1. การเจรจา FTA
1.1 อาเซียน-เกาหลี ได้มีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ อาเซียน-เกาหลี (The ASEAN-Korea Experts Group Meeting) ครั้งที่ 4 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ร่างผลการศึกษา FTA อาเซียน-เกาหลี ที่ประชุมได้พิจารณาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่างผลการศึกษาที่เสนอโดยฝ่ายเกาหลีในส่วนของวิธีในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับเกาหลีซึ่งประกอบด้วย การเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า และการหารือกลไกในการระงับข้อพิพาท
- ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ได้มอบให้ Korea Institute for International Economic Policy (KIEP) เป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้ แต่ KIEP ได้ขอเลื่อนกำหนดเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้ Global Trade Analysis (GTAP Model) และ Computable General Equilibrium (CGE) ออกไปเป็นวันที่ 26 กรกฎาคม 2547
- ที่ประชุมพิจารณาร่างบทสรุปสำหรับผู้บริหารเพื่อแนบท้ายรายงานผลการศึกษา โดยจะเสนอต่อที่ประชุม AEM ณ กรุงจาการ์ตา ในเดือนกันยายน ศกนี้
- กำหนดการประชุมครั้งต่อไป จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2547 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
1.2 การประชุมคณะทำงาน ACCICG ภายใต้ ASEAN-CER การประชุมคณะทำงาน ACCICG ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายน 2547 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อพิจารณาร่างเอกสารที่จะขอความเห็นชอบจาก AEM เพื่อให้ผู้นำประกาศเริ่มต้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ Statement หรือ Declaration โดยเอกสารดังกล่าวจะกล่าวถึงหลักการและวัตถุประสงค์ในการจัดทำ FTA และกำหนดวันที่ประเทศสมาชิกจะเริ่มเจรจา FTA ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นชอบในกรอบเจรจาแล้ว สำหรับประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงได้ อาทิ การเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีความตกลง FTA ได้ โดย มาเลเซียยังไม่ยอมรับหลักการนี้ ขณะที่สิงคโปร์มีข้อกังวลว่าหลักการนี้อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่อง free-rider หากประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งหมดเช่นเดียวกับสมาชิกเดิมที่มีอยู่ นอกจากนี้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสนอให้ประเทศสมาชิกเริ่มเจรจา โดยไม่ต้องมีการจัดทำกรอบความตกลง (Framework Agreement) ในลักษณะเดียวกับความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีที่ได้จัดทำกับประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ขณะที่อาเซียนมีท่าทีที่ชัดเจนว่าต้องการให้มีการจัดทำกรอบความตกลง เช่นเดียวกับ ความตกลงอาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-เกาหลี เพื่อกำหนด รูปแบบ แนวทาง และหัวข้อการเจรจาในแต่ละครั้ง และในการเจรจากรอบความตกลงไม่ควรใช้เวลานานมาก ในเบื้องต้นนี้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่ขัดข้องที่จะเจรจากรอบความตกลงก่อน
1.3 การเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของคณะผู้แทนไทย คณะผู้แทนไทยนำโดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจ (Joint Committee on Trade Investment and Economic Cooperation: JC) ครั้งที่ 1 ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2547 โดยในการประชุมทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเกษตร โดยในด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าขึ้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดการเปิดเสรีระหว่างกันภายใต้กรอบ อาเซียน-จีน รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้าให้หมดไป
2. การเตรียมการ ไทย-สหรัฐฯ
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดคณะเจรจาไทย-สหรัฐฯ ในระดับเทคนิค พบกับคณะเจรจาการค้าของออสเตรเลีย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐฯ ในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การเปิดตลาดสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งทอ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การเปิดตลาดภาคบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และนโยบายการแข่งขันระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2547 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย การหารือกับออสเตรเลียทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและแนวทางการเจรจาของออสเตรเลียและสหรัฐฯ รวมถึงท่าทีของสหรัฐฯ ในเรื่องต่างๆ ซึ่งประเมินได้ว่า สหรัฐฯ ไม่มีความ ยืดหยุ่นในการเจรจามากนัก โดยจะอ้างถึง mandate ภายใต้ Trade Promotion Authority (TPA) และ ข้อตกลง FTA ที่สหรัฐฯ สรุปผลการเจรจากับประเทศอื่นๆ แล้ว เช่น ชิลี สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศลาติน อเมริกากลาง ทั้งนี้ การเจรจากับสหรัฐฯ มีความเข้มข้นมากในช่วงสุดท้าย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องตกลงในประเด็นอ่อนไหวต่างๆ ให้ได้ เช่นเรื่องยาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โสตทัศนูปกรณ์ น้ำตาล และผลิตภัณฑ์นม โดยระดับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ออสเตรเลีย เห็นว่าข้อตกลง FTA ระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ ค่อนข้างมีความสมดุล ถึงแม้สหรัฐฯ จะถอนสินค้าน้ำตาลออกจากการเจรจาก็ตาม ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าเกษตรที่สำคัญอื่นๆ เช่น เนื้อวัวและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังสามารถเจรจาปกป้องผลประโยชน์ในสาขาเรื่อง กฎระเบียบเกี่ยวกับการวางตลาดสินค้ายา และการคุ้มครองลิขสิทธิ์และสัญญาณดาวเทียม ตลอดจนมาตรการในการบังคับใช้สิทธิ เป็นต้น
การเจรจาระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี เนื่องจากระดับการพัฒนาของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน และออสเตรเลียก็มีระดับการเปิดเสรีค่อนช้างลึกอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในการเจรจากับสหรัฐฯ มากนัก
3. การทำความเข้าใจกับสาธารณชน
3.1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดสัมมนาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-เม็กซิโก เมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมไทยที่มีศักยภาพทางการค้าและการลงทุนกับเม็กซิโกประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร อัญมณี ผ้าผืน น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และท่องเที่ยว และสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
- โดยรวมแล้วการเปิดเสรีทางการค้ากับเม็กซิโกจะให้ประโยชน์ต่อประเทศไทย เพราะไทยเกินดุลการค้ากับเม็กซิโก ดังนั้น เมื่อมีการลดภาษีนำเข้า ไทยจะได้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่า
- ประโยชน์ทางอ้อม จากการใช้เม็กซิโกเป็นประตูเข้าตลาดสหรัฐฯ อาจเป็นไปได้ยากในอุตสาหกรรมหลักๆ แต่อาจมีโอกาสในบางอุตสาหกรรม
- สินค้าที่น่าจะให้ประโยชน์สูงน่าจะเป็นด้านอาหารและการท่องเที่ยว
- การจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้านั้นบริษัทเอกชนในกลุ่ม อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีการปรับตัวและรูปแบบในการดำเนินการค้า มิฉะนั้นประเทศไทยอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควร
- มาตรการด้านการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญในการรองรับการเปิดเสรีทางด้านการค้า
- การเปิดเสรีการค้าของเม็กซิโกเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับไทยซึ่งกำลังใช้นโยบายการค้ามาเป็นหัวหอกของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย
3.2 กระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงรายละเอียดและเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลีย รวมทั้งตอบข้อซักถามและประเด็นที่เป็นข้อกังวลต่างๆ อาทิ ผลกระทบการเปิดเสรีในสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม การเปิดตลาดเสรีโทรคมนาคมที่ ออสเตรเลียเปิดตลาดให้กับไทย ความตกลงคุ้มครองการลงทุน เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
1.1 อาเซียน-เกาหลี ได้มีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ อาเซียน-เกาหลี (The ASEAN-Korea Experts Group Meeting) ครั้งที่ 4 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ร่างผลการศึกษา FTA อาเซียน-เกาหลี ที่ประชุมได้พิจารณาและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่างผลการศึกษาที่เสนอโดยฝ่ายเกาหลีในส่วนของวิธีในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับเกาหลีซึ่งประกอบด้วย การเปิดเสรี การอำนวยความสะดวก ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า และการหารือกลไกในการระงับข้อพิพาท
- ในการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ได้มอบให้ Korea Institute for International Economic Policy (KIEP) เป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้ แต่ KIEP ได้ขอเลื่อนกำหนดเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้ Global Trade Analysis (GTAP Model) และ Computable General Equilibrium (CGE) ออกไปเป็นวันที่ 26 กรกฎาคม 2547
- ที่ประชุมพิจารณาร่างบทสรุปสำหรับผู้บริหารเพื่อแนบท้ายรายงานผลการศึกษา โดยจะเสนอต่อที่ประชุม AEM ณ กรุงจาการ์ตา ในเดือนกันยายน ศกนี้
- กำหนดการประชุมครั้งต่อไป จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2547 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
1.2 การประชุมคณะทำงาน ACCICG ภายใต้ ASEAN-CER การประชุมคณะทำงาน ACCICG ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 16-17 มิถุนายน 2547 ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อพิจารณาร่างเอกสารที่จะขอความเห็นชอบจาก AEM เพื่อให้ผู้นำประกาศเริ่มต้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียน ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ Statement หรือ Declaration โดยเอกสารดังกล่าวจะกล่าวถึงหลักการและวัตถุประสงค์ในการจัดทำ FTA และกำหนดวันที่ประเทศสมาชิกจะเริ่มเจรจา FTA ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นชอบในกรอบเจรจาแล้ว สำหรับประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงได้ อาทิ การเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีความตกลง FTA ได้ โดย มาเลเซียยังไม่ยอมรับหลักการนี้ ขณะที่สิงคโปร์มีข้อกังวลว่าหลักการนี้อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่อง free-rider หากประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งหมดเช่นเดียวกับสมาชิกเดิมที่มีอยู่ นอกจากนี้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสนอให้ประเทศสมาชิกเริ่มเจรจา โดยไม่ต้องมีการจัดทำกรอบความตกลง (Framework Agreement) ในลักษณะเดียวกับความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีที่ได้จัดทำกับประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ ขณะที่อาเซียนมีท่าทีที่ชัดเจนว่าต้องการให้มีการจัดทำกรอบความตกลง เช่นเดียวกับ ความตกลงอาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-เกาหลี เพื่อกำหนด รูปแบบ แนวทาง และหัวข้อการเจรจาในแต่ละครั้ง และในการเจรจากรอบความตกลงไม่ควรใช้เวลานานมาก ในเบื้องต้นนี้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ไม่ขัดข้องที่จะเจรจากรอบความตกลงก่อน
1.3 การเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของคณะผู้แทนไทย คณะผู้แทนไทยนำโดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจ (Joint Committee on Trade Investment and Economic Cooperation: JC) ครั้งที่ 1 ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2547 โดยในการประชุมทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งประกอบด้วย ความร่วมมือทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเกษตร โดยในด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าขึ้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเร่งรัดการเปิดเสรีระหว่างกันภายใต้กรอบ อาเซียน-จีน รวมทั้งขจัดปัญหาอุปสรรคทางการค้าให้หมดไป
2. การเตรียมการ ไทย-สหรัฐฯ
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดคณะเจรจาไทย-สหรัฐฯ ในระดับเทคนิค พบกับคณะเจรจาการค้าของออสเตรเลีย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐฯ ในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การเปิดตลาดสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งทอ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การเปิดตลาดภาคบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และนโยบายการแข่งขันระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2547 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย การหารือกับออสเตรเลียทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมและแนวทางการเจรจาของออสเตรเลียและสหรัฐฯ รวมถึงท่าทีของสหรัฐฯ ในเรื่องต่างๆ ซึ่งประเมินได้ว่า สหรัฐฯ ไม่มีความ ยืดหยุ่นในการเจรจามากนัก โดยจะอ้างถึง mandate ภายใต้ Trade Promotion Authority (TPA) และ ข้อตกลง FTA ที่สหรัฐฯ สรุปผลการเจรจากับประเทศอื่นๆ แล้ว เช่น ชิลี สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศลาติน อเมริกากลาง ทั้งนี้ การเจรจากับสหรัฐฯ มีความเข้มข้นมากในช่วงสุดท้าย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องตกลงในประเด็นอ่อนไหวต่างๆ ให้ได้ เช่นเรื่องยาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โสตทัศนูปกรณ์ น้ำตาล และผลิตภัณฑ์นม โดยระดับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ออสเตรเลีย เห็นว่าข้อตกลง FTA ระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ ค่อนข้างมีความสมดุล ถึงแม้สหรัฐฯ จะถอนสินค้าน้ำตาลออกจากการเจรจาก็ตาม ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าเกษตรที่สำคัญอื่นๆ เช่น เนื้อวัวและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น นอกจากนั้น ออสเตรเลียยังสามารถเจรจาปกป้องผลประโยชน์ในสาขาเรื่อง กฎระเบียบเกี่ยวกับการวางตลาดสินค้ายา และการคุ้มครองลิขสิทธิ์และสัญญาณดาวเทียม ตลอดจนมาตรการในการบังคับใช้สิทธิ เป็นต้น
การเจรจาระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี เนื่องจากระดับการพัฒนาของทั้งสองประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน และออสเตรเลียก็มีระดับการเปิดเสรีค่อนช้างลึกอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในการเจรจากับสหรัฐฯ มากนัก
3. การทำความเข้าใจกับสาธารณชน
3.1 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดสัมมนาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-เม็กซิโก เมื่อวันที่ 21กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมไทยที่มีศักยภาพทางการค้าและการลงทุนกับเม็กซิโกประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร อัญมณี ผ้าผืน น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ และท่องเที่ยว และสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
- โดยรวมแล้วการเปิดเสรีทางการค้ากับเม็กซิโกจะให้ประโยชน์ต่อประเทศไทย เพราะไทยเกินดุลการค้ากับเม็กซิโก ดังนั้น เมื่อมีการลดภาษีนำเข้า ไทยจะได้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่า
- ประโยชน์ทางอ้อม จากการใช้เม็กซิโกเป็นประตูเข้าตลาดสหรัฐฯ อาจเป็นไปได้ยากในอุตสาหกรรมหลักๆ แต่อาจมีโอกาสในบางอุตสาหกรรม
- สินค้าที่น่าจะให้ประโยชน์สูงน่าจะเป็นด้านอาหารและการท่องเที่ยว
- การจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้านั้นบริษัทเอกชนในกลุ่ม อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องมีการปรับตัวและรูปแบบในการดำเนินการค้า มิฉะนั้นประเทศไทยอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควร
- มาตรการด้านการลงทุนเป็นเรื่องสำคัญในการรองรับการเปิดเสรีทางด้านการค้า
- การเปิดเสรีการค้าของเม็กซิโกเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับไทยซึ่งกำลังใช้นโยบายการค้ามาเป็นหัวหอกของนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย
3.2 กระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงรายละเอียดและเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและออสเตรเลีย รวมทั้งตอบข้อซักถามและประเด็นที่เป็นข้อกังวลต่างๆ อาทิ ผลกระทบการเปิดเสรีในสินค้านมและผลิตภัณฑ์นม การเปิดตลาดเสรีโทรคมนาคมที่ ออสเตรเลียเปิดตลาดให้กับไทย ความตกลงคุ้มครองการลงทุน เป็นต้น
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-