สรุปสาระสำคัญการบรรยายพิเศษของเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือ
ไปสู่การปฏิบัติ : การพัฒนาประตูการค้าภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้าน"
วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547
ณ โรงแรมริมกกรีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
***************************************
ภาคเหนือตอนบนในยุคปัจจุบันมีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการเป็นประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ หากย้อนไปดูถึงประวัติศาสตร์ของภาคเหนือเขตล้านนาในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง จะเห็นได้ว่า มีการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ผลในแง่ของความร่วมมือในการพัฒนา แม้แต่ในยุคต่อมา ก็ยังคงมีปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างประเทศอยู่เนืองๆ เพิ่งจะมีความเข้าใจและประสานความร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีการกระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่บ้าง และเวลานี้ เชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ศักยภาพของภาคเหนือ
ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของภาคเหนือเป็นไปในอัตราที่เร็วมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า สามารถพัฒนาได้มากกว่าการพัฒนาของอาณาจักรล้านนาตลอด 700 ปี โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ มีการพัฒนาเร็วมาก และในภาวะที่เหตุการณ์เป็นปกติสุขเช่นปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสที่จะมาร่วมคิดว่า จะทำอย่างไรให้ล้านนาดีขึ้น
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น โดยเฉพาะปี 2547-2549 มีการคาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะมีค่าประมาณ 7-8 % โดยในปี 2548 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7 % ให้เป็น 7.5 % ทั้งนี้เป็นเพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น และประเทศไทยต้องพึ่งพาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมปลายน้ำของต่างประเทศซึ่งยังเป็นที่ต้องการ เช่น ก่อสร้าง รถยนต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลมาถึงวัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งปิโตรเคมีคัลที่มีสินค้าเป็นแสนๆ ชนิด รวมทั้งราคายางภายในประเทศสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 50 บาท ตลอดจนความต้องการสินค้าไทยของจีนมีสูงขึ้น สิ่งนี้จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศหมุน ส่งผลต่อราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์ ยาง และปิโตรเคมีคัล มีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะนี้ประเทศจีนซึ่งผ่าน Overheat มาแล้วและกำลัง Cool Down แต่อินเดียกำลังจะเร่งขึ้น และประเทศไทยอยู่กึ่งกลางของทั้งสองประเทศ และอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจ ขาขึ้น จึงควรต้องใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
ความพยายามของประเทศไทยในด้านการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. การกระตุ้นรายจ่ายเพื่อการลงทุน
สิ่งที่รัฐบาลพยายามกำลังดำเนินการในขณะนี้คือ กระตุ้นเรื่องรายจ่าย ซึ่งขณะนี้การลงทุนมี แนวโน้มที่ดีมากซึ่งจะเริ่มมาแทนที่การบริโภค หลังจากที่รัฐบาลได้อัดฉีดงบประมาณลงไปในระบบ โดยเฉพาะการพักหนี้และกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งสัญญาณที่ดีของการลงทุน คือ การที่มีผู้จดทะเบียนขอ ลงทุนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 40 ในปี 2546 นอกจากนี้ จากการตรวจสอบตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าเงินลงทุนเริ่มขยับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 26 จึงเชื่อได้ว่าการลงทุนจะมาแทนการบริโภค
2. การส่งเสริมกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น
สะท้อนให้เห็นได้จากตัวเลขกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 (ในปลายเดือนมกราคม 2547) สิ่งนี้อธิบายได้ว่า หากตัวเลขเกินร้อยละ 70 คือ ความต้องการลงทุนใหม่ (ทั้งทดแทนของเก่าและลงทุนใหม่) แม้ว่าจะมีไข้หวัดนกเกิดขึ้น แต่ก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมเพียงร้อยละ 0.03 ก็คือว่าไม่มีผลอะไรมาก (รายได้จากการส่งออกไก่ คือ มีค่าเพียงร้อยละ 1 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด)
3. การมีวาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาภายในประเทศ โดยรัฐบาลได้พยายามพัฒนาประเทศผ่านแนวทาง 3 แนวทาง คือ
1) นโยบายการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
2) นโยบายการพัฒนากลุ่มจังหวัด ซึ่งภาคเหนือตอนบนได้รวมตัวกัน 8 จังหวัด ทำให้การมองปัญหา/แก้ไขชัดเจนเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในลักษณะกลุ่มยุทธศาสตร์
3) การมี Economic Cooperation Strategy (ECS) ซึ่ง สศช. ได้จัดทำกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนา ซึ่งเป็นที่มาของปฎิญญาพุกาม
4. การพัฒนาภายระหว่างประเทศ ผ่านแผนงาน/โครงการที่เด่นชัด 3 ประการ คือ
1) แผนงาน/โครงการที่ชัดเจน 5 ยุทธศาสตร์ในปฏิญญา การค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวก การลงทุนภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) แผนงานและโครงการในการสร้างเมืองแฝด คือ แม่สาย/ท่าขี้เหล็ก แม่สอด/เมียวดีสุวรรณเขต/มุกดาหาร
3) แผนงานและโครงการการพัฒนากลุ่มประเทศในเขตอนุภาคลุ่มน้ำโขง Greater Mekong Sub region Development
ผลดีที่คาดว่าจะได้รับกับการสัมมนาครั้งนี้
1. หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะมีโอกาสมาร่วมกันแปลงแผนสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาถนนและลงนาม FTA กับจีน และมี ECSกับพม่า/ลาว จะสามารถขยายการค้าได้มากขึ้น เช่น มีการค้าขายผักและผลไม้กับจีน ซึ่งจะมีผลดีที่ตามมา คือ การซื้อสินค้าเกษตรจากจีนที่มีราคาถูกกว่า เพื่อทดแทนสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย
2. เป็นโอกาสดีที่มีผู้แทนจากประเทศจีนมาร่วมรับฟัง และจะไปดูที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่ง สศช. หวังว่าคงจะได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาคเหนือที่ยั่งยืน
1. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบบ้าน
1) การดำเนินโครงการสะพานข้ามน้ำโขงไปจีน โดย ลศช. เชื่อว่ายูนนาน (จีน)ต้องมาพึ่งพิงเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น หากประเทศไทยมีการจัดการ/สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับภาคเหนือของไทย จะเป็นยุทธศาสตร์ด้านเขตเศรษฐกิจที่ดีมากโดยให้ไทยเป็นฐาน
2) การจัดให้มีเขตการค้าเสรี ลศช. เชื่อว่าจีนต้องการเข้ามาตั้งกิจการอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เพราะต้องการสร้างฐานการผลิต ดังนั้นจึงควรสนับสนุน
3) การพัฒนาเทคนิคด้านการขนส่งทางรถไฟไปประเทศจีนตอนใต้ แม้ว่าในปัจจุบันรถไฟของประเทศไทยมีขนาดรางกว้าง 1 เมตร ในขณะที่จีนกว้าง 1.48 เมตร สิ่งนี้อาจแก้ไขได้ในทางเทคนิค เช่น การสลับตู้ ซึ่งถือว่าเป็นการขนส่งที่ถูกมารองจากทางน้ำ ดังนั้นความพยายามภายในประเทศที่ต้องการสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย ซึ่งต้องลงทุนสูงมาก ควรคำนึงการเชื่อมต่อกับจีนด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าจากการลงทุนสูงสุด และจะเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
4) การพัฒนาการคมนาคมทางอากาศ เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่จะสถาปนาให้เชียงใหม่เป็น Hub ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้ไปเซ็นสัญญากับบังคลาเทศ รวมทั้งภายหลังการเซ็นสัญญา FTA ก็จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการคมนาคมขนส่งมากขึ้น
5) การสนับสนุนด้านการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านมีการลงนามใน ECS โดยเฉพาะ การให้สิทธิพิเศษ อาทิ การให้ระยะเวลาอยู่นาน ซึ่ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาอยู่ ซึ่ง ลศช. เชื่อว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้เร็วมาก โดยเฉพาะล้านนาจะทำได้ดีเนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเกือบครบทุกประเภท ยกเว้นทะเล ซึ่งจะต้องพัฒนาของเดิมและสร้างของใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งควรต้องมีลักษณะของการผสมผสานในแง่ของรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะนำเสนอ อย่างไรก็ตามก็ให้ข้อคิดว่า กว๊านพะเยามีศักยภาพในการสร้างทะเลเทียมคล้ายกับฮังการีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
6) การสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่สูง เนื่องจาก ภาคเหนือมีป่าไม้มากและมีวัฒนธรรมชนเผ่า หากสามารถผสมผสานกับการท่องเที่ยว ก็น่าจะทำเงินได้มาก
7) การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
(1) การสร้าง Trend ของแฟชั่นล้านนาในลักษณะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทำให้เข้มข้น เช่น สร้าง Designer และ Lanna Trend คล้ายกับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น โดยเน้นอัตลักษณ์ล้านนา ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกซาบซึ้งและอยากมา
(2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปและไม้ดอกเมืองหนาวล้านนา ซึ่ง ลศช. เห็นว่าหากมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวบนพื้นที่สูงอย่างเข้มข้น ก็จะสามารถได้ผลิตผลมากมาย ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอื่นได้ด้วย
สรุป
การที่จะทำให้ล้านนาเป็นที่ดึงดูดคนเข้ามาเที่ยวและลงทุนนั้น ควรดำเนินการ 4 ประการ คือ
1. เน้นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของอนุภาคสู่การปฏิบัติ
2. เน้นแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสู่การปฏิบัติ ได้แก่ แฟชั่น เซรามิกส์ เครื่องเงิน เครื่องแกะสลัก จากมีอยู่แล้ว โดยการผสมผสานรูปแบบ กิจกรรม รวมทั้งการจัดทำเป็น package ของการพัฒนาได้
3. การพัฒนาลุ่มน้ำปิง สิ่งนี้เป็นที่สนใจของนายกรัฐมนตรีว่า น่าการจัดสรรให้มีความ เหมาะสมทั้ง เกษตร การท่องเที่ยว และการขยายตัวของเมือง
4. การเปิดประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งนี้ภาคเหนือมีอยู่แล้ว ดังนั้นกระเด็นของการพัฒนาควรต้องพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้
4.1 ศักยภาพ/โอกาสที่อนุภาคมีอยู่ ซึ่งต้องไปด้วยกัน
4.2 จะแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างไร
4.3 คนในพื้นที่มองอย่างไรและจะแปลงไปสู่การปฎิบัติได้อย่างไร
ในท้ายที่สุด ลศช. เชื่อว่า การที่จะได้พูดคุยกันในวันนี้ จะทำให้ได้คำตอบในแง่ของแผนงาน/โครงการการพัฒนาประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจะนำเสนอรัฐบาล ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
การแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือ
ไปสู่การปฏิบัติ : การพัฒนาประตูการค้าภาคเหนือกับประเทศเพื่อนบ้าน"
วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547
ณ โรงแรมริมกกรีสอร์ท จังหวัดเชียงราย
***************************************
ภาคเหนือตอนบนในยุคปัจจุบันมีโอกาสและศักยภาพในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการเป็นประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ หากย้อนไปดูถึงประวัติศาสตร์ของภาคเหนือเขตล้านนาในยุคสร้างบ้านแปลงเมือง จะเห็นได้ว่า มีการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ผลในแง่ของความร่วมมือในการพัฒนา แม้แต่ในยุคต่อมา ก็ยังคงมีปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างประเทศอยู่เนืองๆ เพิ่งจะมีความเข้าใจและประสานความร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีการกระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่บ้าง และเวลานี้ เชื่อว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ศักยภาพของภาคเหนือ
ในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาของภาคเหนือเป็นไปในอัตราที่เร็วมาก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า สามารถพัฒนาได้มากกว่าการพัฒนาของอาณาจักรล้านนาตลอด 700 ปี โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ถนนและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ มีการพัฒนาเร็วมาก และในภาวะที่เหตุการณ์เป็นปกติสุขเช่นปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสที่จะมาร่วมคิดว่า จะทำอย่างไรให้ล้านนาดีขึ้น
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น โดยเฉพาะปี 2547-2549 มีการคาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจะมีค่าประมาณ 7-8 % โดยในปี 2548 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 7 % ให้เป็น 7.5 % ทั้งนี้เป็นเพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น และประเทศไทยต้องพึ่งพาเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมปลายน้ำของต่างประเทศซึ่งยังเป็นที่ต้องการ เช่น ก่อสร้าง รถยนต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลมาถึงวัตถุดิบภายในประเทศ รวมทั้งปิโตรเคมีคัลที่มีสินค้าเป็นแสนๆ ชนิด รวมทั้งราคายางภายในประเทศสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 50 บาท ตลอดจนความต้องการสินค้าไทยของจีนมีสูงขึ้น สิ่งนี้จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศหมุน ส่งผลต่อราคาเหล็ก ปูนซีเมนต์ ยาง และปิโตรเคมีคัล มีแนวโน้มที่จะขยับสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะนี้ประเทศจีนซึ่งผ่าน Overheat มาแล้วและกำลัง Cool Down แต่อินเดียกำลังจะเร่งขึ้น และประเทศไทยอยู่กึ่งกลางของทั้งสองประเทศ และอยู่ในช่วงของเศรษฐกิจ ขาขึ้น จึงควรต้องใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
ความพยายามของประเทศไทยในด้านการพัฒนาและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. การกระตุ้นรายจ่ายเพื่อการลงทุน
สิ่งที่รัฐบาลพยายามกำลังดำเนินการในขณะนี้คือ กระตุ้นเรื่องรายจ่าย ซึ่งขณะนี้การลงทุนมี แนวโน้มที่ดีมากซึ่งจะเริ่มมาแทนที่การบริโภค หลังจากที่รัฐบาลได้อัดฉีดงบประมาณลงไปในระบบ โดยเฉพาะการพักหนี้และกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งสัญญาณที่ดีของการลงทุน คือ การที่มีผู้จดทะเบียนขอ ลงทุนเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 40 ในปี 2546 นอกจากนี้ จากการตรวจสอบตัวเลขในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าเงินลงทุนเริ่มขยับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 26 จึงเชื่อได้ว่าการลงทุนจะมาแทนการบริโภค
2. การส่งเสริมกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้น
สะท้อนให้เห็นได้จากตัวเลขกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 74 (ในปลายเดือนมกราคม 2547) สิ่งนี้อธิบายได้ว่า หากตัวเลขเกินร้อยละ 70 คือ ความต้องการลงทุนใหม่ (ทั้งทดแทนของเก่าและลงทุนใหม่) แม้ว่าจะมีไข้หวัดนกเกิดขึ้น แต่ก็ส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมเพียงร้อยละ 0.03 ก็คือว่าไม่มีผลอะไรมาก (รายได้จากการส่งออกไก่ คือ มีค่าเพียงร้อยละ 1 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด)
3. การมีวาระแห่งชาติเพื่อการพัฒนาภายในประเทศ โดยรัฐบาลได้พยายามพัฒนาประเทศผ่านแนวทาง 3 แนวทาง คือ
1) นโยบายการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
2) นโยบายการพัฒนากลุ่มจังหวัด ซึ่งภาคเหนือตอนบนได้รวมตัวกัน 8 จังหวัด ทำให้การมองปัญหา/แก้ไขชัดเจนเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในลักษณะกลุ่มยุทธศาสตร์
3) การมี Economic Cooperation Strategy (ECS) ซึ่ง สศช. ได้จัดทำกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนา ซึ่งเป็นที่มาของปฎิญญาพุกาม
4. การพัฒนาภายระหว่างประเทศ ผ่านแผนงาน/โครงการที่เด่นชัด 3 ประการ คือ
1) แผนงาน/โครงการที่ชัดเจน 5 ยุทธศาสตร์ในปฏิญญา การค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวก การลงทุนภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) แผนงานและโครงการในการสร้างเมืองแฝด คือ แม่สาย/ท่าขี้เหล็ก แม่สอด/เมียวดีสุวรรณเขต/มุกดาหาร
3) แผนงานและโครงการการพัฒนากลุ่มประเทศในเขตอนุภาคลุ่มน้ำโขง Greater Mekong Sub region Development
ผลดีที่คาดว่าจะได้รับกับการสัมมนาครั้งนี้
1. หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จะมีโอกาสมาร่วมกันแปลงแผนสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายมีการพัฒนาถนนและลงนาม FTA กับจีน และมี ECSกับพม่า/ลาว จะสามารถขยายการค้าได้มากขึ้น เช่น มีการค้าขายผักและผลไม้กับจีน ซึ่งจะมีผลดีที่ตามมา คือ การซื้อสินค้าเกษตรจากจีนที่มีราคาถูกกว่า เพื่อทดแทนสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย
2. เป็นโอกาสดีที่มีผู้แทนจากประเทศจีนมาร่วมรับฟัง และจะไปดูที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน ซึ่ง สศช. หวังว่าคงจะได้ข้อสรุปโดยเร็ว
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาคเหนือที่ยั่งยืน
1. การเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบบ้าน
1) การดำเนินโครงการสะพานข้ามน้ำโขงไปจีน โดย ลศช. เชื่อว่ายูนนาน (จีน)ต้องมาพึ่งพิงเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น หากประเทศไทยมีการจัดการ/สร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับภาคเหนือของไทย จะเป็นยุทธศาสตร์ด้านเขตเศรษฐกิจที่ดีมากโดยให้ไทยเป็นฐาน
2) การจัดให้มีเขตการค้าเสรี ลศช. เชื่อว่าจีนต้องการเข้ามาตั้งกิจการอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย เพราะต้องการสร้างฐานการผลิต ดังนั้นจึงควรสนับสนุน
3) การพัฒนาเทคนิคด้านการขนส่งทางรถไฟไปประเทศจีนตอนใต้ แม้ว่าในปัจจุบันรถไฟของประเทศไทยมีขนาดรางกว้าง 1 เมตร ในขณะที่จีนกว้าง 1.48 เมตร สิ่งนี้อาจแก้ไขได้ในทางเทคนิค เช่น การสลับตู้ ซึ่งถือว่าเป็นการขนส่งที่ถูกมารองจากทางน้ำ ดังนั้นความพยายามภายในประเทศที่ต้องการสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย ซึ่งต้องลงทุนสูงมาก ควรคำนึงการเชื่อมต่อกับจีนด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าจากการลงทุนสูงสุด และจะเป็นการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
4) การพัฒนาการคมนาคมทางอากาศ เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายที่จะสถาปนาให้เชียงใหม่เป็น Hub ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้ไปเซ็นสัญญากับบังคลาเทศ รวมทั้งภายหลังการเซ็นสัญญา FTA ก็จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการคมนาคมขนส่งมากขึ้น
5) การสนับสนุนด้านการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านมีการลงนามใน ECS โดยเฉพาะ การให้สิทธิพิเศษ อาทิ การให้ระยะเวลาอยู่นาน ซึ่ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาอยู่ ซึ่ง ลศช. เชื่อว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำเงินได้เร็วมาก โดยเฉพาะล้านนาจะทำได้ดีเนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเกือบครบทุกประเภท ยกเว้นทะเล ซึ่งจะต้องพัฒนาของเดิมและสร้างของใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้งควรต้องมีลักษณะของการผสมผสานในแง่ของรูปแบบการท่องเที่ยวที่จะนำเสนอ อย่างไรก็ตามก็ให้ข้อคิดว่า กว๊านพะเยามีศักยภาพในการสร้างทะเลเทียมคล้ายกับฮังการีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
6) การสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่สูง เนื่องจาก ภาคเหนือมีป่าไม้มากและมีวัฒนธรรมชนเผ่า หากสามารถผสมผสานกับการท่องเที่ยว ก็น่าจะทำเงินได้มาก
7) การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
(1) การสร้าง Trend ของแฟชั่นล้านนาในลักษณะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยทำให้เข้มข้น เช่น สร้าง Designer และ Lanna Trend คล้ายกับโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น โดยเน้นอัตลักษณ์ล้านนา ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกซาบซึ้งและอยากมา
(2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปและไม้ดอกเมืองหนาวล้านนา ซึ่ง ลศช. เห็นว่าหากมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวบนพื้นที่สูงอย่างเข้มข้น ก็จะสามารถได้ผลิตผลมากมาย ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาอื่นได้ด้วย
สรุป
การที่จะทำให้ล้านนาเป็นที่ดึงดูดคนเข้ามาเที่ยวและลงทุนนั้น ควรดำเนินการ 4 ประการ คือ
1. เน้นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของอนุภาคสู่การปฏิบัติ
2. เน้นแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสู่การปฏิบัติ ได้แก่ แฟชั่น เซรามิกส์ เครื่องเงิน เครื่องแกะสลัก จากมีอยู่แล้ว โดยการผสมผสานรูปแบบ กิจกรรม รวมทั้งการจัดทำเป็น package ของการพัฒนาได้
3. การพัฒนาลุ่มน้ำปิง สิ่งนี้เป็นที่สนใจของนายกรัฐมนตรีว่า น่าการจัดสรรให้มีความ เหมาะสมทั้ง เกษตร การท่องเที่ยว และการขยายตัวของเมือง
4. การเปิดประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งนี้ภาคเหนือมีอยู่แล้ว ดังนั้นกระเด็นของการพัฒนาควรต้องพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้
4.1 ศักยภาพ/โอกาสที่อนุภาคมีอยู่ ซึ่งต้องไปด้วยกัน
4.2 จะแปลงไปสู่การปฏิบัติอย่างไร
4.3 คนในพื้นที่มองอย่างไรและจะแปลงไปสู่การปฎิบัติได้อย่างไร
ในท้ายที่สุด ลศช. เชื่อว่า การที่จะได้พูดคุยกันในวันนี้ จะทำให้ได้คำตอบในแง่ของแผนงาน/โครงการการพัฒนาประตูการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจะนำเสนอรัฐบาล ต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-