อีก 6 ปี เศรษฐกิจไทยน่าเป็นห่วง ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
หันกลับมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ ผมมั่นใจว่า จากนี้ไป 5-6 ปี เศรษฐกิจไม่มีปัญหา แต่หลังจากนี้ผมยังห่วงถ้าเราพัฒนาช้า เราตามไม่ทัน ผมเล่าให้คณะรัฐมนตรีฟังว่า ผมเพิ่งกลับจากบราซิล ไปพบกับผู้นำหลายประเทศที่เข้ามาร่วมประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานาธิบดีอุรุกวัยซึ่งคุ้นเคยกันเพราะเจอกันมาหลายงาน ท่านรู้ไหมว่า อุรุกวัยประเทศเล็กๆ อยู่ติดกับบราซิลทางใต้ อุรุกวัยผลิตข้าวได้ปีละล้านตัน และเป็นข้าวเมล็ดยาวที่เรียกว่า Long Grain แล้วบริโภคเองภายในประเทศประมาณ กว่าร้อยละ 20 ส่งขายให้กับบราซิลประมาณ 6-7 แสนกว่าตันต่อปี ซึ่งบราซิลก็ซื้อแพงหน่อยเพราะต้องการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ยังยากจนอยู่ และที่อุรุกวัยมีการเลี้ยงแกะเหมือนที่นิวซีแลนด์ มีแกะเยอะกว่าคน
ที่บราซิลผลไม้ที่นำเสิร์ฟในโรงแรมในห้องนอนผมมีมังคุดด้วย ลูกใหญ่กว่ามังคุดไทยแต่รสไม่หวานเท่ามังคุดไทย สิ่งนี้บอกอะไรอย่างหนึ่งคือ ที่เราบอกว่าเราแน่ เราไม่ได้แน่คนเดียว มีคนอื่นแน่ด้วย เพราะฉะนั้น เราต้องพัฒนา เราต้องปรับปรุงตัวเอง เราต้องผลักดันต่อไปอีก ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ไม่พอแน่นอน เราต้องพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของเรา ทั้งด้านการบริหารการจัดการ การตลาด เทคโนโลยี และที่สำคัญคือ เรื่องของวัฒนธรรมในการดำรงอยู่ในโลกใหม่ ซึ่งเราจะต้องปรับตัวพอสมควรทีเดียวเพื่อที่จะแข่งขันได้
เราอยู่เฉยๆ อย่างที่หลายคนไม่เข้าใจ นึกว่าอยู่อย่างนี้ดีแล้ว เหมือนกับคนที่เป็นมะเร็งโดยไม่รู้ตัว พอเขาจะจับไปผ่าตัดบอกว่าอยู่อย่างนี้ดี ไม่เป็นไปหรอก เพราะเอ็กซเรย์พบตั้งแต่ต้น พอถึง stage 2 ไม่เป็นไรหรอกอย่าไปทำเลย อย่างนี้ดีแล้ว ไม่ได้หรอก ก็คือมัน dying ต้องพัฒนา ต้องปรับอีกมาก ต้องมองให้รอบด้าน หลายท่านอาจจะไปมองทีละมิติแล้วก็ออกมาวิจารณ์ อย่าลืมว่า การบริหารประเทศมันต้องมองทุกมิติ ต้อง Balance ต้องพยายาม บางอย่างบางกลุ่มอาจจะได้ประโยชน์ บางกลุ่มอาจจะเสียประโยชน์ แต่ต้องบรรเทาความเสียประโยชน์ของบางกลุ่ม แต่ทั้งหมดแล้ว ขอให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ไม่เช่นนั้น มันไม่มีทางที่จะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สมมุติว่า ก้าวไปหนึ่งก้าว ก้าวแรกคนได้ประโยชน์ทั้ง 100 % ไม่มีทาง ถ้าก้าวแรกไปแล้ว คนได้ประโยชน์ 50 % และอีกก้าวหนึ่งจะตามมาอีก 30 % อีกก้าวหนึ่งจะตามมาอีก 20 % ต้องคิดอย่างนั้น แล้วจะต้องก้าวอีกต่อไป
กระจายอำนาจและสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเร่งพัฒนาประเทศ
สิ่งที่เป็นปัญหาอันหนึ่งของเรานั้นคือ เราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ที่งบประมาณไม่ค่อยพอ อย่างวันนี้นักประชาธิปไตยก็จะคิดว่างบกระจายอำนาจ 35 % นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยเร็ว ผมต้องถามก่อนว่า งบประมาณทั้งหมด 70 % เป็นงบประจำ ถ้าไป 35 % แล้ว ถามว่า แล้วจะเอาที่ไหนเป็นเงินเดือน เป็นค่าใช้จ่ายของข้าราชการ และค่าใช้จ่ายประจำ นั่นคือปัญหา
วันนี้แม้กระทั่งงบลงทุนของภาครัฐซึ่งมองประเทศในภาพรวมทั้งหมด ยังมีแค่ 25 % วันนี้งบท้องถิ่นมี 23 % สรุปแล้วว่า ถ้าเอางบประจำออก รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น มีงบที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารใกล้เคียงกัน แล้วยังจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ ถามว่าสร้างถนนซอยกับสร้างถนนยกระดับอันไหนแพงกว่ากัน งบท้องถิ่นคือสร้างถนนซอย สร้างถนนเล็ก งบระดับชาติคือสร้างถนนยกระดับ สร้างทางรถไฟ ต้องใช้เงินมาก อันนี้ไม่ได้แย่งเงินกัน เพียงแต่ว่าอยากให้เงินมากๆ แต่ปัญหาคือว่า ภาษีที่ได้มาและก็จัดงบสมดุลมาได้เพียงเท่านี้ สมมุติถ้าตัดไป โอนกระจายอำนาจไปอย่างเช่น สมมุติตัดโรงเรียนไป ยกโรงเรียนให้ท้องถิ่น โรงเรียนไหน มหาวิทยาลัยไหนอยู่ท้องถิ่นไหน ท้องถิ่นนั้นเป็นคนรับไป เอาทั้งค่าเงินเดือน ทั้งค่าอาจารย์ กับค่าการศึกษาทั้งหมดเอาไป อย่างนี้ถึง 35 % เอาโรงพยาบาลไปด้วย หมอก็ไปขึ้นกับท้องถิ่น แต่ถามว่าไปไหม เพราะทุกคนก็ห่วง Career Path ห่วงเส้นทางดำเนินชีวิตของตัวเอง นี้คือปัญหา นี่คือความจริง ถ้าเราจะแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจความจริง ไม่มีทางแก้ได้
เรื่องที่เป็นห่วงก็คือ เรื่องการแก้ปัญหาความยากจนซึ่งกำลังทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่ดูเหมือนยาก ก็ยากมาก ดูเหมือนไม่ยาก ก็ไม่น่าจะยากเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กลไกของกระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกที่เข้มแข็ง แต่ว่ากลไกเหล่านี้จะต้องมีเมตตาธรรม และจริยธรรมสูงถึงจะแก้ได้และไม่ยาก
ทีนี้มาดูเรื่องของเงินที่มันไม่พอ เมื่อวานนี้ผมได้ให้การบ้านคนไปทำเรื่องเงินหลายคน เพื่อจะหาทางที่จะเอาเงินมาลงทุน มันเหมือนบ้าน ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ในที่นี้ผ่อนบ้านอยู่ ถามว่าท่านจะรอเก็บเงินให้ครบแล้วค่อยซื้อบ้านเงินสด หรือว่าจะผ่อนเอา ผ่อนวันนี้ท่านก็ได้อยู่วันนี้ แต่ถ้าจะเก็บเงินเอา พอถึงเวลาตอนนั้น ราคาบ้านก็อาจจะวิ่งหนีไปแล้ว ก็ยังไม่มีบ้านอยู่ คนมีบ้านอยู่กับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ ความรู้สึกมันผิดกัน
ประเทศก็เช่นกัน ถามว่า รถไฟฟ้าก็ดี ระบบน้ำก็ดี ถามว่าเราจะค่อยๆ ทำไป หรือควรจะทำทีเดียว นี่คือปัญหาที่จะต้องถามกัน ถ้าจะทำทีเดียวก็ต้องหาเงินมาลงทุนทีเดียว แต่ลงทุนอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้สาธารณะ เพื่อไม่ให้ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเครดิต เรตติ้งทั้งหลาย อันนี้ก็เป็นวิธีที่จะต้องคิด
รัฐต้องลงทุนขยายเศรษฐกิจ-ฟื้นสิ่งแวดล้อมโดยไม่ก่อหนี้สาธารณะ
ทีนี้ท่านทั้งหลาย เราอยู่ในเศรษฐกิจทุนนิยม ถ้าเราไม่อยู่ในเศรษฐกิจทุนนิยม เราก็เจ๊ง แต่เศรษฐกิจทุนนิยมมันบังคับให้เราต้องแข่งขันกันที่เส้นวิ่งเดียวกัน จุดสตาร์ทเดียวกัน แต่กำลังร่างกายแข็งแรง ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางอุ้มคนฐานล่าง ประคองจนให้เขาแข็งแรง แล้วค่อยให้ออกวิ่งเต็มที่ แต่ไม่ใช่ Spoil เพราะฉะนั้นจุดพอดีอยู่ที่ว่าอย่า Spoil ตอนนี้ผมเชื่อว่า ผมมีวิธีการที่จะหาเงินมาลงทุนล่วงหน้าโดยไม่เป็นหนี้สาธารณะได้หลายส่วน เพื่อจะผลักดัน ถ้าไม่เช่นนั้น อีกหน่อยถนนกรุงเทพฯ สร้างเท่าไหร่ก็เป็นที่จอดรถ เกษตรกรทำกินเท่าไหร่ ก็ทำกินไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ เพราะฉะนั้นต้องทำพร้อมกัน สิ่งแวดล้อมปล่อยไว้ก็เละอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องกล้าลงทุนเพื่อจะเอาสิ่งแวดล้อมคืนมาให้ได้
การลงทุนอย่างนี้ต้องคิดว่า ทำอย่างไรถึงจะหาเงินได้โดยที่ไม่เป็นหนี้สาธารณะ ขณะนี้กำลังคิดโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในระบบทุนนิยมที่เราต้องตามให้ทัน คนอื่นเขามาใช้จากเรา คนอื่นเอาความมั่งคั่งของเราไปสร้างความมั่งคั่งของเขา แล้วความมั่งคั่งของเราลดลง วันนี้เราต้องเอาบ้าง จะได้ทันกัน อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องลงทุน มีการขยายเศรษฐกิจอีกมาก
ถามว่า วันนี้ฐานะการเงินการคลังเข้มแข็งไหม เข้มแข็งมาก หนี้สาธารณะลด Reserve ขึ้น หนี้ระยะสั้นลด สัดส่วน Reserve ต่อหนี้ระยะสั้นดีขึ้นมาก วันนี้จริงๆ แล้ว ประเทศไทยเราเป็นประเทศผู้ให้กู้ ไม่ใช่เป็นประเทศผู้กู้ ถ้าเป็นเงินตราต่างประเทศ เราเอาเงิน Reserve บวกกับเงินฝากธนาคารในต่างประเทศ และเอามาหักลบกับหนี้ที่เรากู้ต่างประเทศแล้ว เราเป็นบวก แล้วงบประมาณก้าวเข้าสู่ภาวะสมดุล ความจริงแล้วสมดุลตั้งแต่ปี '47แล้ว เพราะถ้าดูจากประมาณการการเก็บภาษีวันนี้ ปี '47 สมดุลแล้ว เร็วกว่าเป้าหมายไป 4-5 ปี
การส่งออกในวันนี้ก็มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ต่างประเทศก็ดีขึ้นเหมือนกัน แต่ว่าทำอย่างไร การขึ้นนี้ จะ sustain ได้ และการที่เราจะต้องลงทุนในระยะนี้ ต้องนำของเข้ามา ทำอย่างไรถึงจะให้ไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลชำระเงินทั้งหลายนี้ ก็จะทำให้ Reserve ลด ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่จะต้อง Balance ตลอดเวลา ซึ่งผมพยายามคอยดูอยู่ รัฐบาลจะดันนโยบาย Social Democracy เพื่อแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
สิ่งที่ต้องห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาสังคม ผมเชื่อว่าถ้าประเทศพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง แล้วรักษา Balance ของปัญหาสังคมได้ เศรษฐกิจนอกระบบก็จะเบาลง ประเทศที่อยู่ในระหว่างกำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาล้าหลัง จะมีปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจนอกระบบมาก มีมาเฟียมาก หลายประเทศเวลานี้ขึ้นไปยังแกะเรื่องมาเฟียไม่ออก แต่ของเราวันนี้ดีขึ้นมาก บรรดามาเฟีย นักเลงทั้งหลาย รู้สึกว่าสงบเสงี่ยมขึ้นมาก วันนี้ใครอย่าไปบอกว่า จะต้องดีชั่วข้ามคืน ไม่มีทาง แต่ว่าวันนี้ทำมาขนาดนี้ ผมว่ามันดีขึ้นมาก ผมไม่ได้เข้าข้างตัวเอง ผมว่าประชาชนรู้
สิ่งที่ผมจะทำอีกเรื่องหนึ่ง เพราะกำลังจะเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่จะใช้เลือกตั้ง เป็นนโยบายที่ดีมาก เป็นนโยบายที่ยิ่งกว่านักประชาธิปไตยทั้งหลายจะเข้าใจได้ เขาเรียกว่า Social Democracy เป็นประชาธิปไตยทางสังคมที่ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมาก ประชาชนจะมีความสุขมากในนโยบายนี้ แล้วก็เป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ คือผมเวลาจะให้อะไรกับประชาชนนี้ ผมต้องการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่ประชาชน ให้เขาเริ่มพัฒนาตัวเอง ค่อยๆ เพิ่มสร้างภูมิปัญญา ภูมิคุ้มกันของเขาเองขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วอีกหน่อยเขาก็จะเก่ง นโยบายนี้จะเป็นประโยชน์มากๆ และเป็นนโยบายที่จะมีผลต่อการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
วันนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้เสียสละเวลามาเพื่อจะมาฟัง ออกความคิดเห็นทั้งหลาย ให้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ผมอยากจะขอเตือนท่านก่อนจะคิดอะไร แน่นอน ทุกคนมี Background มาจากตรงไหน อาจจะรู้เรื่องตรงนั้นดี แต่พยายามเปิดใจกว้างเพื่อรับเรื่องทางด้านมิติอื่น นำมาผสมกับมิติของเรา แล้วเราจะเข้าใจอะไรดีขึ้น สิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหา บางทีมันไม่ได้เป็นปัญหา บางครั้งมันก็เป็นปัญหาที่ตัวเราเอง คือถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้า เราไม่เป็นแก้วเต็มน้ำ อะไรก็จะดีขึ้นเยอะ หลายคนที่ไปไหนไม่ได้ไกล เพราะว่าเป็นแก้วเต็มน้ำ ถ้าแก้วไม่เต็มน้ำ ขบวนการที่เรียกว่า Outside in ดีกว่า Inside out เยอะ แต่แน่นอน ต้องใช้ร่วมกัน ทั้ง Outside in และ Inside out Outside in ก็คือรับความคิดเห็นจากภายนอก รับข้อมูลจากภายนอก ประกอบกับสิ่งที่เราคิดอยู่ภายใน เอามาผสมผสานกันแล้วออกมาเป็นความคิด ออกมาเป็นแนวทาง ก็จะทำให้เราเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น แล้วก็ได้มีแนวทางเพื่อแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
วันนี้ก็ต้องขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สศช. ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดงานครั้งนี้ ขอให้การสัมมนาครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวมอย่างเต็มที่ รัฐบาลพร้อมที่จะทำทุกอย่าง สิ่งที่รัฐบาลทำไปแล้วบอกว่าไม่ดี ก็พร้อมที่จะเปลี่ยน ขอให้รู้ว่าสิ่งที่จะเปลี่ยนนั้น ดีกว่าเดิม เราต้อง Change for the Better ได้ทุกเวลา We are ready to change but change must be change for the better ตราบใดที่มีการเปลี่ยน แล้วดีขึ้น ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา อย่าไปขี้เกียจเปลี่ยน อย่าไปกลัวคนด่าว่าเปลี่ยน ถ้าการเปลี่ยนนั้นจะทำให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นผมพร้อมจะเปลี่ยน ถ้าเปลี่ยนวันนี้ พรุ่งนี้แล้วดีกว่าเมื่อวานนี้ แล้วรัฐบาลผมไม่ห่วงเรื่องหน้า ขอให้สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มิติเก่าๆ ที่เข้าใจผมนั้นผิดหมด ต้องอ่านให้รู้ว่า ผมนี้มายืนตรงนี้ มาทำตรงนี้ ก็ต้องการทำให้ประชาชน ให้ประเทศชาติ และพร้อมที่จะเปลี่ยนทุกอย่าง ถ้าการเปลี่ยนนั้น จะทำให้สังคมดีขึ้น ประเทศดีขึ้น ก็ขอขอบคุณในความตั้งใจดีของท่านทุกท่านอีกครั้ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
หันกลับมาพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ ผมมั่นใจว่า จากนี้ไป 5-6 ปี เศรษฐกิจไม่มีปัญหา แต่หลังจากนี้ผมยังห่วงถ้าเราพัฒนาช้า เราตามไม่ทัน ผมเล่าให้คณะรัฐมนตรีฟังว่า ผมเพิ่งกลับจากบราซิล ไปพบกับผู้นำหลายประเทศที่เข้ามาร่วมประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานาธิบดีอุรุกวัยซึ่งคุ้นเคยกันเพราะเจอกันมาหลายงาน ท่านรู้ไหมว่า อุรุกวัยประเทศเล็กๆ อยู่ติดกับบราซิลทางใต้ อุรุกวัยผลิตข้าวได้ปีละล้านตัน และเป็นข้าวเมล็ดยาวที่เรียกว่า Long Grain แล้วบริโภคเองภายในประเทศประมาณ กว่าร้อยละ 20 ส่งขายให้กับบราซิลประมาณ 6-7 แสนกว่าตันต่อปี ซึ่งบราซิลก็ซื้อแพงหน่อยเพราะต้องการช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่ยังยากจนอยู่ และที่อุรุกวัยมีการเลี้ยงแกะเหมือนที่นิวซีแลนด์ มีแกะเยอะกว่าคน
ที่บราซิลผลไม้ที่นำเสิร์ฟในโรงแรมในห้องนอนผมมีมังคุดด้วย ลูกใหญ่กว่ามังคุดไทยแต่รสไม่หวานเท่ามังคุดไทย สิ่งนี้บอกอะไรอย่างหนึ่งคือ ที่เราบอกว่าเราแน่ เราไม่ได้แน่คนเดียว มีคนอื่นแน่ด้วย เพราะฉะนั้น เราต้องพัฒนา เราต้องปรับปรุงตัวเอง เราต้องผลักดันต่อไปอีก ขืนปล่อยไว้อย่างนี้ไม่พอแน่นอน เราต้องพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของเรา ทั้งด้านการบริหารการจัดการ การตลาด เทคโนโลยี และที่สำคัญคือ เรื่องของวัฒนธรรมในการดำรงอยู่ในโลกใหม่ ซึ่งเราจะต้องปรับตัวพอสมควรทีเดียวเพื่อที่จะแข่งขันได้
เราอยู่เฉยๆ อย่างที่หลายคนไม่เข้าใจ นึกว่าอยู่อย่างนี้ดีแล้ว เหมือนกับคนที่เป็นมะเร็งโดยไม่รู้ตัว พอเขาจะจับไปผ่าตัดบอกว่าอยู่อย่างนี้ดี ไม่เป็นไปหรอก เพราะเอ็กซเรย์พบตั้งแต่ต้น พอถึง stage 2 ไม่เป็นไรหรอกอย่าไปทำเลย อย่างนี้ดีแล้ว ไม่ได้หรอก ก็คือมัน dying ต้องพัฒนา ต้องปรับอีกมาก ต้องมองให้รอบด้าน หลายท่านอาจจะไปมองทีละมิติแล้วก็ออกมาวิจารณ์ อย่าลืมว่า การบริหารประเทศมันต้องมองทุกมิติ ต้อง Balance ต้องพยายาม บางอย่างบางกลุ่มอาจจะได้ประโยชน์ บางกลุ่มอาจจะเสียประโยชน์ แต่ต้องบรรเทาความเสียประโยชน์ของบางกลุ่ม แต่ทั้งหมดแล้ว ขอให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ไม่เช่นนั้น มันไม่มีทางที่จะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สมมุติว่า ก้าวไปหนึ่งก้าว ก้าวแรกคนได้ประโยชน์ทั้ง 100 % ไม่มีทาง ถ้าก้าวแรกไปแล้ว คนได้ประโยชน์ 50 % และอีกก้าวหนึ่งจะตามมาอีก 30 % อีกก้าวหนึ่งจะตามมาอีก 20 % ต้องคิดอย่างนั้น แล้วจะต้องก้าวอีกต่อไป
กระจายอำนาจและสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเร่งพัฒนาประเทศ
สิ่งที่เป็นปัญหาอันหนึ่งของเรานั้นคือ เราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ที่งบประมาณไม่ค่อยพอ อย่างวันนี้นักประชาธิปไตยก็จะคิดว่างบกระจายอำนาจ 35 % นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำโดยเร็ว ผมต้องถามก่อนว่า งบประมาณทั้งหมด 70 % เป็นงบประจำ ถ้าไป 35 % แล้ว ถามว่า แล้วจะเอาที่ไหนเป็นเงินเดือน เป็นค่าใช้จ่ายของข้าราชการ และค่าใช้จ่ายประจำ นั่นคือปัญหา
วันนี้แม้กระทั่งงบลงทุนของภาครัฐซึ่งมองประเทศในภาพรวมทั้งหมด ยังมีแค่ 25 % วันนี้งบท้องถิ่นมี 23 % สรุปแล้วว่า ถ้าเอางบประจำออก รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น มีงบที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารใกล้เคียงกัน แล้วยังจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ ถามว่าสร้างถนนซอยกับสร้างถนนยกระดับอันไหนแพงกว่ากัน งบท้องถิ่นคือสร้างถนนซอย สร้างถนนเล็ก งบระดับชาติคือสร้างถนนยกระดับ สร้างทางรถไฟ ต้องใช้เงินมาก อันนี้ไม่ได้แย่งเงินกัน เพียงแต่ว่าอยากให้เงินมากๆ แต่ปัญหาคือว่า ภาษีที่ได้มาและก็จัดงบสมดุลมาได้เพียงเท่านี้ สมมุติถ้าตัดไป โอนกระจายอำนาจไปอย่างเช่น สมมุติตัดโรงเรียนไป ยกโรงเรียนให้ท้องถิ่น โรงเรียนไหน มหาวิทยาลัยไหนอยู่ท้องถิ่นไหน ท้องถิ่นนั้นเป็นคนรับไป เอาทั้งค่าเงินเดือน ทั้งค่าอาจารย์ กับค่าการศึกษาทั้งหมดเอาไป อย่างนี้ถึง 35 % เอาโรงพยาบาลไปด้วย หมอก็ไปขึ้นกับท้องถิ่น แต่ถามว่าไปไหม เพราะทุกคนก็ห่วง Career Path ห่วงเส้นทางดำเนินชีวิตของตัวเอง นี้คือปัญหา นี่คือความจริง ถ้าเราจะแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจความจริง ไม่มีทางแก้ได้
เรื่องที่เป็นห่วงก็คือ เรื่องการแก้ปัญหาความยากจนซึ่งกำลังทำอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องที่ดูเหมือนยาก ก็ยากมาก ดูเหมือนไม่ยาก ก็ไม่น่าจะยากเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กลไกของกระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกที่เข้มแข็ง แต่ว่ากลไกเหล่านี้จะต้องมีเมตตาธรรม และจริยธรรมสูงถึงจะแก้ได้และไม่ยาก
ทีนี้มาดูเรื่องของเงินที่มันไม่พอ เมื่อวานนี้ผมได้ให้การบ้านคนไปทำเรื่องเงินหลายคน เพื่อจะหาทางที่จะเอาเงินมาลงทุน มันเหมือนบ้าน ท่านทั้งหลายส่วนใหญ่ในที่นี้ผ่อนบ้านอยู่ ถามว่าท่านจะรอเก็บเงินให้ครบแล้วค่อยซื้อบ้านเงินสด หรือว่าจะผ่อนเอา ผ่อนวันนี้ท่านก็ได้อยู่วันนี้ แต่ถ้าจะเก็บเงินเอา พอถึงเวลาตอนนั้น ราคาบ้านก็อาจจะวิ่งหนีไปแล้ว ก็ยังไม่มีบ้านอยู่ คนมีบ้านอยู่กับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ ความรู้สึกมันผิดกัน
ประเทศก็เช่นกัน ถามว่า รถไฟฟ้าก็ดี ระบบน้ำก็ดี ถามว่าเราจะค่อยๆ ทำไป หรือควรจะทำทีเดียว นี่คือปัญหาที่จะต้องถามกัน ถ้าจะทำทีเดียวก็ต้องหาเงินมาลงทุนทีเดียว แต่ลงทุนอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้สาธารณะ เพื่อไม่ให้ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเครดิต เรตติ้งทั้งหลาย อันนี้ก็เป็นวิธีที่จะต้องคิด
รัฐต้องลงทุนขยายเศรษฐกิจ-ฟื้นสิ่งแวดล้อมโดยไม่ก่อหนี้สาธารณะ
ทีนี้ท่านทั้งหลาย เราอยู่ในเศรษฐกิจทุนนิยม ถ้าเราไม่อยู่ในเศรษฐกิจทุนนิยม เราก็เจ๊ง แต่เศรษฐกิจทุนนิยมมันบังคับให้เราต้องแข่งขันกันที่เส้นวิ่งเดียวกัน จุดสตาร์ทเดียวกัน แต่กำลังร่างกายแข็งแรง ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางอุ้มคนฐานล่าง ประคองจนให้เขาแข็งแรง แล้วค่อยให้ออกวิ่งเต็มที่ แต่ไม่ใช่ Spoil เพราะฉะนั้นจุดพอดีอยู่ที่ว่าอย่า Spoil ตอนนี้ผมเชื่อว่า ผมมีวิธีการที่จะหาเงินมาลงทุนล่วงหน้าโดยไม่เป็นหนี้สาธารณะได้หลายส่วน เพื่อจะผลักดัน ถ้าไม่เช่นนั้น อีกหน่อยถนนกรุงเทพฯ สร้างเท่าไหร่ก็เป็นที่จอดรถ เกษตรกรทำกินเท่าไหร่ ก็ทำกินไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ เพราะฉะนั้นต้องทำพร้อมกัน สิ่งแวดล้อมปล่อยไว้ก็เละอย่างนี้ เพราะฉะนั้นก็ต้องกล้าลงทุนเพื่อจะเอาสิ่งแวดล้อมคืนมาให้ได้
การลงทุนอย่างนี้ต้องคิดว่า ทำอย่างไรถึงจะหาเงินได้โดยที่ไม่เป็นหนี้สาธารณะ ขณะนี้กำลังคิดโดยใช้เครื่องมือทางการเงินในระบบทุนนิยมที่เราต้องตามให้ทัน คนอื่นเขามาใช้จากเรา คนอื่นเอาความมั่งคั่งของเราไปสร้างความมั่งคั่งของเขา แล้วความมั่งคั่งของเราลดลง วันนี้เราต้องเอาบ้าง จะได้ทันกัน อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องลงทุน มีการขยายเศรษฐกิจอีกมาก
ถามว่า วันนี้ฐานะการเงินการคลังเข้มแข็งไหม เข้มแข็งมาก หนี้สาธารณะลด Reserve ขึ้น หนี้ระยะสั้นลด สัดส่วน Reserve ต่อหนี้ระยะสั้นดีขึ้นมาก วันนี้จริงๆ แล้ว ประเทศไทยเราเป็นประเทศผู้ให้กู้ ไม่ใช่เป็นประเทศผู้กู้ ถ้าเป็นเงินตราต่างประเทศ เราเอาเงิน Reserve บวกกับเงินฝากธนาคารในต่างประเทศ และเอามาหักลบกับหนี้ที่เรากู้ต่างประเทศแล้ว เราเป็นบวก แล้วงบประมาณก้าวเข้าสู่ภาวะสมดุล ความจริงแล้วสมดุลตั้งแต่ปี '47แล้ว เพราะถ้าดูจากประมาณการการเก็บภาษีวันนี้ ปี '47 สมดุลแล้ว เร็วกว่าเป้าหมายไป 4-5 ปี
การส่งออกในวันนี้ก็มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ต่างประเทศก็ดีขึ้นเหมือนกัน แต่ว่าทำอย่างไร การขึ้นนี้ จะ sustain ได้ และการที่เราจะต้องลงทุนในระยะนี้ ต้องนำของเข้ามา ทำอย่างไรถึงจะให้ไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด การขาดดุลชำระเงินทั้งหลายนี้ ก็จะทำให้ Reserve ลด ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่จะต้อง Balance ตลอดเวลา ซึ่งผมพยายามคอยดูอยู่ รัฐบาลจะดันนโยบาย Social Democracy เพื่อแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
สิ่งที่ต้องห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาสังคม ผมเชื่อว่าถ้าประเทศพัฒนาไปถึงจุดหนึ่ง แล้วรักษา Balance ของปัญหาสังคมได้ เศรษฐกิจนอกระบบก็จะเบาลง ประเทศที่อยู่ในระหว่างกำลังพัฒนา หรือประเทศที่พัฒนาล้าหลัง จะมีปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจนอกระบบมาก มีมาเฟียมาก หลายประเทศเวลานี้ขึ้นไปยังแกะเรื่องมาเฟียไม่ออก แต่ของเราวันนี้ดีขึ้นมาก บรรดามาเฟีย นักเลงทั้งหลาย รู้สึกว่าสงบเสงี่ยมขึ้นมาก วันนี้ใครอย่าไปบอกว่า จะต้องดีชั่วข้ามคืน ไม่มีทาง แต่ว่าวันนี้ทำมาขนาดนี้ ผมว่ามันดีขึ้นมาก ผมไม่ได้เข้าข้างตัวเอง ผมว่าประชาชนรู้
สิ่งที่ผมจะทำอีกเรื่องหนึ่ง เพราะกำลังจะเป็นนโยบายของรัฐบาล ที่จะใช้เลือกตั้ง เป็นนโยบายที่ดีมาก เป็นนโยบายที่ยิ่งกว่านักประชาธิปไตยทั้งหลายจะเข้าใจได้ เขาเรียกว่า Social Democracy เป็นประชาธิปไตยทางสังคมที่ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมาก ประชาชนจะมีความสุขมากในนโยบายนี้ แล้วก็เป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ คือผมเวลาจะให้อะไรกับประชาชนนี้ ผมต้องการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่ประชาชน ให้เขาเริ่มพัฒนาตัวเอง ค่อยๆ เพิ่มสร้างภูมิปัญญา ภูมิคุ้มกันของเขาเองขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วอีกหน่อยเขาก็จะเก่ง นโยบายนี้จะเป็นประโยชน์มากๆ และเป็นนโยบายที่จะมีผลต่อการแก้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
วันนี้ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้เสียสละเวลามาเพื่อจะมาฟัง ออกความคิดเห็นทั้งหลาย ให้เป็นประโยชน์ แต่สิ่งที่ผมอยากจะขอเตือนท่านก่อนจะคิดอะไร แน่นอน ทุกคนมี Background มาจากตรงไหน อาจจะรู้เรื่องตรงนั้นดี แต่พยายามเปิดใจกว้างเพื่อรับเรื่องทางด้านมิติอื่น นำมาผสมกับมิติของเรา แล้วเราจะเข้าใจอะไรดีขึ้น สิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหา บางทีมันไม่ได้เป็นปัญหา บางครั้งมันก็เป็นปัญหาที่ตัวเราเอง คือถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้า เราไม่เป็นแก้วเต็มน้ำ อะไรก็จะดีขึ้นเยอะ หลายคนที่ไปไหนไม่ได้ไกล เพราะว่าเป็นแก้วเต็มน้ำ ถ้าแก้วไม่เต็มน้ำ ขบวนการที่เรียกว่า Outside in ดีกว่า Inside out เยอะ แต่แน่นอน ต้องใช้ร่วมกัน ทั้ง Outside in และ Inside out Outside in ก็คือรับความคิดเห็นจากภายนอก รับข้อมูลจากภายนอก ประกอบกับสิ่งที่เราคิดอยู่ภายใน เอามาผสมผสานกันแล้วออกมาเป็นความคิด ออกมาเป็นแนวทาง ก็จะทำให้เราเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น แล้วก็ได้มีแนวทางเพื่อแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
วันนี้ก็ต้องขอบคุณทุกๆ ท่านอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สศช. ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดงานครั้งนี้ ขอให้การสัมมนาครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวมอย่างเต็มที่ รัฐบาลพร้อมที่จะทำทุกอย่าง สิ่งที่รัฐบาลทำไปแล้วบอกว่าไม่ดี ก็พร้อมที่จะเปลี่ยน ขอให้รู้ว่าสิ่งที่จะเปลี่ยนนั้น ดีกว่าเดิม เราต้อง Change for the Better ได้ทุกเวลา We are ready to change but change must be change for the better ตราบใดที่มีการเปลี่ยน แล้วดีขึ้น ต้องเปลี่ยนตลอดเวลา อย่าไปขี้เกียจเปลี่ยน อย่าไปกลัวคนด่าว่าเปลี่ยน ถ้าการเปลี่ยนนั้นจะทำให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นผมพร้อมจะเปลี่ยน ถ้าเปลี่ยนวันนี้ พรุ่งนี้แล้วดีกว่าเมื่อวานนี้ แล้วรัฐบาลผมไม่ห่วงเรื่องหน้า ขอให้สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศ มิติเก่าๆ ที่เข้าใจผมนั้นผิดหมด ต้องอ่านให้รู้ว่า ผมนี้มายืนตรงนี้ มาทำตรงนี้ ก็ต้องการทำให้ประชาชน ให้ประเทศชาติ และพร้อมที่จะเปลี่ยนทุกอย่าง ถ้าการเปลี่ยนนั้น จะทำให้สังคมดีขึ้น ประเทศดีขึ้น ก็ขอขอบคุณในความตั้งใจดีของท่านทุกท่านอีกครั้ง
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-