แท็ก
สมอง
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานการสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2547 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ โดยมัวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและภาคีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อให้ได้ชุดของตัวชี้วัดที่เกิดการบูรณาการระหว่างมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมกับบริบทไทย โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต่างๆ ประมาณ 100 คน
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดจ้างสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อจัดทำโครงการ “การพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” ภายในระยะเวลา 1 ปี (พฤศจิกายน 2546 — ตุลาคม 2547) เพื่อจัดทำตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศ และใช้ประเมินผลการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งกำหนดกรอบการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาพรวม ร่วมกับการพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือติดตามและวัดผลกระทบการพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจน
บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้นำเสนอตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดเบื้องต้น ประกอบด้วยตัวชี้วัด 40 ตัว แบ่งเป็นตัวชี้วัดมิติเศรษฐกิจ 14 ตัว ประกอบด้วย อัตราการว่างงาน สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ การเติบโตอย่างยั่งยืน ดุลการค้าของสินค้าและบริการ ทุนสำรองระหว่างประเทศ สัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออก อัตราส่วนของหนี้ต่อ GNP ความเข้มในการใช้วัตถุดิบ ดุลการค้าของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานต่อหน่วย GDP สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด สัดส่วนของของเสียที่ถูกนำมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ สัดส่วนของผู้เดินทางโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนต่อผู้เดินทางที่ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในเมืองใหญ่ และระยะทางในการเดินทางต่อชั่วโมง
สำหรับตัวชี้วัดมิติสังคม 14 ตัว ประกอบด้วย ความสามารถในการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน อายุขัยเฉลี่ยของประชากร ดัชนีอัตราการตายด้วยสาเหตุที่สำคัญ จำนวนสตรีที่เข้าเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นต่อประชากรล้านคน อัตราคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ต่อประชากรแสนคน ปริมาณความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ ร้อยละของประชากรที่สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สำเร็จชั้น ม.6) ร้อยละของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP ดัชนีปริมาณการคงอยู่และมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องของวัฒนธรรม จารีตประเพณี และวิถีชีวิตที่หลายหลายของสังคมไทย จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาครัฐต่อประชากรแสนคน ร้อยละของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละของโครงการสาธารณะที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและประชาชนเห็นชอบให้ดำเนินการได้ จำนวนคดีทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการตามรายงานของ ป.ป.ช. และดัชนีครอบครัวอบอุ่น
และตัวชี้วัดมิติสิ่งแวดล้อม 12 ตัว ประกอบด้วย แหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินที่ใช้ต่อปริมาณน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค สัดส่วนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามประกาศต่อพื้นที่ประเทศ การเปลี่ยนแปลงของป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ การพังทลายของชายฝั่ง สัดส่วนปลาเป็ดต่อผลผลิตของสัตว์น้ำชายฝั่ง สัดส่วนของถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ต่อถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งหมดในประเทศ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร พื้นที่เกษตรอินทรีย์ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้สารทำลายโอโซน และคุณภาพอากาศในเมืองหลักที่เกินค่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ สศช. และบริษัทที่ปรึกษา จะได้นำข้อคิดเห็นที่มีต่อรายการตัวชี้วัดชุดเบื้องต้นจากการสัมมนาในครั้งนี้ ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดฯ แต่ละตัว เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดแรก ที่จะประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2547 นี้ต่อไป
โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยมาโดยลำดับ โดยได้มีการจัดเวทีระดมสมองครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2546 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 70 คน จากการสัมมนาดังกล่าว ทำให้ได้ข้อสรุปในเรื่องกรอบแนวคิดการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยว่า จะต้องมีลักษณะของการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ประการคือ1. คุณภาพ สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสังคมฐานความรู้ มีการพัฒนาศักยภาพและการศึกษาได้ด้วยตนเอง มีการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามศักยภาพการผลิตในประเทศ โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ (productivity) เพิ่มผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษเชิงป้องกัน 2. เสถียรภาพและการปรับตัว เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ มีการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมจากปัจจัยสนับสนุนภายใน โดยคำนึงขีดจำกัดและความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการธำรงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ 3. การกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ประชากรมีสร้างความเท่าเทียมทั้งด้านเพศ อาชีพ รายได้ การศึกษา ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ และบริการพื้นฐานทางสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงตลาดและการจัดสรรฐานทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและสงวนรักษาทรัพยากรให้คนรุ่นอนาคต 4. การมีส่วนร่วมของภาคี ประชากรทุกภาคส่วนของสังคม มีโอกาส และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการตัดสินใจ และนโยบายสาธารณะแก่ประชาชน โดยผ่านการบริหารจัดการและความร่วมมือแบบบูรณาการของสถาบันการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดจ้างสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อจัดทำโครงการ “การพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” ภายในระยะเวลา 1 ปี (พฤศจิกายน 2546 — ตุลาคม 2547) เพื่อจัดทำตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศ และใช้ประเมินผลการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งกำหนดกรอบการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาพรวม ร่วมกับการพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือติดตามและวัดผลกระทบการพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจน
บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้นำเสนอตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดเบื้องต้น ประกอบด้วยตัวชี้วัด 40 ตัว แบ่งเป็นตัวชี้วัดมิติเศรษฐกิจ 14 ตัว ประกอบด้วย อัตราการว่างงาน สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ การเติบโตอย่างยั่งยืน ดุลการค้าของสินค้าและบริการ ทุนสำรองระหว่างประเทศ สัดส่วนภาระหนี้ต่างประเทศต่อการส่งออก อัตราส่วนของหนี้ต่อ GNP ความเข้มในการใช้วัตถุดิบ ดุลการค้าของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานต่อหน่วย GDP สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนต่อปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมด สัดส่วนของของเสียที่ถูกนำมาใช้ซ้ำหรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ สัดส่วนของผู้เดินทางโดยใช้ระบบขนส่งมวลชนต่อผู้เดินทางที่ใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลในเมืองใหญ่ และระยะทางในการเดินทางต่อชั่วโมง
สำหรับตัวชี้วัดมิติสังคม 14 ตัว ประกอบด้วย ความสามารถในการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน อายุขัยเฉลี่ยของประชากร ดัชนีอัตราการตายด้วยสาเหตุที่สำคัญ จำนวนสตรีที่เข้าเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นต่อประชากรล้านคน อัตราคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ต่อประชากรแสนคน ปริมาณความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติ ร้อยละของประชากรที่สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สำเร็จชั้น ม.6) ร้อยละของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP ดัชนีปริมาณการคงอยู่และมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องของวัฒนธรรม จารีตประเพณี และวิถีชีวิตที่หลายหลายของสังคมไทย จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาครัฐต่อประชากรแสนคน ร้อยละของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละของโครงการสาธารณะที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและประชาชนเห็นชอบให้ดำเนินการได้ จำนวนคดีทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการตามรายงานของ ป.ป.ช. และดัชนีครอบครัวอบอุ่น
และตัวชี้วัดมิติสิ่งแวดล้อม 12 ตัว ประกอบด้วย แหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินที่ใช้ต่อปริมาณน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค สัดส่วนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามประกาศต่อพื้นที่ประเทศ การเปลี่ยนแปลงของป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์ การพังทลายของชายฝั่ง สัดส่วนปลาเป็ดต่อผลผลิตของสัตว์น้ำชายฝั่ง สัดส่วนของถิ่นที่อยู่อาศัยสำคัญที่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ต่อถิ่นที่อยู่อาศัยทั้งหมดในประเทศ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร พื้นที่เกษตรอินทรีย์ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้สารทำลายโอโซน และคุณภาพอากาศในเมืองหลักที่เกินค่ามาตรฐาน
ทั้งนี้ สศช. และบริษัทที่ปรึกษา จะได้นำข้อคิดเห็นที่มีต่อรายการตัวชี้วัดชุดเบื้องต้นจากการสัมมนาในครั้งนี้ ไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัดฯ แต่ละตัว เพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยชุดแรก ที่จะประกาศใช้ในเดือนกันยายน 2547 นี้ต่อไป
โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยมาโดยลำดับ โดยได้มีการจัดเวทีระดมสมองครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2546 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 70 คน จากการสัมมนาดังกล่าว ทำให้ได้ข้อสรุปในเรื่องกรอบแนวคิดการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยว่า จะต้องมีลักษณะของการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 ประการคือ1. คุณภาพ สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสังคมฐานความรู้ มีการพัฒนาศักยภาพและการศึกษาได้ด้วยตนเอง มีการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามศักยภาพการผลิตในประเทศ โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ (productivity) เพิ่มผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษเชิงป้องกัน 2. เสถียรภาพและการปรับตัว เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ มีการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมจากปัจจัยสนับสนุนภายใน โดยคำนึงขีดจำกัดและความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการธำรงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ 3. การกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ประชากรมีสร้างความเท่าเทียมทั้งด้านเพศ อาชีพ รายได้ การศึกษา ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ และบริการพื้นฐานทางสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงตลาดและการจัดสรรฐานทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและสงวนรักษาทรัพยากรให้คนรุ่นอนาคต 4. การมีส่วนร่วมของภาคี ประชากรทุกภาคส่วนของสังคม มีโอกาส และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการตัดสินใจ และนโยบายสาธารณะแก่ประชาชน โดยผ่านการบริหารจัดการและความร่วมมือแบบบูรณาการของสถาบันการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-