เมื่อเร็วๆ นี้ นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ณ โรงแรม ซี เอส จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ รับฟังความคิดเห็นและกระบวนการมีส่วนร่วมต่อยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จากผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ตลอดจนตรวจสอบความชัดเจนของแผนงาน/โครงการ ในด้านต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเพื่อบูรณาการแผนงาน/โครงการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนา มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน นักการเมือง ผู้นำศาสนา นักวิชาการ ผู้แทนกลุ่มอาชีพ และภาคประชาสังคม กว่า 500 คน
เลขาธิการฯ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยได้มอบหมายให้ สศช. ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นกรอบในการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ และสั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนงานโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ซึ่งเมื่อ สศช. กลั่นกรองเบื้องต้นแล้วปรากฏว่ามีแผนงานโครงการที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ วงเงินงบประมาณ 20,800 ล้านบาท
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง จึงต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับพื้น การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของประชาชนทุกคน และยังทำให้เกิดความมั่นใจในยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการพัฒนาว่ามีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งภายหลังจากการประชุมครั้งนี้ สศช. จะได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการเสนอในการประชุม ครม. สัญจรที่ จังหวัดปัตตานี ต่อไป
สรุปยุทธศาสตร์สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมี 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งแก้ปัญหาความจำเป็นพื้นฐานและขจัดความยากจนกลุ่มคน/พื้นที่เป้าหมาย เพื่อขจัดความขาดแคลนบริการความจำเป็นขั้นพื้นฐาน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างงานสร้างรายได้แก่ผู้ว่างงานในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างเศรษฐกิจใหม่และยกฐานเศรษฐกิจเดิมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งบนฐานทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และใช้ศักยภาพของแหล่งที่ตั้งในการเชื่อมโยงการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนสร้างศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตสินค้าป้อนตลาดภูมิภาคและตลาดโลก ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมสู่ภายนอก เพื่อให้สามารถสนันสนุนยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจใหม่ ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และตลาดสินค้า OTOP ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนและสังคม “เน้นการจัดบริการทางสังคมที่มีคุณภาพให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ทันการณ์ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในลักษณะที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา” เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ความมั่นคงด้านอาชีพ รายได้ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความสงบสุขโดยเน้นเชิงวัฒนธรรมและกระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เพื่อ ฟื้นฟูและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงความอุดมสมบูรณ์สร้างชุมชนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิติที่ดีและความเป็นเมืองน่าอยู่ และเสริมสร้างจิตสำนึกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
เลขาธิการฯ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยได้มอบหมายให้ สศช. ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นกรอบในการพิจารณากลั่นกรองแผนงานโครงการ และสั่งการให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนงานโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ซึ่งเมื่อ สศช. กลั่นกรองเบื้องต้นแล้วปรากฏว่ามีแผนงานโครงการที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนจำนวนประมาณ 1,000 โครงการ วงเงินงบประมาณ 20,800 ล้านบาท
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างแท้จริง จึงต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับพื้น การสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของประชาชนทุกคน และยังทำให้เกิดความมั่นใจในยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการพัฒนาว่ามีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งภายหลังจากการประชุมครั้งนี้ สศช. จะได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการเสนอในการประชุม ครม. สัญจรที่ จังหวัดปัตตานี ต่อไป
สรุปยุทธศาสตร์สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นมี 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งแก้ปัญหาความจำเป็นพื้นฐานและขจัดความยากจนกลุ่มคน/พื้นที่เป้าหมาย เพื่อขจัดความขาดแคลนบริการความจำเป็นขั้นพื้นฐาน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างงานสร้างรายได้แก่ผู้ว่างงานในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างเศรษฐกิจใหม่และยกฐานเศรษฐกิจเดิมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็งบนฐานทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และใช้ศักยภาพของแหล่งที่ตั้งในการเชื่อมโยงการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนสร้างศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตสินค้าป้อนตลาดภูมิภาคและตลาดโลก ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมสู่ภายนอก เพื่อให้สามารถสนันสนุนยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจใหม่ ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และตลาดสินค้า OTOP ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาคนและสังคม “เน้นการจัดบริการทางสังคมที่มีคุณภาพให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ทันการณ์ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในลักษณะที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมา” เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ความมั่นคงด้านอาชีพ รายได้ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความสงบสุขโดยเน้นเชิงวัฒนธรรมและกระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เพื่อ ฟื้นฟูและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงความอุดมสมบูรณ์สร้างชุมชนให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิติที่ดีและความเป็นเมืองน่าอยู่ และเสริมสร้างจิตสำนึกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-