แท็ก
สภาพัฒน์
วันนี้ (20 พฤษภาคม 2547)นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเรื่อง "ร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ" ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ พร้อมทั้งรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงเป็นเอกสารเรื่อง "ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ" ที่มีความชัดเจน สมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน สำหรับการนำไปเผยแพร่และระดมความคิดในการประชุมประจำปี 2547 ของ สศช.ต่อไป ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยให้ภาครัฐมีการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช กล่าวเปิดการประชุมว่า เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จัดเป็น "เศรษฐกิจนอกระบบ" ซึ่งไม่รวมส่วนที่ผิดกฎหมาย คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) โดย กิจกรรมเหล่านี้ได้สร้างงานให้กับคนไทยประมาณ 23 ล้านคน หรือกว่าร้อยละ 70 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศในปี 2544 นอกจากนี้ เศรษฐกิจนอกระบบยังเป็นตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนให้เห็นระดับการพัฒนาของประเทศ โดยหากเศรษฐกิจนอกระบบมีมาก ประเทศก็จะยิ่งด้อยพัฒนามากขึ้น ทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยากจนที่อาจกลายเป็นวงจรแห่งความยากจน ที่ยากต่อการแก้ไขได้
สำหรับแนวคิดของการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ ควรให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก คือ
1) การนำเข้าสู่ระบบ GDP โดยที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่นอกระบบบางอย่าง สามารถนำมาคิดคำนวณหา GDP ได้โดยใช้การประมาณการจากพื้นที่ ซึ่งหากสามารถนำกิจกรรมเหล่านี้เข้าสู่ระบบ GDP ได้แล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
2) เพื่อพิจารณาให้สิทธิและการคุ้มครองจากรัฐ โดยที่เศรษฐกิจนอกระบบมีความเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินของคนไทยถึง 23 ล้านคน จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงเพื่อจะทำให้คนเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้รับการคุ้มครองตามสิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ
3) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เนื่องจากคนจนส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานนอกระบบที่รัฐไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้ ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงบริการของรัฐได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค หรือกองทุนประกันสังคม
จากนั้น นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอ "ร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ" โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ความสำคัญของเศรษฐกิจนอกระบบ เนื่องจากเศรษฐกิจนอกระบบมีขนาดสัดส่วนร้อยละ 46 ของ GDP ภาครัฐจึงจำเป็นต้องบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อดูแลให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ ยกระดับคุณภาพการผลิตและบริการให้ดีขึ้น ตลอดจนให้การคุ้มครอง สร้างความเป็นธรรมให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นในสังคม
คำนิยาม "เศรษฐกิจนอกระบบ" ที่ภาครัฐจะเข้าไปบริหารจัดการ หมายความรวมถึง การประกอบอาชีพและธุรกิจ ในภาคการผลิตสินค้าและบริการที่สร้างงาน สร้างรายได้ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของภาครัฐ เป็นหน่วยงานธุรกิจขนาดเล็กของชุมชน ธุรกิจที่ผู้ทำงานเป็นเจ้าของที่อาจมีลูกจ้าง
หรือใช้แรงงานในครอบครัว โดยมีทั้งที่ดำเนินการโดยถูกกฎหมายและหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายกำกับ ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ
1) การผลิตสินค้าและบริการสาขาที่ไม่เป็นทางการ
2) การผลิตสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย
วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบมุ่งเน้นให้ประชาชนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ มีอิสระในการประกอบอาชีพ ผลิตสินค้าและบริการ สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและสาธารณสุข ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ลดผลกระทบจากกิจกรรมที่เป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งภาครัฐสามารถบริหารเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนอกระบบให้มีบทบาทมากขึ้นในการสร้างการเติบโตและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ลดผลกระทบทางสังคมที่ไม่พึงปรารถนาจากการให้บริการและประกอบอาชีพที่อยู่นอกระบบ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมและกระจายโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายในปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงหลักประกันทางสังคม
เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ สศช.เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การบริการจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ ประกอบด้วย
1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจนอกระบบให้เป็นฐานในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพ และผู้ประกอบการของธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ ให้มีโอกาสได้รับการดูแล ส่งเสริม และเข้าถึงบริการพื้นฐานที่จำเป็นจากภาครัฐในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ และเป็นรากฐานอันสำคัญในการพัฒนาการผลิต การจ้างงาน และการสร้างรายได้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
2) ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและการกระจายโอกาสในสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพ และแรงงานได้รับความเป็นธรรมและการกระจายความมั่งคั่งในสังคม รวมทั้งผู้ใช้บริการได้รับสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรม มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รวมทั้งลดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากเศรษฐกิจนอกระบบต่อสาธารณชน
3) ยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงและการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการสามารถจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งเสริมให้คนเหล่านี้มีงานทำ และมีรายได้ที่มั่นคงเพิ่มขึ้นและคนยากจนในเศรษฐกิจนอกระบบมีโอกาสหลุดพ้นจากความยากจนได้ ขณะเดียวกันทำให้ผู้ใช้บริการในเศรษฐกิจนอกระบบได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ พร้อมทั้งรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงเป็นเอกสารเรื่อง "ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ" ที่มีความชัดเจน สมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน สำหรับการนำไปเผยแพร่และระดมความคิดในการประชุมประจำปี 2547 ของ สศช.ต่อไป ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะช่วยให้ภาครัฐมีการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช กล่าวเปิดการประชุมว่า เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมาส่วนหนึ่งมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จัดเป็น "เศรษฐกิจนอกระบบ" ซึ่งไม่รวมส่วนที่ผิดกฎหมาย คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) โดย กิจกรรมเหล่านี้ได้สร้างงานให้กับคนไทยประมาณ 23 ล้านคน หรือกว่าร้อยละ 70 ของกำลังแรงงานทั้งประเทศในปี 2544 นอกจากนี้ เศรษฐกิจนอกระบบยังเป็นตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนให้เห็นระดับการพัฒนาของประเทศ โดยหากเศรษฐกิจนอกระบบมีมาก ประเทศก็จะยิ่งด้อยพัฒนามากขึ้น ทั้งยังเชื่อมโยงไปถึงเรื่องความยากจนที่อาจกลายเป็นวงจรแห่งความยากจน ที่ยากต่อการแก้ไขได้
สำหรับแนวคิดของการบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ ควรให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก คือ
1) การนำเข้าสู่ระบบ GDP โดยที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่นอกระบบบางอย่าง สามารถนำมาคิดคำนวณหา GDP ได้โดยใช้การประมาณการจากพื้นที่ ซึ่งหากสามารถนำกิจกรรมเหล่านี้เข้าสู่ระบบ GDP ได้แล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
2) เพื่อพิจารณาให้สิทธิและการคุ้มครองจากรัฐ โดยที่เศรษฐกิจนอกระบบมีความเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินของคนไทยถึง 23 ล้านคน จึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญเป็นลำดับสูงเพื่อจะทำให้คนเหล่านี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยได้รับการคุ้มครองตามสิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ
3) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน เนื่องจากคนจนส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานนอกระบบที่รัฐไม่ได้มีการบันทึกประวัติไว้ ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงบริการของรัฐได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค หรือกองทุนประกันสังคม
จากนั้น นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอ "ร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ" โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ความสำคัญของเศรษฐกิจนอกระบบ เนื่องจากเศรษฐกิจนอกระบบมีขนาดสัดส่วนร้อยละ 46 ของ GDP ภาครัฐจึงจำเป็นต้องบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อดูแลให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพอยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ ยกระดับคุณภาพการผลิตและบริการให้ดีขึ้น ตลอดจนให้การคุ้มครอง สร้างความเป็นธรรมให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นในสังคม
คำนิยาม "เศรษฐกิจนอกระบบ" ที่ภาครัฐจะเข้าไปบริหารจัดการ หมายความรวมถึง การประกอบอาชีพและธุรกิจ ในภาคการผลิตสินค้าและบริการที่สร้างงาน สร้างรายได้ ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของภาครัฐ เป็นหน่วยงานธุรกิจขนาดเล็กของชุมชน ธุรกิจที่ผู้ทำงานเป็นเจ้าของที่อาจมีลูกจ้าง
หรือใช้แรงงานในครอบครัว โดยมีทั้งที่ดำเนินการโดยถูกกฎหมายและหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายกำกับ ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ
1) การผลิตสินค้าและบริการสาขาที่ไม่เป็นทางการ
2) การผลิตสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย
วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบมุ่งเน้นให้ประชาชนที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ มีอิสระในการประกอบอาชีพ ผลิตสินค้าและบริการ สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและสาธารณสุข ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ลดผลกระทบจากกิจกรรมที่เป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งภาครัฐสามารถบริหารเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจนอกระบบให้มีบทบาทมากขึ้นในการสร้างการเติบโตและความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ลดผลกระทบทางสังคมที่ไม่พึงปรารถนาจากการให้บริการและประกอบอาชีพที่อยู่นอกระบบ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมและกระจายโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งไม่ถูกต้องตามกฎหมายในปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงหลักประกันทางสังคม
เพื่อให้การดำเนินงานบริหารจัดการเศรษฐกิจนอกระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ สศช.เห็นควรกำหนดยุทธศาสตร์การบริการจัดการเศรษฐกิจนอกระบบ ประกอบด้วย
1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจนอกระบบให้เป็นฐานในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทย เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบอาชีพ และผู้ประกอบการของธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ ให้มีโอกาสได้รับการดูแล ส่งเสริม และเข้าถึงบริการพื้นฐานที่จำเป็นจากภาครัฐในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ และเป็นรากฐานอันสำคัญในการพัฒนาการผลิต การจ้างงาน และการสร้างรายได้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
2) ยุทธศาสตร์สร้างความเป็นธรรมและการกระจายโอกาสในสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพ และแรงงานได้รับความเป็นธรรมและการกระจายความมั่งคั่งในสังคม รวมทั้งผู้ใช้บริการได้รับสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรม มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รวมทั้งลดผลกระทบอันไม่พึงประสงค์จากเศรษฐกิจนอกระบบต่อสาธารณชน
3) ยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงและการคุ้มครองทางสังคมแก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ เพื่อสร้างหลักประกันทางสังคมให้แก่ผู้อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบที่ไม่เป็นทางการสามารถจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งเสริมให้คนเหล่านี้มีงานทำ และมีรายได้ที่มั่นคงเพิ่มขึ้นและคนยากจนในเศรษฐกิจนอกระบบมีโอกาสหลุดพ้นจากความยากจนได้ ขณะเดียวกันทำให้ผู้ใช้บริการในเศรษฐกิจนอกระบบได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-