แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
5. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2547
ในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน นี้ สศช. ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2547 ลงจากร้อยละ 7.0-8.0 ในการประกาศเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547เป็นร้อยละ 6.0-7.0 โดยที่ยังเป็นการขยายตัวที่มีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิเป็นปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวเนื่องจากปริมาณการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ปริมาณการส่งออกไก่แช่เย็นและแช่แข็งลดลงมาก รวมทั้งปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรที่ลดลงมากใน 4 เดือนแรกของปี การปรับลดปริมาณการส่งออกสินค้าและปรับเพิ่มปริมาณการนำเข้าจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ย ประเทศไทยจึงได้เปรียบอัตราการค้าทำให้มีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากแม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยบวกด้านกำลังซื้อของประชาชนและช่วยชดเชยผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น สศช. จึงคงการประมาณการการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่สถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการประเมินในครั้งเดือนมีนาคมอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ได้ปรับประมาณการขึ้น เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
การประมาณการเศรษฐกิจรายสาขา เป็นดังนี้
(1) การใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 6.0 เท่ากับการประมาณการเดิม เนื่องจากปัจจัยบวกด้านรายได้จะช่วยชดเชยผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีการพยุงราคาน้ำมันอยู่ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายน้อยกว่าปัจจัยด้านรายได้อย่างไรก็ตามการขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 6.3 ในปี 2546 เงื่อนไขที่สนับสนุนด้านรายได้ประกอบด้วย ราคาสินค้าเกษตร การขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนที่ดีขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ
(2) การลงทุนเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 19 โดยคาดว่าปัญหาราคาน้ำมันและความไม่สงบในภาคใต้เป็นปัญหาระยะสั้นซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน
(3) ปรับเพิ่มการประมาณการการใช้จ่ายภาครัฐ ตามแนวน้มการเบิกจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากร้อยละ 4.0 และการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากร้อยละ 8.0
(4) การส่งออกสินค้าและบริการ การส่งออกสินค้าจะมีมูลค่า 95.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 3,811.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 สำหรับรายรับบริการ ณราคาคงที่ ตลอดปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากที่ลดลงร้อยละ 3.4 ในปี 2546 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้นและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการระบาดของไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การส่งออกสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ จะขยายตัวร้อยละ 7.8
(5) การนำเข้าสินค้าและบริการ การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 92.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 โดยที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และราคาในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มตามความเคลื่อนไหวล่าสุดใน 4 เดือนแรกของปีที่ทั้งมูลค่าและปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด จากความต้องการสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในทุกหมวด โดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภค เมื่อคิดเป็นเงินบาทมูลค่าการนำเข้าสินค้าเท่ากับ 3,710.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2546
การนำเข้าบริการ ณ ราคาคงที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ตามทิศทางเศรษฐกิจและการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการนำเข้าสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ในปี 2547 จึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 สูงกว่าร้อยละ 7.4 ในปี 2546
(6) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 100.3 พันล้านบาท ลดลงกว่าการเกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 174.4 พันล้านบาท ในปี 2546 อย่างชัดเจน เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเร่งตัวมากขึ้น สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นภายหลังจากที่ปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกได้คลี่คลายลง จะทำให้ดุลบริการเกินดุลสูงกว่าในปี 2546 เล็กน้อยและทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 ของ GDP ลดลงชัดเจนเมื่อเทียบกับการเกินดุล 8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 329.9 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.6 ของ GDP ในปี 2546
(7) อัตราเงินเฟ้อ เท่ากับร้อยละ 2.5 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในปี 2546 เนื่องจากราคาสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าจ้าง เงินเดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากเป็นหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากเนื่องจากค่าเช่าและการตกแต่งบ้านซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุดในหมวดนี้ลดลง
6. ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2547 ในกรณีต่าง ๆ
จากข้อสมมุติฐานจะเห็นว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบจะต่ำกว่า 32 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ราคาเฉลี่ยจะสูงกว่าระดับนี้ อันเป็นผลจากการปรับเพิ่มโควต้าปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค ในขณะที่ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรณรงค์ให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการใช้ชะลอลง ส่วนผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะมีน้อยกว่าผลกระทบจากราคาน้ำมัน และคาดว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาให้คลี่คลายได้มากขึ้น
ดังนั้นโอกาสที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2547 จะมีค่าโน้มเอียงทางด้านสูงและสูงกว่าร้อยละ 6.5 จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในกรณีการขยายตัวในด้านต่ำ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในการประเมินแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน นี้ สศช. ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2547 ลงจากร้อยละ 7.0-8.0 ในการประกาศเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547เป็นร้อยละ 6.0-7.0 โดยที่ยังเป็นการขยายตัวที่มีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการสุทธิเป็นปัจจัยที่ชะลอการขยายตัวเนื่องจากปริมาณการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการส่งออก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ปริมาณการส่งออกไก่แช่เย็นและแช่แข็งลดลงมาก รวมทั้งปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรที่ลดลงมากใน 4 เดือนแรกของปี การปรับลดปริมาณการส่งออกสินค้าและปรับเพิ่มปริมาณการนำเข้าจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจ
แต่อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ย ประเทศไทยจึงได้เปรียบอัตราการค้าทำให้มีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นมากแม้ว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยบวกด้านกำลังซื้อของประชาชนและช่วยชดเชยผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น สศช. จึงคงการประมาณการการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่สถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการประเมินในครั้งเดือนมีนาคมอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ได้ปรับประมาณการขึ้น เนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลสูงกว่าที่คาดไว้เดิม
การประมาณการเศรษฐกิจรายสาขา เป็นดังนี้
(1) การใช้จ่ายของครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 6.0 เท่ากับการประมาณการเดิม เนื่องจากปัจจัยบวกด้านรายได้จะช่วยชดเชยผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังมีการพยุงราคาน้ำมันอยู่ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายน้อยกว่าปัจจัยด้านรายได้อย่างไรก็ตามการขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 6.3 ในปี 2546 เงื่อนไขที่สนับสนุนด้านรายได้ประกอบด้วย ราคาสินค้าเกษตร การขึ้นเงินเดือนและค่าจ้าง การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และผลประกอบการภาคธุรกิจเอกชนที่ดีขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ
(2) การลงทุนเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 19 โดยคาดว่าปัญหาราคาน้ำมันและความไม่สงบในภาคใต้เป็นปัญหาระยะสั้นซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน
(3) ปรับเพิ่มการประมาณการการใช้จ่ายภาครัฐ ตามแนวน้มการเบิกจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายรัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากร้อยละ 4.0 และการลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากร้อยละ 8.0
(4) การส่งออกสินค้าและบริการ การส่งออกสินค้าจะมีมูลค่า 95.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 หรือมีมูลค่าประมาณ 3,811.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 สำหรับรายรับบริการ ณราคาคงที่ ตลอดปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากที่ลดลงร้อยละ 3.4 ในปี 2546 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้นและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการระบาดของไข้หวัดนกและปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ การส่งออกสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ จะขยายตัวร้อยละ 7.8
(5) การนำเข้าสินค้าและบริการ การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 92.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 โดยที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และราคาในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มตามความเคลื่อนไหวล่าสุดใน 4 เดือนแรกของปีที่ทั้งมูลค่าและปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด จากความต้องการสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากในทุกหมวด โดยเฉพาะในหมวดสินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภค เมื่อคิดเป็นเงินบาทมูลค่าการนำเข้าสินค้าเท่ากับ 3,710.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 จากปี 2546
การนำเข้าบริการ ณ ราคาคงที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ตามทิศทางเศรษฐกิจและการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการนำเข้าสินค้าและบริการ ณ ราคาคงที่ ในปี 2547 จึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 สูงกว่าร้อยละ 7.4 ในปี 2546
(6) ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเท่ากับ 100.3 พันล้านบาท ลดลงกว่าการเกินดุล 4.2 พันล้านดอลลาร์ หรือ 174.4 พันล้านบาท ในปี 2546 อย่างชัดเจน เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเร่งตัวมากขึ้น สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นภายหลังจากที่ปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกได้คลี่คลายลง จะทำให้ดุลบริการเกินดุลสูงกว่าในปี 2546 เล็กน้อยและทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 ของ GDP ลดลงชัดเจนเมื่อเทียบกับการเกินดุล 8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 329.9 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.6 ของ GDP ในปี 2546
(7) อัตราเงินเฟ้อ เท่ากับร้อยละ 2.5 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในปี 2546 เนื่องจากราคาสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และค่าจ้าง เงินเดือนที่ปรับเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากเป็นหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากเนื่องจากค่าเช่าและการตกแต่งบ้านซึ่งมีน้ำหนักมากที่สุดในหมวดนี้ลดลง
6. ความน่าจะเป็นของภาวะเศรษฐกิจปี 2547 ในกรณีต่าง ๆ
จากข้อสมมุติฐานจะเห็นว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบจะต่ำกว่า 32 ดอลลาร์ต่อบาเรลนั้นมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ราคาเฉลี่ยจะสูงกว่าระดับนี้ อันเป็นผลจากการปรับเพิ่มโควต้าปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค ในขณะที่ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรณรงค์ให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการใช้ชะลอลง ส่วนผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในภาคใต้จะมีน้อยกว่าผลกระทบจากราคาน้ำมัน และคาดว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาให้คลี่คลายได้มากขึ้น
ดังนั้นโอกาสที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2547 จะมีค่าโน้มเอียงทางด้านสูงและสูงกว่าร้อยละ 6.5 จะมีความเป็นไปได้มากกว่าในกรณีการขยายตัวในด้านต่ำ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-