สศช.ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย จัดทำตัวชี้วัดและดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดแรกของประเทศไทยเสร็จแล้ว จัดการสัมมนาและรายงานสถานการณ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อ 29 กรกฎาคม 2547 ณ องค์การสหประชาชาติ
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการฯ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ได้พยายามปรับจากแนวคิดหลักของบริบทโลกให้มีความเหมาะสมกับบริบทไทย โดยยึดพื้นฐานแนวคิดจาก "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การพัฒนาทั้งสามมิติจะต้องเกื้อกูลและไม่เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพและแข่งขันได้ จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยาวนาน ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป
นอกจากนี้ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพคนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการบริหารจัดการทรัพยากรและผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มีการปลูกฝังค่านิยมของคนไทยให้มีความพอเพียงและพึ่งตนเองได้ ทั้งยังให้ความสำคัญต่อการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยมาใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูล สามารถปรับตัวรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงบนฐานของสังคมแห่งความรู้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และสังคมไทยเกิดสันติสุขตลอดไป
การสัมมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดแรกของประเทศไทย รวม 23 ตัวชี้วัด ซึ่งสามารถสะท้อนการพัฒนาที่แสดงถึงลักษณะการมีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ และสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของไทย โดยผ่านการคัดเลือกและเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา แบ่งเป็นตัวชี้วัดมิติเศรษฐกิจ 9 ตัว อาทิ ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม การใช้พลังงานต่อจีดีพี และอัตราการว่างงานรวม ตัวชี้วัดมิติสังคม 7 ตัว อาทิ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด และดัชนีการมีส่วนร่วม และ ตัวชี้วัดมิติสิ่งแวดล้อม 7 ตัว อาทิ สัดส่วนพื้นที่ป่าต่อพื้นที่ประเทศ สัดส่วนพื้นที่ป่าชายเลน และสัดส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานถึงสถานการณ์การพัฒนาโดยใช้ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดนี้เป็นตัวบ่งชี้ ซึ่งสรุปได้ว่า ภาพรวมการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยอยู่ในระดับร้อยละ 57.7 ในปี 42 และปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 64.3 ในปี 46 โดยมิติด้านเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 76.4 ในปี 45 เป็นร้อยละ 79.1 ในปี 46 ส่วนมิติด้านสังคมปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 62.8 เป็นร้อยละ 65.4 ในช่วงเวลาเดียวกัน และมิติด้านสิ่งแวดล้อมยังคงยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือ ร้อยละ 48.6
“ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นตัวที่บอกสานภาพและระดับของการพัฒนาให้รู้ว่าประเทศไทยของเราเป็นอย่างไร ซึ่ง สศช. จะพัฒนาต่อไป และจะมีการรายงานผลการพัฒนาโดยดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนทุก ๆ ปีเป็นอย่างน้อย” เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการฯ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ได้พยายามปรับจากแนวคิดหลักของบริบทโลกให้มีความเหมาะสมกับบริบทไทย โดยยึดพื้นฐานแนวคิดจาก "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มีดุลยภาพ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การพัฒนาทั้งสามมิติจะต้องเกื้อกูลและไม่เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมีคุณภาพและแข่งขันได้ จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยาวนาน ใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้เป็นฐานการผลิตของระบบเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป
นอกจากนี้ ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพคนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยการบริหารจัดการทรัพยากรและผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม มีการปลูกฝังค่านิยมของคนไทยให้มีความพอเพียงและพึ่งตนเองได้ ทั้งยังให้ความสำคัญต่อการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยมาใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเกื้อกูล สามารถปรับตัวรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงบนฐานของสังคมแห่งความรู้ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาที่มีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ อันจะนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และสังคมไทยเกิดสันติสุขตลอดไป
การสัมมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดแรกของประเทศไทย รวม 23 ตัวชี้วัด ซึ่งสามารถสะท้อนการพัฒนาที่แสดงถึงลักษณะการมีดุลยภาพทั้ง 3 มิติ และสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาของไทย โดยผ่านการคัดเลือกและเกณฑ์มาตรฐานการประเมินของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา แบ่งเป็นตัวชี้วัดมิติเศรษฐกิจ 9 ตัว อาทิ ประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม การใช้พลังงานต่อจีดีพี และอัตราการว่างงานรวม ตัวชี้วัดมิติสังคม 7 ตัว อาทิ จำนวนปีที่ได้รับการศึกษา อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด และดัชนีการมีส่วนร่วม และ ตัวชี้วัดมิติสิ่งแวดล้อม 7 ตัว อาทิ สัดส่วนพื้นที่ป่าต่อพื้นที่ประเทศ สัดส่วนพื้นที่ป่าชายเลน และสัดส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานถึงสถานการณ์การพัฒนาโดยใช้ดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดนี้เป็นตัวบ่งชี้ ซึ่งสรุปได้ว่า ภาพรวมการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยอยู่ในระดับร้อยละ 57.7 ในปี 42 และปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 64.3 ในปี 46 โดยมิติด้านเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 76.4 ในปี 45 เป็นร้อยละ 79.1 ในปี 46 ส่วนมิติด้านสังคมปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 62.8 เป็นร้อยละ 65.4 ในช่วงเวลาเดียวกัน และมิติด้านสิ่งแวดล้อมยังคงยู่ในระดับเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คือ ร้อยละ 48.6
“ดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นตัวที่บอกสานภาพและระดับของการพัฒนาให้รู้ว่าประเทศไทยของเราเป็นอย่างไร ซึ่ง สศช. จะพัฒนาต่อไป และจะมีการรายงานผลการพัฒนาโดยดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนทุก ๆ ปีเป็นอย่างน้อย” เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-