัวสูง ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการค้าส่งผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก และธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เมื่อบวกกลับการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ สินเชื่อคงค้างมีมูลค่า 5,593.9 พันล้านบาท ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2545 ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอยกเว้นในเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่อัตราขยายตัวลดลงเป็นร้อยละ 2.5
โครงสร้างเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสินเชื่อส่วนใหญ่ยังคงให้กับภาคธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต พาณิชย์ การบริการและสาธารณูปโภค รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ แต่สัดส่วนสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อรวมลดลงจากร้อยละ 76.4 ในปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการเงิน เป็นร้อยละ 64.2 ในไตรมาสสามของปีนี้ โดยธุรกิจในกลุ่มพาณิชย์ ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนลดลงค่อนข้างมากสินเชื่อส่วนบุคคลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.6 เป็นร้อยละ 13.5 จากการที่ธนาคารพาณิชย์หันมาให้ความสำคัญกับสินเชื่อส่วนนี้มากขึ้นในฐานะเป็นฐานรายได้ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี และมีความเสี่ยงไม่มากนัก ส่วนสินเชื่อที่ให้กับภาคธุรกิจการเงินมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งมาจากการโอนหนี้ด้อยคุณภาพให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์
จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนในระดับที่ใกล้เคียงกันทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากค่อนข้างทรงตัวอยู่ประมาณร้อยละ 91 ต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการเป็นตัวกลางทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ดีนัก ต้องอาศัยการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐและการลงทุนระยะสั้นในตลาดซื้อคืนเป็นช่องทางในการระบายสภาพคล่องส่วนเกินและหารายได้ ซึ่งในระยะต่อไปรายได้ในส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากอัตราผลตอบแทนในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำมาก ในขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ที่เริ่มมีทิศทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะส่งผลต่อราคาของตราสารและมูลค่าเงินลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดลดลงเมื่อ Mark to market ตามหลักการบัญชี อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการระดมทุนโดยออกหุ้นกู้ภาคเอกชนมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ขยับตัวขึ้น อาจเป็นโอกาสให้สามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นในปีหน้าและสภาพคล่องส่วนเกินจะลดลงได้เร็วขึ้น หากภาวะเศรษฐกิจและการผลิตขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
(ยังมีต่อ).../4.2 สินเชื่อของ..
(1) สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย : สภาพคล่องยังอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและอัตราดอกเบี้ย ธพ. ลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
สภาพคล่องโดยรวม
ในระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์สูงเป็นส่วนใหญ่ โดยสาเหตุหลักมาจากความไม่สมดุลระหว่างสินเชื่อกับเงินฝากที่มีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเงินทุนไหลเข้าส่วนหนึ่งมาลงทุนในเงินบาทเพื่อทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นในช่วงที่ภาคธุรกิจต้องเตรียมเงินชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี แต่เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ และหลังจากการชำระภาษีแล้ว สภาพคล่องก็กลับเพิ่มขึ้นจากเงินฝากของรัฐบาลเข้าสู่สถาบันการเงินอีกรอบหนึ่งการลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตรยังคงเพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 10 พันล้านบาทตลอดไตรมาส โดยความต้องการลงทุนหนาแน่นในประเภท 1 วัน และ 14 วัน ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิ ณ สิ้นไตรมาส 310.9 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสสองอีก 55.3 พันล้านบาท และนับตั้งแต่ต้นปีธนาคารพาณิชย์ปรับสภาพคล่องส่วนเกินโดยลงทุนในตลาดซื้อคืนสูงถึง 216.3 พันล้านบาท สำหรับสถาบันการเงินอื่นมีปัญหาสภาพคล่องส่วนเกินไม่มากนักเนื่องจากสามารถขยายสินเชื่อได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์ ฐานะการลงทุนในตลาดซื้อคืนจึงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วอีก 24.8 พันล้านบาท และมูลค่าสะสมในช่วง 9 เดือนลดลงจากต้นปี 17.6 พันล้านบาท
อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
มีค่าเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 50 basis points ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างทรงตัวตลอดไตรมาส เนื่องจากสภาพคล่องใน ระบบการเงินที่อยู่ในเกณฑ์สูง โดยอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 7 และ 14 วันปิดคงที่ที่ร้อยละ 1.125 และ 1.25 ต่อปีตลอดทั้งไตรมาส สำหรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนระยะ 1 วันเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ ระหว่างร้อยละ 1.09375-1.125 และมีค่าเฉลี่ยในแต่เดือนลดลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารประเภทข้ามคืนเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างร้อยละ 0.75-1.25 และมีค่าเฉลี่ยรายเดือนสูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคมเป็นลำดับ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยทั้ง 2 ประเภทมีค่าเฉลี่ยในเดือนกันยายนเท่ากันที่ร้อยละ 1.10 ต่อปี
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในไตรมาสนี้ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เกิดแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศยังเป็นปัจจัยเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในปัจจุบันยังคงเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ จึงเห็นควรให้คงนโยบายการเงินผ่อนคลายและคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ14 วันไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ปรับลดลงอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่สูง และการลดลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนในระดับที่ค่อนข้างมากกระทบกับรายได้ของธนาคารพาณิชย์ซึ่งลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะสั้นเป็นมูลค่าสูงซึ่งในครั้งนี้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพียงเล็กน้อยเนื่องจากอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate) อยู่ในระดับติดลบแล้ว ในขณะที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปี ทำให้ ณ สิ้นไตรมาส อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.875 และ 1.125 ต่อปี ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 1.0 และร้อยละ 1.25 ต่อปีในไตรมาสสองอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.625 ต่อปี แต่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจริงลดลงน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประกาศ รวมทั้งลดลงน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่จ่ายจริงด้วย ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจริงของธนาคารพาณิชย์ไทยสูงขึ้นจากร้อยละ 2.71 ในไตรมาสสองเป็นร้อยละ 2.78 ในไตรมาสนี้
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องทำให้เริ่มมีการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่จากสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังคงมีอยู่มากในปัจจุบัน ทำให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ชะลอการลดดอกเบี้ยไว้ในช่วงไตรมาสสาม ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีกเล็กน้อยในเดือนตุลาคม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่งจึงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.75 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ
(2) ฐานเงินและปริมาณเงิน : ฐานเงินขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเงิน M2a เพิ่มขึ้นเป็นลำดับและมีอัตราขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ฐานเงิน เพิ่มขึ้นจาก 609.3 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 2 เป็น 616.4 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือของภาคเอกชนมูลค่า 6.7 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงใน 2 เดือนแรกก่อนเพิ่มขึ้นในเดือนสุดท้าย และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 ฐานเงินขยายตัวร้อยละ 7.3 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำลงจากไตรมาสสอง โดยเงินสดในมือสถาบันการเงินและภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.9 การเปลี่ยนแปลงด้านอุปทานของฐานเงินที่สำคัญ ได้แก่ สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สินเชื่อสุทธิที่ให้แก่รัฐบาลมีมูลค่าลดลงเนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากของเงินฝากของรัฐบาลที่ ธปท. นอกจากนี้ สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่สถาบันการเงินยังมีมูลค่าลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินเพิ่มการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร และลงทุนในพันธบัตร ธปท.เพื่อปรับสภาพคล่องส่วนเกิน รวมทั้งสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่ ธปท. ให้ผ่านสถาบันการเงินลดลงจากไตรมาสสองเล็กน้อย แต่ยังคงสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว 111.5 พันล้านบาทปริมาณเงิน M2a เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตลอดไตรมาสรวม 58.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราการขยายตัวในช่วง 2 เดือนแรกค่อนข้างต่ำ เป็นผลจากการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชน แต่ในเดือนกันยายน M2a ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 เนื่องจากฐานในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วต่ำลงเพราะมีการถอนเงินฝากธนาคารไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์เป็นจำนวนมาก
ในเดือนตุลาคม ฐานเงินเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนร้อยละ 1.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 10.7 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้แก่รัฐบาลและสถาบันการเงิน สำหรับ M2a ขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนกันยายน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าช่วงก่อนที่จะมีการถอนเงินฝากไปลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ และเป็นอัตราขยายตัวที่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(3) ภาวะอัตราแลกเปลี่ยน : ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและเงินทุนไหลเข้าทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงิน (11 ก.ย.) ทำให้เงินบาทอ่อนลงเพียงระยะสั้น ๆ
ค่าเงินสกุลเอเชีย เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนลงในช่วงต้นไตรมาส หลังจากนั้นมีการปรับตัวแข็งขึ้นตามค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลงเงินเยนที่แข็งขึ้น และกระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ภูมิภาค แม้แต่ดอลลาร์ฮ่องกงซึ่งใช้ระบบ Currency Board ก็มีค่าแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายไตรมาสหลังจากมีความพยายามผลักดันจากกลุ่มประเทศ G7 ให้ประเทศในเอเชียปล่อยให้ค่าเงินยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งนี้ ยกเว้นริงกิตมาเลเซียที่ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตลอดทั้งไตรมาส
เงินดอลลาร์สิงคโปร์ที่มีค่าแข็งขึ้นเดือนเมษายนและพฤษภาคม หลังจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค SARS และมีเงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก กลับอ่อนตัวลงในช่วงครึ่งแรกของไตรมาสสาม เป็นผลจากการปรับช่วงเคลื่อนไหวของค่าเงิน การปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของรัฐบาลรวมทั้งสถานการณ์ไม่สงบในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาสดอลลาร์สิงคโปร์เริ่มแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยน การไหลเข้าของเงินทุนสู่ตลาดหลักทรัพย์ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ทั้งภาคอุตสาหกรรมและบริการมีการปรับตัวดีขึ้น
เงินรูเปียอินโดนีเซียมีทิศทางอ่อนลง เมื่อธนาคารกลางเข้าแทรกแซงค่าเงินในช่วงต้นไตรมาสเนื่องจากค่าเงินแข็งขึ้นค่อนข้างมากในไตรมาสสอง และลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง หลังจากนั้น ค่าเงินถูกกดดันจากสถานการณ์ไม่สงบภายในประเทศ มีการลอบวางระเบิดโรงแรม JW Marriott กลางกรุงจาการ์ตา และการจับกุมผู้สอนศาสนาอิสลามในข้อหากบฏ แต่เมื่อค่าเงินอ่อนลงมากธนาคารกลางได้เข้าแทรกแซงอีกครั้งในช่วงปลายไตรมาส ประกอบกับ Moody's ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของอินโดนีเซียจาก B3 เป็น B2 ช่วยให้ค่าเงินรูเปียแข็งขึ้นเล็กน้อยในเดือนกันยายนต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคม
เงินเปโซฟิลิปปินส์มีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเป็นลำดับตลอดไตรมาส แม้จะมีปัจจัยหนุนจากกระแสเงินทุนไหลเข้าและการขาดดุลงบประมาณในช่วงครึ่งแรกของปีน้อยกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีเงินสำหรับใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้มากขึ้น แต่ค่าเงินเปโซถูกกดดันให้อ่อนลงทั้งจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่การส่งออกที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และปัญหาความไม่สงบใน ประเทศ มีความพยายามล้มล้างอำนาจประธานาธิบดี และข่าวการสั่งพักราชการผู้ว่าการธนาคารกลางจากคดีการปิดบังข้อมูลธนาคารพาณิชย์ในปี 2543 แต่การอ่อนค่าของเงินถูกจำกัดโดยการเข้าดูแลอย่างใกล้ชิดของธนาคารกลางในช่วงปลายไตรมาส มีการควบคุมการเก็งกำไรค่าเงินโดยออกมาตรการปรามผู้มีถิ่นฐานในประเทศไม่ให้ซื้อดอลลาร์ สรอ. เพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าการประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2547 ของนางอาโรโยจะสั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง และกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน อาจเป็นปัจจัยกดดันค่าเงินในระยะต่อไป
ค่าเงินบาท ในไตรมาสสอง เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 39.95--41.53 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นส่วนใหญ่ อัตราซื้อขายของธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยรายเดือนแข็งขึ้นจาก 41.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมิถุนายนเป็น 40.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน 2546 คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 2.8 และค่าเฉลี่ยของเงินบาทในไตรมาสสามเท่ากับ 41.27 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากไตรมาสสองร้อยละ 2.2 และจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.8 สำหรับในช่วง 9 เดือนเงินบาทมีค่าเฉลี่ยที่ 42.05 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปี 2545
ในช่วงสัปดาห์แรกของไตรมาส ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นต่อเนื่องจากปลายไตรมาสสอง โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น และเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง แต่ค่าเฉลี่ยเงินบาทในเดือนกรกฎาคมอ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายน เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่แข็งขึ้นเมื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และจะทรงดอกเบี้ยที่ต่ำไว้จนกว่าการฟื้นตัวจะแข็งแกร่ง และปัจจัยในประเทศ ได้แก่การขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินโดยขยายเวลาให้นิติบุคคลฝากเงินในบัญชีสกุลเงินต่างประเทศจาก 3 เป็น 6 เดือน และให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภท (บริษัทประกันชีวิต กบข. กองทุนประกันสังคม กองทุนรวมที่ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น) ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ สำหรับวินาศกรรมในอินโดนีเซียที่กดดันค่าเงินในภูมิภาค มีผลต่อค่าเงินบาทเพียงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนสิงหาคม
ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งขึ้นอย่างค่อนข้างรวดเร็วในครึ่งหลังของไตรมาส ตามเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งแรงกดดันจากกลุ่ม G7 ให้ญี่ปุ่นลดการแทรกแซงค่าเงินเพื่อสนับสนุนการส่งออก ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่แข็งแกร่ง มีการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันต่าง ๆ โดย Moody's ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ 4 ธนาคารใหญ่ และ Fitch Rating ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของไทยทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศ จึงมีเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้น ทั้งเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และลงทุนระยะสั้นในเงินบาทเพื่อหาประโยชน์จากค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งขึ้น โดย ธปท. ระบุว่ามีเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรในเงินบาทสูงถึง 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกันยายน จากระดับปกติที่มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณเดือนละ 900 ล้านดอลลาร์ สรอ. จึงออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 11 กันยายน โดยจำกัดขอบเขตการกู้ยืมเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศจากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (NR) ก่อให้เกิดความกังวลที่อาจมีมาตรการดูแลเงินทุนเพิ่มเติมออกมาอีกโดยเฉพาะในด้านภาษี รวมทั้งมีการขายบาททำกำไรหลังจากที่แข็งขึ้นมาก ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเล็กน้อยในช่วงปลายเดือนกันยายน แต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเงินบาท S&P ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่สูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนลงอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือน หลังจาก ธปท. ออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไร (14 ต.ค.) โดยจำกัดการฝากเงินในบัญชี NR และให้สถาบันการเงินงดจ่ายดอกเบี้ยให้กับบัญชี NR ทุกบัญชี ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งมีผลเหมือนเป็นการเก็บภาษีเงินทุนระยะสั้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงและเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ๆ อย่างมีเสถียรภาพจนถึงเดือนพฤศจิกายน
เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ค่าเงินบาทเทียบกับปอนด์สเตอร์ลิงและยูโรแข็งขึ้นเป็นลำดับตลอดไตรมาส และค่าเฉลี่ยของไตรมาสแข็งขึ้นจากไตรมาสสองร้อยละ 2.8 และ 3.3 ตามลำดับ เนื่องจากเศรษฐกิจในเขตยูโรค่อนข้างอ่อนแอกว่าที่อื่น แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ค่าเฉลี่ยเงินบาทเทียบกับทั้ง 2 สกุลอ่อนลงร้อยละ 2.0 และ 12.3 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยเงินบาทเทียบกับเงินเยนแข็งขึ้นเล็กน้อยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสและอ่อนลงในเดือนสุดท้ายเมื่อเงินเยนแข็งขึ้นมาก แต่โดยรวมแล้วค่าเฉลี่ยในไตรมาสสามแข็งขึ้นจากไตรมาสสองและไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 1.4 และ 0.3 ตามลำดับ
(4) เงินฝากและสินเชื่อ : สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวต่อเนื่อง สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของ ธพ. ทรงตัวประมาณร้อยละ 91 และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจส่วนใหญ่ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของบริษัทเงินทุนขยายตัวสูง
4.1 เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงปลายไตรมาสสองและต้นไตรมาสสาม ทำให้การเพิ่มขึ้นของเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ชะลอลงมากในเดือนกรกฎาคม หลังจากนั้นกลับมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จนมีมูลค่าคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 5,303.3 พันล้านบาท เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 40.4 พันล้านบาท ต่ำกว่า 2 ไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 72.7 และ 58.2 พันล้านบาทตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 เงินฝากขยายตัวต่ำในเดือนกรกฎาคมและลดลงในเดือนสิงหาคมเนื่องจากฐานเงินฝากในปีที่แล้วสูงจากการครบกำหนดไถ่ถอนบัตรเงินฝากของสถาบันการเงินและเงินฝากของลูกค้าเพื่อรอตัดบัญชีชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์ และเงินฝากเริ่มขยายตัวสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนกันยายน หลังจากที่ขยายตัวต่ำมาตลอด 12 เดือน แม้จะมีการโยกย้ายเงินบางส่วนไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าก็ตามทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของฐานเปรียบเทียบรวมทั้งมีเงินฝากบางส่วนจากการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนธนาคารทหารไทย
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกและค่อนข้างทรงตัวในเดือนสุดท้าย มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 4,834.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสสอง 41.6 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อที่อยู่อาศัย และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2545 สินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.7-3.8 ในช่วง 2 เดือนแรกและชะลอลงเป็นร้อยละ 2.9 ในเดือนสุดท้าย อัตราขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสสอง ตามการชะลอตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย์ และสาธารณูปโภค ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากภาวะตลาดที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถระดมทุนโดยตรงได้มากขึ้น นอกจากนี้สินเชื่อที่ให้กับภาคธุรกิจการเงินยังมีมูลค่าลดลงเป็นลำดับ เป็นผลจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการเงิน สำหรับสินเชื่อภาคธุรกิจสำคัญที่มีอัตราขยายตัวสูง ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการค้าส่งผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออก และธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เมื่อบวกกลับการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ สินเชื่อคงค้างมีมูลค่า 5,593.9 พันล้านบาท ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันของปี 2545 ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอยกเว้นในเดือนสุดท้ายของไตรมาสที่อัตราขยายตัวลดลงเป็นร้อยละ 2.5
โครงสร้างเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสินเชื่อส่วนใหญ่ยังคงให้กับภาคธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต พาณิชย์ การบริการและสาธารณูปโภค รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ แต่สัดส่วนสินเชื่อคงค้างต่อสินเชื่อรวมลดลงจากร้อยละ 76.4 ในปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการเงิน เป็นร้อยละ 64.2 ในไตรมาสสามของปีนี้ โดยธุรกิจในกลุ่มพาณิชย์ ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนลดลงค่อนข้างมากสินเชื่อส่วนบุคคลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.6 เป็นร้อยละ 13.5 จากการที่ธนาคารพาณิชย์หันมาให้ความสำคัญกับสินเชื่อส่วนนี้มากขึ้นในฐานะเป็นฐานรายได้ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี และมีความเสี่ยงไม่มากนัก ส่วนสินเชื่อที่ให้กับภาคธุรกิจการเงินมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนหนึ่งมาจากการโอนหนี้ด้อยคุณภาพให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์
จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนในระดับที่ใกล้เคียงกันทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากค่อนข้างทรงตัวอยู่ประมาณร้อยละ 91 ต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการเป็นตัวกลางทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ดีนัก ต้องอาศัยการลงทุนในหลักทรัพย์ภาครัฐและการลงทุนระยะสั้นในตลาดซื้อคืนเป็นช่องทางในการระบายสภาพคล่องส่วนเกินและหารายได้ ซึ่งในระยะต่อไปรายได้ในส่วนนี้มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากอัตราผลตอบแทนในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำมาก ในขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ที่เริ่มมีทิศทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จะส่งผลต่อราคาของตราสารและมูลค่าเงินลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในตลาดลดลงเมื่อ Mark to market ตามหลักการบัญชี อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการระดมทุนโดยออกหุ้นกู้ภาคเอกชนมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ขยับตัวขึ้น อาจเป็นโอกาสให้สามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นในปีหน้าและสภาพคล่องส่วนเกินจะลดลงได้เร็วขึ้น หากภาวะเศรษฐกิจและการผลิตขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
(ยังมีต่อ).../4.2 สินเชื่อของ..