1. ความเป็นมา
1.1 โครงการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ สศช. ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาเอเซีย ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และกำหนดเสร็จโครงการเดือนกรกฎาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
2) เพื่อพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
4) เพื่อพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง
1.2 ผลการดำเนินงานโครงการ ธนาคารพัฒนาเอเซียได้ว่าจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วยคณะที่ปรึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาในเขตขยายของเมืองใน 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่หัวหิน-ชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีเป็นพื้นที่ศึกษานำร่องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สัมภาษณ์หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของการพัฒนารวมถึงผู้นำชุมชน และประชาชนที่สนใจแสดงข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษา รวมตลอดทั้งยังได้รับความร่วมมือจากจังหวัดในพื้นที่ศึกษาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาโครงการระดับจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งสถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ความเห็นเสนอแนะต่อผลการศึกษาด้วย
ปัจจุบันการดำเนินงานการศึกษามาถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ซึ่งที่ปรึกษาจะได้สังเคราะห์และประมวลผลการศึกษาในพื้นที่นำร่องทั้ง 3 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้นพร้อมทั้งจัดทำเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย (National Directions for Urban Sustainability in Thailand in the Future)
2. วัตถุประสงค์การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่าง หน่วยงาน องค์กร ภาคีดำเนินงานพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนจากภาครัฐภาคเอกชน ประชาสังคม รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้านได้แลกเปลี่ยนความรู้แสดงความคิดเห็น และเสนอข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันนโยบาย ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมายที่เชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาสังคมจังหวัดและองค์กรเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะที่ปรึกษาโครงการนำร่องพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ สื่อมวลชน และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิลาว เวียดนาม กัมพูชา
4. กำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
วันศุกร์ที่ 23 กรกฏาคม 2547 โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามกำหนดการประชุมดังแนบ
5. รูปแบบการประชุม
ช่วงเช้า เปิดการประชุมโดยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ประเด็นท้าทายการวางแผนพัฒนาเมืองในประเทศไทยและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนการนำเสนอผลการศึกษา เรื่อง ทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย และการนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่ส่วนขยายตัวของเมืองในอนาคต ใน 3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ชะอำ-หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอแนวความคิดด้านการพัฒนาเมืองในอนาคตในบริบทต่างๆ อาทิ แรงขับเคลื่อนของการสร้างงานและการพัฒนาเมืองในอนาคต การพัฒนาและฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมของเมืองในอนาคต เป็นต้นและการนำเสนอแนวความคิดด้านการบริหารการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย ผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเซีย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (RUDF) กระทรวงการคลัง โดยเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไปเป็นระยะๆ ตลอดการประชุม
6. งบประมาณ
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ใช้งบประมาณปี 2547 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
2) พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง
3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1.1 โครงการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ สศช. ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากธนาคารพัฒนาเอเซีย ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 และกำหนดเสร็จโครงการเดือนกรกฎาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
2) เพื่อพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
4) เพื่อพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง
1.2 ผลการดำเนินงานโครงการ ธนาคารพัฒนาเอเซียได้ว่าจ้างที่ปรึกษาประกอบด้วยคณะที่ปรึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และได้คัดเลือกพื้นที่ศึกษาในเขตขยายของเมืองใน 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพื้นที่หัวหิน-ชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์-เพชรบุรีเป็นพื้นที่ศึกษานำร่องทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล สัมภาษณ์หน่วยงาน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของการพัฒนารวมถึงผู้นำชุมชน และประชาชนที่สนใจแสดงข้อคิดเห็นต่อผลการศึกษา รวมตลอดทั้งยังได้รับความร่วมมือจากจังหวัดในพื้นที่ศึกษาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาโครงการระดับจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน หน่วยงานหลักๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งสถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ความเห็นเสนอแนะต่อผลการศึกษาด้วย
ปัจจุบันการดำเนินงานการศึกษามาถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ซึ่งที่ปรึกษาจะได้สังเคราะห์และประมวลผลการศึกษาในพื้นที่นำร่องทั้ง 3 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้นพร้อมทั้งจัดทำเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย (National Directions for Urban Sustainability in Thailand in the Future)
2. วัตถุประสงค์การประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย ให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่าง หน่วยงาน องค์กร ภาคีดำเนินงานพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนจากภาครัฐภาคเอกชน ประชาสังคม รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้านได้แลกเปลี่ยนความรู้แสดงความคิดเห็น และเสนอข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการผลักดันนโยบาย ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
3. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมายที่เชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 150 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาสังคมจังหวัดและองค์กรเอกชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะที่ปรึกษาโครงการนำร่องพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ สื่อมวลชน และผู้แทนจากประเทศเพื่อนบ้าน อาทิลาว เวียดนาม กัมพูชา
4. กำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
วันศุกร์ที่ 23 กรกฏาคม 2547 โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามกำหนดการประชุมดังแนบ
5. รูปแบบการประชุม
ช่วงเช้า เปิดการประชุมโดยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หลังจากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ประเด็นท้าทายการวางแผนพัฒนาเมืองในประเทศไทยและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตลอดจนการนำเสนอผลการศึกษา เรื่อง ทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคตของประเทศไทย และการนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่ส่วนขยายตัวของเมืองในอนาคต ใน 3 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่ชะอำ-หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ช่วงบ่าย เป็นการนำเสนอแนวความคิดด้านการพัฒนาเมืองในอนาคตในบริบทต่างๆ อาทิ แรงขับเคลื่อนของการสร้างงานและการพัฒนาเมืองในอนาคต การพัฒนาและฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมของเมืองในอนาคต เป็นต้นและการนำเสนอแนวความคิดด้านการบริหารการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองในอนาคต โดยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย ผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเซีย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (RUDF) กระทรวงการคลัง โดยเปิดให้มีการอภิปรายทั่วไปเป็นระยะๆ ตลอดการประชุม
6. งบประมาณ
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ใช้งบประมาณปี 2547 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากธนาคารพัฒนาเอเซีย
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดการพัฒนากระบวนการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
2) พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ส่วนขยายของเมือง
3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-