3.6 ภาวะตลาดทุน
(1) ภาวะธุรกิจหลักทรัพย์ในตลาดแรก : ภาคเอกชนระดมทุนผ่านตราสารหนี้และตราสารทุนเพิ่มขึ้น รัฐบาลออกพันธบัตรลดลงแต่ออกตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสสามของปี 2546 ภาคธุรกิจเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนออกใหม่ในตลาดแรกมูลค่า 41.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 631 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 128 เนื่องจากในไตรมาสที่แล้วการเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนได้ลดต่ำลงมาก และมีสถาบันการเงิน 2 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อเตรียมไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิที่จะครบกำหนดในปี 2547 โดยออกหุ้นสามัญรวมกันประมาณร้อยละ 78 ของมูลค่าตราสารทุนออกใหม่ การขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกของไตรมาสนี้ร้อยละ 42.1 เป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ร้อยละ 53.5 เป็นการขายให้กับประชาชนทั่วไป (PO) และอีกร้อยละ 4 เป็นการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ซึ่งบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) มี 4 บริษัทได้แก่ บมจ.บางปะกง เทอร์มินอล บมจ.ไมด้า แอสเซ็ท บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.แอดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี รวมมูลค่า 1,821.4 ล้านบาท ภาคเอกชนออกหุ้นกู้มูลค่า 47.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 จากไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 180.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สามของปี 2545 การที่ภาคธุรกิจหันมาระดมทุนผ่านหุ้นกู้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางการระดมเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ ถึงแม้ในไตรมาสนี้อัตราผลตอบแทนจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ที่สำคัญคือสามารถกำหนดต้นทุนดอกเบี้ยได้ตลอดอายุการกู้ ในขณะที่การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จะมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ธุรกิจที่มีการออกหุ้นกู้มูลค่าสูงในไตรมาสนี้ ได้แก่ บมจ. ไทยโอเลฟินส์ และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ตราสารภาครัฐออกใหม่มีมูลค่า 203.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 จากไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 53.4 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติจำนวน 305 พันล้านบาท ประกอบกับยังมีเงินคงคลังเหลืออยู่มาก จากการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากกว่าประมาณการ จึงลดปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องดำรงเงินคงคลังไว้ที่ระดับ 80,000 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพในช่วงต้นปีงบประมาณ 2547 จำนวน 34,000 ล้านบาท และรองรับรายจ่ายเหลื่อมจ่ายของรัฐบาลระหว่างปีงบประมาณ 2546 และ 2547 ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้ที่นำส่งคลังในช่วงต้นปีงบประมาณจะมีจำนวนน้อย ประกอบกับมีตั๋วเงินคลังครบกำหนด 58 พันล้านบาท จึงต้องมีการออกตั๋วเงินคลังในไตรมาสนี้รวมจำนวน 112 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 57 สำหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยออกใหม่มีปริมาณใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ตราสารภาครัฐครบกำหนดไถ่ถอนในไตรมาสนี้มีมูลค่า 95.5 พันล้านบาท จึงมีตราสารภาครัฐหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้นสุทธิ 108.4 พันล้านบาท
โดยรวมแล้วตราสารหนี้ออกใหม่ในไตรมาสนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 251.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 44.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 แต่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2 หากไม่รวมพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ตราสารหนี้ออกใหม่ในไตรมาสนี้เป็นตราสารภาครัฐร้อยละ 81.1 และหุ้นกู้ภาคเอกชนร้อยละ 18.9
(2) ภาวะตลาดหลักทรัพย์ : มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นมาก ดัชนีราคาในไตรมาสนี้ปรับเพิ่มขึ้น 100 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขยายตัวอย่างมากต่อเนื่องจากปลายไตรมาสที่แล้วมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.9 จาก 10,413 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้วเป็น 24,257 ล้านบาทในไตรมาสนี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 322.5 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง ทำให้สถาบันทั้งในและต่างประเทศปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น ประกอบกับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ทิศทางของตลาดหุ้นไทยไตรมาสนี้อยู่ในช่วงขาขึ้นนักลงทุนรายย่อยมีสัดส่วนการทำธุรกรรมร้อยละ 78 ของมูลค่าตลาดรวม มีมูลค่าซื้อขาย 2,411 พันล้านบาท แต่มียอดการซื้อสุทธิ 349 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมซื้อขายเร็วและเก็งกำไรระยะสั้นได้ส่วนหนึ่ง การที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลและส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดต่ำลงมาก และแนวโน้มการปรับตัวของตลาดในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยจูงใจด้วยเช่นกัน
นักลงทุนต่างประเทศมีธุรกรรมรวม 504 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 68.1 เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ดีและอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมทั้งไตรมาส นักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิ 12,151 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขายทำกำไรเมื่อระดับราคาปรับสูงขึ้น หลังจากมียอดซื้อสุทธิติดต่อกันในสองไตรมาสที่แล้ว สำหรับนักลงทุนสถาบันในประเทศมียอดซื้อสุทธิค่อนข้างมาก โดยปัจจัยสำคัญหนึ่งคืออุปทานของเงินทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการจัดตั้งกองทุนรวมตราสารทุนใหม่ๆ
ระดับราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นตลอดทั้งไตรมาส ถึงแม้จะมีการขายทำกำไรเป็นะยะๆ แต่ดัชนียังปรับระดับขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาดต้นไตรมาสที่ 477.73 จุด ปรับตัวสูงสุดช่วงปลายไตรมาสที่ 580.97 จุดและปิด ณ สิ้นไตรมาสที่ 578.98 จุด สูงขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 25.4 และสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 74.5 การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ประกอบกับมีบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Capitalization) เพิ่มขึ้นจาก 2,597.5 พันล้านบาท ในไตรมาสที่แล้ว เป็น 3,293.6 ล้านบาทในไตรมาสนี้ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาสสามของปี 2545
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นำส่งงบการเงินในไตรมาสนี้จำนวน 380 บริษัท จากทั้งหมด 401 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในตลาด MAI) มีกำไรสุทธิในไตรมาสที่สาม 83.5 พันล้านบาทและกำไรสุทธิรวมทั้งสามไตรมาส 221.2 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 207 และ 40.4 ตามลำดับ โดยกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต มีกำไรในไตรมาสสามลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับไตรมาสสามของปี 2545 แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานรวมสามไตรมาสแล้วมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 ธุรกิจในภาคการผลิตและบริการไม่รวมกลุ่มที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการมีกำไรในไตรมาสสามเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 และกำไรรวมสามไตรมาสเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 กลุ่มที่มีกำไรสูงสุด 5 อันดับแรก ยังเป็นกลุ่มเดิม ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มสื่อสาร กลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มขนส่ง ถึงแม้ว่าในภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น แต่อัตรากำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยกลับลดลงจากร้อยละ 24 ในปีที่แล้ว เป็นร้อยละ 23 ในปีนี้ ยกเว้นกลุ่มเคมีภัณฑ์และพลาสติกที่มีกำไรสุทธิและอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มการแพทย์ กลุ่มคลังสินค้าและไซโล กลุ่มบริการเฉพาะกิจ แต่กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม สำหรับกลุ่มโรงแรมและบริการท่องเที่ยวและกลุ่มขนส่ง ที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาสที่แล้ว จากการแพร่ระบาดของโรค SARS กลับมามีผลกำไรในไตรมาสนี้ ซึ่งเมื่อรวมผลประกอบการทั้งสามไตรมาสของปีนี้พบว่ากำไรสุทธิลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 37 ส่วนบริษัทที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ (Rehabco) ที่ส่งงบการเงิน แสดงผลการดำเนินงานรวมที่มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 115 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลในเชิงบวกต่อการลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี ได้แก่ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการจัดตั้งกองทุนตราสารทุน 13 กองทุน มูลค่า 25,000 ล้านบาท ที่จะสร้างอุปสงค์ในตลาดตราสารทุนให้มีเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่จะมีผลเชิงลบในระยะสั้นแต่มีผลดีต่อตลาดในระยะยาว ได้แก่ การออกมาตรการควบคุมการซื้อขายแบบ Net Settlement และการตรวจสอบนักลงทุนที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายปั่นหุ้น นอกจากนี้ สถานการณ์การก่อการร้ายที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเช่นกัน
(3) ภาวะตลาดตราสารหนี้ : มูลค่าการซื้อขายลดลง ปริมาณการซื้อขายของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้เอกชนมีมากขึ้น Yield อยู่ในทิศทางขาขึ้น ดัชนีผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในไตรมาสสามมีมูลค่า 665.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 จาก 693.6 พันล้านบาท ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ในระดับ 10.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.2 จากไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากไตรมาสที่สามของปี 2545 และมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ฯ ร้อยละ 56
ตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายมากที่สุดยังคงได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล มีมูลค่าการซื้อขายรวม 272.6 พันล้านบาท แต่ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 จากไตรมาสที่แล้ว โดยเพิ่มจาก 99.9 พันล้านบาท เป็น 140.6 พันล้านบาท ทำให้สัดส่วนการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลลดลงในขณะที่สัดส่วนของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้เอกชนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากการปรับกลยุทธการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจาก Yield ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
สัดส่วนการทำธุรกรรมโดยเฉลี่ยในไตรมาสนี้ ร้อยละ 70 เป็นธุรกรรมแบบซื้อขายขาด (Outright transactions) และอีกร้อยละ 30 เป็นธุรกรรมเพื่อกู้ยืมและอื่น ๆ (Financing and other transactions) ในส่วนของธุรกรรมแบบ Outright การซื้อขายระหว่างกลุ่มสถาบันการเงินที่มี
ใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ด้วยกัน (Inter dealer transactions) มีสัดส่วนลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 31 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 23 ในเดือนกันยายน สำหรับการซื้อขายกับกลุ่มผู้ลงทุนประเภทต่างๆ นั้น กลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่มีใบอนุญาตค้าตราสารหนี้มีธุรกรรมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. ยกเว้นในเดือนสิงหาคมที่กองทุนรวมมีธุรกรรมมากที่สุด
ในไตรมาสนี้มีตราสารหนี้ออกใหม่และขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมูลค่า 209.3 พันล้านบาท ในขณะที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดมูลค่า 74.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 มีหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนคงค้างในศูนย์ฯ รวม 563 รุ่น มูลค่า 1,812.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.7 โดยมีสัดส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 82.8 และตราสารหนี้ภาคเอกชนร้อยละ 17.2
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ในไตรมาสนี้มีทิศทางปรับตัวขึ้นตลอดทั้งไตรมาส หลังจากปรับตัวลงต่ำสุดในรอบปีเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้วอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงยาวที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น -109 basis point ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นอายุ 1 - 2 ปีลดลงเล็กน้อย ปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับสูงขึ้น ได้แก่ การผ่อนคลายกฎระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภท สามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกและระบายสภาพคล่องที่ล้นระบบ กระทรวงการคลังมีกำหนดที่จะออกพันธบัตร FIDF3 ในปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200,000 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีอุปทานในตลาดพันธบัตรมาก รวมทั้งยังไม่มั่นใจในทิศทางของอัตราดอกเบี้ย จึงหันมาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมากขึ้น และเทขายตราสารหนี้ระยะยาวออกมาจำนวนมาก ยิ่งทำให้อัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนปรับสัดส่วนการลงทุนมาที่ตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นไตรมาสนี้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสสาม ปี 2545 ทุกช่วงอายุ โดยลดลง 48 -82 Basis points
ดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลโดยรวม (ThaiBDC Government Bond Index : Total Return Index) ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 156.7 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2546 มาเป็น 151.33 จุด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนปรับตัวลดลงจาก 122.38 จุด มาเป็น 121.83 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
สำหรับภาวะการซื้อขายตราสารหนี้ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนยังคงอยู่ในระดับต่ำ มูลค่าเฉลี่ยต่อวันลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.3 ตามลำดับ โดยการซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงเป็นพันธบัตรรัฐบาล แต่สัดส่วนของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้ภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่จะสูงขึ้นและภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ร้อนแรง ทำให้มีการเทขายตราสารหนี้มากขึ้น อัตราผลตอบแทนจึงพุ่งสูงขึ้นไปอย่างมาก และจากแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ที่มีความไม่แน่นอน จึงเน้นการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น และเทขายตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(1) ภาวะธุรกิจหลักทรัพย์ในตลาดแรก : ภาคเอกชนระดมทุนผ่านตราสารหนี้และตราสารทุนเพิ่มขึ้น รัฐบาลออกพันธบัตรลดลงแต่ออกตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสสามของปี 2546 ภาคธุรกิจเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนออกใหม่ในตลาดแรกมูลค่า 41.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 631 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 128 เนื่องจากในไตรมาสที่แล้วการเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนได้ลดต่ำลงมาก และมีสถาบันการเงิน 2 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพิ่มทุนจดทะเบียนเพื่อเตรียมไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิที่จะครบกำหนดในปี 2547 โดยออกหุ้นสามัญรวมกันประมาณร้อยละ 78 ของมูลค่าตราสารทุนออกใหม่ การขายหลักทรัพย์ในตลาดแรกของไตรมาสนี้ร้อยละ 42.1 เป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ร้อยละ 53.5 เป็นการขายให้กับประชาชนทั่วไป (PO) และอีกร้อยละ 4 เป็นการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ซึ่งบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) มี 4 บริษัทได้แก่ บมจ.บางปะกง เทอร์มินอล บมจ.ไมด้า แอสเซ็ท บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น และ บมจ.แอดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี รวมมูลค่า 1,821.4 ล้านบาท ภาคเอกชนออกหุ้นกู้มูลค่า 47.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8 จากไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 180.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สามของปี 2545 การที่ภาคธุรกิจหันมาระดมทุนผ่านหุ้นกู้มากขึ้น เนื่องจากเป็นช่องทางการระดมเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ ถึงแม้ในไตรมาสนี้อัตราผลตอบแทนจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม ที่สำคัญคือสามารถกำหนดต้นทุนดอกเบี้ยได้ตลอดอายุการกู้ ในขณะที่การกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ จะมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต ธุรกิจที่มีการออกหุ้นกู้มูลค่าสูงในไตรมาสนี้ ได้แก่ บมจ. ไทยโอเลฟินส์ และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ตราสารภาครัฐออกใหม่มีมูลค่า 203.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 จากไตรมาสก่อน แต่ลดลงร้อยละ 53.4 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติจำนวน 305 พันล้านบาท ประกอบกับยังมีเงินคงคลังเหลืออยู่มาก จากการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากกว่าประมาณการ จึงลดปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาลลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องดำรงเงินคงคลังไว้ที่ระดับ 80,000 ล้านบาท เพื่อสำรองไว้จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพในช่วงต้นปีงบประมาณ 2547 จำนวน 34,000 ล้านบาท และรองรับรายจ่ายเหลื่อมจ่ายของรัฐบาลระหว่างปีงบประมาณ 2546 และ 2547 ประมาณ 10,000 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้ที่นำส่งคลังในช่วงต้นปีงบประมาณจะมีจำนวนน้อย ประกอบกับมีตั๋วเงินคลังครบกำหนด 58 พันล้านบาท จึงต้องมีการออกตั๋วเงินคลังในไตรมาสนี้รวมจำนวน 112 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 57 สำหรับพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยออกใหม่มีปริมาณใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว ตราสารภาครัฐครบกำหนดไถ่ถอนในไตรมาสนี้มีมูลค่า 95.5 พันล้านบาท จึงมีตราสารภาครัฐหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้นสุทธิ 108.4 พันล้านบาท
โดยรวมแล้วตราสารหนี้ออกใหม่ในไตรมาสนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 251.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 จากไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 44.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 แต่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2 หากไม่รวมพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติ ตราสารหนี้ออกใหม่ในไตรมาสนี้เป็นตราสารภาครัฐร้อยละ 81.1 และหุ้นกู้ภาคเอกชนร้อยละ 18.9
(2) ภาวะตลาดหลักทรัพย์ : มูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นมาก ดัชนีราคาในไตรมาสนี้ปรับเพิ่มขึ้น 100 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขยายตัวอย่างมากต่อเนื่องจากปลายไตรมาสที่แล้วมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.9 จาก 10,413 ล้านบาทในไตรมาสที่แล้วเป็น 24,257 ล้านบาทในไตรมาสนี้ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 322.5 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2545 โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง ทำให้สถาบันทั้งในและต่างประเทศปรับประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้น ประกอบกับการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งผลกำไรของธุรกิจจดทะเบียนอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้ทิศทางของตลาดหุ้นไทยไตรมาสนี้อยู่ในช่วงขาขึ้นนักลงทุนรายย่อยมีสัดส่วนการทำธุรกรรมร้อยละ 78 ของมูลค่าตลาดรวม มีมูลค่าซื้อขาย 2,411 พันล้านบาท แต่มียอดการซื้อสุทธิ 349 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมซื้อขายเร็วและเก็งกำไรระยะสั้นได้ส่วนหนึ่ง การที่นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลและส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดต่ำลงมาก และแนวโน้มการปรับตัวของตลาดในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยจูงใจด้วยเช่นกัน
นักลงทุนต่างประเทศมีธุรกรรมรวม 504 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 68.1 เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่ดีและอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับตลาดอื่นทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยมีความน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมทั้งไตรมาส นักลงทุนต่างประเทศมียอดขายสุทธิ 12,151 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการขายทำกำไรเมื่อระดับราคาปรับสูงขึ้น หลังจากมียอดซื้อสุทธิติดต่อกันในสองไตรมาสที่แล้ว สำหรับนักลงทุนสถาบันในประเทศมียอดซื้อสุทธิค่อนข้างมาก โดยปัจจัยสำคัญหนึ่งคืออุปทานของเงินทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการจัดตั้งกองทุนรวมตราสารทุนใหม่ๆ
ระดับราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นตลอดทั้งไตรมาส ถึงแม้จะมีการขายทำกำไรเป็นะยะๆ แต่ดัชนียังปรับระดับขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาดต้นไตรมาสที่ 477.73 จุด ปรับตัวสูงสุดช่วงปลายไตรมาสที่ 580.97 จุดและปิด ณ สิ้นไตรมาสที่ 578.98 จุด สูงขึ้นจากสิ้นไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 25.4 และสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 74.5 การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ประกอบกับมีบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (Market Capitalization) เพิ่มขึ้นจาก 2,597.5 พันล้านบาท ในไตรมาสที่แล้ว เป็น 3,293.6 ล้านบาทในไตรมาสนี้ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาสสามของปี 2545
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่นำส่งงบการเงินในไตรมาสนี้จำนวน 380 บริษัท จากทั้งหมด 401 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในตลาด MAI) มีกำไรสุทธิในไตรมาสที่สาม 83.5 พันล้านบาทและกำไรสุทธิรวมทั้งสามไตรมาส 221.2 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 207 และ 40.4 ตามลำดับ โดยกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต มีกำไรในไตรมาสสามลดลงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับไตรมาสสามของปี 2545 แต่เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานรวมสามไตรมาสแล้วมีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 ธุรกิจในภาคการผลิตและบริการไม่รวมกลุ่มที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการมีกำไรในไตรมาสสามเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 และกำไรรวมสามไตรมาสเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 กลุ่มที่มีกำไรสูงสุด 5 อันดับแรก ยังเป็นกลุ่มเดิม ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มสื่อสาร กลุ่มวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มขนส่ง ถึงแม้ว่าในภาพรวมของบริษัทจดทะเบียนจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น แต่อัตรากำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยกลับลดลงจากร้อยละ 24 ในปีที่แล้ว เป็นร้อยละ 23 ในปีนี้ ยกเว้นกลุ่มเคมีภัณฑ์และพลาสติกที่มีกำไรสุทธิและอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงกลุ่มการแพทย์ กลุ่มคลังสินค้าและไซโล กลุ่มบริการเฉพาะกิจ แต่กลุ่มธุรกิจเหล่านี้มีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม สำหรับกลุ่มโรงแรมและบริการท่องเที่ยวและกลุ่มขนส่ง ที่ประสบภาวะขาดทุนในไตรมาสที่แล้ว จากการแพร่ระบาดของโรค SARS กลับมามีผลกำไรในไตรมาสนี้ ซึ่งเมื่อรวมผลประกอบการทั้งสามไตรมาสของปีนี้พบว่ากำไรสุทธิลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 37 ส่วนบริษัทที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ (Rehabco) ที่ส่งงบการเงิน แสดงผลการดำเนินงานรวมที่มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 115 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลในเชิงบวกต่อการลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของปี ได้แก่ แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการจัดตั้งกองทุนตราสารทุน 13 กองทุน มูลค่า 25,000 ล้านบาท ที่จะสร้างอุปสงค์ในตลาดตราสารทุนให้มีเพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยที่จะมีผลเชิงลบในระยะสั้นแต่มีผลดีต่อตลาดในระยะยาว ได้แก่ การออกมาตรการควบคุมการซื้อขายแบบ Net Settlement และการตรวจสอบนักลงทุนที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายปั่นหุ้น นอกจากนี้ สถานการณ์การก่อการร้ายที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นเช่นกัน
(3) ภาวะตลาดตราสารหนี้ : มูลค่าการซื้อขายลดลง ปริมาณการซื้อขายของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้เอกชนมีมากขึ้น Yield อยู่ในทิศทางขาขึ้น ดัชนีผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองในไตรมาสสามมีมูลค่า 665.2 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.1 จาก 693.6 พันล้านบาท ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ในระดับ 10.6 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.2 จากไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากไตรมาสที่สามของปี 2545 และมีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันของตลาดหลักทรัพย์ฯ ร้อยละ 56
ตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายมากที่สุดยังคงได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล มีมูลค่าการซื้อขายรวม 272.6 พันล้านบาท แต่ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายตั๋วเงินคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 จากไตรมาสที่แล้ว โดยเพิ่มจาก 99.9 พันล้านบาท เป็น 140.6 พันล้านบาท ทำให้สัดส่วนการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลลดลงในขณะที่สัดส่วนของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้เอกชนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากการปรับกลยุทธการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจาก Yield ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
สัดส่วนการทำธุรกรรมโดยเฉลี่ยในไตรมาสนี้ ร้อยละ 70 เป็นธุรกรรมแบบซื้อขายขาด (Outright transactions) และอีกร้อยละ 30 เป็นธุรกรรมเพื่อกู้ยืมและอื่น ๆ (Financing and other transactions) ในส่วนของธุรกรรมแบบ Outright การซื้อขายระหว่างกลุ่มสถาบันการเงินที่มี
ใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ด้วยกัน (Inter dealer transactions) มีสัดส่วนลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 31 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 23 ในเดือนกันยายน สำหรับการซื้อขายกับกลุ่มผู้ลงทุนประเภทต่างๆ นั้น กลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่มีใบอนุญาตค้าตราสารหนี้มีธุรกรรมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. ยกเว้นในเดือนสิงหาคมที่กองทุนรวมมีธุรกรรมมากที่สุด
ในไตรมาสนี้มีตราสารหนี้ออกใหม่และขึ้นทะเบียนกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยมูลค่า 209.3 พันล้านบาท ในขณะที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดมูลค่า 74.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 มีหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนคงค้างในศูนย์ฯ รวม 563 รุ่น มูลค่า 1,812.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12.7 โดยมีสัดส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐร้อยละ 82.8 และตราสารหนี้ภาคเอกชนร้อยละ 17.2
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ในไตรมาสนี้มีทิศทางปรับตัวขึ้นตลอดทั้งไตรมาส หลังจากปรับตัวลงต่ำสุดในรอบปีเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้วอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะกลางถึงยาวที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับเพิ่มขึ้น -109 basis point ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้นอายุ 1 - 2 ปีลดลงเล็กน้อย ปัจจัยที่ทำให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับสูงขึ้น ได้แก่ การผ่อนคลายกฎระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบัน 6 ประเภท สามารถลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกและระบายสภาพคล่องที่ล้นระบบ กระทรวงการคลังมีกำหนดที่จะออกพันธบัตร FIDF3 ในปีงบประมาณ 2547 จำนวน 200,000 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีอุปทานในตลาดพันธบัตรมาก รวมทั้งยังไม่มั่นใจในทิศทางของอัตราดอกเบี้ย จึงหันมาลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมากขึ้น และเทขายตราสารหนี้ระยะยาวออกมาจำนวนมาก ยิ่งทำให้อัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนปรับสัดส่วนการลงทุนมาที่ตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทน ณ สิ้นไตรมาสนี้ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสสาม ปี 2545 ทุกช่วงอายุ โดยลดลง 48 -82 Basis points
ดัชนีผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลโดยรวม (ThaiBDC Government Bond Index : Total Return Index) ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 156.7 จุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2546 มาเป็น 151.33 จุด ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนปรับตัวลดลงจาก 122.38 จุด มาเป็น 121.83 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
สำหรับภาวะการซื้อขายตราสารหนี้ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนยังคงอยู่ในระดับต่ำ มูลค่าเฉลี่ยต่อวันลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 9.3 และร้อยละ 8.3 ตามลำดับ โดยการซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงเป็นพันธบัตรรัฐบาล แต่สัดส่วนของตั๋วเงินคลังและหุ้นกู้ภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคตที่จะสูงขึ้นและภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ร้อนแรง ทำให้มีการเทขายตราสารหนี้มากขึ้น อัตราผลตอบแทนจึงพุ่งสูงขึ้นไปอย่างมาก และจากแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ที่มีความไม่แน่นอน จึงเน้นการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น และเทขายตราสารหนี้ระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-