ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
ภาคเหนือ
1) ด้านรายได้ครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 350,232 บาท หลังเข้าร่วมโครงการฯ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 369,531 บาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5.5 โดยนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ไปจัดสรรในหลายๆ ด้านด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนเพิ่มในโครงการเดิม นำไปประกอบอาชีพเสริม ส่วนที่เหลือก็จะนำไปใช้จ่ายส่วนตัว นำไปบริจาค หรือเก็บออม เป็นต้น
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ผลการสำรวจรายจ่ายของครัวเรือนสามารถสรุปได้ว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ผู้ตอบแบบสอบถามมีรายจ่ายโดยเฉลี่ยปีละ 269,961 บาท โดยรายจ่ายส่วนหนึ่งใช้ไปเพื่ออุปโภคบริโภคทั้งในสินค้าจำเป็นและสินค้าคงทน รองลงมาคือใช้เพื่อการผลิต โดยเฉพาะการจ้างแรงงานและการซื้อวัตถุดิบในการผลิต ที่เหลือใช้จ่ายในการชำระคืนเงินกู้ ตามลำดับ สำหรับหลังเข้าร่วมโครงการมีรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 282,130 บาท โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
3) ด้านการชำระเงินกู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับโครงการกองทุนหมู่บ้านจะกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพหลัก เช่น ผู้ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตรก็จะกู้ยืมเงินไปเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตร หรือลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือผู้ประกอบอาชีพค้าขายก็จะกู้ยืมเงินไปเพื่อขยายกิจการ หรือซื้อของเข้าร้าน เป็นต้น รองลงมาคือกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพเสริม เพื่อหารายได้เสริมเข้าครัวเรือน โดยในการพิจารณาความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จะพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีการชำระคืนเงินกู้เฉลี่ยปีละ 42,799 บาท และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว ครัวเรือนมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ปีละ 25,597 บาท
4) ด้านเงินออม เงินออมของครัวเรือนจากการสำรวจ พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 80,271 บาท ส่วนหลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 87,401 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคเหนือ
หน่วย: บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยนแปลง อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. รายได้ 350,232 369,531 19,299 5.5
2. เงินออม 80,271 87,401 7,130 8.9
3. รายจ่าย 269,961 282,130 12,169 4.5
3.1 การบริโภค 121,501 150,656 29,155 24
-สินค้าจำเป็น 90,883 103,651 12,768 14
-สินค้าคงทน 30,618 47,005 16,386 53.5
3.2 การลงทุน 105,661 105,877 216 0.2
-วัตถุดิบในการผลิต 70,159 72,632 2,473 3.5
-ค่าจ้างแรงงาน 24,725 26,152 1,427 5.8
-สินค้าทุนและอื่นๆ 10,777 7,094 -3,684 -34.2
3.3 ชำระเงินกู้ 42,799 25,597 -17,202 -40.2
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการนั้น ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 182,608 บาท แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วมีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 195,035 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.8 ซึ่งการที่รายได้เพิ่มขึ้นนั้นสืบเนื่องมาจากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากนำเงินที่ได้จากกองทุนไปทำอาชีพเสริม
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 150,242 บาท และหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 164,414 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 โดยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้พบว่าสัดส่วนของรายจ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ รายจ่ายเพื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ ใช้ชำระคืนเงินกู้ ใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้ซื้อสินค้าคงทนตามลำดับ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนการเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีการชำระหนี้เงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 31,365 บาท ต่อปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.7 โดยแหล่งชำระหนี้เงินกู้ส่วนใหญ่เป็นแหล่งเงินกู้ในระบบ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธกส. และสหกรณ์ แต่หลังจากการเข้าร่วมโครงการฯ แล้วครัวเรือนมีหนี้ลดลงโดยมีหนี้เงินกู้เฉลี่ย 22,700 บาท ต่อปี อัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือร้อยละ 7.7 โดยแหล่งชำระเงินกู้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแหล่งเงินกู้ในระบบ และแหล่งที่สำคัญที่สุดคือ กองทุนหมู่บ้าน รองลงมาคือ ธกส. และธนาคารออมสิน
4) ด้านเงินออม ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ย 32,366 บาทต่อปี และหลังเข้าร่วมโครงการครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยลดลงจากเดิม โดยมีเงินออมเฉลี่ยเป็น 30,621 บาทต่อปี ลดลงร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เป็นเพราะมีการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปบริโภคเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงลักษณะโครงสร้างของรายได้ รายจ่ายและเงินออมแล้ว พบว่าโครงสร้างดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ สัดส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้นในขณะที่สัดส่วนการออมลดลงโดยสัดส่วนรายจ่ายจากร้อยละ 82.3 เพิ่มเป็นร้อยละ 84.3 และสัดส่วนเงินออมลดลงจากร้อยละ 17.7 เป็นร้อยละ 15.7
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน่วย : บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. รายได้ 182,608 195,035 12,427 6.8
2. เงินออม 32,366 30,621 -1,745 -5.4
3. รายจ่าย 150,242 164,414 14,172 9.4
3.1 การบริโภค 39,336 55,445 16,110 41.0
3.2 การลงทุน 79,542 96,268 6,727 8.5
วัตถุดิบ 55,361 60,819 5,458 9.9
ค่าแรง 14,874 15,615 740 5.0
สินค้าทุนและอื่นๆ 9,306 9,835 528 5.7
3.3 ชำระเงินกู้ 31,365 22,700 -8,665 -27.6
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคกลาง
1) ด้านรายได้ครัวเรือน จากการสำรวจในภาคกลางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่อ้อย และชาวสวนผลไม้ โดยมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 334,807 บาท หลังจากผู้ตอบแบบสอบถามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 358,019 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกกองทุนฯ บางส่วนได้นำเงินกองทุน ไปลงทุนในการประกอบอาชีพเสริมนอกเหนืออาชีพหลัก และบางส่วนได้นำเงินกู้กองทุนฯ ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ เช่น นำไปซื้อวัตถุดิบในการผลิต ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือนำไปซื้อสินค้าทุน เช่น เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลให้สมาชิกกองทุนฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นก่อนเข้าร่วมโครงการ
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน พบว่าก่อนที่ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประชาชนมีรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 213,477 บาท แต่หลังจากผู้ตอบแบบสอบถามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน พบว่ารายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 227,408 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 โดยรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อการผลิต เฉลี่ยปีละ 99,420 บาท การเพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องจากสมาชิกฯ ได้นำไปใช้จ่ายส่วนของวัตถุดิบในการเพาะปลูกพืช เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง พันธุ์พืช ในไร่ข้าว ไร่อ้อย และสวนผลไม้ และค่าจ้างแรงงาน ขณะที่รายจ่ายเพื่อการบริโภค เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโครงการฯ แต่ไปเพิ่มในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสินค้าคงทนเพิ่มมากขึ้นและเพื่อการชำระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการชำระเงินกู้เฉลี่ยปีละ 37,347 บาท โดยแหล่งเงินกู้ในระบบส่วนใหญ่เป็นการกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสหกรณ์ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 8.1 โดยหลักประกันการกู้ยืมส่วนใหญ่ใช้โฉนดที่ดิน และการค้ำประกันโดยกลุ่มบุคคลหรือสมาชิกในกลุ่ม ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีรายจ่ายเพื่อการชำระเงินกู้ลดลงเหลือเฉลี่ยปีละ 27,470 บาท หรือลดลงร้อยละ 26.4 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่มีแหล่งเงินกู้ในระบบหลายแหล่งมากขึ้น และการที่บางครัวเรือนเปลี่ยนการกู้นอกระบบมาเป็นการกู้ในระบบ จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยต่ำลงเหลือเพียงร้อยละ 6.0
4) ด้านเงินออมครัวเรือน เงินออมของครัวเรือนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่า มีเงินออมเฉลี่ยเท่ากับ 121,330 บาทต่อครัวเรือน แต่หลังจากได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฯ ทำให้มีเงินออมครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 130,611 บาทต่อปี เนื่องจาก สมาชิกกองทุนฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกกองทุนมีเงินออมเก็บมากขึ้น
ตารางเปรียบเทียบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคกลาง
หน่วย: บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยนแปลง อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 334,807 358,019 23,212 6.9
2.เงินออม 121,330 130,611 9,281 7.6
3.รายจ่าย 213,477 227,408 13,931 6.5
3.1การบริโภค 77,210 100,518 23,308 30.2
3.2 การลงทุน 98,920 99,420 500 0.5
วัตถุดิบ 70,431 69,395 -1,036 -1.5
ค่าแรง 16,025 17,796 1,771 11.1
สินค้าทุนและอื่นๆ 12,464 12,229 -235 -1.9
3.3 ชำระเงินกู้ 37,347 27,470 -9,876 -26.4
ที่มา: จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคตะวันออก
จากการสำรวจตัวอย่างสมาชิกโครงการพบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมาแล้วเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 1.8 ปี โดยเป็นสมาชิกประเภทบุคคล (หัวหน้าครัวเรือน) ทั้งนี้ร้อยละ 59.1 ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี และสมรสแล้ว 68.2 % มีขนาดครัวเรือนส่วนใหญ่คือ 4 คน จำนวนร้อยละ 81.8 มีอาชีพหลักคือ การเกษตร ได้แก่ การทำสวนผลไม้ มีรายได้มากกว่า 108,000 บาทต่อปี และร้อยละ 54.5 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดมีการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา ซึ่งจากการสัมภาษณ์ปรากฏผลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 ของประชากร มีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยอาชีพหลักที่สำคัญได้แก่ การทำสวนผลไม้ ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ การค้าขาย การเลี้ยวสัตว์ การแปรรูปผลไม้ การแปรรูปอาหาร และการจักสาน ซึ่งเฉลี่ยแล้วสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในภาคตะวันออกมีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพเสริมเท่ากับ 304,206 บาทต่อครัวเรือน หลังเข้าร่วมโครงการแล้วพบว่า มีร้อยล ะ25 ของตัวอย่างที่มีการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากเดิม ทำให้จำนวนครัวเรือนร้อยละ 68.2 ของตัวอย่าง มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยมีรายได้สุทธิเฉลี่ยในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเท่ากับ 331,302 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ของรายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าโครงการฯ รายจ่ายของครัวเรือนประกอบด้วย รายจ่ายประเภทต่าง ๆ ได้แก่ รายจ่ายเฉลี่ยเพื่อการบริโภคปีละ 69,571 บาท เพื่อการลงทุนปีละ 101,714 บาท เพื่อจ่ายคืนเงินกู้ปีละ 34,344 บาท และรายจ่ายอื่นๆ ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร การทำบุญ และรายจ่ายเพื่องานสังคมต่าง ๆ รวมรายจ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 205,629 บาท หรือเท่ากับร้อยละ67.6 ของรายได้ที่ครัวเรือนได้รับ หลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่า ครัวเรือนมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 94,779 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 36.2 รายจ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 106,702 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.9 อย่างไรก็ตามในเรื่องของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ พบว่ามีสัดส่วนลดลงจากเดิมร้อยละ 16.7 ลดลงเหลือร้อยละ 10.4 ลดลงทั้งหนี้ที่กู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ภายในและภายนอกระบบ
3) ด้านการชำระเงินกู้ สมาชิกมีการกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ทั้งในระบบ และนอกระบบ โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในระบบ ได้แก่ ธ.ก.ส ธนาคารไทยพาณิชย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนหมู่บ้าน โดยก่อนเข้าร่วมโครงการฯ มีเงินที่เคยกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,302,500 บาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 11.1 ต่อปี การค้ำประกันมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่กู้ยืมใช้โฉนดที่ดิน นอกจากนี้ก็มีทั้งบุคคลและกลุ่ม มีการขำระคืนบ้าง แต่ก็ยังมีหนี้สินค้างชำระ ก่อนเข้าโครงการฯ รวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,723,450 บาท หลังเข้าโครงการฯ พบว่ามีจำนวนผู้กู้ยืมเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 57 ของผู้กู้ยืมเดิม โดยเป็นการกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้าน แต่เนื่องจากเงินกู้ที่แต่ละรายได้รับจากกองทุนหมู่บ้านไม่มากนักกล่าวคือ เฉลี่ยเท่ากับ 15,625 บาทต่อครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยของเงินกู้กองทุน ฯ ส่วนมากอยู่ที่ร้อยละ 6 ต่อปี ทำให้เงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง โดยปัจจุบันครัวเรือนชำระเงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 23,327 บาท ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 32.1
4) ด้านเงินออม ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยก่อนเข้าโครงการฯ เท่ากับ 98,577 บาท คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้เท่ากับร้อยละ 32.4 โดยร้อยละ 77 ของครัวเรือนทั้งหมดฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่หลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 106,494 บาท ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อมีโครงการฯ ครัวเรือนทำการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้นทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถบริโภคเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการซื้อสินค้าคงทนเจากเดิมมีสัดส่วนร้อยละ 30.6 ของการบริโภครวม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.8 ของการบริโภครวม
ผลจากการสำรวจพบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านแล้ว ประชากรในภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลโดยตรงจากโครงการกองทุนหมู่บ้าน และมีประมาณหนึ่งในสี่ของครัวเรือนที่เห็นว่าเป็นผลมาจากโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ด้วย ส่วนด้านรายจ่ายหลังเข้าร่วมโครงการฯ นั้นมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน การกู้ยืมเงินจากโครงการฯ ส่วนใหญ่จะกู้ยืมมาแล้วประมาณ 1 ปี ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี แต่เนื่องจากเงินกู้ของกองทุนมีวงเงินไม่สูงนัก การจะนำไปใช้เพื่อการผลิตส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน ได้แก่ ใช้ซื้อวัตถุดิบ และจ่ายค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น ส่วนกำไรที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ นี้สมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 74.7 นำไปใช้ไปลงทุนเพิ่มในกิจการเดิม ดังนั้นเงินกู้กองทุนหมู่บ้านจึงมีส่วนช่วยในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนของกิจการเดิมเป็นสำคัญ
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านของภาคตะวันออก
หน่วย:บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 304,206 331,302 27,096 8.9
2.เงินออม 98,577 106,494 7,917 8.0
3.รายจ่าย 205,629 224,808 19,179 9.3
3.1 บริโภค 69,571 94,779 25,208 36.2
สินค้าจำเป็น 48,282 58,953 10,670 22.1
สินค้าคงทน 21,289 35,826 14,538 68.3
3.2 การลงทุน 101,714 106,702 4,988 4.9
วัตถุดิบ 69,471 76,399 6,928 10.
ค่าแรง 17,597 18,353 756 4.3
สินค้าทุนและอื่นๆ 14,647 11,951 -2,696 -18.4
3.3 ชำระเงินกู้ 34,344 23,327 -11,017 -32.1
ในระบบ 19,610 12,783 -6,827 -34.8
นอกระบบ 14,733 10,544 -4,190 -28.4
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคใต้
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ นั้นครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 150,554 บาท แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ แล้วมีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 163,280 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.5 ซึ่งการที่รายได้เพิ่มขึ้นนั้นสืบเนื่องมาจากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากนำเงินที่ได้จากกองทุนไปทำอาชีพเสริม และไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในอาชีพหลักเพิ่มขึ้น
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 106,980 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.1 ของรายได้รวม หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี 119,413 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.1 ของรายได้รวม ครัวเรือนใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายของครัวเรือนจำแนกออกเป็น
- รายจ่ายเพื่อการบริโภค ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนบริโภคเฉลี่ย 41,564 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของรายจ่ายทั้งหมด โดยจ่ายซื้อสินค้าจำเป็น 35,994 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.6 ของการบริโภครวม ซื้อสินค้าคงทน 5,570 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.4 ของการบริโภครวม หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนจ่ายเพื่อการบริโภค เป็นจำนวนเงิน 56,778 บาท เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ 15,214 บาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนการบริโภคสินค้าคงทนเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 13.4 เป็นร้อยละ 17.9 ของการบริโภครวม
- รายจ่ายเพื่อการลงทุน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ยต่อปี 47,563 บาท ส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 62.1 รองลงมาคือ ค่าจ้างแรงงาน ร้อยละ 21.6 ที่เหลือร้อยละ 16.3 เป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนและอื่นๆ หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนจ่ายเงินเพื่อการลงทุนเพิ่มเป็น 49,729 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการฯ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนเข้าร่วมโครงการครัวเรือนมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 17,853 บาท แหล่งเงินกู้ที่สำคัญของครัวเรือนคือแหล่งเงินกู้ในระบบ โดยกู้จากกองทุนแก้ไขความยากจน กองทุนออมทรัพย์หมู่บ้าน และ ธ.ก.ส. หลักประกันในการกู้ยืมได้แก่ โฉนดที่ดิน บุคคลค้ำประกันหรือกลุ่มค้ำประกันอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปี 9.4 ครัวเรือนชำระคืนเงินกู้ที่กู้ยืมมาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่ขายผลผลิตแล้ว และจะทำการกู้ใหม่ในรอบปีต่อไปเพื่อนำมาใช้จ่ายในการผลิต หมุนเวียนในลักษณะนี้ทุกปี นอกจากนี้มีครัวเรือนเพียงส่วนน้อยที่กู้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบ เช่นนายทุนเงินกู้ในหมู่บ้าน พ่อค้า เป็นต้น โดยเสียดอกเบี้ยต่อปีร้อยละ 240 ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่หลังจากเข้าร่วมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว หนี้สินโดยเฉลี่ยลดลงเหลือ 12,906 บาท 4) ด้านเงินออมครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อปี 43,574 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของรายได้รวม หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ย 43,867 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เนื่องจากการกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ทำให้ครัวเรือนนำเงินไปใช้จ่ายลงทุนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถในการออมเพิ่มขึ้น ครัวเรือนส่วนใหญ่จะฝากเงินออมไว้ที่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน เพื่อจะได้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล แต่บางครัวเรือนเก็บเงินออมไว้เอง
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคใต้
หน่วย : บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 150,554 163,280 2,726 8.5
2.เงินออม 43,574 43,867 293 0.7
3.รายจ่าย 106,980 119,413 12,433 11.6
3.1 บริโภค 41,564 56,778 15,214 36.6
สินค้าจำเป็น 35,994 46,614 10,620 29.5
สินค้าคงทน 5,570 10,163 4,594 82.5
3.2 การลงทุน 47,563 49,729 2,166 4.6
วัตถุดิบ 29,537 32,075 2,539 8.6
ค่าแรง 10,274 11,487 1,214 11.8
สินค้าทุนและอื่นๆ 7,753 6,166 -1,586 -20.5
3.3 ชำระเงินกู้ 17,853 12,906 -4,947 -22.7
ในระบบ 10,015 6,737 -3,278 -32.7
นอกระบบ 7,837 6,169 -1,668 -21.3
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ภาคเหนือ
1) ด้านรายได้ครัวเรือน จากการสำรวจข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 350,232 บาท หลังเข้าร่วมโครงการฯ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 369,531 บาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 5.5 โดยนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ไปจัดสรรในหลายๆ ด้านด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนเพิ่มในโครงการเดิม นำไปประกอบอาชีพเสริม ส่วนที่เหลือก็จะนำไปใช้จ่ายส่วนตัว นำไปบริจาค หรือเก็บออม เป็นต้น
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ผลการสำรวจรายจ่ายของครัวเรือนสามารถสรุปได้ว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ผู้ตอบแบบสอบถามมีรายจ่ายโดยเฉลี่ยปีละ 269,961 บาท โดยรายจ่ายส่วนหนึ่งใช้ไปเพื่ออุปโภคบริโภคทั้งในสินค้าจำเป็นและสินค้าคงทน รองลงมาคือใช้เพื่อการผลิต โดยเฉพาะการจ้างแรงงานและการซื้อวัตถุดิบในการผลิต ที่เหลือใช้จ่ายในการชำระคืนเงินกู้ ตามลำดับ สำหรับหลังเข้าร่วมโครงการมีรายจ่ายโดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 282,130 บาท โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
3) ด้านการชำระเงินกู้ วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับโครงการกองทุนหมู่บ้านจะกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพหลัก เช่น ผู้ประกอบอาชีพหลักทางการเกษตรก็จะกู้ยืมเงินไปเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตร หรือลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือผู้ประกอบอาชีพค้าขายก็จะกู้ยืมเงินไปเพื่อขยายกิจการ หรือซื้อของเข้าร้าน เป็นต้น รองลงมาคือกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพเสริม เพื่อหารายได้เสริมเข้าครัวเรือน โดยในการพิจารณาความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จะพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีการชำระคืนเงินกู้เฉลี่ยปีละ 42,799 บาท และเมื่อเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว ครัวเรือนมีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ปีละ 25,597 บาท
4) ด้านเงินออม เงินออมของครัวเรือนจากการสำรวจ พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 80,271 บาท ส่วนหลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 87,401 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคเหนือ
หน่วย: บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยนแปลง อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. รายได้ 350,232 369,531 19,299 5.5
2. เงินออม 80,271 87,401 7,130 8.9
3. รายจ่าย 269,961 282,130 12,169 4.5
3.1 การบริโภค 121,501 150,656 29,155 24
-สินค้าจำเป็น 90,883 103,651 12,768 14
-สินค้าคงทน 30,618 47,005 16,386 53.5
3.2 การลงทุน 105,661 105,877 216 0.2
-วัตถุดิบในการผลิต 70,159 72,632 2,473 3.5
-ค่าจ้างแรงงาน 24,725 26,152 1,427 5.8
-สินค้าทุนและอื่นๆ 10,777 7,094 -3,684 -34.2
3.3 ชำระเงินกู้ 42,799 25,597 -17,202 -40.2
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการนั้น ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 182,608 บาท แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วมีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 195,035 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.8 ซึ่งการที่รายได้เพิ่มขึ้นนั้นสืบเนื่องมาจากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากนำเงินที่ได้จากกองทุนไปทำอาชีพเสริม
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 150,242 บาท และหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 164,414 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 โดยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้พบว่าสัดส่วนของรายจ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ รายจ่ายเพื่อซื้อวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ ใช้ชำระคืนเงินกู้ ใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้ซื้อสินค้าคงทนตามลำดับ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนการเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีการชำระหนี้เงินกู้เฉลี่ยอยู่ที่ 31,365 บาท ต่อปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.7 โดยแหล่งชำระหนี้เงินกู้ส่วนใหญ่เป็นแหล่งเงินกู้ในระบบ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธกส. และสหกรณ์ แต่หลังจากการเข้าร่วมโครงการฯ แล้วครัวเรือนมีหนี้ลดลงโดยมีหนี้เงินกู้เฉลี่ย 22,700 บาท ต่อปี อัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือร้อยละ 7.7 โดยแหล่งชำระเงินกู้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแหล่งเงินกู้ในระบบ และแหล่งที่สำคัญที่สุดคือ กองทุนหมู่บ้าน รองลงมาคือ ธกส. และธนาคารออมสิน
4) ด้านเงินออม ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ย 32,366 บาทต่อปี และหลังเข้าร่วมโครงการครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยลดลงจากเดิม โดยมีเงินออมเฉลี่ยเป็น 30,621 บาทต่อปี ลดลงร้อยละ 5.4 ทั้งนี้เป็นเพราะมีการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปบริโภคเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงลักษณะโครงสร้างของรายได้ รายจ่ายและเงินออมแล้ว พบว่าโครงสร้างดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ สัดส่วนรายจ่ายเพิ่มขึ้นในขณะที่สัดส่วนการออมลดลงโดยสัดส่วนรายจ่ายจากร้อยละ 82.3 เพิ่มเป็นร้อยละ 84.3 และสัดส่วนเงินออมลดลงจากร้อยละ 17.7 เป็นร้อยละ 15.7
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน่วย : บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1. รายได้ 182,608 195,035 12,427 6.8
2. เงินออม 32,366 30,621 -1,745 -5.4
3. รายจ่าย 150,242 164,414 14,172 9.4
3.1 การบริโภค 39,336 55,445 16,110 41.0
3.2 การลงทุน 79,542 96,268 6,727 8.5
วัตถุดิบ 55,361 60,819 5,458 9.9
ค่าแรง 14,874 15,615 740 5.0
สินค้าทุนและอื่นๆ 9,306 9,835 528 5.7
3.3 ชำระเงินกู้ 31,365 22,700 -8,665 -27.6
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคกลาง
1) ด้านรายได้ครัวเรือน จากการสำรวจในภาคกลางพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่อ้อย และชาวสวนผลไม้ โดยมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 334,807 บาท หลังจากผู้ตอบแบบสอบถามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 358,019 บาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกกองทุนฯ บางส่วนได้นำเงินกองทุน ไปลงทุนในการประกอบอาชีพเสริมนอกเหนืออาชีพหลัก และบางส่วนได้นำเงินกู้กองทุนฯ ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ เช่น นำไปซื้อวัตถุดิบในการผลิต ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือนำไปซื้อสินค้าทุน เช่น เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลให้สมาชิกกองทุนฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นก่อนเข้าร่วมโครงการ
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน พบว่าก่อนที่ผู้ตอบแบบสอบถามเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประชาชนมีรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 213,477 บาท แต่หลังจากผู้ตอบแบบสอบถามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน พบว่ารายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 227,408 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 โดยรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อการผลิต เฉลี่ยปีละ 99,420 บาท การเพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องจากสมาชิกฯ ได้นำไปใช้จ่ายส่วนของวัตถุดิบในการเพาะปลูกพืช เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง พันธุ์พืช ในไร่ข้าว ไร่อ้อย และสวนผลไม้ และค่าจ้างแรงงาน ขณะที่รายจ่ายเพื่อการบริโภค เช่น ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมโครงการฯ แต่ไปเพิ่มในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสินค้าคงทนเพิ่มมากขึ้นและเพื่อการชำระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีการชำระเงินกู้เฉลี่ยปีละ 37,347 บาท โดยแหล่งเงินกู้ในระบบส่วนใหญ่เป็นการกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และสหกรณ์ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 8.1 โดยหลักประกันการกู้ยืมส่วนใหญ่ใช้โฉนดที่ดิน และการค้ำประกันโดยกลุ่มบุคคลหรือสมาชิกในกลุ่ม ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีรายจ่ายเพื่อการชำระเงินกู้ลดลงเหลือเฉลี่ยปีละ 27,470 บาท หรือลดลงร้อยละ 26.4 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่มีแหล่งเงินกู้ในระบบหลายแหล่งมากขึ้น และการที่บางครัวเรือนเปลี่ยนการกู้นอกระบบมาเป็นการกู้ในระบบ จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยต่ำลงเหลือเพียงร้อยละ 6.0
4) ด้านเงินออมครัวเรือน เงินออมของครัวเรือนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่า มีเงินออมเฉลี่ยเท่ากับ 121,330 บาทต่อครัวเรือน แต่หลังจากได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนฯ ทำให้มีเงินออมครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 130,611 บาทต่อปี เนื่องจาก สมาชิกกองทุนฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกกองทุนมีเงินออมเก็บมากขึ้น
ตารางเปรียบเทียบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคกลาง
หน่วย: บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยนแปลง อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 334,807 358,019 23,212 6.9
2.เงินออม 121,330 130,611 9,281 7.6
3.รายจ่าย 213,477 227,408 13,931 6.5
3.1การบริโภค 77,210 100,518 23,308 30.2
3.2 การลงทุน 98,920 99,420 500 0.5
วัตถุดิบ 70,431 69,395 -1,036 -1.5
ค่าแรง 16,025 17,796 1,771 11.1
สินค้าทุนและอื่นๆ 12,464 12,229 -235 -1.9
3.3 ชำระเงินกู้ 37,347 27,470 -9,876 -26.4
ที่มา: จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคตะวันออก
จากการสำรวจตัวอย่างสมาชิกโครงการพบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมาแล้วเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 1.8 ปี โดยเป็นสมาชิกประเภทบุคคล (หัวหน้าครัวเรือน) ทั้งนี้ร้อยละ 59.1 ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี และสมรสแล้ว 68.2 % มีขนาดครัวเรือนส่วนใหญ่คือ 4 คน จำนวนร้อยละ 81.8 มีอาชีพหลักคือ การเกษตร ได้แก่ การทำสวนผลไม้ มีรายได้มากกว่า 108,000 บาทต่อปี และร้อยละ 54.5 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดมีการศึกษาระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา ซึ่งจากการสัมภาษณ์ปรากฏผลในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 77 ของประชากร มีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพเสริม โดยอาชีพหลักที่สำคัญได้แก่ การทำสวนผลไม้ ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ การค้าขาย การเลี้ยวสัตว์ การแปรรูปผลไม้ การแปรรูปอาหาร และการจักสาน ซึ่งเฉลี่ยแล้วสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในภาคตะวันออกมีรายได้จากอาชีพหลักและอาชีพเสริมเท่ากับ 304,206 บาทต่อครัวเรือน หลังเข้าร่วมโครงการแล้วพบว่า มีร้อยล ะ25 ของตัวอย่างที่มีการประกอบอาชีพเสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากเดิม ทำให้จำนวนครัวเรือนร้อยละ 68.2 ของตัวอย่าง มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยมีรายได้สุทธิเฉลี่ยในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเท่ากับ 331,302 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ของรายได้ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าโครงการฯ รายจ่ายของครัวเรือนประกอบด้วย รายจ่ายประเภทต่าง ๆ ได้แก่ รายจ่ายเฉลี่ยเพื่อการบริโภคปีละ 69,571 บาท เพื่อการลงทุนปีละ 101,714 บาท เพื่อจ่ายคืนเงินกู้ปีละ 34,344 บาท และรายจ่ายอื่นๆ ได้แก่ รายจ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร การทำบุญ และรายจ่ายเพื่องานสังคมต่าง ๆ รวมรายจ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 205,629 บาท หรือเท่ากับร้อยละ67.6 ของรายได้ที่ครัวเรือนได้รับ หลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่า ครัวเรือนมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 94,779 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 36.2 รายจ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 106,702 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.9 อย่างไรก็ตามในเรื่องของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ พบว่ามีสัดส่วนลดลงจากเดิมร้อยละ 16.7 ลดลงเหลือร้อยละ 10.4 ลดลงทั้งหนี้ที่กู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ภายในและภายนอกระบบ
3) ด้านการชำระเงินกู้ สมาชิกมีการกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ทั้งในระบบ และนอกระบบ โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในระบบ ได้แก่ ธ.ก.ส ธนาคารไทยพาณิชย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนหมู่บ้าน โดยก่อนเข้าร่วมโครงการฯ มีเงินที่เคยกู้ยืมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,302,500 บาท อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 11.1 ต่อปี การค้ำประกันมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่กู้ยืมใช้โฉนดที่ดิน นอกจากนี้ก็มีทั้งบุคคลและกลุ่ม มีการขำระคืนบ้าง แต่ก็ยังมีหนี้สินค้างชำระ ก่อนเข้าโครงการฯ รวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 1,723,450 บาท หลังเข้าโครงการฯ พบว่ามีจำนวนผู้กู้ยืมเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 57 ของผู้กู้ยืมเดิม โดยเป็นการกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้าน แต่เนื่องจากเงินกู้ที่แต่ละรายได้รับจากกองทุนหมู่บ้านไม่มากนักกล่าวคือ เฉลี่ยเท่ากับ 15,625 บาทต่อครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยของเงินกู้กองทุน ฯ ส่วนมากอยู่ที่ร้อยละ 6 ต่อปี ทำให้เงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง โดยปัจจุบันครัวเรือนชำระเงินกู้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 23,327 บาท ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 32.1
4) ด้านเงินออม ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยก่อนเข้าโครงการฯ เท่ากับ 98,577 บาท คิดเป็นสัดส่วนต่อรายได้เท่ากับร้อยละ 32.4 โดยร้อยละ 77 ของครัวเรือนทั้งหมดฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่หลังเข้าร่วมโครงการฯ พบว่าครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 106,494 บาท ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อมีโครงการฯ ครัวเรือนทำการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้นทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถบริโภคเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการซื้อสินค้าคงทนเจากเดิมมีสัดส่วนร้อยละ 30.6 ของการบริโภครวม เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 37.8 ของการบริโภครวม
ผลจากการสำรวจพบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านแล้ว ประชากรในภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยรายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลโดยตรงจากโครงการกองทุนหมู่บ้าน และมีประมาณหนึ่งในสี่ของครัวเรือนที่เห็นว่าเป็นผลมาจากโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ด้วย ส่วนด้านรายจ่ายหลังเข้าร่วมโครงการฯ นั้นมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน การกู้ยืมเงินจากโครงการฯ ส่วนใหญ่จะกู้ยืมมาแล้วประมาณ 1 ปี ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี แต่เนื่องจากเงินกู้ของกองทุนมีวงเงินไม่สูงนัก การจะนำไปใช้เพื่อการผลิตส่วนใหญ่จึงใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียน ได้แก่ ใช้ซื้อวัตถุดิบ และจ่ายค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น ส่วนกำไรที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการกองทุนหมู่บ้านฯ นี้สมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 74.7 นำไปใช้ไปลงทุนเพิ่มในกิจการเดิม ดังนั้นเงินกู้กองทุนหมู่บ้านจึงมีส่วนช่วยในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนของกิจการเดิมเป็นสำคัญ
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านของภาคตะวันออก
หน่วย:บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 304,206 331,302 27,096 8.9
2.เงินออม 98,577 106,494 7,917 8.0
3.รายจ่าย 205,629 224,808 19,179 9.3
3.1 บริโภค 69,571 94,779 25,208 36.2
สินค้าจำเป็น 48,282 58,953 10,670 22.1
สินค้าคงทน 21,289 35,826 14,538 68.3
3.2 การลงทุน 101,714 106,702 4,988 4.9
วัตถุดิบ 69,471 76,399 6,928 10.
ค่าแรง 17,597 18,353 756 4.3
สินค้าทุนและอื่นๆ 14,647 11,951 -2,696 -18.4
3.3 ชำระเงินกู้ 34,344 23,327 -11,017 -32.1
ในระบบ 19,610 12,783 -6,827 -34.8
นอกระบบ 14,733 10,544 -4,190 -28.4
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
ภาคใต้
1) ด้านรายได้ครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ นั้นครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 150,554 บาท แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ แล้วมีรายได้โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 163,280 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 8.5 ซึ่งการที่รายได้เพิ่มขึ้นนั้นสืบเนื่องมาจากผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากนำเงินที่ได้จากกองทุนไปทำอาชีพเสริม และไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในอาชีพหลักเพิ่มขึ้น
2) ด้านรายจ่ายครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 106,980 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.1 ของรายได้รวม หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี 119,413 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.1 ของรายได้รวม ครัวเรือนใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เนื่องจากครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายของครัวเรือนจำแนกออกเป็น
- รายจ่ายเพื่อการบริโภค ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนบริโภคเฉลี่ย 41,564 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของรายจ่ายทั้งหมด โดยจ่ายซื้อสินค้าจำเป็น 35,994 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.6 ของการบริโภครวม ซื้อสินค้าคงทน 5,570 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.4 ของการบริโภครวม หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนจ่ายเพื่อการบริโภค เป็นจำนวนเงิน 56,778 บาท เพิ่มขึ้นจากก่อนเข้าร่วมโครงการ 15,214 บาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วนการบริโภคสินค้าคงทนเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 13.4 เป็นร้อยละ 17.9 ของการบริโภครวม
- รายจ่ายเพื่อการลงทุน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ยต่อปี 47,563 บาท ส่วนใหญ่จ่ายเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 62.1 รองลงมาคือ ค่าจ้างแรงงาน ร้อยละ 21.6 ที่เหลือร้อยละ 16.3 เป็นการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุนและอื่นๆ หลังเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนจ่ายเงินเพื่อการลงทุนเพิ่มเป็น 49,729 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการฯ
3) ด้านการชำระเงินกู้ ก่อนเข้าร่วมโครงการครัวเรือนมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 17,853 บาท แหล่งเงินกู้ที่สำคัญของครัวเรือนคือแหล่งเงินกู้ในระบบ โดยกู้จากกองทุนแก้ไขความยากจน กองทุนออมทรัพย์หมู่บ้าน และ ธ.ก.ส. หลักประกันในการกู้ยืมได้แก่ โฉนดที่ดิน บุคคลค้ำประกันหรือกลุ่มค้ำประกันอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปี 9.4 ครัวเรือนชำระคืนเงินกู้ที่กู้ยืมมาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่ขายผลผลิตแล้ว และจะทำการกู้ใหม่ในรอบปีต่อไปเพื่อนำมาใช้จ่ายในการผลิต หมุนเวียนในลักษณะนี้ทุกปี นอกจากนี้มีครัวเรือนเพียงส่วนน้อยที่กู้จากแหล่งเงินกู้นอกระบบ เช่นนายทุนเงินกู้ในหมู่บ้าน พ่อค้า เป็นต้น โดยเสียดอกเบี้ยต่อปีร้อยละ 240 ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่หลังจากเข้าร่วมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว หนี้สินโดยเฉลี่ยลดลงเหลือ 12,906 บาท 4) ด้านเงินออมครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ยต่อปี 43,574 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.9 ของรายได้รวม หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ครัวเรือนมีเงินออมเฉลี่ย 43,867 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เนื่องจากการกู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ทำให้ครัวเรือนนำเงินไปใช้จ่ายลงทุนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีความสามารถในการออมเพิ่มขึ้น ครัวเรือนส่วนใหญ่จะฝากเงินออมไว้ที่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน เพื่อจะได้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล แต่บางครัวเรือนเก็บเงินออมไว้เอง
ตารางเปรียบเทียบโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของภาคใต้
หน่วย : บาท/ปี
รายการ ก่อน หลัง มูลค่าเปลี่ยน อัตราการเปลี่ยนแปลง
1.รายได้ 150,554 163,280 2,726 8.5
2.เงินออม 43,574 43,867 293 0.7
3.รายจ่าย 106,980 119,413 12,433 11.6
3.1 บริโภค 41,564 56,778 15,214 36.6
สินค้าจำเป็น 35,994 46,614 10,620 29.5
สินค้าคงทน 5,570 10,163 4,594 82.5
3.2 การลงทุน 47,563 49,729 2,166 4.6
วัตถุดิบ 29,537 32,075 2,539 8.6
ค่าแรง 10,274 11,487 1,214 11.8
สินค้าทุนและอื่นๆ 7,753 6,166 -1,586 -20.5
3.3 ชำระเงินกู้ 17,853 12,906 -4,947 -22.7
ในระบบ 10,015 6,737 -3,278 -32.7
นอกระบบ 7,837 6,169 -1,668 -21.3
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนาม
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-