(7) ภาพรวมสถานะหนี้ต่างประเทศ : ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่สามของปี 2546 ลดลง ส่วนใหญ่เนื่องจากการชำระคืนหนี้ระยะยาว IMF package ของ ธปท. ประกอบกับการขยายตัวของ GDP ทำให้เสถียรภาพด้านหนี้ต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีการก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในภาคเอกชน
(7.1) ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศรวมภาคทางการและเอกชน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 : มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 53,334 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสัดส่วนภาคทางการ : เอกชน เท่ากับ 31 : 69
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 สามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ภาคทางการ (รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ และ ธปท.) มีจำนวนรวม 16,771 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ระยะยาวประมาณร้อยละ 98.7 ของยอดรวมหนี้ภาคทางการ
(2) หนี้ภาคเอกชน มีจำนวนทั้งสิ้น 36,563 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 79 จะเป็นหนี้คงค้างของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร และมีสัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาวของภาคเอกชนทั้งหมดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 33 : 67
(7.2) การเปลี่ยนแปลงของหนี้ต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2546 : ยอดหนี้คงค้างลดลงร้อยละ 3.7 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและหนี้ระยะยาวจากภาคทางการ อย่างไรก็ตาม หนี้ระยะสั้นจากภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปีเดียวกัน จำนวน 2,070 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของหนี้คงค้างระยะยาวจากภาคทางการ โดยสามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ต่างประเทศภาคทางการ ลดลง 2,711 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 13.9 โดยเป็นการลดลงทั้งจากหนี้ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยในจำนวน 583, 458 และ 1,670 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับนอกจากนี้หนี้คงค้างที่ลดลงจะเกิดจากทั้งในส่วนหนี้ระยะยาวที่ลดลงถึง 2,072 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 11.1 และหนี้ระยะสั้นที่ลดลง 639 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือลดลงถึงร้อยละ 75.2
(2) หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้น 641 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยส่วนมากเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้คงค้างของธนาคารพาณิชย์และธุรกิจที่มิใช่ธนาคารจำนวน 430 และ 813 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ในขณะที่หนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 602 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้หนี้คงค้างที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นจำนวน 594 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในส่วนของหนี้ระยะยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 47 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
(7.3) การเปลี่ยนแปลงหนี้ต่างประเทศ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2546 : ยอดหนี้คงค้างลดลงร้อยละ 10.3 ส่วนใหญ่มาจากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของ ธปท. ในขณะที่ภาคเอกชนมีการก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ลดลงจากปลายปี 2545 จำนวน 6,125 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 10.3 ซึ่งเป็นผลส่วนใหญ่จากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของภาคทางการ โดยเฉพาะจากการชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยสามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ต่างประเทศภาคทางการ ลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 จำนวน 6,534 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 28 โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ IMF package ของ ธปท. จำนวน 4,902 ล นดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งจากการลดลงในส่วน หนี้รัฐวิสาหกิจและรัฐบาลจำนวน 1,058 และ 574 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของหนี้ระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา หนี้คงค้างระยะยาวได้ลดลงจำนวน 6,358 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 27.7 จากการชำระคืนเงินกู้โครงการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการรวมทั้งการไถ่ถอนพันธบัตรเงินเยน และพันธบัตรเงินฝากของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ครบกำหนด ในขณะที่หนี้ระยะสั้นลดลง 176 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 45.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในไทย:ซื้อกลับตราสารหนี้ระยะสั้น Euro Commercial Paper (ECP)
(2) หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 จำนวน 409 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ในส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารและธนาคารพาณิชย์ จำนวน 885 และ 326 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ. ในขณะที่ยอดหนี้คงค้างของกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 802 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของหนี้ระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา หนี้คงค้างระยะยาวได้ลดลงจำนวน 206 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่หนี้คงค้างระยะสั้นเพิ่มขึ้นจำนวน 615 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(7.4) เสถียรภาพหนี้ต่างประเทศ : ปรับตัวมีเสถียรภาพดีขึ้น เนื่องจาการลดลงของหนี้คงค้าง และจากการขยายตัวของปัจจัยอื่น ๆ อาทิ การขยายตัวของ GDP รายได้จากการส่งออก และเงินสำรองทางการ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเริ่มมีการก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เสถียรภาพด้านหนี้ต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นมากนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากการลดลงของหนี้ต่างประเทศคงค้าง และสัดส่วนหนี้คงค้างต่อ GDP ที่ลดลงตามลำดับ รวมทั้งสัดส่วนภาระการชำระหนี้คืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้การส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และสัดส่วนเงินสำรองทางการต่อหนี้ระยะสั้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(1) โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ มีการปรับตัวดีขึ้นมากนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งจากภาคทางการและภาคเอกชน โดยสัดส่วนหนี้ระยะสั้นได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากประมาณร้อยละ 40 ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตมาทรงตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 นับตั้งแต่ปี 2542 เนื่องจากการทยอยชำระคืนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของภาคเอกชนอย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น สัดส่วนหนี้ระยะสั้นที่ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนก็เริ่มขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงปี 2546 ซึ่ง ณ ไตรมาสที่ 3 ของปีดังกล่าว หนี้ระยะสั้นภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 22.8 ของหนี้ต่างประเทศคงค้างรวม นอกจากนี้ นับตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้ภาคทางการต่อหนี้ภาคเอกชนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาคทางการได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้ระยะยาวเพื่อปรับโครงสร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนได้มีการชำระคืนหนี้เงินกู้โดยเฉพาะหนี้ระยะสั้นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสัดส่วนนี้ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยภาคเอกชนได้มีสัดส่วนในการกู้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี 2546 ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ภาคเอกชนมีสัดส่วนในยอดหนี้คงค้างต่างประเทศรวมร้อยละ 69 เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 60.8 ณ ปลายปี 2545
(2) สัดส่วนหนี้คงค้างต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีการเปลี่ยนแปลงลดลงค่อนข้างมาก จากร้อยละ 48.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 เหลือเพียงร้อยละ 37.7 ณ สิ้นไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยการลดลงนี้เกิดจากทั้งการลดลงของหนี้ต่างประเทศคงค้างรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
(3) สัดส่วนภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เป็นร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน ซึ่งผลส่วนใหญ่เนื่องมาจากภาระการชำระหนี้คืนที่เพิ่มขึ้นจาก 2,698 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เป็น 3,937 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน แม้ว่ารายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นจาก 22,129 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 24,196 ล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม
(4) สัดส่วนเงินสำรองทางการต่อหนี้ระยะสั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เพิ่มจากร้อยละ 317.1 เป็นร้อยละ 325.8 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินสำรองทางการ จาก 39,330 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 40,262 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งหนี้ระยะสั้นได้ลดลงเล็กน้อยจาก 12,403 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 12,358 ล้านดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
(7.1) ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศรวมภาคทางการและเอกชน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 : มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 53,334 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสัดส่วนภาคทางการ : เอกชน เท่ากับ 31 : 69
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 สามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ภาคทางการ (รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ และ ธปท.) มีจำนวนรวม 16,771 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ระยะยาวประมาณร้อยละ 98.7 ของยอดรวมหนี้ภาคทางการ
(2) หนี้ภาคเอกชน มีจำนวนทั้งสิ้น 36,563 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ของยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 79 จะเป็นหนี้คงค้างของธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร และมีสัดส่วนหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาวของภาคเอกชนทั้งหมดอยู่ที่ประมาณร้อยละ 33 : 67
(7.2) การเปลี่ยนแปลงของหนี้ต่างประเทศในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2546 : ยอดหนี้คงค้างลดลงร้อยละ 3.7 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงทั้งหนี้ระยะสั้นและหนี้ระยะยาวจากภาคทางการ อย่างไรก็ตาม หนี้ระยะสั้นจากภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ของปีเดียวกัน จำนวน 2,070 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการลดลงของหนี้คงค้างระยะยาวจากภาคทางการ โดยสามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ต่างประเทศภาคทางการ ลดลง 2,711 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 13.9 โดยเป็นการลดลงทั้งจากหนี้ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทยในจำนวน 583, 458 และ 1,670 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับนอกจากนี้หนี้คงค้างที่ลดลงจะเกิดจากทั้งในส่วนหนี้ระยะยาวที่ลดลงถึง 2,072 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 11.1 และหนี้ระยะสั้นที่ลดลง 639 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือลดลงถึงร้อยละ 75.2
(2) หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้น 641 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยส่วนมากเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้คงค้างของธนาคารพาณิชย์และธุรกิจที่มิใช่ธนาคารจำนวน 430 และ 813 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ในขณะที่หนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 602 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้หนี้คงค้างที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นจำนวน 594 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในส่วนของหนี้ระยะยาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 47 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
(7.3) การเปลี่ยนแปลงหนี้ต่างประเทศ ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2546 : ยอดหนี้คงค้างลดลงร้อยละ 10.3 ส่วนใหญ่มาจากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของ ธปท. ในขณะที่ภาคเอกชนมีการก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2546 ลดลงจากปลายปี 2545 จำนวน 6,125 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 10.3 ซึ่งเป็นผลส่วนใหญ่จากการชำระคืนหนี้ระยะยาวของภาคทางการ โดยเฉพาะจากการชำระหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยสามารถแยกได้ดังนี้
(1) หนี้ต่างประเทศภาคทางการ ลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 จำนวน 6,534 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 28 โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ IMF package ของ ธปท. จำนวน 4,902 ล นดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งจากการลดลงในส่วน หนี้รัฐวิสาหกิจและรัฐบาลจำนวน 1,058 และ 574 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของหนี้ระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา หนี้คงค้างระยะยาวได้ลดลงจำนวน 6,358 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 27.7 จากการชำระคืนเงินกู้โครงการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานราชการรวมทั้งการไถ่ถอนพันธบัตรเงินเยน และพันธบัตรเงินฝากของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ครบกำหนด ในขณะที่หนี้ระยะสั้นลดลง 176 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือลดลงร้อยละ 45.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน จากการที่ธนาคารพาณิชย์ในไทย:ซื้อกลับตราสารหนี้ระยะสั้น Euro Commercial Paper (ECP)
(2) หนี้ภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 จำนวน 409 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ในส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารและธนาคารพาณิชย์ จำนวน 885 และ 326 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ. ในขณะที่ยอดหนี้คงค้างของกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 802 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของหนี้ระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา หนี้คงค้างระยะยาวได้ลดลงจำนวน 206 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่หนี้คงค้างระยะสั้นเพิ่มขึ้นจำนวน 615 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(7.4) เสถียรภาพหนี้ต่างประเทศ : ปรับตัวมีเสถียรภาพดีขึ้น เนื่องจาการลดลงของหนี้คงค้าง และจากการขยายตัวของปัจจัยอื่น ๆ อาทิ การขยายตัวของ GDP รายได้จากการส่งออก และเงินสำรองทางการ อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเริ่มมีการก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เสถียรภาพด้านหนี้ต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นมากนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากการลดลงของหนี้ต่างประเทศคงค้าง และสัดส่วนหนี้คงค้างต่อ GDP ที่ลดลงตามลำดับ รวมทั้งสัดส่วนภาระการชำระหนี้คืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้การส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และสัดส่วนเงินสำรองทางการต่อหนี้ระยะสั้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(1) โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ มีการปรับตัวดีขึ้นมากนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งจากภาคทางการและภาคเอกชน โดยสัดส่วนหนี้ระยะสั้นได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากประมาณร้อยละ 40 ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตมาทรงตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 นับตั้งแต่ปี 2542 เนื่องจากการทยอยชำระคืนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นของภาคเอกชนอย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้น สัดส่วนหนี้ระยะสั้นที่ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชนก็เริ่มขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในช่วงปี 2546 ซึ่ง ณ ไตรมาสที่ 3 ของปีดังกล่าว หนี้ระยะสั้นภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 22.8 ของหนี้ต่างประเทศคงค้างรวม นอกจากนี้ นับตั้งแต่ช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้ภาคทางการต่อหนี้ภาคเอกชนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาคทางการได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้ระยะยาวเพื่อปรับโครงสร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในขณะที่ภาคเอกชนได้มีการชำระคืนหนี้เงินกู้โดยเฉพาะหนี้ระยะสั้นมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามสัดส่วนนี้ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยภาคเอกชนได้มีสัดส่วนในการกู้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี 2546 ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ภาคเอกชนมีสัดส่วนในยอดหนี้คงค้างต่างประเทศรวมร้อยละ 69 เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 60.8 ณ ปลายปี 2545
(2) สัดส่วนหนี้คงค้างต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีการเปลี่ยนแปลงลดลงค่อนข้างมาก จากร้อยละ 48.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2545 เหลือเพียงร้อยละ 37.7 ณ สิ้นไตรมาสเดียวกันของปี 2546 โดยการลดลงนี้เกิดจากทั้งการลดลงของหนี้ต่างประเทศคงค้างรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
(3) สัดส่วนภาระการชำระคืนหนี้ต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ (Debt Service Ratio) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เป็นร้อยละ 16.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน ซึ่งผลส่วนใหญ่เนื่องมาจากภาระการชำระหนี้คืนที่เพิ่มขึ้นจาก 2,698 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เป็น 3,937 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน แม้ว่ารายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นจาก 22,129 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 24,196 ล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม
(4) สัดส่วนเงินสำรองทางการต่อหนี้ระยะสั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2546 เพิ่มจากร้อยละ 317.1 เป็นร้อยละ 325.8 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินสำรองทางการ จาก 39,330 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 40,262 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งหนี้ระยะสั้นได้ลดลงเล็กน้อยจาก 12,403 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 12,358 ล้านดอลลาร์ สรอ.
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-