(ต่อ6)บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 11, 2005 14:14 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 5.9 ชะลอลงจากร้อยละ 10.0 ในปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยจากการผลิตนอกภาคเกษตรเกือบทุกสาขาขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้น สาขาการขนส่งฯ และสาขาการให้บริการชุมชนฯ ที่ยังเติบโตได้ดีโดยมี อัตราการขยายตัวร้อยละ 8.8 เป็นผลมาจากธุรกิจโทรคมนาคมในภูมิภาคซึ่งเป็นหมวดหลักมีผลประกอบการที่ดีประกอบกับการขนส่งทางบกขยายตัวสูงขึ้น ตามภาวะการผลิตในภาคการเกษตรโดยรวมที่ดีขึ้น รวมทั้งสาขาการให้บริการชุมชนฯ ขยายตัวร้อยละ 9.2 สำหรับสาขาชะลอตัวลง ได้แก่สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 19.7 ชะลอลงจากร้อยละ 31.5 ในปีก่อน เป็นผลมาจากหมวดอาหาร หมวดสิ่งทอสิ่งถัก และหมวดวิทยุ โทรทัศน์และอุปกรณ์การสื่อสาร ขยายตัว  ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้ง ในสาขาอื่นๆ ต่างขยายตัวต่ำกว่าปี ก่อนหน้า ได้แก่ สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และ การประปา ขยายตัวร้อยละ 3.0  สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯขยายตัวร้อยละ 1.5  สาขาการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.5  สาขาตัวกลางทาง การเงินขยายตัวร้อยละ 4.4  สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ   ขยายตัวร้อยละ 3.3  สาขาการศึกษาขยายตัวร้อยละ 0.4 และ สาขาการบริหารราชการแผ่นดินฯขยายตัวร้อยละ 3.6 มีสาเหตุมาจากการเบิกจ่ายราชการส่วนท้องถิ่นและการใช้จ่ายภายใต้นโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่วนสาขาที่ หดตัวได้แก่สาขาการทำเหมืองแร่ฯ หดตัวร้อยละ 2.3  เป็นผลมาจากการผลิตแร่ลิกไนต์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบชะลอตัว ประกอบกับการทำเหมือง หิน ทราย ชะลอตัวตามภาวะการก่อสร้างที่ลดลง สาขาโรงแรม  และภัตตาคารหดตัวร้อยละ 1.6 และ สาขาบริการด้านสุขภาพ  และงานสังคมสงเคราะห์หดตัวร้อยละ 6.8 เป็นผลมาจากบริการด้านสุขภาพฯ ทั้งภาครัฐและเอกชนลดลง 
ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัด จังหวัดที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน แพร่ นครสวรรค์ พิษณุโลก อุทัยธานี สุโขทัย ตาก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เติบโตจากการผลิตภาคเกษตร และสาขาการขนส่ง ฯ ที่ยังเติบโตได้ดี จังหวัด
อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย เติบโตจากการผลิตทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร จังหวัดที่ชะลอลง ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย น่าน พะเยา และกำแพงเพชร มีสาเหตุหลัก มาจากการผลิตนอกภาคเกษตรเกือบทุกสาขาขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ สาขาอุตสาหกรรม สาขาการทำเหมืองแร่ฯ
อัตราขยายตัวของ GPP ภาคเหนือ (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว สัดส่วนต่อ GRP
จังหวัด 2545 2546 2545 2546
1. เชียงใหม่ 7.6 2.3 15.9 15.1
2. ลำปาง 3.3 0.8 8.3 7.8
3. อุตรดิตถ์ 6.3 6.7 3.4 3.3
4. แม่ฮ่องสอน 1.8 3.7 1.2 1.2
5. เชียงราย 5.3 4.1 7.0 6.8
6. แพร่ 3.3 4.4 3.1 3.0
7. ลำพูน 5.4 -2.8 10.1 9.2
8. น่าน 8.0 2.7 2.7 2.6
9. พะเยา 5.4 0.2 3.0 2.8
10. นครสวรรค์ 8.2 10.8 9.7 10.0
11. พิษณุโลก 3.4 6.6 7.1 7.1
12. กำแพงเพชร 45.8 37.3 8.6 11.0
13. อุทัยธานี 1.1 8.3 2.3 2.4
14. สุโขทัย -5.1 9.5 3.8 3.9
15. ตาก 1.1 7.1 3.7 3.6
16. พิจิตร 4.3 9.4 4.2 4.3
17. เพชรบูรณ์ -2.0 6.7 5.9 5.9
รวมทั้งภาค 7.0 7.3 100.0 100.0
ยกเว้น สาขาการขนส่งฯ และสาขาการให้บริการชุมชนฯ ที่ยังเติบโตได้ดีเกือบทุกจังหวัด จังหวัดเชียงใหม่ มีสาเหตุมาจากภาคเกษตรและสาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ชะลอตัวลง จังหวัดลำปาง เชียงราย น่าน พะเยา การผลิตนอกภาคการเกษตรเกือบทุกสาขา ขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้น สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ยังมีการขยายตัวได้ดี จังหวัด ลำปาง เกิดจากสาขาอุตสาหกรรมชะลอตัวและสาขาการทำเหมืองแร่ฯ หดตัวลง ส่งผลให้สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และ การประปา ชะลอตัวลง ส่วนกำแพงเพชร ปีนี้ชะลอลงแต่ยังเป็นอัตราสูงที่สุดของภาค เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่มยังมี การผลิตเพิ่มขึ้นมาก ส่วนจังหวัดที่หดตัวลง ได้แก่ ลำพูน มีสาเหตุมาจากภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรหดตัวลง ยกเว้น สาขาการขนส่ง ฯ สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ และสาขาการให้บริการชุมชนฯ ที่ยังเติบโตได้ดี สาขาหลักที่ หดตัว ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.1 ในปีก่อนหน้า เป็นผลมาจากหมวดวิทยุ โทรทัศน์และอุปกรณ์การสื่อสาร หมวดอาหาร และหมวดหนั งและผลิตภัณ ฑ์ จากหนั งสัตว์มี แนวโน้ มลดลง ส่งผลให้สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ หดตัวลง
(ยังมีต่อ).../ภาคใต้..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ