GDP ไตรมาส 1/47
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากผลกระทบการระบาดของโรคไข้หวัดนก
อัตราเพิ่มของการผลิต (%) อัตราเพิ่มของการใช้จ่าย (%)
2546 1Q46 2Q46 3Q46 4Q46 1Q47 2546 1Q46 2Q46 3Q46 4Q46 1Q47
ภาคเกษตร 6.9 10.0 4.2 6.6 6.5 -2.8 บริโภคเอกชน 6.3 6.8 5.7 5.4 7.1 6.3
ภาคนอกเกษตร 6.7 6.3 6.0 6.6 8.0 7.6 รัฐบาล 1.1 -10.0 2.8 3.2 9.5 8.2
GDP 6.8 6.7 5.8 6.6 7.8 6.5 การลงทุนรวม 11.7 7.5 9.1 10.8 19.8 16.2
GDP ปรับฤดูกาล 2.0 0.9 2.3 2.5 0.8 ส่งออกสินค้าบริการ 6.6 12.1 4.3 3.7 6.6 5.6
นำเข้าสินค้าบริการ 7.5 12.4 2.0 3.7 12.5 11.9
ภาพรวม :
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับค่าฤดูกาลแล้ว GDP ขยายตัว
ร้อยละ 0.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ GDP ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เป็นผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกและภัยแล้ง
ด้านการผลิต :
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรหดตัวลงร้อยละ 2.8 อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกและภัยแล้ง
การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยสาขาอุตสาหกรรม การก่อสร้าง
การเงินและการธนาคาร และบริการอื่นๆ เป็นสาขาหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัว
- เกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 2.8 โดยหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 3.8 และ 20.7 ตามลำดับ ผลผลิต
พืชหลักที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปี ยางพารา และอ้อย ส่วนหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 13.7 เนื่องจากการส่งออกกุ้งที่ขยายตัว
สูงขึ้นถึงร้อยละ 35.7
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอลงจากร้อยละ 10.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารได้รับผล
กระทบโดยตรงจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้การผลิตชะลอลง แต่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม
วัตถุดิบการผลิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์
อุตสาหกรรมในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
- การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 13.4 โดยมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 21.0 เป็นผลจากการ
ก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ที่ยังขยายตัวในระดับสูง ส่วนมูลค่าเพิ่ม
ของการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 9.7
- ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นผลจากบริการโทรคมนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 10.2 ตามบริการการสื่อสารที่
เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริการการขนส่งขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย
- โรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยภัตตาคารลดลงร้อยละ
2.0 เนื่องมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนระมัดระวังในการบริโภคอาหารนอกบ้าน ส่วนบริการโรงแรม
ขยายตัว ร้อยละ 2.8 ชะลอลงไม่มากนัก เนื่องจากมีโครงการส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
- การเงิน ขยายตัวร้อยละ 11.7 เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้นในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ
ส่วนธนาคารออมสินก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเช่นกัน
ด้านการใช้จ่าย :
การบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้าและบริการสุทธิ
ลดลงร้อยละ 14.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 ในไตรมาสที่แล้ว
- การใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวลงทั้งการบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนรวมทั้งภาครัฐและเอกชน
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 7.1 ใน
ไตรมาสที่แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ยังเป็นแรงผลักดันให้การใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง คือ รายได้ภาคเกษตรยังคงขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร การจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น การดำเนินนโยบายอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่จากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะการใช้จ่ายซื้อสินค้าอาหารประเภทสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์
ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
(2) การลงทุน ขยายตัวในอัตราร้อยละ 16.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 17.8 ชะลอ
ลงจากร้อยละ 18.5 ในไตรมาสที่แล้ว การก่อสร้างชะลอลงเล็กน้อย ในขณะที่เครื่องมือเครื่องจักรทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส
ที่แล้ว ส่วนการลงทุนของภาครัฐชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 10.9
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.7
แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นร้อยละ 8.4 ทั้งการส่งออกและการนำเข้าต่างชะลอตัวลง ส่วนดุลบริการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
(1) การส่งออก สินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 5.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากระดับราคาสินค้า
ที่สูงขึ้น ถึงแม้จะมีการเปิดตลาดการส่งออกใหม่ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.9 ชะลอลงจากร้อยละ 12.5 ในไตรมาสที่แล้ว
ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งที่เป็นการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ และวัตถุดิบที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน
(Supply chain) ของการผลิตเพื่อการส่งออก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากผลกระทบการระบาดของโรคไข้หวัดนก
อัตราเพิ่มของการผลิต (%) อัตราเพิ่มของการใช้จ่าย (%)
2546 1Q46 2Q46 3Q46 4Q46 1Q47 2546 1Q46 2Q46 3Q46 4Q46 1Q47
ภาคเกษตร 6.9 10.0 4.2 6.6 6.5 -2.8 บริโภคเอกชน 6.3 6.8 5.7 5.4 7.1 6.3
ภาคนอกเกษตร 6.7 6.3 6.0 6.6 8.0 7.6 รัฐบาล 1.1 -10.0 2.8 3.2 9.5 8.2
GDP 6.8 6.7 5.8 6.6 7.8 6.5 การลงทุนรวม 11.7 7.5 9.1 10.8 19.8 16.2
GDP ปรับฤดูกาล 2.0 0.9 2.3 2.5 0.8 ส่งออกสินค้าบริการ 6.6 12.1 4.3 3.7 6.6 5.6
นำเข้าสินค้าบริการ 7.5 12.4 2.0 3.7 12.5 11.9
ภาพรวม :
GDP ขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่แล้ว และเมื่อปรับค่าฤดูกาลแล้ว GDP ขยายตัว
ร้อยละ 0.8 ปัจจัยที่ส่งผลให้ GDP ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เป็นผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกและภัยแล้ง
ด้านการผลิต :
ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยภาคเกษตรหดตัวลงร้อยละ 2.8 อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกและภัยแล้ง
การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากร้อยละ 8.0 ในไตรมาสที่แล้ว โดยสาขาอุตสาหกรรม การก่อสร้าง
การเงินและการธนาคาร และบริการอื่นๆ เป็นสาขาหลักในการขับเคลื่อนการขยายตัว
- เกษตรกรรม หดตัวร้อยละ 2.8 โดยหมวดพืชผล และหมวดปศุสัตว์หดตัวร้อยละ 3.8 และ 20.7 ตามลำดับ ผลผลิต
พืชหลักที่ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกนาปี ยางพารา และอ้อย ส่วนหมวดประมงขยายตัวร้อยละ 13.7 เนื่องจากการส่งออกกุ้งที่ขยายตัว
สูงขึ้นถึงร้อยละ 35.7
- อุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอลงจากร้อยละ 10.9 ในไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารได้รับผล
กระทบโดยตรงจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้การผลิตชะลอลง แต่กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม
วัตถุดิบการผลิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์
อุตสาหกรรมในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
- การก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 13.4 โดยมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 21.0 เป็นผลจากการ
ก่อสร้างอาคารประเภทที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ที่ยังขยายตัวในระดับสูง ส่วนมูลค่าเพิ่ม
ของการก่อสร้างภาครัฐขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 9.7
- ขนส่งคมนาคม ขยายตัวร้อยละ 5.5 เป็นผลจากบริการโทรคมนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 10.2 ตามบริการการสื่อสารที่
เพิ่มขึ้น ในขณะที่บริการการขนส่งขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย
- โรงแรมและภัตตาคาร ลดลงร้อยละ 0.4 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยภัตตาคารลดลงร้อยละ
2.0 เนื่องมาจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนระมัดระวังในการบริโภคอาหารนอกบ้าน ส่วนบริการโรงแรม
ขยายตัว ร้อยละ 2.8 ชะลอลงไม่มากนัก เนื่องจากมีโครงการส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น
- การเงิน ขยายตัวร้อยละ 11.7 เนื่องจากผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ยังคงดีขึ้นในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ
ส่วนธนาคารออมสินก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเช่นกัน
ด้านการใช้จ่าย :
การบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้าและบริการสุทธิ
ลดลงร้อยละ 14.7 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 9.6 ในไตรมาสที่แล้ว
- การใช้จ่ายในประเทศ ชะลอตัวลงทั้งการบริโภคของครัวเรือน การใช้จ่ายของรัฐบาล และการลงทุนรวมทั้งภาครัฐและเอกชน
(1) การบริโภค การใช้จ่ายของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 6.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 7.1 ใน
ไตรมาสที่แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ยังเป็นแรงผลักดันให้การใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง คือ รายได้ภาคเกษตรยังคงขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร การจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น การดำเนินนโยบายอัตรา
ดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่จากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย โดยเฉพาะการใช้จ่ายซื้อสินค้าอาหารประเภทสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์
ส่วนการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
(2) การลงทุน ขยายตัวในอัตราร้อยละ 16.2 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 17.8 ชะลอ
ลงจากร้อยละ 18.5 ในไตรมาสที่แล้ว การก่อสร้างชะลอลงเล็กน้อย ในขณะที่เครื่องมือเครื่องจักรทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส
ที่แล้ว ส่วนการลงทุนของภาครัฐชะลอลงเหลือเพียงร้อยละ 10.9
- การส่งออกสุทธิ มูลค่าการส่งออกสุทธิสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 14.7
แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งขึ้นร้อยละ 8.4 ทั้งการส่งออกและการนำเข้าต่างชะลอตัวลง ส่วนดุลบริการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว
(1) การส่งออก สินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 5.6 ชะลอลงจากไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากระดับราคาสินค้า
ที่สูงขึ้น ถึงแม้จะมีการเปิดตลาดการส่งออกใหม่ โดยเฉพาะภูมิภาคยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง
(2) การนำเข้า สินค้าและบริการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 11.9 ชะลอลงจากร้อยละ 12.5 ในไตรมาสที่แล้ว
ตามการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งที่เป็นการนำเข้าสินค้าทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ และวัตถุดิบที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน
(Supply chain) ของการผลิตเพื่อการส่งออก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-