เมื่อวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2547 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเพื่อจัดทำกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย (Joint Development Strategy for Border Areas : JDS) ณ กระทรวงการต่างประเทศ
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เลขาธิการหน่วยงานวางแผนของมาเลเซีย ได้เข้าร่วมประชุมและลงนามร่วม ในการจัดทำกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 9 สาขา ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การค้าการลงทุน การเงินการคลัง การท่องเที่ยว การเกษตร ด้านพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษา ด้านวัฒนธรรมและการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และความร่วมมือในการบรรเทาสาธารณภัย มีสาระสำคัญ ดังนี้
- เป้าหมายของกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือ คือ การจัดเตรียมแผนงานระยะสั้นที่สามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อพัฒนาพื้นที่พรมแดน 5 จังหวัดภาคใต้ร่วมกับ 4 รัฐตอนเหนือของมาเลเซีย โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง หรือต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบในส่วนของแผนงานของประเทศของตนที่ได้จัดทำร่วมกัน
- โครงการหลักๆ ได้แก่ การเปิดจุดเชื่อมโยงใหม่ของ 2 ประเทศเพิ่มอีก 2 จุด ได้แก่
1. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกเชื่อมบ้านบูเก๊ะตา ใน อ.แว้ง จ.นราธิวาส กับบ้านบูเก๊ะบุหงา ของรัฐกลันตัน ค่าก่อสร้างสะพาน 80 ล้านบาท ลงมือก่อสร้างต้นปี 2548 ใช้เวลา 1 ปี และจะสร้างด่านศุลกากร/ตรวจคนเข้าเมือง/ด่านกักกันโรคพืชและสัตว์ด้วย โดยด่านนี้จะอยู่ห่างจากด่านสุไหงโกลกไปทางตะวันตก 27 ก.ม.
2. โครงการก่อสร้างเมืองใหม่โกตาปุตรา สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร / บันเทิงของมาเลเซียที่บ้านดุเรียนบุหรง ซึ่งติดพรมแดนไทยที่บ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา โดยฝ่ายไทยจะวางแผนพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องในส่วนฟากพรมแดนไทยที่บ้านประกอบด้วย
- โครงการศึกษาความเหมาะสม / ฝึกอบรม / แลกเปลี่ยนดูงานและลงทุนธุรกิจอื่นๆ โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในเรื่องการพัฒนาด้านเกษตร ทรัพยากรมนุษย์ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว อาทิ การตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การร่วมมือเพาะพืชผักดอกไม้ การร่วมลงทุนตั้งอุตสาหกรรมอาหารและยางพารา การฝึกอบรมภาษา การร่วมจัดธุรกิจท่องเที่ยว การฝึกแรงงาน และการแข่งขันกีฬา
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศและ สศช. จะได้จัดประชุมชี้แจงกรอบโครงร่างแผนงานความร่วมมือพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ จากนั้นกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายในฐานะประธานคณะกรรมการร่วม JDS จะนำกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือดังกล่าวเสนอให้นายกรัฐมนตรีของสองประเทศพิจารณาและให้ความเห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าวต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เลขาธิการหน่วยงานวางแผนของมาเลเซีย ได้เข้าร่วมประชุมและลงนามร่วม ในการจัดทำกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 9 สาขา ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การค้าการลงทุน การเงินการคลัง การท่องเที่ยว การเกษตร ด้านพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษา ด้านวัฒนธรรมและการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และความร่วมมือในการบรรเทาสาธารณภัย มีสาระสำคัญ ดังนี้
- เป้าหมายของกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือ คือ การจัดเตรียมแผนงานระยะสั้นที่สามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อพัฒนาพื้นที่พรมแดน 5 จังหวัดภาคใต้ร่วมกับ 4 รัฐตอนเหนือของมาเลเซีย โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันออกค่าใช้จ่ายคนละครึ่ง หรือต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบในส่วนของแผนงานของประเทศของตนที่ได้จัดทำร่วมกัน
- โครงการหลักๆ ได้แก่ การเปิดจุดเชื่อมโยงใหม่ของ 2 ประเทศเพิ่มอีก 2 จุด ได้แก่
1. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกเชื่อมบ้านบูเก๊ะตา ใน อ.แว้ง จ.นราธิวาส กับบ้านบูเก๊ะบุหงา ของรัฐกลันตัน ค่าก่อสร้างสะพาน 80 ล้านบาท ลงมือก่อสร้างต้นปี 2548 ใช้เวลา 1 ปี และจะสร้างด่านศุลกากร/ตรวจคนเข้าเมือง/ด่านกักกันโรคพืชและสัตว์ด้วย โดยด่านนี้จะอยู่ห่างจากด่านสุไหงโกลกไปทางตะวันตก 27 ก.ม.
2. โครงการก่อสร้างเมืองใหม่โกตาปุตรา สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร / บันเทิงของมาเลเซียที่บ้านดุเรียนบุหรง ซึ่งติดพรมแดนไทยที่บ้านประกอบ อ.นาทวี จ.สงขลา โดยฝ่ายไทยจะวางแผนพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องในส่วนฟากพรมแดนไทยที่บ้านประกอบด้วย
- โครงการศึกษาความเหมาะสม / ฝึกอบรม / แลกเปลี่ยนดูงานและลงทุนธุรกิจอื่นๆ โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในเรื่องการพัฒนาด้านเกษตร ทรัพยากรมนุษย์ การค้าการลงทุน การท่องเที่ยว อาทิ การตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การร่วมมือเพาะพืชผักดอกไม้ การร่วมลงทุนตั้งอุตสาหกรรมอาหารและยางพารา การฝึกอบรมภาษา การร่วมจัดธุรกิจท่องเที่ยว การฝึกแรงงาน และการแข่งขันกีฬา
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศและ สศช. จะได้จัดประชุมชี้แจงกรอบโครงร่างแผนงานความร่วมมือพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ จากนั้นกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่ายในฐานะประธานคณะกรรมการร่วม JDS จะนำกรอบโครงร่างแผนความร่วมมือดังกล่าวเสนอให้นายกรัฐมนตรีของสองประเทศพิจารณาและให้ความเห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าวต่อไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-