เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2546 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบ และแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2547 จำนวน 44 โครงการ วงเงิน 208.74 ล้านบาท
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2547 จำนวน 44 โครงการวงเงิน 208.74 ล้านบาทนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้การดำเนินงานใน 3 แผนงาน ได้แก่ แผนการพัฒนาการตลาด แผนพัฒนาการผลิตและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และแผนปรับปรุงกลไกการรับรองมาตรฐานกิจการฮาลาล และได้มีมติให้เชิญคณะผู้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและนำเข้าอาหารฮาลาลจากต่างประเทศมาเยือนประเทศไทย เพื่อแสดงศักยภาพการผลิตความเข้มแข็งในการตรวจรับรองอาหารฮาลาลของไทยที่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 3 คณะคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ Halal-GMP/HACCP และคณะอนุกรรรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
เกี่ยวกับ Road Map "การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก" นั้นมียุทธศาสตร์การดำเนินการดังนี้ (1) ประสานกลุ่มพันธมิตรร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อเป็นฐานการผลิต (2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารตามมาตรฐานสากล เพื่อมุ่งให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับ (3) ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงการประชาสัมพันธ์และการตลาด ระหว่างกลุ่มธุรกิจภาครัฐและชุมชน เพื่อให้มีการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก โดยให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและการส่งออก
ด้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมและพบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งมี 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เอกชน ต.ปะนาเระ และ อ.สายบุรี และพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา อ.หนองจิก
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่านอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทย ดังนี้ คือ
1. ในช่วงปี 2544-2546 ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ไปยังทุกประเทศทั่วโลกในภาพรวมประมาณปีละ 800,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มประเทศมุสลิมเป็นผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากไทยที่สำคัญ โดยในช่วงปี 2544-2545 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารไปยังประเทศมุสลิมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมเป็นมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท โดยการส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 25,000 ล้านบาทและเมื่อพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปกลุ่มประเทศมุสลิมในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่ามีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 7.75 โดยการส่งออกอาหารไปยังตะวันออกกลางมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง ร้อยละ 37.23
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกที่สำคัญของไทยในกลุ่มประเทศมุสลิม ได้แก่ ข้าว น้ำตาล กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องอาหารสำเร็จรูป เครื่องเทศ และสมุนไพร ซึ่งในช่วงปี 2544 - 2546 อาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 17.34
2. การจัดตั้งสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล เป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน กลั่นกรอง ตรวจสอบ การออกใบรับรองอาหารฮาลาลให้ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ให้เป็นที่เชื่อถือยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถาบันควบคุมการดำเนินการของสถาบันภายใต้การกำกับดูและและกำหนดนโยบายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล และผู้อำนวยการสถาบันแล้ว
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งปฏิบัติการกลางและศูนย์กลางข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาหารฮาลาล โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2547 งบกลาง วงเงิน 37.40 ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบในการตรวจสอบ สำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ตลอดจนการแปรรูปอาหารให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและมาตรฐานการส่งออกสากลเพื่อสนับสนุนอาหารฮาลาลออกสู่ตลาดโลก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2547 จำนวน 44 โครงการวงเงิน 208.74 ล้านบาทนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้การดำเนินงานใน 3 แผนงาน ได้แก่ แผนการพัฒนาการตลาด แผนพัฒนาการผลิตและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และแผนปรับปรุงกลไกการรับรองมาตรฐานกิจการฮาลาล และได้มีมติให้เชิญคณะผู้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและนำเข้าอาหารฮาลาลจากต่างประเทศมาเยือนประเทศไทย เพื่อแสดงศักยภาพการผลิตความเข้มแข็งในการตรวจรับรองอาหารฮาลาลของไทยที่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 3 คณะคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ Halal-GMP/HACCP และคณะอนุกรรรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล
เกี่ยวกับ Road Map "การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก" นั้นมียุทธศาสตร์การดำเนินการดังนี้ (1) ประสานกลุ่มพันธมิตรร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อเป็นฐานการผลิต (2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารตามมาตรฐานสากล เพื่อมุ่งให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับ (3) ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงการประชาสัมพันธ์และการตลาด ระหว่างกลุ่มธุรกิจภาครัฐและชุมชน เพื่อให้มีการผลิตอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก โดยให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและการส่งออก
ด้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล จังหวัดปัตตานี ได้มีการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมและพบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งมี 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เอกชน ต.ปะนาเระ และ อ.สายบุรี และพื้นที่โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา อ.หนองจิก
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่านอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของประเทศไทย ดังนี้ คือ
1. ในช่วงปี 2544-2546 ประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ไปยังทุกประเทศทั่วโลกในภาพรวมประมาณปีละ 800,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มประเทศมุสลิมเป็นผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากไทยที่สำคัญ โดยในช่วงปี 2544-2545 ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าอาหารไปยังประเทศมุสลิมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมเป็นมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท โดยการส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าสูงสุดประมาณ 25,000 ล้านบาทและเมื่อพิจารณาการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปกลุ่มประเทศมุสลิมในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่ามีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 7.75 โดยการส่งออกอาหารไปยังตะวันออกกลางมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง ร้อยละ 37.23
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกที่สำคัญของไทยในกลุ่มประเทศมุสลิม ได้แก่ ข้าว น้ำตาล กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋อง อาหารทะเลกระป๋องอาหารสำเร็จรูป เครื่องเทศ และสมุนไพร ซึ่งในช่วงปี 2544 - 2546 อาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัว ร้อยละ 17.34
2. การจัดตั้งสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล เป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐาน กลั่นกรอง ตรวจสอบ การออกใบรับรองอาหารฮาลาลให้ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ให้เป็นที่เชื่อถือยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถาบันควบคุมการดำเนินการของสถาบันภายใต้การกำกับดูและและกำหนดนโยบายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล และผู้อำนวยการสถาบันแล้ว
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งปฏิบัติการกลางและศูนย์กลางข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาหารฮาลาล โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2547 งบกลาง วงเงิน 37.40 ล้านบาท เพื่อเป็นต้นแบบในการตรวจสอบ สำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ตลอดจนการแปรรูปอาหารให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและมาตรฐานการส่งออกสากลเพื่อสนับสนุนอาหารฮาลาลออกสู่ตลาดโลก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-