เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2547 ดร.อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ “พลังแห่งความรู้... ห้องสมุดสุริยานุวัตร” ณ ห้องประชาสังคม อาคาร 4 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นิทรรศการครั้งนี้จัดระหว่างวันที่ 23-24 ธันวาคม ศกนี้
ทั้งนี้ มีผู้ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก อาทิ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.ทนง พิทยะ ประธานกรรมการฯ ปัจจุบัน อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี บรรณารักษ์ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช.
การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองให้ผู้ใช้บริการได้เห็นรูปโฉมและบริการของห้องสมุดในรูปแบบใหม่ที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาสู่การเป็น “ห้องสมุดเสมือน” (Virtual Library) ที่ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ Web ไปยังแหล่งข้อมูลของห้องสมุดอื่น ๆ ที่มีเครือข่ายโยงใยกันทั่วโลก รวมทั้งสามารถค้นคว้าหรืออ่านเอกสารที่ห้องสมุดต่าง ๆ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ห้องสมุด หรือเดินทางไปยังห้องสมุดต่าง ๆ เพียงสืบค้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Web ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามที่ต้องการ เสมือนใช้บริการที่ห้องสมุด
นอกจากนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้น่าใช้บริการมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” (Life Library) มีการบริการด้วยความเป็นกันเอง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมทั้งเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้คนที่ต้องการเพิ่มพูนพลังแห่งความรู้ เพื่อสู่การเป็นแหล่งหนังสือและข้อมูลทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สมบูรณ์แบบและครบถ้วนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ในโอกาสนี้ สศช. ได้นำราชทินนามของพระยาสุริยานุวัตร มาเป็นชื่อของห้องสมุด เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นอนุสรณ์แด่พระยาสุริยานุวัตร โดยท่านเป็นผู้เขียนตำรา “ทรัพย์ศาสตร์” ซึ่งเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย และได้รับการยกย่องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ท่านแรกของประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นเจ้าของเดิมอันเป็นสถานที่ตั้งของ สศช. ในปัจจุบัน
ห้องสมุดที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าว จะตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 4 ซึ่งเป็นอาคารใหม่ล่าสุด ตั้งอยู่ริมถนนหลานหลวง ในระหว่างการพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดเสมือนนั้น ห้องสมุดยังคงเปิดให้บริการด้วยรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Libraly)
ในอนาคต สศช. จะจัดตั้ง “ศูนย์บริการข้อมูล สศช.” (NESDB Information Center) ขึ้น ที่ชั้น 1 อาคารเดียวกัน เพื่อเป็นศูนย์รวมการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งหนังสือ เอกสารงานวิชาการ และงานวิจัยของสำนักงานฯ โดยมุ่งให้บริการแก่หน่วยงานภายนอกและสาธารณชน ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งองค์กรต่างๆ จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการวางแผน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม อันจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนสิงหาคม 2548
สำหรับกิจกรรมในนิทรรศการ ประกอบด้วย การนำเสนอบริการของห้องสมุด ทั้งที่ให้บริการอยู่แล้วในปัจจุบันและในอนาคต มีบริการหลัก ๆ ได้แก่ การจัดแสดงหนังสือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หนังสือที่นายกรัฐมนตรีแนะนำให้อ่าน และหนังสือที่น่าสนใจอื่นๆ รวมทั้งหนังสือทรัพย์ศาสตร์ และแผนฯ 1-9 และ บริการสืบค้นข้อมูล เรียกดูหนังสือของ สศช. ทั้งเล่ม และดูข่าวด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (News Clipping) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตลอดจน บริการวีดิทัศน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และข่าวจาก CNN
นอกจากนี้ มีการแสดงบอร์ดนิทรรศการ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ ห้องสมุดสุริยานุวัตร ชีวประวัติพระยาสุริยานุวัตรและทรัพย์ศาสตร์ ศูนย์บริการข้อมูล สศช. การจัดการความรู้ของ สศช. และเศรษฐกิจพอเพียง
สศช. ยังได้จัดการเสวนา “คุยสบาย สไตล์ Tea-talk” รวม 3 เรื่อง ในวันแรก เสวนาเรื่อง “อ่านหนังสือตามนายกฯ” โดย อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ และ “พูดถึงทรัพย์ศาสตร์... ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย” โดย ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สำหรับวันที่สอง เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง... เดินตามพ่อหลวง” โดย ดร.ธันวา จิตต์สงวน
ในงานมีการจำหน่ายหนังสือราคาถูก ได้แก่ หนังสือของ สศช. ลดราคา 20% และหนังสือจากศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลดราคา 10-20%
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ทั้งนี้ มีผู้ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก อาทิ ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.ทนง พิทยะ ประธานกรรมการฯ ปัจจุบัน อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี บรรณารักษ์ สื่อมวลชน ประชาชนทั่วไป และผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช.
การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองให้ผู้ใช้บริการได้เห็นรูปโฉมและบริการของห้องสมุดในรูปแบบใหม่ที่ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยการพัฒนาสู่การเป็น “ห้องสมุดเสมือน” (Virtual Library) ที่ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ Web ไปยังแหล่งข้อมูลของห้องสมุดอื่น ๆ ที่มีเครือข่ายโยงใยกันทั่วโลก รวมทั้งสามารถค้นคว้าหรืออ่านเอกสารที่ห้องสมุดต่าง ๆ จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่ห้องสมุด หรือเดินทางไปยังห้องสมุดต่าง ๆ เพียงสืบค้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Web ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามที่ต้องการ เสมือนใช้บริการที่ห้องสมุด
นอกจากนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้น่าใช้บริการมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบ “ห้องสมุดมีชีวิต” (Life Library) มีการบริการด้วยความเป็นกันเอง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน รวมทั้งเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้คนที่ต้องการเพิ่มพูนพลังแห่งความรู้ เพื่อสู่การเป็นแหล่งหนังสือและข้อมูลทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สมบูรณ์แบบและครบถ้วนมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ในโอกาสนี้ สศช. ได้นำราชทินนามของพระยาสุริยานุวัตร มาเป็นชื่อของห้องสมุด เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นอนุสรณ์แด่พระยาสุริยานุวัตร โดยท่านเป็นผู้เขียนตำรา “ทรัพย์ศาสตร์” ซึ่งเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย และได้รับการยกย่องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ท่านแรกของประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นเจ้าของเดิมอันเป็นสถานที่ตั้งของ สศช. ในปัจจุบัน
ห้องสมุดที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าว จะตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 4 ซึ่งเป็นอาคารใหม่ล่าสุด ตั้งอยู่ริมถนนหลานหลวง ในระหว่างการพัฒนาสู่การเป็นห้องสมุดเสมือนนั้น ห้องสมุดยังคงเปิดให้บริการด้วยรูปแบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Libraly)
ในอนาคต สศช. จะจัดตั้ง “ศูนย์บริการข้อมูล สศช.” (NESDB Information Center) ขึ้น ที่ชั้น 1 อาคารเดียวกัน เพื่อเป็นศูนย์รวมการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งหนังสือ เอกสารงานวิชาการ และงานวิจัยของสำนักงานฯ โดยมุ่งให้บริการแก่หน่วยงานภายนอกและสาธารณชน ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งองค์กรต่างๆ จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการวางแผน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม อันจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในเดือนสิงหาคม 2548
สำหรับกิจกรรมในนิทรรศการ ประกอบด้วย การนำเสนอบริการของห้องสมุด ทั้งที่ให้บริการอยู่แล้วในปัจจุบันและในอนาคต มีบริการหลัก ๆ ได้แก่ การจัดแสดงหนังสือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หนังสือที่นายกรัฐมนตรีแนะนำให้อ่าน และหนังสือที่น่าสนใจอื่นๆ รวมทั้งหนังสือทรัพย์ศาสตร์ และแผนฯ 1-9 และ บริการสืบค้นข้อมูล เรียกดูหนังสือของ สศช. ทั้งเล่ม และดูข่าวด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (News Clipping) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตลอดจน บริการวีดิทัศน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และข่าวจาก CNN
นอกจากนี้ มีการแสดงบอร์ดนิทรรศการ รวม 5 เรื่อง ได้แก่ ห้องสมุดสุริยานุวัตร ชีวประวัติพระยาสุริยานุวัตรและทรัพย์ศาสตร์ ศูนย์บริการข้อมูล สศช. การจัดการความรู้ของ สศช. และเศรษฐกิจพอเพียง
สศช. ยังได้จัดการเสวนา “คุยสบาย สไตล์ Tea-talk” รวม 3 เรื่อง ในวันแรก เสวนาเรื่อง “อ่านหนังสือตามนายกฯ” โดย อาจารย์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ และ “พูดถึงทรัพย์ศาสตร์... ตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย” โดย ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา สำหรับวันที่สอง เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง... เดินตามพ่อหลวง” โดย ดร.ธันวา จิตต์สงวน
ในงานมีการจำหน่ายหนังสือราคาถูก ได้แก่ หนังสือของ สศช. ลดราคา 20% และหนังสือจากศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลดราคา 10-20%
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-