ไทยเสนอความร่วมมือการค้าแบบหักบัญชี ฟื้นฟูท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน และป้องกันไข้หวัดนก
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ที่เมืองเปกันบารู จังหวัดเรียว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ IMT-GT จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า แผนงาน IMT-GT เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยเน้นบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมเสนอโครงการความร่วมมือทางธุรกิจ การค้า การลงทุนและการบริการ โดยมีภาครัฐสนับสนุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกกับการร่วมมือของภาคเอกชนที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของสภาธุรกิจร่วมภาคเอกชนของ IMT-GT และความก้าวหน้าของคณะทำงาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการพัฒนาจากจุดแรกเริ่ม ด้านการพัฒนาโทรคมนาคม ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการพัฒนาพื้นที่นอกเขตเมืองและการค้าระหว่างพื้นที่ ซึ่งมีความก้าวหน้าที่สำคัญ ได้แก่
ด้านการขนส่งทางทะเล มีการเตรียมเปิดการเดินเรือ Ferry Ro-Ro ระหว่างท่าเรือเบลาวัน-ปีนัง-สตูล/กันตัง และการขนส่งคอนเทนเนอร์ระหว่างกันตังและปีนังทุกสัปดาห์ สำหรับท่าเรือปากบารา จังหวัดตรังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และจะก่อสร้างเสร็จราวปี 2551 ซึ่งจะเป็นท่าเรือที่มีความสัมพันธ์แบบ sister port กับมาเลเซีย รวมทั้งจะผลักดันตรังสู่ความร่วมมือทางธุรกิจ การเดินเรือ และการท่องเที่ยวต่อไป
การขนส่งทางอากาศ มาเลเซียจะลดค่าธรรมเนียมการขึ้นลงของอากาศยาน และค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน จากสายการบินของประเทศสมาชิก เป็นเวลา 2 ปี ตามที่ไทยและอินโดนีเซียได้ลดลงแล้ว
ด้านการค้า มีโครงการภาคเอกชนที่จะจัดตั้งให้มี IMT-GT Plaza ในแต่ละประเทศเป็นศูนย์แสดงและสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในพื้นที่ IMT-GT โดยของประเทศมาเลเซียจะจัดตั้งที่เมืองบูกิตกายูฮิตัม
รองนายกรัฐมนตรี เสนอว่า ประเทศไทยในฐานะหัวหน้าทีมการส่งเสริมความตกลงชำระเงินแบบทวิภาคี (bilateral payment agreement) หรือการค้าหักบัญชี (Account Trade) จะเร่งผลักดันให้ประเทศสมาชิกเร่งรัดหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ประสานงานด้านนี้กับ EXIM Bank ของไทยเพื่อให้มีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนั้นตามที่ประเทศไทยได้จัดให้มีการจับคู่ธุรกิจ (Business matching) โดยการพานักธุรกิจเดินทางไปมาเลเซียและอินโดนีเซียมาแล้วและมีแผนที่จะดำเนินการเพิ่มเติม จึงอยากให้ประเทศสมาชิกจัดโครงการดังกล่าวบ้าง
ด้านการท่องเที่ยว ประเทศไทยและมาเลเซียตกลงจะมีการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเชิญให้อินโดนีเซียพิจารณาเข้าร่วมด้วย
ด้านโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดตั้งเว็บไซด์ www.imt-gt.org เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลต่าง ๆ ของโครงการ IMT-GT ส่วนการส่งเสริมโครงการโรงเรียนพันธมิตรเพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเรียนการสอน ตรงกับแนวทางโครงการโรงเรียนในฝันของประเทศไทยอยู่แล้ว จึงเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกเร่งคัดเลือกโรงเรียนตัวอย่างเข้าร่วมโครงการ
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ขณะนี้อาหารฮาลาลเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ซึ่งมีศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานผลักดันเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพนั้น ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างมีความสนใจเป็นอย่างมากและเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อาหารอาลาล เพื่อตรวจสอบและรับรองอาหารฮาลาล โดยมีหน่วยประสานงาน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Institute Pertanian Bogor (อินโดนีเซีย) และ Universiti Putra Malaysia (มาเลเซีย) ความก้าวหน้าดังกล่าวจะช่วยขยายตลาดอาหารฮาลาลของประเทศสมาชิกโดยเฉพาะของประเทศไทยไปในตลาดโลกซึ่งมีโอกาสอยู่อีกมาก
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า ไทยยังได้เสนอโครงการร่วมมืออีกหลายหลายโครงการ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์สอนภาษามาเลย์ โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพด้านการเลี้ยงแพะเพื่อส่งออกในพื้นที่ IMT-GT การส่งเสริมการเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นต้น ประเทศไทยเสนอให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ครอบคลุมถึงเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ที่สามารถช่วยเหลือประเทศสมาชิกได้ และการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ในพื้นที่
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ที่เมืองเปกันบารู จังหวัดเรียว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ IMT-GT จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า แผนงาน IMT-GT เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยเน้นบทบาทของภาคเอกชนในการร่วมเสนอโครงการความร่วมมือทางธุรกิจ การค้า การลงทุนและการบริการ โดยมีภาครัฐสนับสนุนด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกกับการร่วมมือของภาคเอกชนที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอของสภาธุรกิจร่วมภาคเอกชนของ IMT-GT และความก้าวหน้าของคณะทำงาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการค้าและการพัฒนาจากจุดแรกเริ่ม ด้านการพัฒนาโทรคมนาคม ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านการพัฒนาพื้นที่นอกเขตเมืองและการค้าระหว่างพื้นที่ ซึ่งมีความก้าวหน้าที่สำคัญ ได้แก่
ด้านการขนส่งทางทะเล มีการเตรียมเปิดการเดินเรือ Ferry Ro-Ro ระหว่างท่าเรือเบลาวัน-ปีนัง-สตูล/กันตัง และการขนส่งคอนเทนเนอร์ระหว่างกันตังและปีนังทุกสัปดาห์ สำหรับท่าเรือปากบารา จังหวัดตรังอยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียด และจะก่อสร้างเสร็จราวปี 2551 ซึ่งจะเป็นท่าเรือที่มีความสัมพันธ์แบบ sister port กับมาเลเซีย รวมทั้งจะผลักดันตรังสู่ความร่วมมือทางธุรกิจ การเดินเรือ และการท่องเที่ยวต่อไป
การขนส่งทางอากาศ มาเลเซียจะลดค่าธรรมเนียมการขึ้นลงของอากาศยาน และค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน จากสายการบินของประเทศสมาชิก เป็นเวลา 2 ปี ตามที่ไทยและอินโดนีเซียได้ลดลงแล้ว
ด้านการค้า มีโครงการภาคเอกชนที่จะจัดตั้งให้มี IMT-GT Plaza ในแต่ละประเทศเป็นศูนย์แสดงและสั่งซื้อสินค้าที่ผลิตในพื้นที่ IMT-GT โดยของประเทศมาเลเซียจะจัดตั้งที่เมืองบูกิตกายูฮิตัม
รองนายกรัฐมนตรี เสนอว่า ประเทศไทยในฐานะหัวหน้าทีมการส่งเสริมความตกลงชำระเงินแบบทวิภาคี (bilateral payment agreement) หรือการค้าหักบัญชี (Account Trade) จะเร่งผลักดันให้ประเทศสมาชิกเร่งรัดหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ประสานงานด้านนี้กับ EXIM Bank ของไทยเพื่อให้มีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น นอกจากนั้นตามที่ประเทศไทยได้จัดให้มีการจับคู่ธุรกิจ (Business matching) โดยการพานักธุรกิจเดินทางไปมาเลเซียและอินโดนีเซียมาแล้วและมีแผนที่จะดำเนินการเพิ่มเติม จึงอยากให้ประเทศสมาชิกจัดโครงการดังกล่าวบ้าง
ด้านการท่องเที่ยว ประเทศไทยและมาเลเซียตกลงจะมีการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยเชิญให้อินโดนีเซียพิจารณาเข้าร่วมด้วย
ด้านโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดตั้งเว็บไซด์ www.imt-gt.org เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลต่าง ๆ ของโครงการ IMT-GT ส่วนการส่งเสริมโครงการโรงเรียนพันธมิตรเพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเรียนการสอน ตรงกับแนวทางโครงการโรงเรียนในฝันของประเทศไทยอยู่แล้ว จึงเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกเร่งคัดเลือกโรงเรียนตัวอย่างเข้าร่วมโครงการ
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เห็นว่า ขณะนี้อาหารฮาลาลเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ซึ่งมีศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานผลักดันเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพนั้น ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างมีความสนใจเป็นอย่างมากและเห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อาหารอาลาล เพื่อตรวจสอบและรับรองอาหารฮาลาล โดยมีหน่วยประสานงาน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Institute Pertanian Bogor (อินโดนีเซีย) และ Universiti Putra Malaysia (มาเลเซีย) ความก้าวหน้าดังกล่าวจะช่วยขยายตลาดอาหารฮาลาลของประเทศสมาชิกโดยเฉพาะของประเทศไทยไปในตลาดโลกซึ่งมีโอกาสอยู่อีกมาก
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า ไทยยังได้เสนอโครงการร่วมมืออีกหลายหลายโครงการ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์สอนภาษามาเลย์ โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาชีพด้านการเลี้ยงแพะเพื่อส่งออกในพื้นที่ IMT-GT การส่งเสริมการเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นต้น ประเทศไทยเสนอให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ครอบคลุมถึงเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ที่สามารถช่วยเหลือประเทศสมาชิกได้ และการพัฒนาพลังงานทางเลือกที่มีอยู่ในพื้นที่
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-