แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามและแนวโน้มปี 2546-2547 ของสำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 6.5 จากไตรมาสเดียวกันในปี 2545 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสสองที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.8 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) ซึ่งส่งผลให้นักท่องเที่ยวลดลงในไตรมาสดังกล่าว
การที่เศรษฐกิจไตรมาสสามฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคซาร์สได้เร็วกว่าที่คาดหมายนั้น อาจเป็นเพราะนับจากพบผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 11 มีนาคม 2546 กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เริ่มมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มข้นทันที ร่วมกับนานาประเทศภายใต้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลกประกาศออกมาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นระยะๆ ตลอดเวลาของการระบาดของโรคสงบลง โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้ายในวันที่ 15 มิถุนายน 2546 ที่ไต้หวัน และไม่พบการแพร่ไปยังผู้ป่วยรายใหม่อีก จากข้อมูลการรายงานจำนวนผู้ป่วย ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2546 จำนวนผู้ป่วยโรคซาร์สสะสมมีทั้งสิ้น 8,099 รายและมีผู้เสียชีวิต 774 ราย จากทั้งหมด 29 ประเทศ
สำหรับมาตรการที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประเทศไทยสามารถควบคุมป้องกันโรคซาร์สได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมความพร้อมในโรงพยาบาล โดยเฉพาะการแยกผู้ป่วยที่สงสัยพร้อมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันตนเอง ตลอดจนการกักกันและแยกผู้ป่วยที่สงสัยทันทีที่เดินทางมาถึงประเทศไทย
การป้องกันการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล และการกักกันโรคซาร์ส
เนื่องจากโรคซาร์สเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งการใกล้ชิด สัมผัสละอองน้ำลายจากการไอ จาม หรือ สิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วย ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันบุคคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการในเรื่องหลักๆ อาทิ ให้คณะกรรมการที่กำหนดหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ หรือคณะกรรมการ IC (Infection Cobtrol) ในทุกโรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่และบุคลากรอย่างเข้มงวดรัดกุม มีการวางแผนรองรับผู้ป่วยและซ้อมแผน จัดหาเครื่องมือสำหรับป้องกันเจ้าหน้าที่ไม่ให้ได้รับเชื้อและแพร่เชื้อในทุกระดับ จัดห้องแยกผู้ป่วย โดยมีห้องน้ำในตัว ปรับความดันอากาศในห้องให้เป็นลม รวมทั้งจัดแยกเครื่องใช้ต่างๆ ให้อยู่แต่ภายในห้อง เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการฐานข้อมูลของการเฝ้าระวังโรคซาร์สเพราะในช่วงการระบาดของโรคจำเป็นต้องมีข้อมูลแข่งกับเวลา สามารถทราบสถานการณ์รายวันและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้เพื่อประเมินคุณภาพของระบบ เฝ้าระวังนอกจากนี้ ยังต้องแจ้งข้อมูลบางส่วนแก่สื่อมวลชน ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมระดับประเทศ ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจัดการข้อมูลขึ้น ประกอบด้วยนักระบาดวิทยาโปรแกรมเมอร์เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
หลังจากพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยเพียง 1 วัน กรมควบคุมโรคได้มีการจัดตั้งที่ประชุมซาร์ส (war room SARS) ขึ้นมีการจัดการฐานข้อมูลและพัฒนาให้การจัดเก็บข้อมูลง่ายและละเอียดประกอบด้วยข้อมูลผู้ป่วย ภาพถ่ายรังสีปอด การวินิจฉัยโรคประวัติผู้สัมผัสโรค และสามารถสรุปรายวันได้ว่ามีผู้ป่วยกี่ราย เป็นประเภทใดบ้าง สามารถแก้ไขข้อมูล และรายงานผลให้ทันท่วงทีรวมทั้งการประชุม บันทึกการแจกจ่ายงาน และประเมินระบบการรายงานโรคได้ภายใน 24 ชั่วโมงเนื่องจากมีการบันทึกวันที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลและวันที่รายงานโรคไว้ด้วย
ขณะเดียวกัน ยังได้เพิ่มความเข้มข้นของระบบการเฝ้าระวังโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โดยการเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ด้วยมาตรการกักกันและแยกผู้ป่วยที่สงสัยทันทีที่เดินทางมาถึงประเทศไทย ตรวจสอบผู้โดยสารตั้งแต่อยู่ยนเครื่องบิน การกรอกใบรายงานสุขภาพของผู้โดยสาร การตรวจคัดกรองผู้โดยสารเฉพาะผู้ที่มีไข้ การรายงานตัวต่อแพทย์หากมีอาการขณะพำนักในประเทศไทยเพื่อให้สามารถตรวจค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยได้ทันท่วงที และเร่งรัดการเฝ้าระวัง สอบสวน ติดตามผู้สัมผัสในประเทศอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการตรวจคัดกรองก่อนการเดินทางออกจากประเทศไทยด้วย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการระบาดของโรคซาร์ส
จุดแข็งของประเทศไทยและวงการสาธารณสุขของไทย คือมีการสะสมความรู้ทางระบาดวิทยา และการควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลไว้ล่วงหน้า ทำให้มีความพร้อมในการเผชิญกับปัญหา อีกทั้งยังมีการติดตามสถานการณ์ทั้วโลกอย่างใกล้ชิดผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านทักษะเครื่องมือ ความรู้ต่างๆ มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานตามแผน และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสถาการณ์ที่ทั่วโลกกำลังตื่นกลัวด้วยโรคซาร์ส
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จึงเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า การเตรียมการต่างๆ เพื่อสกัดกั้นหรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรคซาร์สให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้นจะต้องมีความสำคัญกับการมีระบบเฝ้าระวังที่ตอบสนองต่อการระบาดของโรคได้อย่างเร่งด่วน ทีมงานจัดการข้อมูลต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบเฝ้าระวัง ทราบข้อมูล และเกาะติดสถานการณ์ของโลกตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพื้นฐานทางระบาดวิทยาที่มีประสิทธิภาพยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวังโรค
นอกจากนั้นการที่ประชาชนใช้ชีวิตอย่างแออัดในชุมชนเมืองตลอดจนมีการเดินทางทั้งในและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมอย่างมากกมาย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศในขณะที่ปัญหาเรื่องการกักตัวผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากเนื่องจากผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อนั้น มักถูกสังคมมองหวาดระแวง
ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวโรคและการป้องกันแก่ชุมชนหรือสังคม รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินเหตุ จึงเป็นอีกมาตรการที่สำคัญในการรับมือกับปัญหาการระบาดของโรค โดยคำนึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิทธิมนุษย์ชนไป พร้อมๆ กัน เพื่อว่าหากโรคซาร์สหวนกลับมาอีก ประเทศไทยและคนไทย ก็พร้อมที่จะรับมือกับโรคซาร์สได้อย่างมีสติแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
การที่เศรษฐกิจไตรมาสสามฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคซาร์สได้เร็วกว่าที่คาดหมายนั้น อาจเป็นเพราะนับจากพบผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 11 มีนาคม 2546 กระทรวงสาธารณสุขก็ได้เริ่มมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มข้นทันที ร่วมกับนานาประเทศภายใต้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลกประกาศออกมาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นระยะๆ ตลอดเวลาของการระบาดของโรคสงบลง โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้ายในวันที่ 15 มิถุนายน 2546 ที่ไต้หวัน และไม่พบการแพร่ไปยังผู้ป่วยรายใหม่อีก จากข้อมูลการรายงานจำนวนผู้ป่วย ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2546 จำนวนผู้ป่วยโรคซาร์สสะสมมีทั้งสิ้น 8,099 รายและมีผู้เสียชีวิต 774 ราย จากทั้งหมด 29 ประเทศ
สำหรับมาตรการที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประเทศไทยสามารถควบคุมป้องกันโรคซาร์สได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมความพร้อมในโรงพยาบาล โดยเฉพาะการแยกผู้ป่วยที่สงสัยพร้อมทั้งให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันตนเอง ตลอดจนการกักกันและแยกผู้ป่วยที่สงสัยทันทีที่เดินทางมาถึงประเทศไทย
การป้องกันการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาล และการกักกันโรคซาร์ส
เนื่องจากโรคซาร์สเป็นโรคที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งการใกล้ชิด สัมผัสละอองน้ำลายจากการไอ จาม หรือ สิ่งขับถ่ายจากผู้ป่วย ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันบุคคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการในเรื่องหลักๆ อาทิ ให้คณะกรรมการที่กำหนดหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ หรือคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ หรือคณะกรรมการ IC (Infection Cobtrol) ในทุกโรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่และบุคลากรอย่างเข้มงวดรัดกุม มีการวางแผนรองรับผู้ป่วยและซ้อมแผน จัดหาเครื่องมือสำหรับป้องกันเจ้าหน้าที่ไม่ให้ได้รับเชื้อและแพร่เชื้อในทุกระดับ จัดห้องแยกผู้ป่วย โดยมีห้องน้ำในตัว ปรับความดันอากาศในห้องให้เป็นลม รวมทั้งจัดแยกเครื่องใช้ต่างๆ ให้อยู่แต่ภายในห้อง เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดการฐานข้อมูลของการเฝ้าระวังโรคซาร์สเพราะในช่วงการระบาดของโรคจำเป็นต้องมีข้อมูลแข่งกับเวลา สามารถทราบสถานการณ์รายวันและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ซึ่งข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้เพื่อประเมินคุณภาพของระบบ เฝ้าระวังนอกจากนี้ ยังต้องแจ้งข้อมูลบางส่วนแก่สื่อมวลชน ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมระดับประเทศ ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจัดการข้อมูลขึ้น ประกอบด้วยนักระบาดวิทยาโปรแกรมเมอร์เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
หลังจากพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยเพียง 1 วัน กรมควบคุมโรคได้มีการจัดตั้งที่ประชุมซาร์ส (war room SARS) ขึ้นมีการจัดการฐานข้อมูลและพัฒนาให้การจัดเก็บข้อมูลง่ายและละเอียดประกอบด้วยข้อมูลผู้ป่วย ภาพถ่ายรังสีปอด การวินิจฉัยโรคประวัติผู้สัมผัสโรค และสามารถสรุปรายวันได้ว่ามีผู้ป่วยกี่ราย เป็นประเภทใดบ้าง สามารถแก้ไขข้อมูล และรายงานผลให้ทันท่วงทีรวมทั้งการประชุม บันทึกการแจกจ่ายงาน และประเมินระบบการรายงานโรคได้ภายใน 24 ชั่วโมงเนื่องจากมีการบันทึกวันที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลและวันที่รายงานโรคไว้ด้วย
ขณะเดียวกัน ยังได้เพิ่มความเข้มข้นของระบบการเฝ้าระวังโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง โดยการเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด ด้วยมาตรการกักกันและแยกผู้ป่วยที่สงสัยทันทีที่เดินทางมาถึงประเทศไทย ตรวจสอบผู้โดยสารตั้งแต่อยู่ยนเครื่องบิน การกรอกใบรายงานสุขภาพของผู้โดยสาร การตรวจคัดกรองผู้โดยสารเฉพาะผู้ที่มีไข้ การรายงานตัวต่อแพทย์หากมีอาการขณะพำนักในประเทศไทยเพื่อให้สามารถตรวจค้นหาผู้ป่วยที่สงสัยได้ทันท่วงที และเร่งรัดการเฝ้าระวัง สอบสวน ติดตามผู้สัมผัสในประเทศอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการตรวจคัดกรองก่อนการเดินทางออกจากประเทศไทยด้วย
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการระบาดของโรคซาร์ส
จุดแข็งของประเทศไทยและวงการสาธารณสุขของไทย คือมีการสะสมความรู้ทางระบาดวิทยา และการควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลไว้ล่วงหน้า ทำให้มีความพร้อมในการเผชิญกับปัญหา อีกทั้งยังมีการติดตามสถานการณ์ทั้วโลกอย่างใกล้ชิดผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านทักษะเครื่องมือ ความรู้ต่างๆ มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานตามแผน และแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอทำให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสถาการณ์ที่ทั่วโลกกำลังตื่นกลัวด้วยโรคซาร์ส
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จึงเป็นประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า การเตรียมการต่างๆ เพื่อสกัดกั้นหรือควบคุมการแพร่ระบาดของโรคซาร์สให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้นจะต้องมีความสำคัญกับการมีระบบเฝ้าระวังที่ตอบสนองต่อการระบาดของโรคได้อย่างเร่งด่วน ทีมงานจัดการข้อมูลต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบเฝ้าระวัง ทราบข้อมูล และเกาะติดสถานการณ์ของโลกตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งพื้นฐานทางระบาดวิทยาที่มีประสิทธิภาพยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเฝ้าระวังโรค
นอกจากนั้นการที่ประชาชนใช้ชีวิตอย่างแออัดในชุมชนเมืองตลอดจนมีการเดินทางทั้งในและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางทำให้การระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมอย่างมากกมาย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศในขณะที่ปัญหาเรื่องการกักตัวผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากเนื่องจากผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อนั้น มักถูกสังคมมองหวาดระแวง
ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวโรคและการป้องกันแก่ชุมชนหรือสังคม รวมถึงการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินเหตุ จึงเป็นอีกมาตรการที่สำคัญในการรับมือกับปัญหาการระบาดของโรค โดยคำนึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิทธิมนุษย์ชนไป พร้อมๆ กัน เพื่อว่าหากโรคซาร์สหวนกลับมาอีก ประเทศไทยและคนไทย ก็พร้อมที่จะรับมือกับโรคซาร์สได้อย่างมีสติแน่นอน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-