วันนี้ (13 พฤษภาคม 2547 เวลา 9.00 -- 12.00 น.) พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รอง นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐบาลการพัฒนาทุนทางสังคม" และ สศช. เสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชน ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นการเปิดเวที เพื่อสร้างเครือข่ายและร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนการพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานในการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "การพัฒนาทุนทางสังคม : หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย" ว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคม จึงได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติเรื่องหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาประเทศเกิดความยั่งยืนต่อไป และตระหนักว่าการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง จำเป็นต้องระดมความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำจากทุกภาคส่วนในสังคม จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคีต่าง ๆ และนำมาประมวลประกอบการจัดทำ (ร่า ง) "ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การจัดสัมมนาระดับชาติในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้ภาคีต่าง ๆ ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาไปพัฒนา (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 300 คน สำหรับกำหนดการสัมมนาในวันนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาทุนทางสังคม" ต่อด้วยการนำเสนอ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการอภิปราย เรื่อง "การพัฒนาทุนทางสังคม : หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย" โดยมีผู้ร่วมอภิปราย
ประกอบด้วย รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ นายประยูร เถลิงศรี ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และ ดร.เสรี พงศ์พิศ โดยมีนายบุญยงค์ เวชมณีศรี รองเลขาธิการ สศช. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาทุนทางสังคม" กล่าวว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคม และมีนโยบาย/โครงการที่สำคัญหลายเรื่อง ทั้งในมิติของการใช้ทุนทางสังคมเพื่อพลิกฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และในมิติของการใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน ดังนี้
มิติแรก การใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมในการแก้ปัญหาสังคม เรื่องแรกคือ การประกาศสงครามกับความยากจนอย่างจริงจัง โดยเน้นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งประสบผลสำเร็จสามารถลดจำนวนคนยากจนได้อย่างต่อเนื่องจาก 8.9 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 6.2 ล้านคน ในปี 2545 นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การส่งเสริมให้คนจนมีที่อยู่อาศัยของตนเอง ด้วยโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้า OTOP หรือโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เรื่องที่สอง คือการประกาศสงครามกับยาเสพติดด้วยความเด็ดขาดในลักษณะเบ็ดเสร็จอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมชัดเจนทั้งปราบปราม ป้องกันและบำบัดฟื้นฟูให้ผู้ที่อยู่ในวงจรยาเสพติดกลับมาเป็นทุนมนุษย์ของสังคมต่อไป
มิติที่สอง การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยดำเนินการในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่ เรื่องแรก การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจัง โดยการปฏิรูปการศึกษา ให้เยาวชนไทย "เก่ง ดี มีสุข" และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการระดมสมองผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ มาร่วมทำงานเพื่อเป็นคลังสมองของประเทศ เป็นเครือข่าย
The Best & The
Brigthest เรื่องที่ 2 คือ การพัฒนาสถาบันครอบครัว ด้วยการดำเนินโครงการครอบครัวผาสุกในพื้นที่นำร่อง 7 จังหวัด ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ซึ่ง สศช. จัดทำขึ้น เรื่องที่ 3 การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมาดูแลและดำเนินการในหลายโครงการทั้งในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรม และเรื่องที่ 4 ก็คือ การปรับกลไกบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทุนทางสังคม ได้แก่ การปรับโครงสร้างกระทรวงและกำหนดแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ การบริหารจัดการระบบผู้ว่า CEO และการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2548 ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์หลัก
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า "การรวมตัวร่วมคิด ร่วมทำ เป็นปัจจัยที่มีพลังในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีงามขึ้นมาได้ในทุกเรื่อง ทุกวงการและทุกระดับ ดังนั้น จึงขอฝากให้ช่วยกันเสนอความคิดเห็นต่อนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม และร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเครือข่ายในการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติ และร่วมกันขยายผลการร่วมคิด ร่วมทำ และสร้างทุนทางสังคมให้งอกงามทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์สุขต่อคนไทยและความยั่งยืนของประเทศ"
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สศช. ได้นำเสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ทุนทางสังคมเป็นทุนที่สำคัญไม่น้อยกว่าทุนเศรษฐกิจและทุนทรัพยากรธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้การพัฒนาเกิดความสมดุลและยั่งยืน แต่ในการพัฒนาที่ผ่านมามีการให้ความสำคัญกับทุนทางเศรษฐกิจและทุนทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากทำให้การพัฒนาขาดความสมดุล จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับทุนทางสังคมมากขึ้น
ความหมายและองค์ประกอบของทุนทางสังคม "ทุนทางสังคม" เกิดจากการรวมตัว--ร่วมคิด--ร่วมทำ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรมในสังคมและประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยมีองค์ประกอบเกื้อหนุนที่สำคัญ 3 องค์ประกอบหลัก คือ
ทุนมนุษย์ ทั้งที่เป็นบุคคลทั่วไปและผู้นำทางสังคม เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ ที่มีความรัก มีน้ำใจ ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเชื่อ ระบบคุณค่าและหลักศีลธรรมที่ดี
ทุนที่เป็นสถาบัน ตั้งแต่สถาบันหลักของชาติ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันสำคัญในสังคม เช่น สถาบันการศึกษา การเมือง ฯลฯ และองค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นมา เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน ประชาชน ธุรกิจเอกชน ฯลฯ ที่มีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำของคนในสังคม
ทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมไทย จารีตประเพณีอันดีงาม และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ
โดยที่ทุนทั้ง 3 องค์ประกอบจะต้องมีกระบวนการประสานเชื่อมโยงให้เกิดเป็นทุนทางสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินทุนทางสังคมที่มีอยู่ของไทย พบว่า ประเทศไทยมีจุดอ่อนหลายประการ ได้แก่ การขาดจิตสำนึกสาธารณะ มีค่านิยมฟุ่มเฟือย จำนวนปีการศึกษาต่ำ (7.8 ปี) องค์กรชุมชนจำนวนมากยังไม่เข้มแข็ง และขาดการต่อยอดการพัฒนา/เชื่อมโยงกับการสร้างรายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดแข็ง ได้แก่ การมีผู้นำศาสนากระจายอยู่ทุกสาขาและทุกพื้นที่ คนไทยมีคุณลักษณะที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง มีสถาบันครอบครัวและระบบเครือญาติเป็นสถาบันแรกเริ่มในการพัฒนาคน มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ มีทุนทางสังคมที่มีความหลากหลายและมีจุดเด่นในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ ต้องเผชิญกับโอกาสและภัยคุกคาม คือ การเปิดเสรีทางการค้าและบริการและกระแสโลกาภิวัตน์ มีการรวมตัวของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และมีนโยบาย/กลไกผู้ว่า CEO และกรอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายที่ให้ความสำคัญกับทุนทางสังคม ขณะเดียวกันยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ การแข่งขันอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของคนไทยและสังคมไทย การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงสูง กระทบต่อกำลังแรงงาน งบประมาณ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการสร้างนิยมและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและทำลายทุนทางสังคม
หลักการสำคัญในการพัฒนาทุนทางสังคม ควรยึดหลัก 4 ประการ คือ 1) ความเชื่อมโยง โดยทุนทางสังคมจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแก้ปัญหาความยากจน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาสังคมโดยรวม 2) ความหลากหลายและยืดหยุ่น โดยจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกัน ต้องยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 3) การพัฒนาทุนทางสังคมจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลและครบวงจร ทั้งการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ เสริมสร้างความเข้มแข็ง รักษา ฟื้นฟู และต่อยอดทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้มีการทำลายทุนทางสังคม และ 4) การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง โดยสร้างสำนึกร่วมและคุณค่าร่วมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในทุกภาคีและทุกระดับทั่วประเทศ รวมทั้งมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละภาคีอย่างชัดเจนและทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่าย
นอกจากนี้แล้วใน (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญา และการเรียนรู้ มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน" โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะและพฤติกรรมเพื่อส่วนรวม 2) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การป้องกันและแก้ปัญหาความยากจน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคมโดยรวม และ 3) เพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วนของสังคม
โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ที่สำคัญจำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ ทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาให้คนไทยทุกคนให้มีจิตสาธารณะและพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จัดหาผู้ที่มีความสามารถและทักษะ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม ทุนที่เป็นสถาบัน ครอบคลุมสถาบันต่าง ๆ กล่าวคือให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ สถาบันศาสนามีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาจิตใจของประชาชนและพัฒนาสังคม มีเครือข่ายธุรกิจเอกชนเพื่อสังคมในทุกสาขาการผลิต และสื่อของรัฐมีสาระสร้างสรรค์เพื่อสังคมร้อยละ 50 ของเนื้อที่ทั้งหมด และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม พัฒนา OTOP และการท่องเที่ยวได้รับการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม และภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้รับการรักษา ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอด และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทย
สำหรับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสนับสนุนให้เกิดกระบวนการทุนทางสังคมอย่างกว้างขวาง ในทุกพื้นที่ ทุกองค์กร และทุกเรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเสริมสร้างพลังและคุณค่าให้ทุนทางสังคม โดยฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอดทุนทางสังคมทั้ง 3 องค์ประกอบหลัก โดยคำนึงถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละทุน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคม ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องทุนทางสังคมอย่างจริงจัง รวมทั้งการใช้สื่อในการเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่อง กว้างขวางและเป็นเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุนทางสังคม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทำลายทุนทางสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนากลไกการติดตามประเมินผล โดยการพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลทุนทางสังคมทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ การนำเสนอผลการประเมินการดำเนินงานต่อสาธารณชน รวมทั้งการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม (Social Capital Mapping) ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ส่วนการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ ต้องเลือกเรื่องที่มีความชัดเจน สำคัญ จำเป็นเร่งด่วนและมีผลกระทบสูงมาดำเนินการก่อน ต้องกำหนดบทบาท ภารกิจของแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจน ต้องทดลองทำให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ มีโครงการนำร่อง/พื้นที่นำร่อง ต้องมีการสร้างผู้นำทางสังคมให้มากขึ้นในทุกสาขา ทุกพื้นที่ เพื่อนำไปปฏิบัติ/ขยายผล รวมทั้งต้องมีการ
จัดการความรู้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การวิจัย รวบรวม สังเคราะห์ และถ่ายทอดต่อสาธารณะให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้สะดวก ทั้งนี้ บทบาทของภาคีต่าง ๆ ทั้งภาคชุมชนและประชาชน รัฐบาลและการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตามบทบาทและภารกิจของแต่ละภาคี
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สำนักงานฯ จะนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนาในวันนี้ ประมวลและปรับปรุง (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาในวันนี้จะเป็นเวทีในการผนึกพลังแห่งการสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายในการขับเคลื่อนและขยายการพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและกระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานในการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง "การพัฒนาทุนทางสังคม : หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย" ว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคม จึงได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติเรื่องหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาประเทศเกิดความยั่งยืนต่อไป และตระหนักว่าการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง จำเป็นต้องระดมความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำจากทุกภาคส่วนในสังคม จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ตลอดเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคีต่าง ๆ และนำมาประมวลประกอบการจัดทำ (ร่า ง) "ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การจัดสัมมนาระดับชาติในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและกระตุ้นให้ภาคีต่าง ๆ ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทย และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาไปพัฒนา (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน และประชาชน จำนวนประมาณ 300 คน สำหรับกำหนดการสัมมนาในวันนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาทุนทางสังคม" ต่อด้วยการนำเสนอ เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการอภิปราย เรื่อง "การพัฒนาทุนทางสังคม : หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย" โดยมีผู้ร่วมอภิปราย
ประกอบด้วย รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ นายประยูร เถลิงศรี ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล และ ดร.เสรี พงศ์พิศ โดยมีนายบุญยงค์ เวชมณีศรี รองเลขาธิการ สศช. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาทุนทางสังคม" กล่าวว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของทุนทางสังคม และมีนโยบาย/โครงการที่สำคัญหลายเรื่อง ทั้งในมิติของการใช้ทุนทางสังคมเพื่อพลิกฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และในมิติของการใช้ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศให้เกิดความยั่งยืน ดังนี้
มิติแรก การใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมในการแก้ปัญหาสังคม เรื่องแรกคือ การประกาศสงครามกับความยากจนอย่างจริงจัง โดยเน้นการสร้างงาน เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ประชาชน ซึ่งประสบผลสำเร็จสามารถลดจำนวนคนยากจนได้อย่างต่อเนื่องจาก 8.9 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 6.2 ล้านคน ในปี 2545 นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค การส่งเสริมให้คนจนมีที่อยู่อาศัยของตนเอง ด้วยโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านมั่นคง การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสินค้า OTOP หรือโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เรื่องที่สอง คือการประกาศสงครามกับยาเสพติดด้วยความเด็ดขาดในลักษณะเบ็ดเสร็จอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมชัดเจนทั้งปราบปราม ป้องกันและบำบัดฟื้นฟูให้ผู้ที่อยู่ในวงจรยาเสพติดกลับมาเป็นทุนมนุษย์ของสังคมต่อไป
มิติที่สอง การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยดำเนินการในเรื่องสำคัญ ๆ ได้แก่ เรื่องแรก การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างจริงจัง โดยการปฏิรูปการศึกษา ให้เยาวชนไทย "เก่ง ดี มีสุข" และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการระดมสมองผู้ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ มาร่วมทำงานเพื่อเป็นคลังสมองของประเทศ เป็นเครือข่าย
The Best & The
Brigthest เรื่องที่ 2 คือ การพัฒนาสถาบันครอบครัว ด้วยการดำเนินโครงการครอบครัวผาสุกในพื้นที่นำร่อง 7 จังหวัด ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ซึ่ง สศช. จัดทำขึ้น เรื่องที่ 3 การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ด้วยการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมขึ้นมาดูแลและดำเนินการในหลายโครงการทั้งในเรื่องศาสนาและวัฒนธรรม และเรื่องที่ 4 ก็คือ การปรับกลไกบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทุนทางสังคม ได้แก่ การปรับโครงสร้างกระทรวงและกำหนดแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่ การบริหารจัดการระบบผู้ว่า CEO และการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2548 ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์หลัก
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า "การรวมตัวร่วมคิด ร่วมทำ เป็นปัจจัยที่มีพลังในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดีงามขึ้นมาได้ในทุกเรื่อง ทุกวงการและทุกระดับ ดังนั้น จึงขอฝากให้ช่วยกันเสนอความคิดเห็นต่อนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม และร่วมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือเครือข่ายในการขับเคลื่อนการพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติ และร่วมกันขยายผลการร่วมคิด ร่วมทำ และสร้างทุนทางสังคมให้งอกงามทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์สุขต่อคนไทยและความยั่งยืนของประเทศ"
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการ สศช. ได้นำเสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อที่ประชุมสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ทุนทางสังคมเป็นทุนที่สำคัญไม่น้อยกว่าทุนเศรษฐกิจและทุนทรัพยากรธรรมชาติ เพราะจะช่วยให้การพัฒนาเกิดความสมดุลและยั่งยืน แต่ในการพัฒนาที่ผ่านมามีการให้ความสำคัญกับทุนทางเศรษฐกิจและทุนทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากทำให้การพัฒนาขาดความสมดุล จึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับทุนทางสังคมมากขึ้น
ความหมายและองค์ประกอบของทุนทางสังคม "ทุนทางสังคม" เกิดจากการรวมตัว--ร่วมคิด--ร่วมทำ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรมในสังคมและประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยมีองค์ประกอบเกื้อหนุนที่สำคัญ 3 องค์ประกอบหลัก คือ
ทุนมนุษย์ ทั้งที่เป็นบุคคลทั่วไปและผู้นำทางสังคม เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน อาสาสมัคร ฯลฯ ที่มีความรัก มีน้ำใจ ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเชื่อ ระบบคุณค่าและหลักศีลธรรมที่ดี
ทุนที่เป็นสถาบัน ตั้งแต่สถาบันหลักของชาติ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันสำคัญในสังคม เช่น สถาบันการศึกษา การเมือง ฯลฯ และองค์กรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นมา เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน ประชาชน ธุรกิจเอกชน ฯลฯ ที่มีบทบาทสนับสนุนให้เกิดการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำของคนในสังคม
ทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ทั้งภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมไทย จารีตประเพณีอันดีงาม และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ
โดยที่ทุนทั้ง 3 องค์ประกอบจะต้องมีกระบวนการประสานเชื่อมโยงให้เกิดเป็นทุนทางสังคม
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินทุนทางสังคมที่มีอยู่ของไทย พบว่า ประเทศไทยมีจุดอ่อนหลายประการ ได้แก่ การขาดจิตสำนึกสาธารณะ มีค่านิยมฟุ่มเฟือย จำนวนปีการศึกษาต่ำ (7.8 ปี) องค์กรชุมชนจำนวนมากยังไม่เข้มแข็ง และขาดการต่อยอดการพัฒนา/เชื่อมโยงกับการสร้างรายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิต จุดแข็ง ได้แก่ การมีผู้นำศาสนากระจายอยู่ทุกสาขาและทุกพื้นที่ คนไทยมีคุณลักษณะที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง มีสถาบันครอบครัวและระบบเครือญาติเป็นสถาบันแรกเริ่มในการพัฒนาคน มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ มีทุนทางสังคมที่มีความหลากหลายและมีจุดเด่นในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ ต้องเผชิญกับโอกาสและภัยคุกคาม คือ การเปิดเสรีทางการค้าและบริการและกระแสโลกาภิวัตน์ มีการรวมตัวของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และมีนโยบาย/กลไกผู้ว่า CEO และกรอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายที่ให้ความสำคัญกับทุนทางสังคม ขณะเดียวกันยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็คือ การแข่งขันอย่างรุนแรงส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของคนไทยและสังคมไทย การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงสูง กระทบต่อกำลังแรงงาน งบประมาณ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการสร้างนิยมและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและทำลายทุนทางสังคม
หลักการสำคัญในการพัฒนาทุนทางสังคม ควรยึดหลัก 4 ประการ คือ 1) ความเชื่อมโยง โดยทุนทางสังคมจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแก้ปัญหาความยากจน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาสังคมโดยรวม 2) ความหลากหลายและยืดหยุ่น โดยจะต้องคำนึงถึงความหลากหลายของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกัน ต้องยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 3) การพัฒนาทุนทางสังคมจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลและครบวงจร ทั้งการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำ เสริมสร้างความเข้มแข็ง รักษา ฟื้นฟู และต่อยอดทุนทางสังคมที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้มีการทำลายทุนทางสังคม และ 4) การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง โดยสร้างสำนึกร่วมและคุณค่าร่วมบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในทุกภาคีและทุกระดับทั่วประเทศ รวมทั้งมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละภาคีอย่างชัดเจนและทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่าย
นอกจากนี้แล้วใน (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญา และการเรียนรู้ มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน" โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีจิตสำนึกสาธารณะและพฤติกรรมเพื่อส่วนรวม 2) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การป้องกันและแก้ปัญหาความยากจน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคมโดยรวม และ 3) เพื่อเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วนของสังคม
โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ที่สำคัญจำแนกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ ทุนมนุษย์ มุ่งพัฒนาให้คนไทยทุกคนให้มีจิตสาธารณะและพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จัดหาผู้ที่มีความสามารถและทักษะ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างเหมาะสม ทุนที่เป็นสถาบัน ครอบคลุมสถาบันต่าง ๆ กล่าวคือให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ สถาบันศาสนามีกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาจิตใจของประชาชนและพัฒนาสังคม มีเครือข่ายธุรกิจเอกชนเพื่อสังคมในทุกสาขาการผลิต และสื่อของรัฐมีสาระสร้างสรรค์เพื่อสังคมร้อยละ 50 ของเนื้อที่ทั้งหมด และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม พัฒนา OTOP และการท่องเที่ยวได้รับการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่ม และภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทยได้รับการรักษา ฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอด และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทย
สำหรับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสนับสนุนให้เกิดกระบวนการทุนทางสังคมอย่างกว้างขวาง ในทุกพื้นที่ ทุกองค์กร และทุกเรื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การเสริมสร้างพลังและคุณค่าให้ทุนทางสังคม โดยฟื้นฟู พัฒนาและต่อยอดทุนทางสังคมทั้ง 3 องค์ประกอบหลัก โดยคำนึงถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละทุน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางสังคม ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่นร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เรื่องทุนทางสังคมอย่างจริงจัง รวมทั้งการใช้สื่อในการเผยแพร่ความรู้อย่างต่อเนื่อง กว้างขวางและเป็นเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุนทางสังคม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทำลายทุนทางสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนากลไกการติดตามประเมินผล โดยการพัฒนาตัวชี้วัดและฐานข้อมูลทุนทางสังคมทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ การนำเสนอผลการประเมินการดำเนินงานต่อสาธารณชน รวมทั้งการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม (Social Capital Mapping) ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ส่วนการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ ต้องเลือกเรื่องที่มีความชัดเจน สำคัญ จำเป็นเร่งด่วนและมีผลกระทบสูงมาดำเนินการก่อน ต้องกำหนดบทบาท ภารกิจของแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจน ต้องทดลองทำให้เห็นผลเป็นที่ประจักษ์ มีโครงการนำร่อง/พื้นที่นำร่อง ต้องมีการสร้างผู้นำทางสังคมให้มากขึ้นในทุกสาขา ทุกพื้นที่ เพื่อนำไปปฏิบัติ/ขยายผล รวมทั้งต้องมีการ
จัดการความรู้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การวิจัย รวบรวม สังเคราะห์ และถ่ายทอดต่อสาธารณะให้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้สะดวก ทั้งนี้ บทบาทของภาคีต่าง ๆ ทั้งภาคชุมชนและประชาชน รัฐบาลและการเมือง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน จะต้องร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาตามบทบาทและภารกิจของแต่ละภาคี
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สำนักงานฯ จะนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนาในวันนี้ ประมวลและปรับปรุง (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาในวันนี้จะเป็นเวทีในการผนึกพลังแห่งการสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายในการขับเคลื่อนและขยายการพัฒนาทุนทางสังคมไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและกระจายไปในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อนำพาประเทศชาติไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-