เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ” ณ โรงแรม คำแสด ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี นายโกมล ชอบชื่นชม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุมว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ สศช. มีความจำเป็นต้องปรับตัว ทบทวนบทบาทและภารกิจ รวมทั้งกระบวนการทำงานให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และความคาดหวังของผู้ใช้บริการทั้งภาครัฐบาล ส่วนราชการ ธุรกิจเอกชน และสาธารณชน การประชุมครั้งนี้จึงมีความสำคัญมากที่จะช่วยให้ได้รับทราบความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับภูมิภาคและส่วนกลาง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับบทบาท ภารกิจและกระบวนการทำงานของสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผู้แทนภาคราชการและเอกชน ได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยต่างก็ยังต้องการให้มีศูนย์พัฒนาภาคทั้งใน 4 ภาคและหน่วยงาน สศช. ประจำกลุ่มจังหวัด รวมทั้งความช่วยเหลือต่างๆ อาทิ การวางแผนยุทธศาสตร์ภาค การบูรณาการแผนงาน/โครงการระหว่างกลุ่มจังหวัด ผลักดันโครงการขนาดใหญ่และเกินกำลังจังหวัด ให้ความสนับสนุนทางวิชาการ จัดทำข้อมูล/ดัชนีชี้วัดรวม ตลอดจนเป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือ เป็นต้น
ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ที่ทุกสำนักภาคร่วมกันจัดทำขึ้น ได้กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งเน้นที่จะ “รู้จริงเรื่องภาค เชื่อมวาระแห่งชาติสู่พื้นที่” โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาภาคที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งความรู้และศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ในการพัฒนาภาค ตลอดจนมีข้อมูลและเครื่องมือในการวางแผนและติดตามประเมินผล
ส่วนยุทธศาสตร์ที่จะนำมาใช้มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ปรับระบบและกระบวนการวางยุทธศาสตร์ 2) ผลักดันยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ 3) พัฒนาข้อมูลและเครื่องมือเพื่อการวางแผนและประเมินผล และ 4) สร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ผู้แทนภาคราชการและเอกชน ได้ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น โดยต่างก็ยังต้องการให้มีศูนย์พัฒนาภาคทั้งใน 4 ภาคและหน่วยงาน สศช. ประจำกลุ่มจังหวัด รวมทั้งความช่วยเหลือต่างๆ อาทิ การวางแผนยุทธศาสตร์ภาค การบูรณาการแผนงาน/โครงการระหว่างกลุ่มจังหวัด ผลักดันโครงการขนาดใหญ่และเกินกำลังจังหวัด ให้ความสนับสนุนทางวิชาการ จัดทำข้อมูล/ดัชนีชี้วัดรวม ตลอดจนเป็นองค์กรกลางประสานความร่วมมือ เป็นต้น
ทั้งนี้ แผนกลยุทธ์ที่ทุกสำนักภาคร่วมกันจัดทำขึ้น ได้กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งเน้นที่จะ “รู้จริงเรื่องภาค เชื่อมวาระแห่งชาติสู่พื้นที่” โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาภาคที่มีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งความรู้และศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้ในการพัฒนาภาค ตลอดจนมีข้อมูลและเครื่องมือในการวางแผนและติดตามประเมินผล
ส่วนยุทธศาสตร์ที่จะนำมาใช้มี 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ปรับระบบและกระบวนการวางยุทธศาสตร์ 2) ผลักดันยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ 3) พัฒนาข้อมูลและเครื่องมือเพื่อการวางแผนและประเมินผล และ 4) สร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนา
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-