ในปัจจุบัน สหภาพยุโรปเป็นตลาดเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการใช้กฎระเบียบทางการค้า อัตราภาษีศุลกากร และขั้นตอนการบริหารงานแบบเดียวกันทั้งภูมิภาค หากเป็นไปตามแผนการรับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปในพ.ศ. 2547 ตลาดเดียวยุโรปจะมีจำนวนผู้บริโภคถึง 490 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากในปัจจุบันที่มีจำนวน 395 ล้านคน ดังนั้น การขยายสมาชิกสหภาพยุโรปจะมีนัยสำคัญในด้านเศรษฐกิจและการเมืองต่อทั้งภายในสหภาพยุโรปและภูมิภาคอื่นๆ วัตถุประสงค์หลักของรายงานชิ้นนี้ จึงมุ่งวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการขยายสมาชิกสหภาพยุโรปต่อการปฏิรูปภายในองค์กรของสหภาพยุโรป และผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป โดยรายงานชิ้นนี้จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ความจำเป็นในการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป สถานะล่าสุด และผลกระทบของการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป ความจำเป็นในการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป
การขยายสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปสู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง ถือเป็นแนวนโยบายที่สำคัญของสหภาพยุโรปในยุคหลังสงครามเย็น แนวนโยบายดังกล่าวเกิดจากปัจจัยหลักที่สำคัญ 2 ปัจจัย ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระเบียบโลก การล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2532 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระเบียบโลกจนทำให้เกิดระบบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ หนึ่ง การแผ่ขยายของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ โดยเกิดจากการขยายตัวในด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการค้าบริการ ซึ่งได้รับแรงกระตุ้นที่สำคัญจากกระแสการพัฒนาหลักที่อยู่บนอุดมการณ์ทุนนิยม (Capitalism) เสรีนิยม (Liberalism) และประชาธิปไตย (Liberal Democracy) รวมทั้งพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และสอง การครอบงำด้านการเมืองของอภิมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา จนนำไปสู่การใช้มาตรการฝ่ายเดียว
ระบบโลกใหม่นี้ได้สร้างแรงกดดันให้สหภาพยุโรปขยายสมาชิกใหม่ไปสู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง เพื่อรักษาความได้เปรียบทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป และถ่วงดุลต่อการใช้มาตรการฝ่ายเดียวจากสหรัฐอเมริกาอุดมการณ์ของการก่อตั้งประชาคมยุโรป การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้น ถือได้ว่าเป็นการสานฝันตามอุดมการณ์ของผู้ก่อตั้งประชาคมยุโรป ที่คาดหวังว่าสักวันหนึ่งสหภาพยุโรป จะแปลงสภาพเป็น "ยุโรปหนึ่งเดียว" (United Europe) ได้ในที่สุด ในปัจจุบัน การรวมตัวของสหภาพยุโรปได้เป็นไปอย่างเข้มข้น กล่าวคือ สหภาพยุโรปมีการขยายขอบเขตอำนาจให้มีลักษณะเหนือชาติ (Supranational) มากยิ่งขึ้น อาทิ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกำลังรอผลการอนุมัติจากการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในปลายปีนี้ และการกำหนดให้มีประธานาธิบดีของสหภาพยุโรป เป็นต้น สถานะล่าสุด
การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปครั้งที่ 5 ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นั้น จะมีการรับประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ อันประกอบด้วย เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเชค สโลวัค ฮังการี สโลเวเนีย มอลตา และไซปรัส ทั้งนี้ ประเทศเหล่านี้ได้ปรับโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกที่รู้จักกันในนาม "เงื่อนไขโคเปนเฮเกน" (Copenhagen Criteria) ซึ่งประกอบด้วย การมีสถาบันการเมืองบนพื้นฐานของการเป็นประชาธิปไตย การมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และการยึดมั่นต่ออุดมการณ์ของการก่อตั้งประชาคมยุโรป ขณะนี้ มีประเทศผู้สมัครที่ต้องการเข้าสหภาพยุโรป 3 ประเทศ ได้แก่ โรมาเนีย บัลแกเรีย และตุรกี ทั้งนี้ โรมาเนีย และบัลแกเรีย ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องและบรรลุตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป ทั้งสองประเทศได้รับการคาดหมายว่าจะได้เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2550 นี้ ในส่วนของตุรกียังไม่ได้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ และตุรกียังคงมีปัญหาด้านการเมืองที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน บทวิเคราะห์
ผลกระทบต่อสหภาพยุโรป ถึงแม้การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปในอดีตจะมีปัญหาสืบเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ในสหภาพยุโรปอยู่บ้าง แต่ผลกระทบดังกล่าวคงยังไม่รุนแรงเท่ากับผลกระทบสืบเนื่อง ที่อาจเกิดจากการขยายตัวเพื่อรองรับสมาชิกใหม่จากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง (CEECs) ซึ่งมีจำนวนถึง 10 ประเทศ ในอนาคตความท้าทายสำคัญที่จะเกิดจากการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้
ความเท่าเทียม กลุ่มประเทศ CEECs เกือบทั้งหมดเป็นประเทศเล็กและมีอัตราความเจริญโดยเฉลี่ยต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในสหภาพยุโรป ในปี พ.ศ. 2545 รายได้ประชาชาติต่อหัวโดยเฉลี่ยของประเทศ CEECs อยู่ที่ร้อยละ 47 ของรายได้ประชาชาติต่อหัวของประเทศในสหภาพยุโรป
ดังนั้น ปัญหาเรื่องความเท่าเทียมระหว่างประเทศสมาชิกดั้งเดิม และประเทศสมาชิกใหม่จะกลายเป็นปัญหาสืบเนื่องที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวทางสังคมภายในทศวรรษหน้า นอกจากนี้ ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนี้ ยังจะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการอพยพแรงงานจากยุโรปตะวันออกมายังยุโรปตะวันตกอีกด้วย
บทสรุป
การขยายสมาชิกสหภาพยุโรปมีนัยสำคัญต่อการปฏิรูปภายในสหภาพยุโรป ทั้งในด้านกลไกการทำงานขององค์กร และการปฏิรูปด้านนโยบายไม่ว่าจะเป็นนโยบายโครงสร้างและนโยบายด้านการเกษตร ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป เนื่องจากสหภาพยุโรปอาจอุดหนุนทางการค้าแก่ประเทศสมาชิกใหม่ และประเทศที่สามอย่างไทยอาจจะถูกกีดกันทางการค้าโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับไทยในการขยายตลาดส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศ CEECs และอาศัยกลุ่มประเทศดังกล่าวเป็นฐานในการขยายตลาดการค้าและการลงทุนไปยังสหภาพยุโรป ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยจึงควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งปรับกลยุทธ์ทางการค้า การลงทุนให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสหภาพยุโรป
ส่วนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แผนเศรษฐกิจมหภาค
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
การขยายสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปสู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง ถือเป็นแนวนโยบายที่สำคัญของสหภาพยุโรปในยุคหลังสงครามเย็น แนวนโยบายดังกล่าวเกิดจากปัจจัยหลักที่สำคัญ 2 ปัจจัย ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระเบียบโลก การล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2532 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระเบียบโลกจนทำให้เกิดระบบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ หนึ่ง การแผ่ขยายของปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ โดยเกิดจากการขยายตัวในด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการค้าบริการ ซึ่งได้รับแรงกระตุ้นที่สำคัญจากกระแสการพัฒนาหลักที่อยู่บนอุดมการณ์ทุนนิยม (Capitalism) เสรีนิยม (Liberalism) และประชาธิปไตย (Liberal Democracy) รวมทั้งพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และสอง การครอบงำด้านการเมืองของอภิมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา จนนำไปสู่การใช้มาตรการฝ่ายเดียว
ระบบโลกใหม่นี้ได้สร้างแรงกดดันให้สหภาพยุโรปขยายสมาชิกใหม่ไปสู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง เพื่อรักษาความได้เปรียบทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป และถ่วงดุลต่อการใช้มาตรการฝ่ายเดียวจากสหรัฐอเมริกาอุดมการณ์ของการก่อตั้งประชาคมยุโรป การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปนั้น ถือได้ว่าเป็นการสานฝันตามอุดมการณ์ของผู้ก่อตั้งประชาคมยุโรป ที่คาดหวังว่าสักวันหนึ่งสหภาพยุโรป จะแปลงสภาพเป็น "ยุโรปหนึ่งเดียว" (United Europe) ได้ในที่สุด ในปัจจุบัน การรวมตัวของสหภาพยุโรปได้เป็นไปอย่างเข้มข้น กล่าวคือ สหภาพยุโรปมีการขยายขอบเขตอำนาจให้มีลักษณะเหนือชาติ (Supranational) มากยิ่งขึ้น อาทิ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งกำลังรอผลการอนุมัติจากการประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในปลายปีนี้ และการกำหนดให้มีประธานาธิบดีของสหภาพยุโรป เป็นต้น สถานะล่าสุด
การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปครั้งที่ 5 ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 นั้น จะมีการรับประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ อันประกอบด้วย เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเชค สโลวัค ฮังการี สโลเวเนีย มอลตา และไซปรัส ทั้งนี้ ประเทศเหล่านี้ได้ปรับโครงสร้างต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกที่รู้จักกันในนาม "เงื่อนไขโคเปนเฮเกน" (Copenhagen Criteria) ซึ่งประกอบด้วย การมีสถาบันการเมืองบนพื้นฐานของการเป็นประชาธิปไตย การมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด และการยึดมั่นต่ออุดมการณ์ของการก่อตั้งประชาคมยุโรป ขณะนี้ มีประเทศผู้สมัครที่ต้องการเข้าสหภาพยุโรป 3 ประเทศ ได้แก่ โรมาเนีย บัลแกเรีย และตุรกี ทั้งนี้ โรมาเนีย และบัลแกเรีย ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องและบรรลุตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป ทั้งสองประเทศได้รับการคาดหมายว่าจะได้เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2550 นี้ ในส่วนของตุรกียังไม่ได้เริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการ และตุรกียังคงมีปัญหาด้านการเมืองที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน บทวิเคราะห์
ผลกระทบต่อสหภาพยุโรป ถึงแม้การขยายสมาชิกของสหภาพยุโรปในอดีตจะมีปัญหาสืบเนื่องที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรต่างๆ ในสหภาพยุโรปอยู่บ้าง แต่ผลกระทบดังกล่าวคงยังไม่รุนแรงเท่ากับผลกระทบสืบเนื่อง ที่อาจเกิดจากการขยายตัวเพื่อรองรับสมาชิกใหม่จากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง (CEECs) ซึ่งมีจำนวนถึง 10 ประเทศ ในอนาคตความท้าทายสำคัญที่จะเกิดจากการขยายสมาชิกสหภาพยุโรป มีดังต่อไปนี้
ความเท่าเทียม กลุ่มประเทศ CEECs เกือบทั้งหมดเป็นประเทศเล็กและมีอัตราความเจริญโดยเฉลี่ยต่ำเมื่อเทียบกับประเทศในสหภาพยุโรป ในปี พ.ศ. 2545 รายได้ประชาชาติต่อหัวโดยเฉลี่ยของประเทศ CEECs อยู่ที่ร้อยละ 47 ของรายได้ประชาชาติต่อหัวของประเทศในสหภาพยุโรป
ดังนั้น ปัญหาเรื่องความเท่าเทียมระหว่างประเทศสมาชิกดั้งเดิม และประเทศสมาชิกใหม่จะกลายเป็นปัญหาสืบเนื่องที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการของสหภาพยุโรปในการสนับสนุนให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวทางสังคมภายในทศวรรษหน้า นอกจากนี้ ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนี้ ยังจะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการอพยพแรงงานจากยุโรปตะวันออกมายังยุโรปตะวันตกอีกด้วย
บทสรุป
การขยายสมาชิกสหภาพยุโรปมีนัยสำคัญต่อการปฏิรูปภายในสหภาพยุโรป ทั้งในด้านกลไกการทำงานขององค์กร และการปฏิรูปด้านนโยบายไม่ว่าจะเป็นนโยบายโครงสร้างและนโยบายด้านการเกษตร ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและสหภาพยุโรป เนื่องจากสหภาพยุโรปอาจอุดหนุนทางการค้าแก่ประเทศสมาชิกใหม่ และประเทศที่สามอย่างไทยอาจจะถูกกีดกันทางการค้าโดยใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับไทยในการขยายตลาดส่งออกของไทยไปยังกลุ่มประเทศ CEECs และอาศัยกลุ่มประเทศดังกล่าวเป็นฐานในการขยายตลาดการค้าและการลงทุนไปยังสหภาพยุโรป ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยจึงควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งปรับกลยุทธ์ทางการค้า การลงทุนให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสหภาพยุโรป
ส่วนเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แผนเศรษฐกิจมหภาค
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-