4. สมมติฐานการประมาณการ
4.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก: ในปี 2548 เศรษฐกิจ โลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เท่ากับข้อสมมุติฐาน เดิมในการประมาณการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ซึ่งชะลอตัว ลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ใน ปี 2547 ข้อมูล เศรษฐกิจล่าสุดแสดงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ในปี 2547 เป็นไปตามที่คาดไว้ โดยที่ขยายตัวได้มาก ในครึ่งแรกของปีแต่ชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี อันเนื่อง จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในครึ่งหลัง การปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของการใช้จ่ายและรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา จีน สหราชอาณาจักร เป็นต้น รวมทั้งการดำเนิน นโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อรักษาวินัยทางการ คลังมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้สถาบันต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ และเอกชนต่างก็ยังคงประมาณการเศรษฐกิจของประเทศ ต่าง ๆ ในปี 2548 ว่าจะขยายตัวได้ในอัตราที่ไม่ต่างไป จากการประมาณการเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้าเท่าใดนัก ซึ่ง นับว่าเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะขยายตัวได้ช้า กว่าปี 2547
สำหรับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.0 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 8.5 และสหภาพเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวร้อยละ 1.5 4.2 ราคาน้ำมันดิบ:ราคาน้ำมันดิบ (แหล่งโอมาน) มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าในปี 2548โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 38 ดอลลาร์ต่อบาเรลสูงกว่าราคา 35.0 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบา เรล ซึ่งเป็นข้อสมมุติฐานสำหรับการประมาณการในครั้งที่ ผ่านมา และสูงกว่าราคา 34.23 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2547 โดยคาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันในช่วง ต้นปี 2548 และมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ สองตามฤดูกาลซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ราคาจะปรับลงไม่มากเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันจะ เปลี่ยนจาก heating oil ไปเป็น gasoline ราคาจะปรับสูง ขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่สาม และสูงขึ้นชัดเจนในไตรมาส สุดท้ายซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาว ทั้งนี้กรมสารนิเทศการพลัง งาน กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯได้คาดการณ์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิง West Texas Index จะอยู่ในช่วงประมาณ 42-47 ดอลลาร์ต่อบาเรล ในช่วงปี 2548-2549 ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาอ้างอิงนี้สูงกว่า ราคาน้ำมันดิบแหล่งโอมานประมาณบาเรลละ 5-6 ดอลลาร์
จากการคาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยบาเรลละ 38 ดอลลาร์ จะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเพิ่มขึ้นจากราคาใน ปี 2547 โดยที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นลิตรละ 21.60 บาท ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 20.90 บาท และราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว หากไม่มีการอุดหนุนราคาจะเป็น ลิตรละ 19.50 บาท
4.3 ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการของไทย ราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ในปี 2547 โดยที่ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3 ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มมากกว่าราคาสินค้า นำเข้าทำให้ประเทศไทยได้เปรียบอัตราการค้า (Term of trade) แต่ในปี 2548 คาดว่าราคาสินค้าจะเพิ่มในอัตราที่ ชะลอลงเนื่องจากความต้องการสินค้าจะขยายตัวในอัตรา ที่น้อยลง โดยในปี 2548 ราคาสินค้าส่งออกมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นประมาณร้อยละ 9.3 ในขณะที่ราคาสินค้านำเข้าโดย เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทำให้ประเทศเริ่มเสีย เปรียบอัตราการค้าซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูง ขึ้นต่อเนื่อง
4.4 ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่อเศรษฐกิจไทย ในการประมาณการเศรษฐกิจปี 2548 สศช. ตั้งสมมุติฐานสำคัญเพื่อประเมินผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
4.5 ผลกระทบจากภัยแล้ง เป็นผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตทางตรงประมาณ 8,000 ล้านบาทและผลกระทบทางอ้อมผ่านความเชื่อมโยงทางโครงสร้างปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศอีก 3,000 ล้านบาท รวมเป็นผลกระทบ 11,000 ล้านบาท
ผลกระทบ มูลค่าผลผลิตในปี 2548
------------------------------------------------------------
ผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตรวม 11,000 ล้านบาท
(รวมแล้วในการประมาณการเมื่อวันที่ 7
ธันวาคม 2547 จำนวน 5,000 ล้านบาท)
(1) ผลกระทบทางตรงต่อมูลค่าพืช 8,000 ล้านบาท
ผลรวม (ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
และมันสำปะหลัง)
(2) ผลกระทบทางอ้อม 3,000 ล้านบาท
(ยังมีต่อ).../5.ประมาณการ..
4.1 การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก: ในปี 2548 เศรษฐกิจ โลกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เท่ากับข้อสมมุติฐาน เดิมในการประมาณการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ซึ่งชะลอตัว ลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ใน ปี 2547 ข้อมูล เศรษฐกิจล่าสุดแสดงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ในปี 2547 เป็นไปตามที่คาดไว้ โดยที่ขยายตัวได้มาก ในครึ่งแรกของปีแต่ชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี อันเนื่อง จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในครึ่งหลัง การปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงของการใช้จ่ายและรักษา เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ แคนาดา จีน สหราชอาณาจักร เป็นต้น รวมทั้งการดำเนิน นโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อรักษาวินัยทางการ คลังมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้สถาบันต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ และเอกชนต่างก็ยังคงประมาณการเศรษฐกิจของประเทศ ต่าง ๆ ในปี 2548 ว่าจะขยายตัวได้ในอัตราที่ไม่ต่างไป จากการประมาณการเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้าเท่าใดนัก ซึ่ง นับว่าเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้ว่าจะขยายตัวได้ช้า กว่าปี 2547
สำหรับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ สหรัฐฯ คาดว่าจะ ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากร้อยละ 4.4 เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 1.0 เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 8.5 และสหภาพเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวร้อยละ 1.5 4.2 ราคาน้ำมันดิบ:ราคาน้ำมันดิบ (แหล่งโอมาน) มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าในปี 2548โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับ 38 ดอลลาร์ต่อบาเรลสูงกว่าราคา 35.0 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบา เรล ซึ่งเป็นข้อสมมุติฐานสำหรับการประมาณการในครั้งที่ ผ่านมา และสูงกว่าราคา 34.23 ดอลลาร์ต่อบาเรลในปี 2547 โดยคาดว่าราคาจะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันในช่วง ต้นปี 2548 และมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสที่ สองตามฤดูกาลซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ราคาจะปรับลงไม่มากเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันจะ เปลี่ยนจาก heating oil ไปเป็น gasoline ราคาจะปรับสูง ขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่สาม และสูงขึ้นชัดเจนในไตรมาส สุดท้ายซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาว ทั้งนี้กรมสารนิเทศการพลัง งาน กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯได้คาดการณ์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ว่าราคาน้ำมันดิบอ้างอิง West Texas Index จะอยู่ในช่วงประมาณ 42-47 ดอลลาร์ต่อบาเรล ในช่วงปี 2548-2549 ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาอ้างอิงนี้สูงกว่า ราคาน้ำมันดิบแหล่งโอมานประมาณบาเรลละ 5-6 ดอลลาร์
จากการคาดการณ์ราคาน้ำมันเฉลี่ยบาเรลละ 38 ดอลลาร์ จะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเพิ่มขึ้นจากราคาใน ปี 2547 โดยที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นลิตรละ 21.60 บาท ราคาน้ำมันเบนซิน 91 ลิตรละ 20.90 บาท และราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว หากไม่มีการอุดหนุนราคาจะเป็น ลิตรละ 19.50 บาท
4.3 ราคาส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการของไทย ราคาสินค้าส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ในปี 2547 โดยที่ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3 ราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มมากกว่าราคาสินค้า นำเข้าทำให้ประเทศไทยได้เปรียบอัตราการค้า (Term of trade) แต่ในปี 2548 คาดว่าราคาสินค้าจะเพิ่มในอัตราที่ ชะลอลงเนื่องจากความต้องการสินค้าจะขยายตัวในอัตรา ที่น้อยลง โดยในปี 2548 ราคาสินค้าส่งออกมีแนวโน้มเพิ่ม ขึ้นประมาณร้อยละ 9.3 ในขณะที่ราคาสินค้านำเข้าโดย เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ทำให้ประเทศเริ่มเสีย เปรียบอัตราการค้าซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาน้ำมันที่สูง ขึ้นต่อเนื่อง
4.4 ผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยต่อเศรษฐกิจไทย ในการประมาณการเศรษฐกิจปี 2548 สศช. ตั้งสมมุติฐานสำคัญเพื่อประเมินผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
4.5 ผลกระทบจากภัยแล้ง เป็นผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตทางตรงประมาณ 8,000 ล้านบาทและผลกระทบทางอ้อมผ่านความเชื่อมโยงทางโครงสร้างปัจจัยการผลิตและผลผลิตของประเทศอีก 3,000 ล้านบาท รวมเป็นผลกระทบ 11,000 ล้านบาท
ผลกระทบ มูลค่าผลผลิตในปี 2548
------------------------------------------------------------
ผลกระทบต่อมูลค่าผลผลิตรวม 11,000 ล้านบาท
(รวมแล้วในการประมาณการเมื่อวันที่ 7
ธันวาคม 2547 จำนวน 5,000 ล้านบาท)
(1) ผลกระทบทางตรงต่อมูลค่าพืช 8,000 ล้านบาท
ผลรวม (ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
และมันสำปะหลัง)
(2) ผลกระทบทางอ้อม 3,000 ล้านบาท
(ยังมีต่อ).../5.ประมาณการ..