แท็ก
ครอบครัว
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนทางสังคมครั้งที่ 2/2546 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการพร้อมข้อเสนอแนะเพิ่มเติมรวมทั้งพิจารณาให้ความเห็นการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม
กับมิติการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์กรวม และมีเป้าหมายที่ครอบครัวยากจน 1.8 ล้านครอบครัวเป็นลำดับแรก โดยครอบคลุมการสพัฒนาศักยภาพสมาชิกทุกช่วงวัยการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางสังคม การสร้างกลไกสนับสนุนทั้งในเรื่องข้อมูล ตัวชี้วัด งานวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเป็นทุนทางสังคม ซึ่งในการพัฒนาสามารถทำได้ทั้งในระดับชาติ โดยเน้นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการสร้าง change agent ระดับพื้นที่เน้นการทำงานแบบพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม (AFP) ควบคู่กับการสร้างเครือข่าย รวมทั้งการจัดทำโครงการนำร่องในหลากหลายรูปแบบเพื่อหาตัวอย่างที่ดี โดยเน้นให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาสถาบันครอบครัวในพื้นที่
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การพัฒนาตัวชี้วัดด้านครอบครัวควรพิจารณา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต การมีเวลาอยู่ร่วมกัน ความรู้ของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกและสุขภาพของครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาครอบครัวในชุมชนรวมทั้งควรเน้นการรณรงค์เผยแพร่การสร้างกระแสสังคมในเรื่องครอบครัวอบอุ่นผ่านสื่อทุกรูปแบบ ซึ่ง สศช.จะปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ครม.เพื่อพิจารณาตามลำดับต่อไป
นอกจากนี้ สศช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการยังได้เสนอเป้าหมายและกระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดทำ Talent&Skill Mapping การพัฒนาสถาบันหลักของสังคมโดยเฉพาะครอบครัว ศาสนา สื่อมวลชน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยกำหนดยุทธวิธีหลักในการขับเคลื่อน 4 ประการ คือการสร้างความตระหนักให้สังคมเห็นความสำคัญของทุนทางสังคม และมีการพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมในภาพรวมและเฉพาะเรื่อง และการดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการสร้างระบบที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน เช่น ระบบข้อมูล ตัวชี้วัด Social Capital Mapping
ที่ประชุมมีความเห็นว่า สศช.ควรจัดระดมความคิดจากภาคีต่างๆ เพื่อให้กรอบแนวคิดในเรื่องนี้มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างพลังงานในสังคม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า สศช.ไม่ควรดำเนินการเองทั้งหมด แต่ควรสร้างการยอมรับและใช้ความร่วมมือจากภาคีต่างๆ อย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ควรสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการจัดทำ Talent & Skill Mapping ของพื้นที่และเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันทั่วประเทศผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-
กับมิติการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์กรวม และมีเป้าหมายที่ครอบครัวยากจน 1.8 ล้านครอบครัวเป็นลำดับแรก โดยครอบคลุมการสพัฒนาศักยภาพสมาชิกทุกช่วงวัยการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางสังคม การสร้างกลไกสนับสนุนทั้งในเรื่องข้อมูล ตัวชี้วัด งานวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเป็นทุนทางสังคม ซึ่งในการพัฒนาสามารถทำได้ทั้งในระดับชาติ โดยเน้นการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และการสร้าง change agent ระดับพื้นที่เน้นการทำงานแบบพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม (AFP) ควบคู่กับการสร้างเครือข่าย รวมทั้งการจัดทำโครงการนำร่องในหลากหลายรูปแบบเพื่อหาตัวอย่างที่ดี โดยเน้นให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาสถาบันครอบครัวในพื้นที่
ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การพัฒนาตัวชี้วัดด้านครอบครัวควรพิจารณา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต การมีเวลาอยู่ร่วมกัน ความรู้ของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกและสุขภาพของครอบครัว โดยการส่งเสริมให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บข้อมูลด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาครอบครัวในชุมชนรวมทั้งควรเน้นการรณรงค์เผยแพร่การสร้างกระแสสังคมในเรื่องครอบครัวอบอุ่นผ่านสื่อทุกรูปแบบ ซึ่ง สศช.จะปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ครม.เพื่อพิจารณาตามลำดับต่อไป
นอกจากนี้ สศช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการยังได้เสนอเป้าหมายและกระบวนการขับเคลื่อนทุนทางสังคม โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดทำ Talent&Skill Mapping การพัฒนาสถาบันหลักของสังคมโดยเฉพาะครอบครัว ศาสนา สื่อมวลชน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว ทั้งนี้โดยกำหนดยุทธวิธีหลักในการขับเคลื่อน 4 ประการ คือการสร้างความตระหนักให้สังคมเห็นความสำคัญของทุนทางสังคม และมีการพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม การจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมในภาพรวมและเฉพาะเรื่อง และการดำเนินโครงการนำร่องในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการสร้างระบบที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน เช่น ระบบข้อมูล ตัวชี้วัด Social Capital Mapping
ที่ประชุมมีความเห็นว่า สศช.ควรจัดระดมความคิดจากภาคีต่างๆ เพื่อให้กรอบแนวคิดในเรื่องนี้มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างพลังงานในสังคม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า สศช.ไม่ควรดำเนินการเองทั้งหมด แต่ควรสร้างการยอมรับและใช้ความร่วมมือจากภาคีต่างๆ อย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน ควรสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการจัดทำ Talent & Skill Mapping ของพื้นที่และเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ร่วมกันทั่วประเทศผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-วม/พห-