- คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี เพื่อชะลอความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อในระยะต่อไป
-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มีการประมูลตราสารภาครัฐในตลาดแรกเพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเนื่องจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อทำกำไร ตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมกราคม และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นและตัวเลขเศรษฐกิจที่คาดว่าจะออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (2 มี.ค.) เพื่อชะลอความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวขึ้นจากปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2547 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2544
ความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการลดระดับเงินสดสำรองซึ่งอยู่ในระดับสูงในสัปดาห์ก่อน ประกอบกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งมีการระดมเงินฝากจากต่างประเทศ จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงเล็กน้อยน้อยจากร้อยละ 1.6875 และ 1.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 และ 1.90625 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนในวันอังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน มีไม่มากนัก แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 2 มี.ค. ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.9375 2.15625 และ 2.25 สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์หน้า (7 มี.ค.) มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 และ 2.0625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ ในช่วงปลายสัปดาห์มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.15 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.85 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9375 - 2 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,400 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท.อายุ 28 64 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,400 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 101,784 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 20,357 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.8 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 57.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุต่ำกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้น 3-8 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นเพียง 1 basis point ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในวันพุธ ไม่ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มมากขึ้นเท่าใดนัก เนื่องจากตลาดได้ปรับตัวล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชนลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อทำกำไรหลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 600 ล้านบาท หลังจากมีการซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน ตลอดจนตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. ที่ขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวเป็นนัยว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและ Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของตลาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 4 มี.ค. เพิ่มขึ้นกว่า 260,000 ตำแหน่ง และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
สถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินหยวน
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างต่อเนื่องเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นเงินสกุลหลักที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก และเป็นส่วนสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางต่างๆ ซึ่งกำลังมีข่าวว่ามีการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สหรัฐฯ เพื่อลดการขาดทุนจากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับอ่อนค่าลง หากการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นจำนวนมาก จะเกิดผลเสียต่อตลาดการเงินทั่วโลก เมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง ค่าเงินสกุลอื่นจะแข็งขึ้นโดยเปรียบเทียบ ซึ่งหากการแข็งค่าเป็นไปอย่างรวดเร็วก็จะไม่เป็นผลดีกับการส่งออก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจึงมีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อป้องกันภาค การส่งออกของตน โดยเฉพาะประเทศจีนที่ผูกติดค่าเงินหยวนกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งประเทศในกลุ่ม G-7 พยายามกดดันให้ปรับค่าเงินให้สะท้อนภาพที่เป็นจริงมากขึ้น
1) ปัญหาค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
- สหรัฐอเมริกายังคงประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยยอดการดุลการค้าทั้งปี 2547 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 617.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของ GDP สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูงถึง 412 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีงบประมาณ 2547 คิดเป็นร้อยละ 3.6 ของ GDP และมีแนวโน้มขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 427 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีงบประมาณ 2548
- แม้ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามในการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างจริงจัง โดยยืนยันจะลดยอดการขาดดุลงบประมาณลงสู่ระดับร้อยละ 1.5 ของ GDP ภายในปีงบประมาณ 2551 แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจต่อความสำเร็จของแผนลดการขาดดุลดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้เน้นที่โครงการที่ใช้งบประมาณในระดับสูง เช่น งบประมาณด้านกลาโหม ประกอบกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณสูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในปัจจุบันได้รับการชดเชยด้วยเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. อุปสงค์ต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นอุปสงค์จากธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากธนาคารกลางของหลายประเทศปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์
สหรัฐฯ ในทุนสำรองลงพร้อมกันเพื่อลดการขาดทุนจากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับอ่อนค่าลง จะกดดันให้เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอีกอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
- การที่รัฐบาลสหรัฐฯ แสดงความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างจริงจัง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund และเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ sentiment ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นเล็กน้อย จึงคาดว่าค่าเงินจะยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่เป็นไปอย่างช้าๆ
2) นโยบายการเงินของจีนและค่าเงินหยวน
- ค่าเงินหยวนของจีนที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ระดับ 8.276 -- 8.280 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ในปัจจุบันถูกมองว่าอยู่ในระดับที่ต่ำเกินจริง ส่งผลจีนได้เปรียบประเทศคู่ค้าในตลาดโลกและมีการเกินดุล
การค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นานาประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปซึ่งมีการขาดดุลการค้ากับจีนในระดับสูงจึงมีการเรียกร้องให้ทางการจีนปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ การคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินหยวนเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะกดดันการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของทางการจีนอีกทางหนึ่ง
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ปริมาณเงินและการปล่อยสินเชื่อของ
สถาบันการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็ว การลงทุนในธุรกิจหลายประเภทขยายตัวสูง การขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสามของปี 2547 ธนาคารกลางจีนจึงเริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ในเดือนตุลาคม 2547 จากระดับร้อยละ 5.31 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.58 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
- ธนาคารกลางจีนไม่เน้นการใช้มาตรการด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมสภาพคล่องและป้องกันภาวะเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นจากต่างประเทศมากขึ้น กระทบต่อต้นทุนของธุรกิจขนาดกลาง/เล็กและธุรกิจการส่งออก และภาระหนี้เสียของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จึงเลือกใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ ได้แก่ มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในบางภาคการผลิต มาตรการเพิ่มเงินสำรองของสถาบันการเงิน และการทำ Open-market Operation โดยการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบ โดยเฉพาะหลังจากการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับคงที่ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกเล็กน้อยในปี 2548 เพื่อควบคุมแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
- แม้ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนยังยืนยันว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะลอยตัวค่าเงินหยวนในระยะนี้เนื่องจากระบบการเงินของจีนยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะรองรับความผันผวนของระบบอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ แต่คาดว่าในที่สุดจีนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคาดว่าการปรับค่าเงินหยวนในระยะแรกจะเป็นไปในรูปแบบของการผูกค่าเงินหยวนในระบบตะกร้าเทียบกับเงินสกุลหลักหลายสกุล หรือการปรับช่วงความเคลื่อนไหว (band) ของค่าเงินหยวนเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในระยะแรกคาดว่าจะอยู่ประมาณร้อยละ 5 -- 10 ของค่ามาตรฐาน แต่มีแนวโน้มว่าการปรับช่วงเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรจนกระทั่งค่าเงินหยวนอยู่ที่ระดับสูงสุดของ band ก่อนจะที่จะมีการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนไปสู่ระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) ในระยะต่อไป
3) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของจีนต่อประเทศไทย
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญและเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าแข่งขันกับไทยในตลาดโลก การทยอยปรับค่าเงินหยวนให้เข้าสู่ระดับที่แท้จริงจะส่งผลให้ความได้เปรียบในการแข่งขันของจีนด้านราคาสินค้าส่งออกลดลง น่าจะเป็นผลดีต่อดุลการค้าของประเทศไทย ในขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของจีนจะส่งผลกระทบในทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย โดยการใช้มาตรการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจะทำให้เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยรวมและเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แต่หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-มีการประมูลตราสารภาครัฐในตลาดแรกเพิ่มขึ้น มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ไทยและสหรัฐฯ มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น
-เงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นจากปลายสัปดาห์ก่อนตามค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยน ก่อนจะมีทิศทางอ่อนค่าลงเนื่องจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อทำกำไร ตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมกราคม และการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ จากอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นและตัวเลขเศรษฐกิจที่คาดว่าจะออกมาดี
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา (2 มี.ค.) เพื่อชะลอความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวขึ้นจากปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อันจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้นับเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2547 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2544
ความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์บางแห่งต้องการลดระดับเงินสดสำรองซึ่งอยู่ในระดับสูงในสัปดาห์ก่อน ประกอบกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งมีการระดมเงินฝากจากต่างประเทศ จึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันปิดตลาดลดลงเล็กน้อยน้อยจากร้อยละ 1.6875 และ 1.9375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 และ 1.90625 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนในวันอังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน เป็นส่วนใหญ่ เพื่อรอโอกาสลงทุนในอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธ ขณะที่ความต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน มีไม่มากนัก แต่หลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 2 มี.ค. ความต้องการลงทุนในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.9375 2.15625 และ 2.25 สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินจากการเตรียมปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันจันทร์หน้า (7 มี.ค.) มาลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเป็นจำนวนมาก หนาแน่นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8125 และ 2.0625 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ นอกจากนี้ ในช่วงปลายสัปดาห์มีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.25 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวกว้างขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.15 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.85 ต่อปีในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9375 - 2 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 36,400 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท.อายุ 28 64 และ 364 วัน วงเงินรวม 18,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,400 ล้านบาท ตราสารส่วนใหญ่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย ตามสัดส่วนเสนอประมูลที่ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง และมีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 3 และ 5 ปี ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 101,784 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 20,357 ล้านบาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 23.8 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 57.3 ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมาเป็นพันธบัตร ธปท.อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุต่ำกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้น 3-8 basis points และพันธบัตรฯ อายุมากกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นเพียง 1 basis point ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในวันพุธ ไม่ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนปรับเพิ่มมากขึ้นเท่าใดนัก เนื่องจากตลาดได้ปรับตัวล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชนลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.33 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.3 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในต้นสัปดาห์แข็งค่าขึ้นค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตามการแข็งค่าของเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนที่ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเล็กน้อยในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันจากแรงเทขายเงินบาทเพื่อทำกำไรหลังจากการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. การปรับตัวลดลงของตลาดหลักทรัพย์ไทยและการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติกว่า 600 ล้านบาท หลังจากมีการซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน ตลอดจนตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. ที่ขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวเป็นนัยว่าอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและ Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ สรอ. ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์ของตลาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 4 มี.ค. เพิ่มขึ้นกว่า 260,000 ตำแหน่ง และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ในระยะต่อไป
สถานการณ์ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. และเงินหยวน
การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างต่อเนื่องเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นเงินสกุลหลักที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก และเป็นส่วนสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางต่างๆ ซึ่งกำลังมีข่าวว่ามีการปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์สหรัฐฯ เพื่อลดการขาดทุนจากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับอ่อนค่าลง หากการดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นจำนวนมาก จะเกิดผลเสียต่อตลาดการเงินทั่วโลก เมื่อเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง ค่าเงินสกุลอื่นจะแข็งขึ้นโดยเปรียบเทียบ ซึ่งหากการแข็งค่าเป็นไปอย่างรวดเร็วก็จะไม่เป็นผลดีกับการส่งออก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจึงมีการแทรกแซงค่าเงินเพื่อป้องกันภาค การส่งออกของตน โดยเฉพาะประเทศจีนที่ผูกติดค่าเงินหยวนกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งประเทศในกลุ่ม G-7 พยายามกดดันให้ปรับค่าเงินให้สะท้อนภาพที่เป็นจริงมากขึ้น
1) ปัญหาค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
- สหรัฐอเมริกายังคงประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น โดยยอดการดุลการค้าทั้งปี 2547 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 617.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของ GDP สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับการขาดดุลงบประมาณที่อยู่ในระดับสูงถึง 412 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีงบประมาณ 2547 คิดเป็นร้อยละ 3.6 ของ GDP และมีแนวโน้มขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 427 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีงบประมาณ 2548
- แม้ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามในการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างจริงจัง โดยยืนยันจะลดยอดการขาดดุลงบประมาณลงสู่ระดับร้อยละ 1.5 ของ GDP ภายในปีงบประมาณ 2551 แต่นักวิชาการส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจต่อความสำเร็จของแผนลดการขาดดุลดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้เน้นที่โครงการที่ใช้งบประมาณในระดับสูง เช่น งบประมาณด้านกลาโหม ประกอบกับการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณสูงกว่าที่ประมาณการไว้มาก
- การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ในปัจจุบันได้รับการชดเชยด้วยเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์ สรอ. อุปสงค์ต่อสินทรัพย์สหรัฐฯ ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นอุปสงค์จากธนาคารกลางของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งมีการสะสมทุนสำรองระหว่างประเทศในรูปของสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากธนาคารกลางของหลายประเทศปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์
สหรัฐฯ ในทุนสำรองลงพร้อมกันเพื่อลดการขาดทุนจากเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับอ่อนค่าลง จะกดดันให้เงิน
ดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงอีกอย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิด
- การที่รัฐบาลสหรัฐฯ แสดงความพยายามแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างจริงจัง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund และเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ sentiment ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นเล็กน้อย จึงคาดว่าค่าเงินจะยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว แต่เป็นไปอย่างช้าๆ
2) นโยบายการเงินของจีนและค่าเงินหยวน
- ค่าเงินหยวนของจีนที่ผูกติดกับเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ระดับ 8.276 -- 8.280 หยวนต่อดอลลาร์ สรอ. ในปัจจุบันถูกมองว่าอยู่ในระดับที่ต่ำเกินจริง ส่งผลจีนได้เปรียบประเทศคู่ค้าในตลาดโลกและมีการเกินดุล
การค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก นานาประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปซึ่งมีการขาดดุลการค้ากับจีนในระดับสูงจึงมีการเรียกร้องให้ทางการจีนปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ การคาดการณ์การปรับขึ้นค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินหยวนเป็นจำนวนมาก เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะกดดันการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของทางการจีนอีกทางหนึ่ง
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนในปี 2547 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ากว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ปริมาณเงินและการปล่อยสินเชื่อของ
สถาบันการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็ว การลงทุนในธุรกิจหลายประเภทขยายตัวสูง การขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสามของปี 2547 ธนาคารกลางจีนจึงเริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี ในเดือนตุลาคม 2547 จากระดับร้อยละ 5.31 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 5.58 ต่อปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ
- ธนาคารกลางจีนไม่เน้นการใช้มาตรการด้านอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมสภาพคล่องและป้องกันภาวะเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากเกรงว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยดึงดูดเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นจากต่างประเทศมากขึ้น กระทบต่อต้นทุนของธุรกิจขนาดกลาง/เล็กและธุรกิจการส่งออก และภาระหนี้เสียของระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จึงเลือกใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ ได้แก่ มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อในบางภาคการผลิต มาตรการเพิ่มเงินสำรองของสถาบันการเงิน และการทำ Open-market Operation โดยการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบ โดยเฉพาะหลังจากการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้อยู่ในระดับคงที่ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกเล็กน้อยในปี 2548 เพื่อควบคุมแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อซึ่งส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
- แม้ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนยังยืนยันว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะลอยตัวค่าเงินหยวนในระยะนี้เนื่องจากระบบการเงินของจีนยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะรองรับความผันผวนของระบบอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ แต่คาดว่าในที่สุดจีนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยคาดว่าการปรับค่าเงินหยวนในระยะแรกจะเป็นไปในรูปแบบของการผูกค่าเงินหยวนในระบบตะกร้าเทียบกับเงินสกุลหลักหลายสกุล หรือการปรับช่วงความเคลื่อนไหว (band) ของค่าเงินหยวนเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในระยะแรกคาดว่าจะอยู่ประมาณร้อยละ 5 -- 10 ของค่ามาตรฐาน แต่มีแนวโน้มว่าการปรับช่วงเคลื่อนไหวดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเก็งกำไรจนกระทั่งค่าเงินหยวนอยู่ที่ระดับสูงสุดของ band ก่อนจะที่จะมีการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนไปสู่ระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float) ในระยะต่อไป
3) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของจีนต่อประเทศไทย
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญและเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าแข่งขันกับไทยในตลาดโลก การทยอยปรับค่าเงินหยวนให้เข้าสู่ระดับที่แท้จริงจะส่งผลให้ความได้เปรียบในการแข่งขันของจีนด้านราคาสินค้าส่งออกลดลง น่าจะเป็นผลดีต่อดุลการค้าของประเทศไทย ในขณะที่การดำเนินนโยบายทางการเงินของจีนจะส่งผลกระทบในทางอ้อมต่อเศรษฐกิจไทย โดยการใช้มาตรการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพในการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจจะทำให้เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียโดยรวมและเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว แต่หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-