ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2002 ผู้นำไทยและนิวซีแลนด์เห็นชอบให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (CEP) ระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาสาระหลักของการศึกษาร่วมฯ ได้แล้ว
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน และกฏเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ มาตรการสุขอนามัย อุปสรรคเทคนิคต่อการค้า
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะเจรจา เพื่อประชุมเต็มคณะ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเจรจาในรายละเอียด
แนวทางการเจรจา
- ใช้ข้อตกลง Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) เป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจา
แผนการเจรจา
- จะมีการเจรจาประมาณ 5 ครั้ง และกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาในช่วงการประชุมผู้นำเอเปคที่ชิลี ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2004
สถานะล่าสุด
- ได้มีการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2547 ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ โดยผลการเจรจาเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย สามารถกำหนดกรอบและขอบเขตการเจรจาในหลายๆเรื่อง โดยการเจรจาแบ่งออกเป็น 12 กลุ่มย่อย มีประเด็นที่สามารถตกลงกันได้แล้วคือ
1) การเปิดตลาดสินค้า ทั้งสองฝ่ายสามารถกำหนดกรอบการลดภาษี โดยให้ครอบคลุม สินค้าทุกรายการ โดยใช้อัตราภาษี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 และจะให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 และให้มีการยกเลิกภาษีและโควตาให้มากรายการที่สุด เมื่อความตกลงเริ่มมีผลบังคับใช้ ส่วนรายการที่เหลือให้ลดเหลือ 0 ภายใน 5 ปี หรือเร็วกว่า ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวบางรายการ มีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่า และจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
2) สำหรับในเรื่องอื่นๆ ที่ยังมีข้อแตกต่าง หรือยังไม่ชัดเจน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และร่างข้อเสนอ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเจรจาในครั้งต่อไป ในส่วนเรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อม นิวซีแลนด์ได้กล่าวก่อนปิดการประชุม แสดงความเห็นว่าในกรอบความตกลง Closer Economic Partnerships (CEP) ควรรวมถึงความร่วมมือด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีการลดหย่อนมาตรฐานดังกล่าวในการดึงดูดการลงทุน เป็นต้น
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 ณ ประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 ตามเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2002 ผู้นำไทยและนิวซีแลนด์เห็นชอบให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น (CEP) ระหว่างไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาสาระหลักของการศึกษาร่วมฯ ได้แล้ว
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน และกฏเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ มาตรการสุขอนามัย อุปสรรคเทคนิคต่อการค้า
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะเจรจา เพื่อประชุมเต็มคณะ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเจรจาในรายละเอียด
แนวทางการเจรจา
- ใช้ข้อตกลง Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) เป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจา
แผนการเจรจา
- จะมีการเจรจาประมาณ 5 ครั้ง และกำหนดเป้าหมายให้สรุปผลการเจรจาในช่วงการประชุมผู้นำเอเปคที่ชิลี ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2004
สถานะล่าสุด
- ได้มีการเจรจาการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 1ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2547 ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ โดยผลการเจรจาเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย สามารถกำหนดกรอบและขอบเขตการเจรจาในหลายๆเรื่อง โดยการเจรจาแบ่งออกเป็น 12 กลุ่มย่อย มีประเด็นที่สามารถตกลงกันได้แล้วคือ
1) การเปิดตลาดสินค้า ทั้งสองฝ่ายสามารถกำหนดกรอบการลดภาษี โดยให้ครอบคลุม สินค้าทุกรายการ โดยใช้อัตราภาษี ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2547 และจะให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 และให้มีการยกเลิกภาษีและโควตาให้มากรายการที่สุด เมื่อความตกลงเริ่มมีผลบังคับใช้ ส่วนรายการที่เหลือให้ลดเหลือ 0 ภายใน 5 ปี หรือเร็วกว่า ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวบางรายการ มีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่า และจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
2) สำหรับในเรื่องอื่นๆ ที่ยังมีข้อแตกต่าง หรือยังไม่ชัดเจน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และร่างข้อเสนอ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเจรจาในครั้งต่อไป ในส่วนเรื่องแรงงานและสิ่งแวดล้อม นิวซีแลนด์ได้กล่าวก่อนปิดการประชุม แสดงความเห็นว่าในกรอบความตกลง Closer Economic Partnerships (CEP) ควรรวมถึงความร่วมมือด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีการลดหย่อนมาตรฐานดังกล่าวในการดึงดูดการลงทุน เป็นต้น
การประชุมครั้งต่อไป กำหนดระหว่างวันที่ 9-11 สิงหาคม 2547 ณ ประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายจะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2547 ตามเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-