บทบาทใหม่ของ สศช. มุ่งพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ยึดประโยชน์ส่วนรวม อย่างทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นหน่วยงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาประเทศและการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศช.ได้จัดทำ "แผนกลยุทธ์ สศช. พ.ศ.2547-2550" เพื่อปรับบทบาทและภารกิจใหม่ให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับนวัตกรรมและเศรษฐกิจใหม่ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวนำในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อให้สอดรับกับนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยการปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่ แก้ไขบทบัญญัติ/กฎหมายใหม่ๆ ปฏิรูปกระบวนการจัดทำงบประมาณ และนำระบบการบริหารงานแนวใหม่มาใช้
แผนกลยุทธ์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กก.สศช.) แล้วซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจใหม่ของ สศช.จากนักวางแผนพัฒนาเป็นนักยุทธศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางของความรู้ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย สศช.จะเปลี่ยนแปลงการจัดทำแผนพัฒนาฯ ที่ครอบคลุมในทุกด้านมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดในแผนกลยุทธ์ว่า "สศช.เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวมทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง"
เลขาธิการฯ กล่าวว่า แผนกลยุทธ์ของ สศช.นี้ จะเป็นสัญญาประชาคมที่กำหนดทิศทางการทำงานขององค์กรในระยะ 4 ปีข้างหน้า โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนยุทธศาสตร์ และผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และสอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวรวมทั้งเป็นหน่วยงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาองค์กรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นพลวัต เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จะต้องคำนึงหลัก 4 ประการ คือ การสร้างองค์กรฐานความรู้ (Knowledge-Based and Learning Organization) เพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลก (Change Management) ต้องทันสถานการณ์ริเริ่มงานวางแผนในเชิงรุก (Proactive and Creaivity) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสร้างความเป็นเนื้อเดียวกันของระบบการทำงาน (Synergy) มีระบบการทำงานที่ชัดเจน
นอกจากนี้ สศช. ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเชิงรุกและการปรับตัวที่ครอบคลุมทั้งมิตินโยบายและมิติพื้นที่ และการดำเนินงานที่ครบวงจรของการวางแผนคือการวางแผน การผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผล โดยมี 7 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) การวางแผนเพื่อการพัฒนา 2) การพัฒนาขีดตวามสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน 4) การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค 5) การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม 6) การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และ 7) การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศช.ได้จัดทำ "แผนกลยุทธ์ สศช. พ.ศ.2547-2550" เพื่อปรับบทบาทและภารกิจใหม่ให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับนวัตกรรมและเศรษฐกิจใหม่ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวนำในยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งเพื่อให้สอดรับกับนโยบายปฏิรูประบบราชการ โดยการปรับโครงสร้างส่วนราชการใหม่ แก้ไขบทบัญญัติ/กฎหมายใหม่ๆ ปฏิรูปกระบวนการจัดทำงบประมาณ และนำระบบการบริหารงานแนวใหม่มาใช้
แผนกลยุทธ์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (กก.สศช.) แล้วซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจใหม่ของ สศช.จากนักวางแผนพัฒนาเป็นนักยุทธศาสตร์ และเป็นศูนย์กลางของความรู้ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย สศช.จะเปลี่ยนแปลงการจัดทำแผนพัฒนาฯ ที่ครอบคลุมในทุกด้านมาเป็นแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดในแผนกลยุทธ์ว่า "สศช.เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวมทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง"
เลขาธิการฯ กล่าวว่า แผนกลยุทธ์ของ สศช.นี้ จะเป็นสัญญาประชาคมที่กำหนดทิศทางการทำงานขององค์กรในระยะ 4 ปีข้างหน้า โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนยุทธศาสตร์ และผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไปสู่ความสมดุลยั่งยืน และสอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวรวมทั้งเป็นหน่วยงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาองค์กรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความเป็นพลวัต เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีระบบการบริหารจัดการที่ดี
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จะต้องคำนึงหลัก 4 ประการ คือ การสร้างองค์กรฐานความรู้ (Knowledge-Based and Learning Organization) เพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลก (Change Management) ต้องทันสถานการณ์ริเริ่มงานวางแผนในเชิงรุก (Proactive and Creaivity) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสร้างความเป็นเนื้อเดียวกันของระบบการทำงาน (Synergy) มีระบบการทำงานที่ชัดเจน
นอกจากนี้ สศช. ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานเชิงรุกและการปรับตัวที่ครอบคลุมทั้งมิตินโยบายและมิติพื้นที่ และการดำเนินงานที่ครบวงจรของการวางแผนคือการวางแผน การผลักดันไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผล โดยมี 7 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) การวางแผนเพื่อการพัฒนา 2) การพัฒนาขีดตวามสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน 4) การพัฒนาพื้นที่และภูมิภาค 5) การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม 6) การกำกับประเมินผลและสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และ 7) การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-