เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมแถลงข่าวผลการดำเนินงานรอบปี 2546 ที่ผ่านมาของ สศช.รวมทั้งแถลงงานในปี 2547 และแนวทางการปรับตัวของ สศช. เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ในรอบปี 2546 ที่ผ่านมา สศช. ได้ดำเนินงานสำคัญ ๆ หลายเรื่อง สรุปได้ ดังนี้
การพัฒนาตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ได้แก่
1) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ได้ จัดทำแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน ประจำปีงบประมาณ 2547 กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ได้คัดเลือกเฉพาะตำบลที่มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 1 (ล้าหลัง) และหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 2 (ปานกลาง) โดยในปี 2544 ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้วทั้งสิ้น 16,735 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 39.9 (6,676 หมู่บ้าน) รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 34.7 ( 5,806 หมู่บ้าน) ภาคกลาง ร้อยละ 18.0 ( 3,012 หมู่บ้าน) และภาคใต้ ร้อยละ 7.4 ( 6,241 หมู่บ้าน)
นอกจากนี้ ได้ผลักดันการจัดทำแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน และพัฒนาเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของคนไทยที่ควรได้รับ 10 ประการ
2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้โครงการสร้างฝัน 7 ข้อ ได้ดำเนินการต่าง ๆ ได้แก่ กำหนดกลไกในการผลักดันและแปลงยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม การพัฒนาเศรษฐกิจ กลุ่มความรู้และบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ และกลุ่มการพัฒนาสังคมรวมทั้ง ยังสนับสนุนงบประมาณ เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยใช้งบกลาง 1,000 ล้านบาท เพื่อศึกษาและเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึก พัฒนาองค์ความรู้และสมรรถนะของหน่วยงานกลาง และกำหนด/ผลักดันยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ งบกลาง 16,600 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและปรับทิศทางของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่มีสมรรถนะสูง โดยในปีงบประมาณ 2546 ได้อนุมัติโครงการจำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 16,521.64 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำข้อเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงสถาบันเฉพาะทาง ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน เพื่อยกระดับการแข่งขันของธุรกิจไทย พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสร้างตัวชี้วัดเพื่อใช้กำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ร่วมผลักดันการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ริเริ่มวางแนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เป็นต้น
3) การพัฒนาทุนทางสังคม ภารกิจที่สำคัญ เช่น การปรับความหมาย ขอบเขต และกรอบแนวคิดการพัฒนาทุนทางสังคม ให้มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนทางสังคม รวมทั้งผลักดันให้มีการนำยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ
4) การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้มีการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ เพื่อกำหนดนิยามและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.)
การพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล มีการดำเนินงานหลายเรื่องคือ
1) การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้ ดำเนินการเสนอให้จัดตั้งสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสแก่ประชาชนโดยเฉพาะคนจนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยเริ่มดำเนินงานและมีผลบังคับใช้อย่างเต็มระบบเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547
2) การพัฒนาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ โดย สศช. ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของคณะกรรมการบริหารงานการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สกภ.) โดยในรอบปี 46 ได้มีการลงทุนในวงเงิน 106,758 ล้านบาท อาทิ งานอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ทางวิ่งและลานจอดเครื่องบิน ก้าวหน้าร้อยละ 37.28 รวมทั้งประสานรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นๆ ที่ดำเนินการในเรื่องนี้ มีการลงทุนวงเงิน 42,411 ล้านบาท มีความก้าวหน้าร้อยละ 16.85 ขณะนี้ได้มีการปรับแผนการก่อสร้างของทุกหน่วยงานเพื่อเร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้แล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในวันที่ 29 กันยายน 2548
3) การจัดระบบศูนย์ราชการ อาศัยกลไกหลักคือ "คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (กศร.)" โดยมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม มีความก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรม อาทิ ได้จัดทำแผนการใช้ที่ดินและวางผังแม่บทศูนย์ราชการ 25 จังหวัด ก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดต่างๆ แล้ว 55 จังหวัด ส่วนโครงศูนย์ราชการใน กทม. ที่ถนนแจ้งวัฒนะนั้น มีเป้าหมายจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และเปิดใช้อาคารในเดือนธันวาคม 2550
4) การพัฒนาพื้นที่ถนนราชดำเนินและพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง สศช. ได้ศึกษาและจัดทำแผนผังแม่บทการพัฒนาที่ถนนราชดำเนินและบริเวณต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
5) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ สศช. ได้ผลักดันนโยบายตามแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ ไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มใช้แผนฯ 9 มีผลการดำเนินงานสำคัญ อาทิพัฒนาและทดสอบเครื่องชี้วัดเมืองน่าอยู่ฯ พัฒนาฐานข้อมูล และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีพัฒนาการพัฒนาพื้นที่ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคต่างๆ ได้แก่ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกัมพูชา-ลาว-พม่า-ไทย (ECS) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) รวมทั้งได้ประสานการทำโครงการเร่งด่วน ภายใต้แผนนี้ด้วย
การบริหารจัดการโครงการลงทุน
1) วิเคราะห์โครงการ/แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านต่างๆ ทั้ง สาขาขนส่ง อาทิ แผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่/ภูเก็ต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร โครงการขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน จำนวน 565,500 เลขหมาย สาขาสาธารณูปการ อาทิ โครงการพัฒนาระบบประปา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตน้ำประปา และสาขาพลังงาน อาทิ แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ปี 2547-2550 และแผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนดิน เป็นต้น
2) วิเคราะห์งบประมาณลงทุนรัฐวิสาหกิจ จำนวน 48 แห่ง โดยวิเคราะห์งบลงทุนเพิ่มเติมปี 2546 และงบลงทุนปี 2547 รวมทั้งจัดทำกรอบการลงทุน ปี 2547
3) ปรับปรุงกระบวนการพิจารณางบประมาณลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจแนวใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอจากภาพรวม 50 แห่ง เป็นการนำเสนอรายกระทรวง และเปลี่ยนบทบาท สศช. จาก ผู้ชี้แจงและตอบข้อซักถาม เป็นผู้นำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา โดยให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ชี้แจง
4) แนวทางการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี โดยเน้นหลักธรรมาภิบาล และให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ขั้นการวางแผน การจัดเตรียมโครงการ การนำเสนอ และการดำเนินโครงการ
ภารกิจพิเศษของ สศช.
1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ได้เชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตสื่อ เครื่องมือและเอกสารเบื้องต้น เพื่อใช้ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มต่างๆ
2) ธนาคารสมอง สศช. ทำหน้าที่หน่วยทะเบียนกลาง ซึ่งขณะนี้ มีผู้สมัครเป็นวุฒิอาสา จำนวน 2,627 คน มีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การให้ความช่วยเหลือทั้งในลักษณะเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น เช่น โครงการตายายสอนหลาน เป็นต้น
3) มูลนิธิพัฒนาไท ให้ความสำคัญกับการสร้างการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสร้างสภาวะผู้นำให้กับคนทุกระดับ รวมทั้งการเรียนรู้ระบบฐานข้อมูลเครือข่ายทุนทางสังคมและแผนชุมชน
4) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 12 เรื่อง อาทิ ผลกระทบต่อประชาชนจากโทษทางอาญา กรณีศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ และกลุ่มกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และร่างแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนฯ 9 การปรับบทบาทของ สศช. เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
สศช.ได้เริ่มจัดทำแผนกลยุทธ์ในการชี้นำการปรับเปลี่ยน สศช.ไปสู่บทบาทใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ คือ เป็น "หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีการบริหารจัดการที่ดี" โดยให้ความสำคัญกับบทบาทใหม่ของ สศช. 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ การวางระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจสู่สาธารณชน และการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการและส่งสัญญาณเตือนภัย โดยดำเนินการภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ งานที่ สศช. จะดำเนินการในปี 2547 ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภารกิจภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์
1) ยุทธศาสตร์การวางแผนเพื่อการพัฒนา มุ่งเน้นการจัดทำยุทธศาสตร์บริหารเศรษฐกิจมหภาคและแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้กับคณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายรัฐบาล โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การบริหารเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ 2) การบริหารจัดการแผนการลงทุนของประเทศ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เอื้อต่อการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตของผู้ประกอบการ ให้สามารถแข่งขันหรือเป็นผู้นำตลาดได้ในเวทีโลก ในขณะเดียวกับที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 7 เรื่อง ได้แก่ 1) การสร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง 2) สร้างบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ 3) สร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลก 4) การสร้างสังคมผู้ประกอบการ 5) แนวทางการผลักดัน Green Productivity ในภาคอุตสาหกรรม 6) แผนงานสนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสะอาดในภาคการท่องเที่ยว 7)แนวทางบูรณาการการบริหารจัดการลุ่มน้ำสำคัญในภาคเหนือและอีสานภาคละ 1 ลุ่มน้ำ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังการพัฒนาตามวาระแห่งชาติที่สำคัญสูงสุด 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ ความยากจน และทุนทางสังคม โดยที่ขอบเขตของทุนทางสังคมจะประกอบด้วย (1) ทุนมนุษย์ (2) ทุนที่เป็นสถาบัน และ (3) ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1)ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ 2) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม 3)ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ในเรื่องการแก้ไขปัญหาเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสและแนวทางการพัฒนาเกณฑ์พื้นฐาน 10 ประการ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และภาค เป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้มิติเชิงพื้นที่มาเชื่อมโยงกับวาระแห่งชาติ 4 วาระให้สามารถบูรณาการการพัฒนาในระดับภาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ รวมทั้งเชื่อมโยงต่อไปยังยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำยุทธศาสตร์ใน 2 เรื่อง คือ 1) กรอบแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน : การเชื่อมโยงเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดน และ 2) การจัดทำยุทธศาสตร์ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม สศช. จะพัฒนาฐานข้อมูลบัญชีประชาชาติ QGDP/ GDP/ GPP/ GRP ให้มีฐานข้อมูลถึงปี 2546 ณ เดือนธันวาคม 2547 และฐานข้อมูลดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและดัชนีความอยู่ดีมีสุข ให้มีฐานข้อมูลถึงปี 2545
6) ยุทธศาสตร์การกำกับและประเมินผล เน้นการติดตามประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ในงบประมาณ 2547 สศช. มีเป้าหมายจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การประเมินความคุ้มค่าในการปฎิบัติภารกิจ แห่งรัฐ
7) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง นับเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จในการดำเนินงาน โดยจะพัฒนา 2 เรื่อง คือ การพัฒนาการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสังเคราะห์ความรู้จากประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ และการลดขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น
ภารกิจตามนโยบายรัฐบาล / ภารกิจพิเศษ อาทิ
1) ธนาคารสมอง มุ่งเน้นการทำงานทั้งในลักษณะเชิงรุกและเชิงรับ โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยมีแผนงาน/โครงการพิเศษในปี 2547 เช่น แผนงานวุฒิอาสาร่วมพัฒนาประเทศเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ โครงการวุฒิอาสาร่วมพัฒนาหมู่บ้านยากจนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2) การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะดำเนินการใน 4 ด้านควบคู่กันไป คือ 1) การเชื่อมโยงเครือข่ายขับเคลื่อน 2) การพัฒนาด้านวิชาการและส่งเสริมการวิจัย 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ 4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
3) มูลนิธิพัฒนาไท ดำเนินการในเรื่องเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ โดยมีการจัดเวทีพบปะของชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ และการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่
4) การพัฒนาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ โดยจะนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิต่อ ครม. และจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตามและเร่งรัดการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่โดยรอบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า ในรอบปี 2546 ที่ผ่านมา สศช. ได้ดำเนินงานสำคัญ ๆ หลายเรื่อง สรุปได้ ดังนี้
การพัฒนาตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ได้แก่
1) การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ ได้ จัดทำแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน ประจำปีงบประมาณ 2547 กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ได้คัดเลือกเฉพาะตำบลที่มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 1 (ล้าหลัง) และหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา อันดับ 2 (ปานกลาง) โดยในปี 2544 ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายแล้วทั้งสิ้น 16,735 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 39.9 (6,676 หมู่บ้าน) รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 34.7 ( 5,806 หมู่บ้าน) ภาคกลาง ร้อยละ 18.0 ( 3,012 หมู่บ้าน) และภาคใต้ ร้อยละ 7.4 ( 6,241 หมู่บ้าน)
นอกจากนี้ ได้ผลักดันการจัดทำแผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน และพัฒนาเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนไทย เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของคนไทยที่ควรได้รับ 10 ประการ
2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ภายใต้โครงการสร้างฝัน 7 ข้อ ได้ดำเนินการต่าง ๆ ได้แก่ กำหนดกลไกในการผลักดันและแปลงยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่ม การพัฒนาเศรษฐกิจ กลุ่มความรู้และบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ และกลุ่มการพัฒนาสังคมรวมทั้ง ยังสนับสนุนงบประมาณ เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยใช้งบกลาง 1,000 ล้านบาท เพื่อศึกษาและเสริมสร้างองค์ความรู้เชิงลึก พัฒนาองค์ความรู้และสมรรถนะของหน่วยงานกลาง และกำหนด/ผลักดันยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ งบกลาง 16,600 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและปรับทิศทางของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่มีสมรรถนะสูง โดยในปีงบประมาณ 2546 ได้อนุมัติโครงการจำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 16,521.64 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังได้จัดทำข้อเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงสถาบันเฉพาะทาง ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน เพื่อยกระดับการแข่งขันของธุรกิจไทย พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสร้างตัวชี้วัดเพื่อใช้กำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ร่วมผลักดันการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ริเริ่มวางแนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) เป็นต้น
3) การพัฒนาทุนทางสังคม ภารกิจที่สำคัญ เช่น การปรับความหมาย ขอบเขต และกรอบแนวคิดการพัฒนาทุนทางสังคม ให้มีความชัดเจนและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนทางสังคม รวมทั้งผลักดันให้มีการนำยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติ
4) การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้มีการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มต่างๆ เพื่อกำหนดนิยามและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.)
การพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล มีการดำเนินงานหลายเรื่องคือ
1) การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้ ดำเนินการเสนอให้จัดตั้งสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสแก่ประชาชนโดยเฉพาะคนจนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยเริ่มดำเนินงานและมีผลบังคับใช้อย่างเต็มระบบเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547
2) การพัฒนาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ โดย สศช. ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของคณะกรรมการบริหารงานการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สกภ.) โดยในรอบปี 46 ได้มีการลงทุนในวงเงิน 106,758 ล้านบาท อาทิ งานอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ทางวิ่งและลานจอดเครื่องบิน ก้าวหน้าร้อยละ 37.28 รวมทั้งประสานรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นๆ ที่ดำเนินการในเรื่องนี้ มีการลงทุนวงเงิน 42,411 ล้านบาท มีความก้าวหน้าร้อยละ 16.85 ขณะนี้ได้มีการปรับแผนการก่อสร้างของทุกหน่วยงานเพื่อเร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้แล้วเสร็จและเปิดบริการได้ในวันที่ 29 กันยายน 2548
3) การจัดระบบศูนย์ราชการ อาศัยกลไกหลักคือ "คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ (กศร.)" โดยมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม มีความก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรม อาทิ ได้จัดทำแผนการใช้ที่ดินและวางผังแม่บทศูนย์ราชการ 25 จังหวัด ก่อสร้างศูนย์ราชการจังหวัดต่างๆ แล้ว 55 จังหวัด ส่วนโครงศูนย์ราชการใน กทม. ที่ถนนแจ้งวัฒนะนั้น มีเป้าหมายจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จ และเปิดใช้อาคารในเดือนธันวาคม 2550
4) การพัฒนาพื้นที่ถนนราชดำเนินและพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง สศช. ได้ศึกษาและจัดทำแผนผังแม่บทการพัฒนาที่ถนนราชดำเนินและบริเวณต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
5) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ สศช. ได้ผลักดันนโยบายตามแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ ไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มใช้แผนฯ 9 มีผลการดำเนินงานสำคัญ อาทิพัฒนาและทดสอบเครื่องชี้วัดเมืองน่าอยู่ฯ พัฒนาฐานข้อมูล และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีพัฒนาการพัฒนาพื้นที่ จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคต่างๆ ได้แก่ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และจัดทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกัมพูชา-ลาว-พม่า-ไทย (ECS) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (อพบ.) รวมทั้งได้ประสานการทำโครงการเร่งด่วน ภายใต้แผนนี้ด้วย
การบริหารจัดการโครงการลงทุน
1) วิเคราะห์โครงการ/แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านต่างๆ ทั้ง สาขาขนส่ง อาทิ แผนหลักการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่ง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่/ภูเก็ต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร โครงการขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน จำนวน 565,500 เลขหมาย สาขาสาธารณูปการ อาทิ โครงการพัฒนาระบบประปา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตน้ำประปา และสาขาพลังงาน อาทิ แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ปี 2547-2550 และแผนงานเปลี่ยนระบบสายป้อนอากาศเป็นสายป้อนดิน เป็นต้น
2) วิเคราะห์งบประมาณลงทุนรัฐวิสาหกิจ จำนวน 48 แห่ง โดยวิเคราะห์งบลงทุนเพิ่มเติมปี 2546 และงบลงทุนปี 2547 รวมทั้งจัดทำกรอบการลงทุน ปี 2547
3) ปรับปรุงกระบวนการพิจารณางบประมาณลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจแนวใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอจากภาพรวม 50 แห่ง เป็นการนำเสนอรายกระทรวง และเปลี่ยนบทบาท สศช. จาก ผู้ชี้แจงและตอบข้อซักถาม เป็นผู้นำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณา โดยให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ชี้แจง
4) แนวทางการบริหารจัดการโครงการขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการที่ดี โดยเน้นหลักธรรมาภิบาล และให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่ขั้นการวางแผน การจัดเตรียมโครงการ การนำเสนอ และการดำเนินโครงการ
ภารกิจพิเศษของ สศช.
1) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ได้เชื่อมโยงเครือข่ายเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผลิตสื่อ เครื่องมือและเอกสารเบื้องต้น เพื่อใช้ในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่กลุ่มต่างๆ
2) ธนาคารสมอง สศช. ทำหน้าที่หน่วยทะเบียนกลาง ซึ่งขณะนี้ มีผู้สมัครเป็นวุฒิอาสา จำนวน 2,627 คน มีการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การให้ความช่วยเหลือทั้งในลักษณะเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น เช่น โครงการตายายสอนหลาน เป็นต้น
3) มูลนิธิพัฒนาไท ให้ความสำคัญกับการสร้างการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสร้างสภาวะผู้นำให้กับคนทุกระดับ รวมทั้งการเรียนรู้ระบบฐานข้อมูลเครือข่ายทุนทางสังคมและแผนชุมชน
4) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 12 เรื่อง อาทิ ผลกระทบต่อประชาชนจากโทษทางอาญา กรณีศึกษากฎหมายลิขสิทธิ์ และกลุ่มกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และร่างแผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนฯ 9 การปรับบทบาทของ สศช. เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
สศช.ได้เริ่มจัดทำแผนกลยุทธ์ในการชี้นำการปรับเปลี่ยน สศช.ไปสู่บทบาทใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ คือ เป็น "หน่วยงานหลักในการวางแผนและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีการบริหารจัดการที่ดี" โดยให้ความสำคัญกับบทบาทใหม่ของ สศช. 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ การวางระบบติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพและสร้างความรู้ความเข้าใจสู่สาธารณชน และการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการและส่งสัญญาณเตือนภัย โดยดำเนินการภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ งานที่ สศช. จะดำเนินการในปี 2547 ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการภารกิจภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์
1) ยุทธศาสตร์การวางแผนเพื่อการพัฒนา มุ่งเน้นการจัดทำยุทธศาสตร์บริหารเศรษฐกิจมหภาคและแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้กับคณะรัฐมนตรีภายใต้กรอบแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐและนโยบายรัฐบาล โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การบริหารเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ 2) การบริหารจัดการแผนการลงทุนของประเทศ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้เอื้อต่อการยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตของผู้ประกอบการ ให้สามารถแข่งขันหรือเป็นผู้นำตลาดได้ในเวทีโลก ในขณะเดียวกับที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 7 เรื่อง ได้แก่ 1) การสร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง 2) สร้างบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ 3) สร้างความเป็นเลิศของกลุ่มสินค้าในตลาดโลก 4) การสร้างสังคมผู้ประกอบการ 5) แนวทางการผลักดัน Green Productivity ในภาคอุตสาหกรรม 6) แผนงานสนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสะอาดในภาคการท่องเที่ยว 7)แนวทางบูรณาการการบริหารจัดการลุ่มน้ำสำคัญในภาคเหนือและอีสานภาคละ 1 ลุ่มน้ำ
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนพลังการพัฒนาตามวาระแห่งชาติที่สำคัญสูงสุด 2 เรื่องเข้าด้วยกันคือ ความยากจน และทุนทางสังคม โดยที่ขอบเขตของทุนทางสังคมจะประกอบด้วย (1) ทุนมนุษย์ (2) ทุนที่เป็นสถาบัน และ (3) ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์ใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1)ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ 2) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม 3)ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 4) ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ในเรื่องการแก้ไขปัญหาเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสและแนวทางการพัฒนาเกณฑ์พื้นฐาน 10 ประการ
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่และภาค เป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้มิติเชิงพื้นที่มาเชื่อมโยงกับวาระแห่งชาติ 4 วาระให้สามารถบูรณาการการพัฒนาในระดับภาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ รวมทั้งเชื่อมโยงต่อไปยังยุทธศาสตร์การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ โดยในปีงบประมาณ 2547 สศช. จะจัดทำยุทธศาสตร์ใน 2 เรื่อง คือ 1) กรอบแนวทางการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน : การเชื่อมโยงเมืองคู่แฝดทางเศรษฐกิจบริเวณชายแดน และ 2) การจัดทำยุทธศาสตร์ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลและเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจและสังคม สศช. จะพัฒนาฐานข้อมูลบัญชีประชาชาติ QGDP/ GDP/ GPP/ GRP ให้มีฐานข้อมูลถึงปี 2546 ณ เดือนธันวาคม 2547 และฐานข้อมูลดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและดัชนีความอยู่ดีมีสุข ให้มีฐานข้อมูลถึงปี 2545
6) ยุทธศาสตร์การกำกับและประเมินผล เน้นการติดตามประเมินผลในระดับยุทธศาสตร์และระดับแผนงาน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณะเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ในงบประมาณ 2547 สศช. มีเป้าหมายจัดทำคู่มือหลักเกณฑ์การประเมินความคุ้มค่าในการปฎิบัติภารกิจ แห่งรัฐ
7) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และมีประสิทธิภาพสูง นับเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จในการดำเนินงาน โดยจะพัฒนา 2 เรื่อง คือ การพัฒนาการสร้างองค์ความรู้ใหม่และสังเคราะห์ความรู้จากประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ และการลดขนาดองค์กรให้เหมาะสมกับปริมาณงาน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มากขึ้น
ภารกิจตามนโยบายรัฐบาล / ภารกิจพิเศษ อาทิ
1) ธนาคารสมอง มุ่งเน้นการทำงานทั้งในลักษณะเชิงรุกและเชิงรับ โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน โดยมีแผนงาน/โครงการพิเศษในปี 2547 เช่น แผนงานวุฒิอาสาร่วมพัฒนาประเทศเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ โครงการวุฒิอาสาร่วมพัฒนาหมู่บ้านยากจนตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2) การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะดำเนินการใน 4 ด้านควบคู่กันไป คือ 1) การเชื่อมโยงเครือข่ายขับเคลื่อน 2) การพัฒนาด้านวิชาการและส่งเสริมการวิจัย 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ 4) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
3) มูลนิธิพัฒนาไท ดำเนินการในเรื่องเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ โดยมีการจัดเวทีพบปะของชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ และการพัฒนาตัวชี้วัดเมืองน่าอยู่
4) การพัฒนาสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ โดยจะนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิต่อ ครม. และจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมืองศูนย์กลางการบินสุวรรณภูมิ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตามและเร่งรัดการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิและพื้นที่โดยรอบ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-