ประธานคณะทำงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศด้านการวิเคราะห์ความยากจนและติดตามประเมินผล (Country Development Partnership for Poverty Analysis and Monitoring: CDP-PAM) เปิดประชุมทางไกลผ่านวีดีทัศน์กับธนาคารโลก (Video-conference) ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ของธนาคารโลก ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 07.30 น. ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ เพื่อพิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อร่างข้อเสนอแผนงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (Thailand Northeast Development Report: NEED) ซึ่งจะใช้เป็นขอบเขตในการดำเนินการศึกษาร่วมกันระหว่างสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สพอ.) และธนาคารโลก ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทปษ.-กิติศักดิ์ เปิดเผยว่า สศช. ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกในปี 2546 ทำการศึกษาระยะที่หนึ่ง เพื่อศึกษาภาพรวม/สาเหตุ/ปัจจัย เกี่ยวกับปัญหาความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรอบการศึกษาในระยะที่สองภายใต้กรอบของ NEED จะไม่เน้นศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคที่ล่าช้า แต่จะเป็นการมองไปข้างหน้า โดยศึกษาเฉพาะเรื่องและ สินค้า/ผลิตภัณฑ์ บางประเภท ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการผลิต ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดในประเทศ ตลาดภูมิภาค (รวมถึง เวียดนาม จีนตอนใต้) และในตลาดโลก นอกจากนี้ยังจะเน้นความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศ และกลุ่มจังหวัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของผู้ว่า CEO ในแต่ละ Clusters .ในภูมิภาค รวมทั้งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆในการพัฒนา ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ในประเทศต่างๆ และการสร้างเครื่องมือในการวิเคราะห์หรือศึกษาต่อ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ ของเจ้าหน้าที่ของ สศช.
สำหรับขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มจากการคัดเลือก สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (products) 2-3 ประเภท จากข้อเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆภายใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่า CEOs โดยคำนึงถึงศักยภาพในการสร้าง Value-chain ในพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดในภูมิภาค แล้วทำการศึกษาประเด็นหลักในแต่ละผลิตภัณฑ์ใน 2 ประเด็นคือ หนึ่ง การขยายตัวทางการค้าและการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มผลผลิตของภูมิภาค การพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทันสมัย ตลอดจนข้อกำหนดต่างๆ (Trade facilitation) ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจสู่ระดับภูมิภาค สอง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (การศึกษา และตลาดแรงงาน) โดยเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอพยพของแรงงานที่มีคุณภาพสู่เมือง และผลกระทบต่อผลผลิตของภูมิภาค ทั้งนี้ จะเน้นวิเคราะห์แนวทางในการเพิ่มความต้องการแรงงานในภูมิภาค (Demand side) เพื่อเพิ่มระดับผลผลิตของภูมิภาคให้สูงขึ้น และแก้ปัญหาการอพยพของแรงงานออกนอกภูมิภาค ตลอดจนปัญหาสังคมอื่น ๆ ที่ตามมา
ในการศึกษาดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จากการศึกษาที่มีอยู่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ให้มากที่สุด อาทิ Micro finance การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมในภาคเกษตรและ informal sector รวมทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงประเทศต่างๆใน GMS โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภายใน สศช. ธนาคารโลก และ ADB
ทปษ.-กิติตศักดิ์ กล่าวในตอนท้ายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการบริหารจัดการโครงการนั้น จะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ สศช. สพอ. ผู้แทนหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยการศึกษา NEED จะเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในประเทศและจากต่างประเทศ ซึ่งในขั้นตอนต่อไป จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะศึกษา ประมาณกลางเดือนมีนาคม โดยคาดว่าจะเชิญผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ มาบรรยายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
ทปษ.-กิติศักดิ์ เปิดเผยว่า สศช. ได้ร่วมมือกับธนาคารโลกในปี 2546 ทำการศึกษาระยะที่หนึ่ง เพื่อศึกษาภาพรวม/สาเหตุ/ปัจจัย เกี่ยวกับปัญหาความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรอบการศึกษาในระยะที่สองภายใต้กรอบของ NEED จะไม่เน้นศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคที่ล่าช้า แต่จะเป็นการมองไปข้างหน้า โดยศึกษาเฉพาะเรื่องและ สินค้า/ผลิตภัณฑ์ บางประเภท ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สามารถพัฒนาและเพิ่มมูลค่าการผลิต ให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดในประเทศ ตลาดภูมิภาค (รวมถึง เวียดนาม จีนตอนใต้) และในตลาดโลก นอกจากนี้ยังจะเน้นความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศ และกลุ่มจังหวัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของผู้ว่า CEO ในแต่ละ Clusters .ในภูมิภาค รวมทั้งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆในการพัฒนา ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความรู้ในประเทศต่างๆ และการสร้างเครื่องมือในการวิเคราะห์หรือศึกษาต่อ เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพ ของเจ้าหน้าที่ของ สศช.
สำหรับขั้นตอนของการศึกษาจะเริ่มจากการคัดเลือก สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (products) 2-3 ประเภท จากข้อเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆภายใต้ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดของผู้ว่า CEOs โดยคำนึงถึงศักยภาพในการสร้าง Value-chain ในพื้นที่ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดในภูมิภาค แล้วทำการศึกษาประเด็นหลักในแต่ละผลิตภัณฑ์ใน 2 ประเด็นคือ หนึ่ง การขยายตัวทางการค้าและการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มผลผลิตของภูมิภาค การพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทันสมัย ตลอดจนข้อกำหนดต่างๆ (Trade facilitation) ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจสู่ระดับภูมิภาค สอง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (การศึกษา และตลาดแรงงาน) โดยเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอพยพของแรงงานที่มีคุณภาพสู่เมือง และผลกระทบต่อผลผลิตของภูมิภาค ทั้งนี้ จะเน้นวิเคราะห์แนวทางในการเพิ่มความต้องการแรงงานในภูมิภาค (Demand side) เพื่อเพิ่มระดับผลผลิตของภูมิภาคให้สูงขึ้น และแก้ปัญหาการอพยพของแรงงานออกนอกภูมิภาค ตลอดจนปัญหาสังคมอื่น ๆ ที่ตามมา
ในการศึกษาดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จากการศึกษาที่มีอยู่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ให้มากที่สุด อาทิ Micro finance การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมในภาคเกษตรและ informal sector รวมทั้งการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงประเทศต่างๆใน GMS โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ภายใน สศช. ธนาคารโลก และ ADB
ทปษ.-กิติตศักดิ์ กล่าวในตอนท้ายเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการบริหารจัดการโครงการนั้น จะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับการศึกษาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ สศช. สพอ. ผู้แทนหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยการศึกษา NEED จะเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในประเทศและจากต่างประเทศ ซึ่งในขั้นตอนต่อไป จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะศึกษา ประมาณกลางเดือนมีนาคม โดยคาดว่าจะเชิญผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลกด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ มาบรรยายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-