- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P ทุกประเภทปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 2.25 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 2.28125 ต่อปี
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ขอพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐ
- เงินบาทยังอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน และดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนที่มีการขาดดุลเป็นจำนวนมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องไว้เกินกว่าความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงหมดเขตชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2547 ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.28125 ต่อปี สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องในตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากมีรายจ่ายภาครัฐไหลเข้าสู่ระบบ อัตราดอกเบี้ยทุกระยะจึงเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงมาก เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 9 มิถุนายน ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 -- 2.29 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.25 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 32,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย สำหรับพันธบัตรรัฐบาลได้มีการยกเลิกการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 2548/4 และ 2548/5 ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. - 6 ก.ค. เนื่องจากมีเงินกำไรนำส่งจาก ธปท. เข้ามาจำนวน 15,000 ล้านบาท จึงมีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรฯ ลง 16,000
ล้านบาท นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 5 และ 10 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 12 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 86,919 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,384 ล้านบาทต่อวัน ลดลงร้อยละ 14 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวขึ้น ขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 ปี ปรับตัวขึ้น 0-5 basis points อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 2-9 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 31 basis points ส่วนหุ้นกู้เอกชนมีดัชนีราคาลดลง 22 basis points
US Treasury Yield ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 1-15 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 เดือน อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าอีกร้อยละ 1.1 โดยเงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากตลาดลอนดอนและนิวยอร์คปิดทำการในวันเมมโมเรียลเดย์ สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน ท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาลในการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนมีการขาดดุลถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนมีการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่
รอการประกาศผลตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตลาดคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนเมษายน ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันที่ 3 มิถุนายน เพิ่มขึ้นต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี
และเพิ่มขึ้นต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงมั่นใจต่อทิศทางเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในขณะนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ในตลาดรองลดลง อัตราผลตอบแทน (Yield ) ขอพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐ
- เงินบาทยังอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน และดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนที่มีการขาดดุลเป็นจำนวนมาก ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีการเตรียมสภาพคล่องไว้เกินกว่าความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงหมดเขตชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2547 ธนาคารพาณิชย์จึงลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 7 และ 14 วัน ปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.28125 ต่อปี สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องในตลาดเงินเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจากมีรายจ่ายภาครัฐไหลเข้าสู่ระบบ อัตราดอกเบี้ยทุกระยะจึงเคลื่อนไหวระหว่างวันลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงมาก เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 9 มิถุนายน ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75 -- 2.29 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.25 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 32,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารเกือบทุกรุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้นตั๋วเงินคลังอายุ 182 วัน และพันธบัตร ธปท. อายุ 2 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย สำหรับพันธบัตรรัฐบาลได้มีการยกเลิกการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 2548/4 และ 2548/5 ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. - 6 ก.ค. เนื่องจากมีเงินกำไรนำส่งจาก ธปท. เข้ามาจำนวน 15,000 ล้านบาท จึงมีการปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรฯ ลง 16,000
ล้านบาท นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 5 และ 10 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอายุ 12 ปี วงเงิน 1,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองในสัปดาห์นี้เท่ากับ 86,919 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,384 ล้านบาทต่อวัน ลดลงร้อยละ 14 จากสัปดาห์ก่อน โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 75 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวขึ้น ขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวมีอัตราผลตอบแทนลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 ปี ปรับตัวขึ้น 0-5 basis points อายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปปรับตัวลดลง 2-9 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 31 basis points ส่วนหุ้นกู้เอกชนมีดัชนีราคาลดลง 22 basis points
US Treasury Yield ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับตัวลดลง โดยพันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลง 1-15 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุต่ำกว่า 3 เดือน อัตราผลตอบแทนลดลงเล็กน้อย
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าอีกร้อยละ 1.1 โดยเงินบาทในวันจันทร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากตลาดลอนดอนและนิวยอร์คปิดทำการในวันเมมโมเรียลเดย์ สำหรับในช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นลำดับ โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน ท่าทีที่ชัดเจนของรัฐบาลในการลอยตัวน้ำมันดีเซล ตลอดจนดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนเมษายนมีการขาดดุลถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันพฤหัสบดี เนื่องจากนักลงทุนมีการขายเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรเป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่
รอการประกาศผลตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งตลาดคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือนเมษายน ทั้งนี้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ประกาศในวันที่ 3 มิถุนายน เพิ่มขึ้นต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี
และเพิ่มขึ้นต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด แต่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงมั่นใจต่อทิศทางเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในขณะนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-