แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
นายกรัฐมนตรี
สภาพัฒน์
สมอง
เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2547 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "บทบาทใหม่ของ สศช." ซึ่งจัดขึ้นระหว่างเวลา 14.00 - 17.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี
การจัดสัมมนาครั้งนี้ เป็นการชี้แจง ทำความเข้าใจ รายงานทิศทาง บทบาท และกระบวนการดำเนินงานของ สศช. ในระยะ 4 ปีข้างหน้า ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารระดับปลัดกระทรวง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของ สศช. ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ช่วงเวลากว่า 5 ทศวรรษ ที่ผ่านมา สศช. ได้ดำเนินภารกิจหลักอย่างเข้มแข็งและยึดความเป็นกลางบนพื้นฐานวิชาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งในด้านการวางแผน การวิเคราะห์และประเมินโครงการ การประสานผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ การติดตามประเมนผลการดำเนินงานตามแผน ตลอดจนวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ สศช. ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาล ภาคราชการ และประชาชนเสมอมา
อย่างไรก็ตาม ในยุคของรอยต่อแห่งการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้ สศช. ก้าวทันต่อสถานการณ์ สศช. ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนบทบาท สศช. ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ คือ "หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง"
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว สศช. ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ สศช. (พ.ศ. 2547-2550) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการวางแผนยุทธศาสตร์มากกว่าการจัดทำแผนระยะ 5 ปี โดยมีการดำเนินการเชิงรุก และมีกระบวนการทำงานที่เป็นบูรณาการทุกมิติ ทั้งมิตินโยบายและมิติพื้นที่ ขณะเดียวกันมีการดำเนินงานที่ครบวงจรของการวางแผน คือ การวางแผน การผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล โดยมีภารกิจที่สำคัญภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การวางแผนเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธศาสตร์การวางแผนส่วนรวมที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการจัดทำแผนการบริหารประเทศให้แก่คณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของรัฐบาล และมุ่งให้เกิดการวางกรอบทิศทางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นยุทธศาสตร์หลักของ สศช. ในการผลักดันอย่างบูรณาการ โดยมิติด้านการแข่งขันจะมุ่งเน้นการจัดการเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค ขณะเดียวกันทางด้านมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถรักษาฐานทรัพยากรของประเทศไว้ได้ในระยะยาว
3. การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังการพัฒนาตามวาระแห่งชาติที่สำคัญสูงสุด 2 เรื่องเข้าด้วยกัน คือ ความยากจนและทุนทางสังคม โดยที่ความยากจนเป็นปัญหาระดับชาติที่มิได้จำกัดเฉพาะความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือรายได้เพื่อการยังชีพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความยากจนเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความขัดสนด้านอื่น และการขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐด้วย ในขณะที่ทุนทางสังคมเป็นมิติการมองสังคมแนวใหม่ ซึ่งหมายถึงผลรวมของสิ่งดีงามที่มีอยู่ในสังคมทั้งในส่วนที่ได้จากการสั่งสมและการต่อยอด รวมถึงการรวมตัวของคนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยแห่งความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงาม
4. การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงวาระแห่งชาติเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่และภูมิภาค โดยสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) รวมทั้งเชื่อมโยงต่อไปยังยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และยุทธศาสตร์ของทูต CEO
5. การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่อาศัยความได้เปรียบและประสบการณ์การจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะระบบบัญชีประชาชาติและดัชนีชี้วัดที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานให้เป็นประโยชน์และเป็นจุดแข้งของระบบการวางแผนของ สศช. และหน่วยงานอื่น โดยเน้นคุณสมบัติของระบบข้อมูลที่ดี 4 ประการคือ เร็ว ถูกต้อง มีมาตรฐาน และน่าเชื่อถือ
6. การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระบวนการวางแผนและการบริหารการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการกำกับประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน ทั้งในมิติความก้าวหน้าและมิติผลลัพธ์หรือผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนา และการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะรายงานผลการพัฒนาต่อรัฐบาลและสาธารณะ พร้อมทั้งสะท้อนความต้องการจากระดับล่างให้แก่ระดับนโยบาย
7. การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การสังเคราะห์จากองค์ความรู้ที่รวบรวมจากประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บสะสมภายในองค์กร การจัดขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น และมีความยืดหยุ่นในระบบงาน
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า คาดว่าภารกิจใหม่ในอนาคตของ สศช. ที่มีการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาสขององค์กรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะสามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การจัดสัมมนาครั้งนี้ เป็นการชี้แจง ทำความเข้าใจ รายงานทิศทาง บทบาท และกระบวนการดำเนินงานของ สศช. ในระยะ 4 ปีข้างหน้า ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารระดับปลัดกระทรวง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และสื่อมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาปรับปรุงกระบวนการทำงานของ สศช. ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ช่วงเวลากว่า 5 ทศวรรษ ที่ผ่านมา สศช. ได้ดำเนินภารกิจหลักอย่างเข้มแข็งและยึดความเป็นกลางบนพื้นฐานวิชาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งในด้านการวางแผน การวิเคราะห์และประเมินโครงการ การประสานผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ การติดตามประเมนผลการดำเนินงานตามแผน ตลอดจนวิเคราะห์และคาดการณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ สศช. ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาล ภาคราชการ และประชาชนเสมอมา
อย่างไรก็ตาม ในยุคของรอยต่อแห่งการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้ สศช. ก้าวทันต่อสถานการณ์ สศช. ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนบทบาท สศช. ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ คือ "หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง"
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว สศช. ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ สศช. (พ.ศ. 2547-2550) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการวางแผนยุทธศาสตร์มากกว่าการจัดทำแผนระยะ 5 ปี โดยมีการดำเนินการเชิงรุก และมีกระบวนการทำงานที่เป็นบูรณาการทุกมิติ ทั้งมิตินโยบายและมิติพื้นที่ ขณะเดียวกันมีการดำเนินงานที่ครบวงจรของการวางแผน คือ การวางแผน การผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล โดยมีภารกิจที่สำคัญภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การวางแผนเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธศาสตร์การวางแผนส่วนรวมที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการจัดทำแผนการบริหารประเทศให้แก่คณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายของรัฐบาล และมุ่งให้เกิดการวางกรอบทิศทางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2. การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นยุทธศาสตร์หลักของ สศช. ในการผลักดันอย่างบูรณาการ โดยมิติด้านการแข่งขันจะมุ่งเน้นการจัดการเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการปรับปรุงการบริหารจัดการทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค ขณะเดียวกันทางด้านมิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและสามารถรักษาฐานทรัพยากรของประเทศไว้ได้ในระยะยาว
3. การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังการพัฒนาตามวาระแห่งชาติที่สำคัญสูงสุด 2 เรื่องเข้าด้วยกัน คือ ความยากจนและทุนทางสังคม โดยที่ความยากจนเป็นปัญหาระดับชาติที่มิได้จำกัดเฉพาะความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือรายได้เพื่อการยังชีพเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความยากจนเชิงโครงสร้างที่เกิดจากความขัดสนด้านอื่น และการขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐด้วย ในขณะที่ทุนทางสังคมเป็นมิติการมองสังคมแนวใหม่ ซึ่งหมายถึงผลรวมของสิ่งดีงามที่มีอยู่ในสังคมทั้งในส่วนที่ได้จากการสั่งสมและการต่อยอด รวมถึงการรวมตัวของคนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยแห่งความผูกพันและวัฒนธรรมที่ดีงาม
4. การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงวาระแห่งชาติเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่และภูมิภาค โดยสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ (ผู้ว่า CEO) รวมทั้งเชื่อมโยงต่อไปยังยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และยุทธศาสตร์ของทูต CEO
5. การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่อาศัยความได้เปรียบและประสบการณ์การจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะระบบบัญชีประชาชาติและดัชนีชี้วัดที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานให้เป็นประโยชน์และเป็นจุดแข้งของระบบการวางแผนของ สศช. และหน่วยงานอื่น โดยเน้นคุณสมบัติของระบบข้อมูลที่ดี 4 ประการคือ เร็ว ถูกต้อง มีมาตรฐาน และน่าเชื่อถือ
6. การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระบวนการวางแผนและการบริหารการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการกำกับประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน ทั้งในมิติความก้าวหน้าและมิติผลลัพธ์หรือผลกระทบสุดท้ายของการพัฒนา และการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะรายงานผลการพัฒนาต่อรัฐบาลและสาธารณะ พร้อมทั้งสะท้อนความต้องการจากระดับล่างให้แก่ระดับนโยบาย
7. การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ การสังเคราะห์จากองค์ความรู้ที่รวบรวมจากประสบการณ์และข้อมูลที่เก็บสะสมภายในองค์กร การจัดขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น และมีความยืดหยุ่นในระบบงาน
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า คาดว่าภารกิจใหม่ในอนาคตของ สศช. ที่มีการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาสขององค์กรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะสามารถให้บริการที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-