นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (สพข.) ได้กล่าวถึงความคืบหน้าของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในหลายด้าน อาทิ
1. จัดตั้งอุทยานแห่งการเรียนรู้ โดยให้มีโครงการนำร่อง ณ บริเวณวิทยาลัยเขตอุเทนถวาย กทม. ในพื้นที่ 21 ไร่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการและจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์นานาชาติ มาเป็นที่ปรึกษา
2. การขยายผลโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากผลการศึกษาโดยศาสตร์จารย์ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ได้เสนอยุทธศาสตร์รวม 6 ด้านในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของรัฐบาลโดยมีความคืบหน้า ดังนี้ (1) การเสริมสร้างและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันของธุรกิจ โดยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การจัดกลุ่มทักษะความสามารถ (Talent and Skill Mapping) การปรับโครงสร้างภาษี การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ SME เครือข่ายวิสาหกิจ (2) การส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การจัดกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Mapping) การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค (3) การปรับทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยการสร้างมาตรฐานในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น โครงการครัวไทยสู่ครัวโลกและโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น เป็นต้น (4) การเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการทำ FTA (Free Trade, Agreement) การจัดประชุม APEC, ACD และ Asia Bond, Economic Corporation Strategy(ECS) (5) การปรับบทบาทภาคธุรกิจและภาครัฐ (6) การกระจายอำนาจด้านนโยบายเศรษฐกิจไปสู่ระดับท้องถิ่น โดยผู้ว่าซีอีโอโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการกระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่น
3. กพข.ได้กำหนดให้การส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลกโดยจากการศึกษาพบว่า เครือข่ายวิสาหกิจจะมีระดับการพัฒนาที่ต่างกันตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม และได้เร่งศึกษาหาแนวทางพัฒนาและกำหนดนโยบายสนับสนุนที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มในอนาคตต่อไป
4. การพัฒนา Roadmap ความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลก มีการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้
(1) การปรับทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ สร้างเอกลักษณ์และตราสินค้า
(2) การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยตั้งกลไกถาวรรับผิดชอบและพัฒนาระบบข้อมูล
(3) การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันของธุรกิจ โดยเร่งพัฒนาทักษะเฉพาะหรือทักษะขั้นก้าวหน้าของแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรม พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
(4) การปรับบทบาทและกลไกของภาครัฐ อาทิ ปรับปรุงกลไกระบบราชการให้สนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และกระจายอำนาจด้านนโยบายเศรษฐกิจไปสู่ระดับภูมิภาค
5. สพข.ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบบ่มเเพาะธุรกิจ โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบ่มเพาะธุรกิจภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีหน้าที่หลักในการกำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์พร้อมทั้งกำกับดูแลเพื่อให้การบริหารจัดการศูนย์บ่มเฉพาะธุรกิจ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6. การจัดทำมาตรฐานโรงแรมไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
1. จัดตั้งอุทยานแห่งการเรียนรู้ โดยให้มีโครงการนำร่อง ณ บริเวณวิทยาลัยเขตอุเทนถวาย กทม. ในพื้นที่ 21 ไร่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการและจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์นานาชาติ มาเป็นที่ปรึกษา
2. การขยายผลโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากผลการศึกษาโดยศาสตร์จารย์ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ได้เสนอยุทธศาสตร์รวม 6 ด้านในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการของรัฐบาลโดยมีความคืบหน้า ดังนี้ (1) การเสริมสร้างและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันของธุรกิจ โดยการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน การจัดกลุ่มทักษะความสามารถ (Talent and Skill Mapping) การปรับโครงสร้างภาษี การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ SME เครือข่ายวิสาหกิจ (2) การส่งเสริมพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ การจัดกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Mapping) การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค (3) การปรับทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยการสร้างมาตรฐานในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น โครงการครัวไทยสู่ครัวโลกและโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น เป็นต้น (4) การเป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการทำ FTA (Free Trade, Agreement) การจัดประชุม APEC, ACD และ Asia Bond, Economic Corporation Strategy(ECS) (5) การปรับบทบาทภาคธุรกิจและภาครัฐ (6) การกระจายอำนาจด้านนโยบายเศรษฐกิจไปสู่ระดับท้องถิ่น โดยผู้ว่าซีอีโอโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการกระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่น
3. กพข.ได้กำหนดให้การส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลกโดยจากการศึกษาพบว่า เครือข่ายวิสาหกิจจะมีระดับการพัฒนาที่ต่างกันตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม และได้เร่งศึกษาหาแนวทางพัฒนาและกำหนดนโยบายสนับสนุนที่เหมาะสมของแต่ละกลุ่มในอนาคตต่อไป
4. การพัฒนา Roadmap ความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลก มีการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้
(1) การปรับทิศทางการดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการ สร้างเอกลักษณ์และตราสินค้า
(2) การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยตั้งกลไกถาวรรับผิดชอบและพัฒนาระบบข้อมูล
(3) การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขันของธุรกิจ โดยเร่งพัฒนาทักษะเฉพาะหรือทักษะขั้นก้าวหน้าของแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรม พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
(4) การปรับบทบาทและกลไกของภาครัฐ อาทิ ปรับปรุงกลไกระบบราชการให้สนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และกระจายอำนาจด้านนโยบายเศรษฐกิจไปสู่ระดับภูมิภาค
5. สพข.ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบบ่มเเพาะธุรกิจ โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบบ่มเพาะธุรกิจภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีหน้าที่หลักในการกำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์พร้อมทั้งกำกับดูแลเพื่อให้การบริหารจัดการศูนย์บ่มเฉพาะธุรกิจ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6. การจัดทำมาตรฐานโรงแรมไทย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-