สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำรวจพบหนี้สินครัวเรือนไทยในช่วงปี 2537-2545 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่ยากจนมากมีหนี้สูงกว่ารายได้เฉลี่ยทั้งเดือนถึง 13.3 เท่า
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยถึงผลการศึกษาภาวะหนี้สินในกลุ่มครัวเรือนที่มีการก่อหนี้ว่า ในช่วงปี 2537-2545 หนี้สินของครัวเรือนดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเพิ่มจาก 8.7 เท่าของรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนในปี 2537 เป็น 10.7 เท่าของรายได้ฯในปี 2545 (จำนวนเงินที่เป็นหนี้เฉลี่ย 145,917 บาท ต่อครัวเรือนที่มีหนี้) ขณะเดียวกันในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนมากก็มีภาระหนี้สูงขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มจาก 10.4 เท่าของรายได้ฯในปี 2537 เป็น 13.3 เท่าของรายได้ฯในปี 2545 (เฉลี่ย 35,616 บาทต่อครัวเรือนยากจนมากที่มีหนี้)
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ภาวะหนี้สินของครัวเรือน ควรนำปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาพิจารณาประกอบด้วย อาทิ แนวโน้มการถือครองทรัพย์สิน ลักษณะการกู้ยืม แหล่งเงินกู้ ฯลฯ ซึ่งจากการสำรวจของ สศช. พบว่า ครัวเรือนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) มีบ้านและที่ดินของตนเอง หรือมีการเช่าซื้อบ้าน รวมถึงมียานพาหนะประเภทต่างๆ ในครอบครอง เช่น รถยนต์ รถปิกอัฟ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
นอกจากหนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) ยังเป็นการก่อขึ้นโดยกลุ่มผู้มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่า 30,752 บาท ต่อคนต่อเดือน รวมทั้งสัดส่วนของครัวเรือนที่ต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบก็มีแนวโน้มลดลงอีกด้วย
ขณะเดียวกัน ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ว่า หนี้สินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับรายได้ของครัวเรือนและการจัดงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับการก่อหนี้ในช่วงที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นการผ่อนซื้อสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทรัพย์สินและความมั่นคงให้แก่ชีวิตในอนาคต ดังนั้นภาระหนี้ของครัวเรือนที่มีอยู่ในขณะนี้ จึงยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าห่วงมากนัก
เลขาธิการฯ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า แม้หนี้ในส่วนของครัวเรือนที่ยากจนมาก จะมีสัดส่วนสูงกว่าครัวเรือนทั่วไปเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยจนมาก จะมีสัดส่วนสูงกว่าครัวเรือนทั่วไป เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แต่ก็ยังกว่าข้อมูลของทีดีอาร์ไอ ที่รายงานไว้ว่า ครัวเรือนยากจนมีภาระหนี้สูงถึง 15.2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในปี 2545 ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้เส้นความยากจน นิยามครัวเรือน "ยากจนมาก" และวิธีการคำนวณภาระหนี้ที่ต่างกันนั่นเอง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยถึงผลการศึกษาภาวะหนี้สินในกลุ่มครัวเรือนที่มีการก่อหนี้ว่า ในช่วงปี 2537-2545 หนี้สินของครัวเรือนดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเพิ่มจาก 8.7 เท่าของรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนในปี 2537 เป็น 10.7 เท่าของรายได้ฯในปี 2545 (จำนวนเงินที่เป็นหนี้เฉลี่ย 145,917 บาท ต่อครัวเรือนที่มีหนี้) ขณะเดียวกันในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนมากก็มีภาระหนี้สูงขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มจาก 10.4 เท่าของรายได้ฯในปี 2537 เป็น 13.3 เท่าของรายได้ฯในปี 2545 (เฉลี่ย 35,616 บาทต่อครัวเรือนยากจนมากที่มีหนี้)
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ภาวะหนี้สินของครัวเรือน ควรนำปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาพิจารณาประกอบด้วย อาทิ แนวโน้มการถือครองทรัพย์สิน ลักษณะการกู้ยืม แหล่งเงินกู้ ฯลฯ ซึ่งจากการสำรวจของ สศช. พบว่า ครัวเรือนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81) มีบ้านและที่ดินของตนเอง หรือมีการเช่าซื้อบ้าน รวมถึงมียานพาหนะประเภทต่างๆ ในครอบครอง เช่น รถยนต์ รถปิกอัฟ รถจักรยานยนต์ เป็นต้น
นอกจากหนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65) ยังเป็นการก่อขึ้นโดยกลุ่มผู้มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่า 30,752 บาท ต่อคนต่อเดือน รวมทั้งสัดส่วนของครัวเรือนที่ต้องพึ่งเงินกู้นอกระบบก็มีแนวโน้มลดลงอีกด้วย
ขณะเดียวกัน ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ว่า หนี้สินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับรายได้ของครัวเรือนและการจัดงานที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับการก่อหนี้ในช่วงที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นการผ่อนซื้อสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทรัพย์สินและความมั่นคงให้แก่ชีวิตในอนาคต ดังนั้นภาระหนี้ของครัวเรือนที่มีอยู่ในขณะนี้ จึงยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าห่วงมากนัก
เลขาธิการฯ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า แม้หนี้ในส่วนของครัวเรือนที่ยากจนมาก จะมีสัดส่วนสูงกว่าครัวเรือนทั่วไปเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยจนมาก จะมีสัดส่วนสูงกว่าครัวเรือนทั่วไป เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แต่ก็ยังกว่าข้อมูลของทีดีอาร์ไอ ที่รายงานไว้ว่า ครัวเรือนยากจนมีภาระหนี้สูงถึง 15.2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในปี 2545 ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้เส้นความยากจน นิยามครัวเรือน "ยากจนมาก" และวิธีการคำนวณภาระหนี้ที่ต่างกันนั่นเอง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-