นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดจัดการประชุมประจำปี 2547 เรื่อง "เศรษฐกิจนอกระบบ กับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ" ในวันพุธที่ 30 มิถุนายน 2547 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมพร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุที่ สศช. เลือกจัดการประชุมในหัวข้อดังกล่าว เนื่องจากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ และเป็นภาคที่สนับสนุนเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดประชุมประจำปี 2547 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รายงานการติดตามประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันทางสังคมของรัฐบาลต่อเนื่องจากปี 2546 และรายงานการติดตามประเมินผลในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์เศรษฐกิจนอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ
สำหรับการรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะนำเสนอ 2 ระดับ คือระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยระดับประเทศ จะเป็นรายงานการประเมิน 2 ส่วนคือ 1) การประเมินผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ดัชนี 3 ชุด คือดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง สศช. ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปีนี้ 2) การประเมินผลการดำเนินงานในระยะครึ่งแผนพัฒนาฉบับที่ 9 โดยวิเคราะห์และรายงานผลตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น
ระดับภูมิภาค มี 2 ส่วน คือ 1) การประเมินผลกระทบของการพัฒนาของแผนฯ 9 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประมวลข้อมูลเป็นรายจังหวัด และกลุ่มจังหวัด 19 กลุ่ม ตามกลุ่มยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 2) การประเมินผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ในระดับภูมิภาค รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค
ด้านการรายงานผลการประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม เป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับภาพรวมและระดับโครงการ โดยปีนี้ติดตามรวม 7 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2546 จำนวน 6 โครงการ คือ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร โครงการธนาคารประชาชน โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค และโครงการผู้ประกอบการรายใหม่ โดยในปี นี้ได้เพิ่มการรายงานโครงการบ้านเอื้ออาทร
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นการจัดการประชุมประจำปีครั้งที่ 3 ของ สศช. โดยในปีแรกจัดในหัวข้อ "ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย : 5 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจ" และปีที่ผ่านมา เรื่อง "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 1,600 คน และจากการประมวลความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมประจำปี 2546 ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายต้องการให้ สศช. จัดการประชุมประจำปีอย่างต่อเนื่องทุกปี และเสนอให้จัดประชุมในระดับภาคด้วย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการประชุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นการระดมความเห็นจากกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย ซึ่ง สศช. มีช่องทางที่จะผลักดันไปสู่ระดับนโยบายได้โดยการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งผลจากการประชุมที่ผ่านมาทั้ง 2 ครั้ง ได้มีการนำไปสู่การดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สาเหตุที่ สศช. เลือกจัดการประชุมในหัวข้อดังกล่าว เนื่องจากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ และเป็นภาคที่สนับสนุนเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดประชุมประจำปี 2547 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รายงานการติดตามประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันทางสังคมของรัฐบาลต่อเนื่องจากปี 2546 และรายงานการติดตามประเมินผลในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น และร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์เศรษฐกิจนอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ
สำหรับการรายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะนำเสนอ 2 ระดับ คือระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยระดับประเทศ จะเป็นรายงานการประเมิน 2 ส่วนคือ 1) การประเมินผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ดัชนี 3 ชุด คือดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง สศช. ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปีนี้ 2) การประเมินผลการดำเนินงานในระยะครึ่งแผนพัฒนาฉบับที่ 9 โดยวิเคราะห์และรายงานผลตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทุนทางสังคม การแก้ปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น
ระดับภูมิภาค มี 2 ส่วน คือ 1) การประเมินผลกระทบของการพัฒนาของแผนฯ 9 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประมวลข้อมูลเป็นรายจังหวัด และกลุ่มจังหวัด 19 กลุ่ม ตามกลุ่มยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ 2) การประเมินผลการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ 4 เรื่อง ในระดับภูมิภาค รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค
ด้านการรายงานผลการประเมินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม เป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับภาพรวมและระดับโครงการ โดยปีนี้ติดตามรวม 7 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2546 จำนวน 6 โครงการ คือ โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร โครงการธนาคารประชาชน โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค และโครงการผู้ประกอบการรายใหม่ โดยในปี นี้ได้เพิ่มการรายงานโครงการบ้านเอื้ออาทร
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นการจัดการประชุมประจำปีครั้งที่ 3 ของ สศช. โดยในปีแรกจัดในหัวข้อ "ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย : 5 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจ" และปีที่ผ่านมา เรื่อง "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 1,600 คน และจากการประมวลความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมประจำปี 2546 ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายต้องการให้ สศช. จัดการประชุมประจำปีอย่างต่อเนื่องทุกปี และเสนอให้จัดประชุมในระดับภาคด้วย โดยส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นการประชุมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นการระดมความเห็นจากกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย ซึ่ง สศช. มีช่องทางที่จะผลักดันไปสู่ระดับนโยบายได้โดยการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งผลจากการประชุมที่ผ่านมาทั้ง 2 ครั้ง ได้มีการนำไปสู่การดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติแล้ว
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-