ในการประชุมของ WTO เพื่อตรวจสอบนโยบายการค้าของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 14 และ 16 มิถุนายน 2547 ประเทศสมาชิก WTO ได้กล่าวถ้อยแถลงชื่นชมสิงคโปร์ว่า มีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าที่ยอดเยี่ยมหากเป็นนักเรียนก็ถือว่าได้เกรด A
ที่ประชุมฯ ซึ่งมีเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO (นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์)ในฐานะประธานองค์กรตรวจสอบนโยบายการค้าสมาชิก WTO ทำหน้าที่ประธาน ได้แสดงความชื่นชมการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสิงคโปร์ โดยนับจากการตรวจสอบนโยบายการค้าสิงคโปร์ครั้งที่แล้ว ในปี 2543 สิงคโปร์ต้องเผชิญอุปสรรค และความท้าทายทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย การระบาดของโรค SARS เหตุการณ์ในตะวันออกกลาง และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สืบเนื่องมาจากที่สิงคโปร์ยังคงมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนยืดหยุ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต การปรับตัวหนีคู่แข่งขันที่มีต้นทุนต่ำ ในทวีปเอเชียโดยเปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ตลอดจนเร่งพัฒนา และให้การฝึกอบรมบุคคลากรในประเทศ
สมาชิก WTO ได้ซักถาม และตั้งข้อสังเกตุต่อการดำเนินนโยบายกาาค้าของสิงคโปร์ เช่นการที่สิงคโปร์ทำ FTA กับหลายประเทศ จะเป็นการจัดกับระบบกาาค้าพหุภาคีของ WTO หรือไม่ ซึ่งสิงคโปร์ชี้แจงว่าการทำ FTA ของสิงคโปร์ ถือว่าเป็นส่วนเสริมกับระบบการค้าพหุภาคี(WTO puls) และสิงคโปร์ให้ความสำคัญต่อ WTO เป็นอันดับแรก ซึ่งที่ประชุมต่างก็ชื่นชมบทบาทของสิงคโปร์โดยเฉพาะรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม(นาย Yeo) ที่ร่วมหาทางประสานให้การเจรจา TRIPS และเกษตรในต WTO
สมาชิกยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น(Government linked corporations)ว่าจะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อบริษัทอื่นๆ เนื่องจากรัฐบาลมีการช่วยเหลือบริษัทเหล่านี้เป็นพิเศษสมาชิกเรียกร้องให้สิงคโปร์ลดการเกี่ยวข้องของรัฐ ซึ่งสิงคโปร์ชี้แจงว่า อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่ผ่านมามีการกระจายกิจการของบริษัทที่รัฐถือหุ้นไปแล้วหลายบริษัท
สิงคโปร์มีการกำหนดมาตรฐาน SPS ของการนำเข้าอาหารเนื้อสัตว์ที่เข้มงวดมากเกินไป และสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศมาก จึงขอให้สิงคโปร์พิจารณาปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
สิงคโปร์ยังมีส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีที่ผูกพัน กับอัตราภาษีที่เรียกเก็บจริงสูงมาก ขอให้ปรับลดความแตกต่างนี้
อย่างไรก็ดี สมาชิกชื่นชมที่สิงคโปร์เปิดเสรีการค้าบริการในหลายสาขา เช่น การสื่อสารธนาคาร และประกันภัย เป็นต้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตในประเทศมาก และขอให้สิงคโปร์พิจารณาเปิดเสรีสาขาอื่นๆเพิ่มเติม เช่นสาขาอาชีพ การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกยังเห็นวาระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าของสิงคโปร์ดีมาก มีการนำระบบ internet มาใช้กระบวนการนำเข้าส่งออกทำให้สะดวก และใช้เวลาสั้นมาก ขอให้ถ่ายทอดประสบการณ์นี้ให้กับสมาชิก
ทั้งนี้ WTO มีกระบวนการตรวจสอบนโยบายการค้าของสมาชิกเป็นระยะ โดยสำหรับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา จะดำเนินการทุก 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาทุก 4 ปี และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทุก 6 ปี ซึ่งในปีนี้ WTO จะมีการตรวจสอบนโยบายกาาค้าของสหภาพยุโรป บราซิล และเกาหลีด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ชพ/พห-
ที่ประชุมฯ ซึ่งมีเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO (นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์)ในฐานะประธานองค์กรตรวจสอบนโยบายการค้าสมาชิก WTO ทำหน้าที่ประธาน ได้แสดงความชื่นชมการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของสิงคโปร์ โดยนับจากการตรวจสอบนโยบายการค้าสิงคโปร์ครั้งที่แล้ว ในปี 2543 สิงคโปร์ต้องเผชิญอุปสรรค และความท้าทายทางเศรษฐกิจหลายประการ เช่น วิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย การระบาดของโรค SARS เหตุการณ์ในตะวันออกกลาง และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สืบเนื่องมาจากที่สิงคโปร์ยังคงมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนยืดหยุ่นเพื่อลดต้นทุนการผลิต การปรับตัวหนีคู่แข่งขันที่มีต้นทุนต่ำ ในทวีปเอเชียโดยเปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ตลอดจนเร่งพัฒนา และให้การฝึกอบรมบุคคลากรในประเทศ
สมาชิก WTO ได้ซักถาม และตั้งข้อสังเกตุต่อการดำเนินนโยบายกาาค้าของสิงคโปร์ เช่นการที่สิงคโปร์ทำ FTA กับหลายประเทศ จะเป็นการจัดกับระบบกาาค้าพหุภาคีของ WTO หรือไม่ ซึ่งสิงคโปร์ชี้แจงว่าการทำ FTA ของสิงคโปร์ ถือว่าเป็นส่วนเสริมกับระบบการค้าพหุภาคี(WTO puls) และสิงคโปร์ให้ความสำคัญต่อ WTO เป็นอันดับแรก ซึ่งที่ประชุมต่างก็ชื่นชมบทบาทของสิงคโปร์โดยเฉพาะรัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม(นาย Yeo) ที่ร่วมหาทางประสานให้การเจรจา TRIPS และเกษตรในต WTO
สมาชิกยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น(Government linked corporations)ว่าจะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อบริษัทอื่นๆ เนื่องจากรัฐบาลมีการช่วยเหลือบริษัทเหล่านี้เป็นพิเศษสมาชิกเรียกร้องให้สิงคโปร์ลดการเกี่ยวข้องของรัฐ ซึ่งสิงคโปร์ชี้แจงว่า อยู่ระหว่างดำเนินการ และที่ผ่านมามีการกระจายกิจการของบริษัทที่รัฐถือหุ้นไปแล้วหลายบริษัท
สิงคโปร์มีการกำหนดมาตรฐาน SPS ของการนำเข้าอาหารเนื้อสัตว์ที่เข้มงวดมากเกินไป และสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศมาก จึงขอให้สิงคโปร์พิจารณาปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
สิงคโปร์ยังมีส่วนต่างระหว่างอัตราภาษีที่ผูกพัน กับอัตราภาษีที่เรียกเก็บจริงสูงมาก ขอให้ปรับลดความแตกต่างนี้
อย่างไรก็ดี สมาชิกชื่นชมที่สิงคโปร์เปิดเสรีการค้าบริการในหลายสาขา เช่น การสื่อสารธนาคาร และประกันภัย เป็นต้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตในประเทศมาก และขอให้สิงคโปร์พิจารณาเปิดเสรีสาขาอื่นๆเพิ่มเติม เช่นสาขาอาชีพ การท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ สมาชิกยังเห็นวาระบบการอำนวยความสะดวกทางการค้าของสิงคโปร์ดีมาก มีการนำระบบ internet มาใช้กระบวนการนำเข้าส่งออกทำให้สะดวก และใช้เวลาสั้นมาก ขอให้ถ่ายทอดประสบการณ์นี้ให้กับสมาชิก
ทั้งนี้ WTO มีกระบวนการตรวจสอบนโยบายการค้าของสมาชิกเป็นระยะ โดยสำหรับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา จะดำเนินการทุก 2 ปี ประเทศกำลังพัฒนาทุก 4 ปี และประเทศพัฒนาน้อยที่สุดทุก 6 ปี ซึ่งในปีนี้ WTO จะมีการตรวจสอบนโยบายกาาค้าของสหภาพยุโรป บราซิล และเกาหลีด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-ชพ/พห-