1. การเจรจา FTA
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเจรจา FTA แต่มีความคืบหน้าในการประสานเตรียมการ ดังนี้
1.1 ไทย-นิวซีแลนด์ ได้จัดประชุมเตรียมการเรื่องการเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะมีการประชุมเจรจาครั้งแรก ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2547 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) ระดับพิกัดศุลกากร ที่ประชุมเห็นว่าควรใช้ระดับพิกัดศุลกากร 6/7 หลักในการเจรจา เนื่องจากเป็นระดับพิกัดที่ไทยใช้อยู่และครอบคลุมรายการสินค้ามากกว่าพิกัด 8 หลักที่นิวซีแลนด์ใช้อยู
2) รูปแบบการลดภาษี (Modality) ที่ประชุมเห็นด้วยกับกรอบการลดภาษี ดังนี้
- สินค้าที่มีภาษีศูนย์อยู่แล้วให้คงภาษีศูนย์ไว้
- สินค้ารายการที่เหลือสำหรับนิวซีแลนด์ให้มีเวลาทยอยปรับลดภาษี 3 ปี และเหลือศูนย์ในปีที่ 4 นับจากปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนไทยให้มีเวลาทยอยปรับลดภาษี 5 ปี และเหลือศูนย์ในปีที่ 6 นับจากปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- สินค้าอ่อนไหว ของนิวซีแลนด์ให้มีระยะเวลาการลดที่ยาวกว่า แต่ไม่เกิน 10 ปี ส่วนของไทยจะลดภาษีสินค้าอ่อนไหวให้เหลือศูนย์ภายใน 10 ปีสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม และ 15-20 ปีสำหรับ สินค้าเกษตร
1.2 ไทย-ญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเตรียมการเรื่องการเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) ที่ประชุมเห็นว่าควรจะจัดเตรียม Initial Offer ของไทยไว้ให้พร้อม เพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีในเชิงรุก โดยรูปแบบ (Format) ในการยื่น Initial Offer จะคล้ายกับของญี่ปุ่นเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบ Offers ระหว่างกันได้สะดวก โดยจะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
- HS Number ใช้พิกัดศุลกากร 6 หลัก (6 HS digit number)
2. การทำความเข้าใจกับสาธารณชน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้ WTO และ FTA" ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2547 ที่จังหวัดนครนครนายก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากกลุ่มเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ หอการค้าจังหวัด นักวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ในพื้นที่ภาคกลางจำนวน 150 คน การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่สาระสำคัญและความคืบหน้าของการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ของ WTO และความคืบหน้าการเจรจา FTA รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อกำหนดเป็นท่าทีเบื้องต้นของไทยในการเจรจาเปิดเสรี สินค้าเกษตรสำคัญของภาคกลาง อาทิ ข้าว อ้อย น้ำตาล สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ โคเนื้อ สุกร สินค้านม) วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ผักและผลไม้สดและแปรรูป
นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับเชิญให้ไปชี้แจงข้อมูลและเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเจรจา FTA ของไทยแก่คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ในคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายติดตามการปฏิบัติราชการ ซึ่งมีประเด็นที่เป็นข้อกังวลของผู้เข้าร่วมรับฟัง อาทิ ความโปร่งใสในการเจรจาและเตรียมการ การศึกษาผลกระทบและมาตรการรองรับ เช่น การเปิดเสรีจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเจรจา FTA แต่มีความคืบหน้าในการประสานเตรียมการ ดังนี้
1.1 ไทย-นิวซีแลนด์ ได้จัดประชุมเตรียมการเรื่องการเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะมีการประชุมเจรจาครั้งแรก ระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2547 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) ระดับพิกัดศุลกากร ที่ประชุมเห็นว่าควรใช้ระดับพิกัดศุลกากร 6/7 หลักในการเจรจา เนื่องจากเป็นระดับพิกัดที่ไทยใช้อยู่และครอบคลุมรายการสินค้ามากกว่าพิกัด 8 หลักที่นิวซีแลนด์ใช้อยู
2) รูปแบบการลดภาษี (Modality) ที่ประชุมเห็นด้วยกับกรอบการลดภาษี ดังนี้
- สินค้าที่มีภาษีศูนย์อยู่แล้วให้คงภาษีศูนย์ไว้
- สินค้ารายการที่เหลือสำหรับนิวซีแลนด์ให้มีเวลาทยอยปรับลดภาษี 3 ปี และเหลือศูนย์ในปีที่ 4 นับจากปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนไทยให้มีเวลาทยอยปรับลดภาษี 5 ปี และเหลือศูนย์ในปีที่ 6 นับจากปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- สินค้าอ่อนไหว ของนิวซีแลนด์ให้มีระยะเวลาการลดที่ยาวกว่า แต่ไม่เกิน 10 ปี ส่วนของไทยจะลดภาษีสินค้าอ่อนไหวให้เหลือศูนย์ภายใน 10 ปีสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม และ 15-20 ปีสำหรับ สินค้าเกษตร
1.2 ไทย-ญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเตรียมการเรื่องการเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2547 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) ที่ประชุมเห็นว่าควรจะจัดเตรียม Initial Offer ของไทยไว้ให้พร้อม เพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีในเชิงรุก โดยรูปแบบ (Format) ในการยื่น Initial Offer จะคล้ายกับของญี่ปุ่นเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบ Offers ระหว่างกันได้สะดวก โดยจะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่
- HS Number ใช้พิกัดศุลกากร 6 หลัก (6 HS digit number)
2. การทำความเข้าใจกับสาธารณชน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดสัมมนาและประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเจรจาสินค้าเกษตรภายใต้ WTO และ FTA" ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2547 ที่จังหวัดนครนครนายก โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากกลุ่มเกษตรกร ชุมนุมสหกรณ์ หอการค้าจังหวัด นักวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ในพื้นที่ภาคกลางจำนวน 150 คน การสัมมนามีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่สาระสำคัญและความคืบหน้าของการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ของ WTO และความคืบหน้าการเจรจา FTA รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อกำหนดเป็นท่าทีเบื้องต้นของไทยในการเจรจาเปิดเสรี สินค้าเกษตรสำคัญของภาคกลาง อาทิ ข้าว อ้อย น้ำตาล สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ โคเนื้อ สุกร สินค้านม) วัตถุดิบอาหารสัตว์ (ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ผักและผลไม้สดและแปรรูป
นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับเชิญให้ไปชี้แจงข้อมูลและเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเจรจา FTA ของไทยแก่คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ในคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายติดตามการปฏิบัติราชการ ซึ่งมีประเด็นที่เป็นข้อกังวลของผู้เข้าร่วมรับฟัง อาทิ ความโปร่งใสในการเจรจาและเตรียมการ การศึกษาผลกระทบและมาตรการรองรับ เช่น การเปิดเสรีจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-