ภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมในปี 2544 ปรับตัวชะลอลงหลังจากฟื้นตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.6 ในปี2543 การชะลอตัวเป็นผลจากปัจจัยภายนอกประเทศ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอลง ทำให้การส่งออกและการนำเข้าสินค้าขอ งไทยหดตัวลงมากประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือน รายจ่ายภาครัฐบาล และการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเช่นกัน จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การผลิต โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ
ภาวะการผลิตของประเทศ พิจารณาเป็นรายสาขาพบว่ามีการชะลอตัวลงทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยภาค เกษตรในปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.4ในปีที่ผ่านมา ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ1.8 ในขณะที่ปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 4.4 การผลิตในภาคเกษตรชะลอลงในสาขาพืช เนื่องจากพืชหลักบางรายการมีปริมาณการผลิตลดลง เช่น อ้อย เนื่องจากเกิดภาวะโรคระบาดมันสำปะหลัง เนื่องจากภาวะราคาตกต่ำในช่วงก่อนหน้า และผลไม้ เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย เป็นต้น อย่างไรก็ตามสาขาปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องมาจากไก่เนื้อที่มีปริมาณส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
การผลิตนอกภาคเกษตรมีทิศทางชะลอลง โดยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักของประเทศ ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.0 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลกระทบมาจากการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่หดตัวลงมาก โดยเฉพาะหมวดอาหาร หมวดเครื่องจักร และหมวดเครื่องจักรไฟฟ้า นอกจากนี้ สาขาหลักอื่นๆ มีทิศทางชะลอลงเช่นกัน ดังเช่น สาขาการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งปรับตัวลงตามภาวะการบริโภคของครัวเรือน การนำเข้าและการส่งออก รวมทั้งสาขาบริการที่ปรับตัวลงตามภาวะการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.8 ต่ำกว่าร้อยละ 10.5 ในปีก่อนหน้าส่วนสาขาที่ยังขยายตัวได้ดี คือ สาขาการขนส่งและคมนาคมขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากรายการโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile phone) เติบโตอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือสาขาการธนาคาร การประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 1.2 นับว่าเป็นอัตราบวกครั้งแรกหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตรายภาค (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
ภาค
2543 2544 2543 2544
ตะวันออกเฉียงเหนือ 4.0 0.8 11.3 11.1
เหนือ 2.4 0.7 8.9 8.8
ใต้ 5.0 1.3 9.1 9.0
ตะวันออก 7.5 2.3 14.7 14.8
ตะวันตก 4.8 3.6 4.2 4.3
กลาง 6.2 3.3 4.7 4.8
กทม.และปริมณฑล 4.1 2.2 47.1 47.2
รวมทั้งประเทศ 4.6 1.9 100.0 100.0
ภาวะการผลิตในภูมิภาค พิจารณาจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ภาค ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทุกภาคเมื่อเทียบกับปี 2543 โดยที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก ขยายตัวร้อยละ 2.2 2.3 3.3 และ 3.6 ตามลำดับ เป็ นอัตราที่สูงกว่า GDP ของประเทศ เนื่องจากภาคเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากภาวะการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก แต่ยังขยายตัวได้สูงกว่าการผลิตในภาคเกษตร ส่วนภาคที่เหลือ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ขยายตัวร้อยละ 0.8 0.7 และ 1.3 ตามลำดับ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการผลิตโดยรวมของประเทศ เนื่องมาจากโครงสร้างการผลิตของภาคเหล่านี้ยังคงอยู่ในภาคเกษตรในสัดส่วนที่สูง ซึ่งในปี 2544 ภาวะการผลิตโดยรวมขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และนอกจากนี้ ในบางภาคยังได้รับผลกระทบจากการผลิตนอกภาคเกษตรที่มีภาวะชะลอตัวลง โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม การค้า และบริการ จึงทำให้ GRP ของภาคดังกล่าวขยายตัวในระดับต่ำ โครงสร้างการกระจายการผลิตในช่วงนี้เปลี่ยนแปลงตามภาวะการผลิตในระยะสั้นและไม่เด่นชัดนัก โดยที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีสัดส่วนร้อยละ 47.2 ของ GDP รองลงมา คือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ในสัดส่วนร้อยละ 14.8 11.1 9.0 8.8 4.8 และ 4.3 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2544 ภาคที่มีการผลิตจากสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาหลักจะมีแนวโน้มสัดส่วนสูงขึ้นเล็กน้อย
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว (Per Capita GRP) ยังคงมีระดับความแตกต่างสูงมาก ค่าความแตกต่างระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าสูงสุด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าต่ำสุด อยู่ในระดับ 7.8 เท่าหรือค่าต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 12.8 ของค่าสูงสุดเท่านั้น
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per Capita GPP) ระหว่างจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นค่าสูงสุดที่ระดับ 545,305 บาท/ปี กับจังหวัดอำนาจเจริญซึ่งเป็นค่าต่ำสุด ที่ระดับ 19,461 บาท/ปี มีความแตกต่างกันถึง 28.0 เท่า อย่างไรก็ตามมีทิศทางลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว
บาท/ปี สัดส่วนต่อค่าสูงสุด
(ร้อยละ)
ภาค
2543 2544 2543 2544
ตะวันออกเฉียงเหนือ 26,755 27,381 12.8 12.8
เหนือ 39,402 40,352 18.9 18.9
ใต้ 53,966 54,176 25.9 25.4
ตะวันออก 166,916 175,292 80.0 82.1
ตะวันตก 59,021 63,937 28.3 29.9
กลาง 75,075 78,588 36.0 36.8
กทมฯ และปริมณฑล 208,631 213,565 100.0 100.0
รวมทั้งประเทศ 78,783 81,435 37.8 38.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ภาวะการผลิตของประเทศ พิจารณาเป็นรายสาขาพบว่ามีการชะลอตัวลงทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยภาค เกษตรในปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.4ในปีที่ผ่านมา ส่วนการผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวเพียงร้อยละ1.8 ในขณะที่ปีที่แล้วขยายตัวถึงร้อยละ 4.4 การผลิตในภาคเกษตรชะลอลงในสาขาพืช เนื่องจากพืชหลักบางรายการมีปริมาณการผลิตลดลง เช่น อ้อย เนื่องจากเกิดภาวะโรคระบาดมันสำปะหลัง เนื่องจากภาวะราคาตกต่ำในช่วงก่อนหน้า และผลไม้ เนื่องจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย เป็นต้น อย่างไรก็ตามสาขาปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องมาจากไก่เนื้อที่มีปริมาณส่งออกเพิ่มสูงขึ้น
การผลิตนอกภาคเกษตรมีทิศทางชะลอลง โดยสาขาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสาขาหลักของประเทศ ขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับร้อยละ 6.0 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลกระทบมาจากการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่หดตัวลงมาก โดยเฉพาะหมวดอาหาร หมวดเครื่องจักร และหมวดเครื่องจักรไฟฟ้า นอกจากนี้ สาขาหลักอื่นๆ มีทิศทางชะลอลงเช่นกัน ดังเช่น สาขาการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งปรับตัวลงตามภาวะการบริโภคของครัวเรือน การนำเข้าและการส่งออก รวมทั้งสาขาบริการที่ปรับตัวลงตามภาวะการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.8 ต่ำกว่าร้อยละ 10.5 ในปีก่อนหน้าส่วนสาขาที่ยังขยายตัวได้ดี คือ สาขาการขนส่งและคมนาคมขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากรายการโทรศัพท์เคลื่อนที่(Mobile phone) เติบโตอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือสาขาการธนาคาร การประกันภัย และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 1.2 นับว่าเป็นอัตราบวกครั้งแรกหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตรายภาค (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
ภาค
2543 2544 2543 2544
ตะวันออกเฉียงเหนือ 4.0 0.8 11.3 11.1
เหนือ 2.4 0.7 8.9 8.8
ใต้ 5.0 1.3 9.1 9.0
ตะวันออก 7.5 2.3 14.7 14.8
ตะวันตก 4.8 3.6 4.2 4.3
กลาง 6.2 3.3 4.7 4.8
กทม.และปริมณฑล 4.1 2.2 47.1 47.2
รวมทั้งประเทศ 4.6 1.9 100.0 100.0
ภาวะการผลิตในภูมิภาค พิจารณาจากอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ภาค ณ ราคาคงที่ ชะลอลงทุกภาคเมื่อเทียบกับปี 2543 โดยที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคตะวันตก ขยายตัวร้อยละ 2.2 2.3 3.3 และ 3.6 ตามลำดับ เป็ นอัตราที่สูงกว่า GDP ของประเทศ เนื่องจากภาคเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากภาวะการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก แต่ยังขยายตัวได้สูงกว่าการผลิตในภาคเกษตร ส่วนภาคที่เหลือ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ขยายตัวร้อยละ 0.8 0.7 และ 1.3 ตามลำดับ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าการผลิตโดยรวมของประเทศ เนื่องมาจากโครงสร้างการผลิตของภาคเหล่านี้ยังคงอยู่ในภาคเกษตรในสัดส่วนที่สูง ซึ่งในปี 2544 ภาวะการผลิตโดยรวมขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และนอกจากนี้ ในบางภาคยังได้รับผลกระทบจากการผลิตนอกภาคเกษตรที่มีภาวะชะลอตัวลง โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรม การค้า และบริการ จึงทำให้ GRP ของภาคดังกล่าวขยายตัวในระดับต่ำ โครงสร้างการกระจายการผลิตในช่วงนี้เปลี่ยนแปลงตามภาวะการผลิตในระยะสั้นและไม่เด่นชัดนัก โดยที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีสัดส่วนร้อยละ 47.2 ของ GDP รองลงมา คือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ในสัดส่วนร้อยละ 14.8 11.1 9.0 8.8 4.8 และ 4.3 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2544 ภาคที่มีการผลิตจากสาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาหลักจะมีแนวโน้มสัดส่วนสูงขึ้นเล็กน้อย
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว (Per Capita GRP) ยังคงมีระดับความแตกต่างสูงมาก ค่าความแตกต่างระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าสูงสุด และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีค่าต่ำสุด อยู่ในระดับ 7.8 เท่าหรือค่าต่ำสุดเท่ากับร้อยละ 12.8 ของค่าสูงสุดเท่านั้น
ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per Capita GPP) ระหว่างจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นค่าสูงสุดที่ระดับ 545,305 บาท/ปี กับจังหวัดอำนาจเจริญซึ่งเป็นค่าต่ำสุด ที่ระดับ 19,461 บาท/ปี มีความแตกต่างกันถึง 28.0 เท่า อย่างไรก็ตามมีทิศทางลดลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย
ผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัว
บาท/ปี สัดส่วนต่อค่าสูงสุด
(ร้อยละ)
ภาค
2543 2544 2543 2544
ตะวันออกเฉียงเหนือ 26,755 27,381 12.8 12.8
เหนือ 39,402 40,352 18.9 18.9
ใต้ 53,966 54,176 25.9 25.4
ตะวันออก 166,916 175,292 80.0 82.1
ตะวันตก 59,021 63,937 28.3 29.9
กลาง 75,075 78,588 36.0 36.8
กทมฯ และปริมณฑล 208,631 213,565 100.0 100.0
รวมทั้งประเทศ 78,783 81,435 37.8 38.1
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-