(ต่อ1)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2547 และแนวโน้มปี 2547(ภาพรวม)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 9, 2004 13:45 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

        1.2 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปี 2547:  
เศรษฐกิจไตรมาสแรก: แรงกระตุ้นจากอุปสงค์ภายในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ในไตรมาสแรกปี 2547 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 6.5 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.8 ในไตรมาสสุดท้ายปี 2546 และขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3.4 ต่อปี ต่ำกว่าการขยายตัวร้อยละ 9.4 และ 10.2 ในช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปี 2547 อย่างชัดเจน เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาระยะสั้นซึ่งประกอบด้วย ปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่ และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เริ่มกระทบความเชื่อมั่นของประชาชนและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งราคาน้ำมันเริ่มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายไตรมาส และที่สำคัญการชะลอตัวสะท้อนการปรับตัวของภาวะการใช้จ่ายครัวเรือนและปริมาณการส่งออกเข้าสู่ระดับที่สมดุลมากขึ้นภายหลังจากที่ได้ขยายตัวในอัตราสูงมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นมากตามภาวะการผลิตและการลงทุน ปริมาณการจำหน่ายรวมของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ขยายตัวช้าลงกว่าปี 2546 ซึ่งปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมนับว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และเป็นการขยายตัวที่สนับสนุนโดยอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือน ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 การใช้จ่ายรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคการค้าต่างประเทศปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 สูงกว่าปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.7 แม้ว่าปริมาณการส่งออกบริการจะเพิ่มขึ้นมากกว่าการนำเข้าบริการแต่เพียงเล็กน้อยและสุทธิแล้วการส่งออกสินค้าและบริการยังคงเป็นปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจลง อย่างไรก็ตามราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าราคาสินค้านำเข้า เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะ ข้าวและยางพารา ประกอบกับกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงก็มีราคาเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นประเทศไทยจึงได้เปรียบอัตราการค้า (Term of trade) ทำให้มีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากแม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยบวกด้านกำลังซื้อของประชาชนและช่วยชดเชยผลกระทบจากราคาน้ำมันที่พิ่มสูง
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ใกล้เคียงกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ของระยะเดียวกันปี 2546 โดยเฉพาะการจ้างงานภาคนอกเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ของระยะเดียวกันปี 2546สอดคล้องกับข้อมูลการจัดหางานในประเทศโดยรัฐที่มีการบรรจุงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 174.5 จากระยะเดียวกันของปี 2546ขณะที่การจ้างงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ของระยะเดียวกันปี 2546 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากภาวะภัยแล้งต่อเนื่องจากปี 2546 อย่างไรก็ตาม การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถรองรับกำลังแรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในช่วงไตรมาสแรกปี 2546 ทำให้มีผู้ว่างงานจำนวน0.829 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.37 ของกำลังแรงงานรวม สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบอัตราการว่างงานร้อยละ 2.30 ของระยะเดียวกันปี 2546 แต่ตัวเลขการบริการจัดหางานทำในประเทศภาครัฐกลับมีตำแหน่งงานว่างเกือบ 390,000 ตำแหน่ง แสดงถึงคุณภาพกำลังแรงงานไม่ตรงกับความต้องการของตลาดสำหรับผู้ประกันตน ณ สิ้นเดือนมีนาคมมีจำนวนทั้งสิ้น 7.56ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากสิ้นเดือนมีนาคม 2546 เพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ การคมนาคมขนส่ง การผลิตโลหะขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
ในด้านสถานการณ์ราคาสินค้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.8 ตามราคาเนื้อสุกรและสัตว์ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นทดแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ปีก รวมทั้งราคาพืชผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ที่เพิ่มขึ้นมาก สำหรับในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการตรึงราคาน้ำมันช่วยบรรเทาผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกเท่ากับร้อยละ1.9 เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในไตรมาสแรกเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.1 เนื่องจากค่าเช่าบ้านลดลงมากและการตรึงราคาน้ำมันซึ่งได้ดำเนินการไปครั้งหนึ่งแล้วในปี 2546ช่วยลดผลกระทบต่อเนื่องต่อราคาสินค้า ประกอบกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในขณะที่กำลังการผลิตส่วนเกินยังมีอยู่ จึงทำให้การผลักภาระต้นทุนไปสู่ผู้บริโภคมีไม่มาก
ภาคการเงิน:
สภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2546
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ณ สิ้นเดือนเมษายน 2547 อยู่ที่ระดับ 92.4 ต่ำกว่าร้อยละ 97.3 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2546 ชี้ว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิควบหุ้นบุริมสิทธิ์ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารพาณิชย์ ที่ทำให้เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ในขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 สภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูงแม้ว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาคธุรกิจเอกชนใช้ผลกำไรสุทธิของบริษัทในการลงทุนและเป็นทุนดำเนินการ ในขณะที่การระดมทุนโดยใช้การออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้เอกชนลดลงร้อยละ 74.52 ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตามภาคเอกชนได้หันมาระดมทุนผ่านตราสารทุนเพิ่มขึ้น ในไตรมาสแรกตราสารทุนที่ออกใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 171.1 ธนาคารพาณิชย์มีการปรับตัวดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากสัดส่วน NPLs ลดลงจาก 15.7 เป็น 12.0 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Capital adequacy ratio) ลดลงเล็กน้อยจาก 12.5 เป็น 12.0 ในระยะเดียวกันปี 2546
ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ลดลง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม เท่ากับ 647.30 ลดลงจากระดับ 772.15 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 โดยมีมูลค่าซื้อขายลดลงจาก 34,236 ล้านบาท ในไตรมาสที่สี่ปี 2546 เป็น 28,355 ล้านบาทต่อวันในไตรมาสแรกของปี 2547
ด้านการคลัง: ดุลการคลังตามระบบ GFS เกินดุล หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเหลือร้อยละ 44.03
ในช่วงไตรมาสที่สองปีงบประมาณ 2547 (ม.ค.-มี.ค.) รัฐบาลมีรายได้ 286,829.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 16.0 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นทำให้การจัด เก็บภาษีเพิ่มขึ้นทั้งจากฐานการบริโภคและจากฐานรายได้ด้านรายจ่าย มีจำนวน 269,173.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ14.5 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้รัฐบาลมีดุลการให้กู้ยืมสุทธิเกินดุลจำนวน 17,655.8 ล้านบาท เมื่อหักด้วยรายจ่ายในการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ตามนโยบายสาธารณะจำนวน 4,124.1 ล้านบาท เป็นผลให้รัฐบาลมีดุลการคลังเกินดุลจำนวนทั้งสิ้น 13,531.7 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณรวมสองไตรมาสแรกของปีงบประมาณเท่ากับร้อยละ 48.82 ของวงเงินงบประมาณรวม ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 45.0ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2547 หนี้สาธารณะคงค้างมีจำนวน2,850,238 ล้านบาท เป็นร้อยละ 44.03 ของ GDP โดยจำแนกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงร้อยละ 24.9 ของ GDP หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินร้อยละ 13.1 และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ร้อยละ 5.98 ของ GDP
โดยภาพรวมเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
-สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์ในประเทศลดลงจากร้อยละ 48.93 ณ สิ้นปี 2546 เป็นร้อยละ 44.03 ณ สิ้นไตรมาสแรกปีนี้
- ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 42.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน คิดเป็น 3.6 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
- อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ โดยเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 39.0-40.9 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเท่ากับ 39.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปี 2546
นอกจากนี้ในระดับจุลภาคเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น อาทิ ผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2545 และในไตรมาสแรกปีนี้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 ทำให้บริษัทธุรกิจเอกชนมีแหล่งเงินทุนจากภายในเพื่อการลงทุนได้มากขึ้น (Internal source of financing) ความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดให้เกิดรายได้ลดลง ความมั่นคงทางการเงินของภาคธุรกิจมีมากขึ้น โดยที่สัดส่วนหนี้ต่อทุนลดลงจากร้อยละ 4.42 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 เป็นร้อยละ 4.21 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2547 การจ้างงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นจาก 0.678 ล้านคนเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็น 0.840 ล้านคน เดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงในทุกสาขาเศรษฐกิจ
การเคลื่อนไหวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขยายสินเชื่อของธนาคารพ ณิ ชย์ และการฟื้ นตัวของภ คธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวดีขึ้น และมีการใช้มาตรการด้านสินเชื่อเพื่อป้องกันการเก็งกำไรและมิให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ร้อนแรงเกินไป ภายใต้สถานการณ์ที่สภาพคล่องในประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและดอกเบี้ยต่ำ
(ยังมีต่อ).../2. เงื่อนไขและ..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ