นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 1/2547 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สำหรับผลการประชุม ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับบทบาทของคณะกรรมการฯ ให้เป็นกลไกสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ยังไม่มีองค์กรหรือกลไกใดรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างเมืองกับชนบท การแก้ปัญหาหนี้สินในระยะยาว การแก้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น ซึ่งนอกจากการเสนอแนะนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ กนภ. ยังต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผล และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนควบคู่กันไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในแนวทางดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้บรรลุเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิต 10 ประการ ที่คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 โดยเห็นควรให้มีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบในการติดตามความก้าวหน้า และให้การสนับสนุนแก่จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานรวม 6 ชุดได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านการศึกษา กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านความจำเป็นพื้นฐาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านความจำเป็นพื้นฐานเฉพาะด้านข้อมูลข่าวสาร กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านหลักประกันความมั่นคง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านทรัพยากรและแหล่งทุน ซึ่งหน่วยงานเจ้าภาพแต่ละเรื่องจะจัดทำแผนปฏิบัติการและติดตามผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ต่อไป
ทั้งนี้ เกณฑ์พื้นฐาน 10 ประการดังกล่าวมาจากหลักคิด 3 ประการ ได้แก่ หลักคิด 1 ความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 3 เกณฑ์ คือ 1) ทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า 12 ปี และมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะฝีมือ และวิชาชีพที่จำเป็นในการดำรงชีวิต 2) ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐาน 3) ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอในการยังชีพ ได้รับหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต หลักคิด 2 ความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 5 เกณฑ์ คือ 4) ทุกคนได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 5) ทุกคนมีความมั่นคงในที่พักพิง 6)ทุกคนมีน้ำสะอาดเพื่อดื่มอย่างน้อย 5 ลิตร/คน/วัน และมีน้ำใช้อย่างน้อย 45 ลิตร/คน/วัน 7) ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ 8) ทุกคนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ และหลักคิด 3 ความมั่นคงในชีวิต ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 2 เกณฑ์ คือ 9) ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ 10) ทุกครัวเรือนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและปลอดจากยาเสพติด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำหรับผลการประชุม ที่ประชุมเห็นควรให้มีการปรับบทบาทของคณะกรรมการฯ ให้เป็นกลไกสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นประเด็นเชิงโครงสร้างที่ยังไม่มีองค์กรหรือกลไกใดรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างเมืองกับชนบท การแก้ปัญหาหนี้สินในระยะยาว การแก้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมในสังคม เป็นต้น ซึ่งนอกจากการเสนอแนะนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการ กนภ. ยังต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผล และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาความยากจนควบคู่กันไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในแนวทางดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้บรรลุเกณฑ์พื้นฐานในการดำรงชีวิต 10 ประการ ที่คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 โดยเห็นควรให้มีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบในการติดตามความก้าวหน้า และให้การสนับสนุนแก่จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานรวม 6 ชุดได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านการศึกษา กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านความจำเป็นพื้นฐาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านความจำเป็นพื้นฐานเฉพาะด้านข้อมูลข่าวสาร กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านหลักประกันความมั่นคง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบตัวชี้วัดด้านทรัพยากรและแหล่งทุน ซึ่งหน่วยงานเจ้าภาพแต่ละเรื่องจะจัดทำแผนปฏิบัติการและติดตามผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ต่อไป
ทั้งนี้ เกณฑ์พื้นฐาน 10 ประการดังกล่าวมาจากหลักคิด 3 ประการ ได้แก่ หลักคิด 1 ความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 3 เกณฑ์ คือ 1) ทุกคนได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนไม่น้อยกว่า 12 ปี และมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะฝีมือ และวิชาชีพที่จำเป็นในการดำรงชีวิต 2) ทุกคนได้รับการประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐาน 3) ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอในการยังชีพ ได้รับหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต หลักคิด 2 ความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 5 เกณฑ์ คือ 4) ทุกคนได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 5) ทุกคนมีความมั่นคงในที่พักพิง 6)ทุกคนมีน้ำสะอาดเพื่อดื่มอย่างน้อย 5 ลิตร/คน/วัน และมีน้ำใช้อย่างน้อย 45 ลิตร/คน/วัน 7) ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ 8) ทุกคนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ และหลักคิด 3 ความมั่นคงในชีวิต ประกอบด้วยเกณฑ์พื้นฐาน 2 เกณฑ์ คือ 9) ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ 10) ทุกครัวเรือนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและปลอดจากยาเสพติด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-