แท็ก
การค้าเสรี
ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา - เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2002 ได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย-เปรู
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยมีเป้าหมายเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2015 ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหวจะพิจารณาเป็นรายการไป
กลไกการดำเนินการ
- จัดตั้งคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-เปรู
แนวทางการเจรจา
- ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทยกับเปรู เป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-เปรู โดยครอบคลุมในเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ทั้งในด้านความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ได้แก่ การขนส่งและการท่องเที่ยว ิ
แผนการเจรจา
- เริ่มเจรจาในต้นปี 2004 และเจรจาให้เสร็จภายในกลางปี 2005 มีผลบังคับใช้และเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2015
สถานะล่าสุด
ได้มีการเจรจา FTA ไทย-เปรู ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2004 ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู การเจรจายังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อเสนอและข้อ คิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาสำหรับการเจรจาครั้งต่อไป มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การเปิดตลาดสินค้า
- ภาษี ในการเจรจา Modality ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการลดภาษีในสินค้าทุกรายการ และฝ่ายไทยได้เร่งการลดภาษีให้เร็วขึ้นโดยขอให้เปรูลดภาษีลงเท่ากับที่ตกลงกับกลุ่มประเทศ Andean (ลดภาษีเป็น 0% ทันทีประมาณกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด) ไทยจะลดภาษีให้เปรูเท่ากับที่ไทยให้กับ ASEAN ใน AFTA (ลดภาษีเป็น 0 ทันทีประมาณร้อยละ 60 ของรายการสินค้าทั้งหมด) แต่เปรูไม่สามารถรับได้ ไทยจึงได้ยืนยันขอให้ลดภาษีเป็น 0 ทันที อย่างน้อยร้อยละ 50 ของรายการสินค้าทั้งหมด และครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ด้วย สำหรับส่วนที่เหลือให้ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี สำหรับสินค้าอ่อนไหวให้มีน้อยที่สุดและทยอยลดภาษีภายใน 10 ปี
โดยที่ข้อเสนอของไทยเป็นการเร่งลดภาษีให้เร็วกว่ากรอบความตกลง เปรูจึงต้องนำข้อเสนอของไทยไปพิจารณาในระดับสูงก่อนแจ้งผลให้ฝ่ายไทยทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม เปรูแจ้งว่าจะสามารถลดภาษีเป็น 0 ทันทีประมาณร้อยละ 50-80 ของรายการสินค้าทั้งหมด และขอให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวร้อยละ 5 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะยื่น รายการสินค้าอ่อนไหวก่อนการประชุมครั้งที่ 3
- พิธีการศุลกากร ไทยได้ยื่นร่างความตกลงเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรซึ่งใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และเปรูยอมรับเป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อไป
- Rules of Origin ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันในหลักการทั่วไปที่จะใช้เกณฑ์การผลิตจาก วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด หรือใช้เกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ หรือเกณฑ์สัดส่วนวัตถุดิบ โดยจะรอให้มีการกำหนดรายการสินค้ากันก่อน จึงจะพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
- SPS ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้าน SPS ภายใต้ความตกลง FTA เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาด้าน SPS ระหว่างกัน และจะพิจารณาร่างความตกลงในรายละเอียดต่อไป
- TBT ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินการด้านระบบมาตรฐานและขบวนการทดสอบสินค้ารวมทั้งการออกใบรับรองสินค้าของตน และต่างเสนอร่างความตกลงในเรื่อง TBT ให้อีกฝ่ายพิจารณา โดยร่างของฝ่ายไทยใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการติดต่อแก้ไขร่างและตอบข้อซักถามกันผ่านทาง E-Mail ก่อนการประชุมครั้งต่อไป
2) การค้าบริการและการลงทุน
- การค้าบริการ ไทยเน้นในด้านความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก เพื่อขยายการค้าบริการระหว่างกันก่อน สาขาที่น่าจะร่วมมือกันได้แก่ การขนส่ง และการท่องเที่ยว ขณะที่เปรูต้องการให้รวมสาขา สาธารณสุข และการก่อสร้างด้วย ส่วนเปรูเห็นว่าควรมีการเจรจาเปิดตลาดด้วยวิธี Negative List ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่าหากจะเจรจาเปิดตลาดควรเป็นแบบ Positive List ซึ่งไทยมีประสบการณ์และจะสามารถเสร็จภายในพฤศจิกายนนี้ได้
- การลงทุน เปรูเสนอให้นำเรื่องการคุ้มครองการลงทุนเข้าไว้ในความตกลงด้วย สำหรับการส่งเสริมการลงทุนจะมีความตกลงด้านความร่วมมือระหว่างกัน และเปรูจะพิจารณาข้อเสนอฝ่ายไทยที่จะจัด Investment Road Show ระหว่างการประชุมครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ
3) ประเด็นด้านกฎเกณฑ์
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งพิจารณา Draft Text ที่เปรูเสนอมาก่อนการประชุม ในเรื่อง Dispute Settlement, Transparency, General Exceptions, Institutional Dispositions และ Safeguards แต่ยังไม่มีข้อสรุป ทั้งสองฝ่ายจะได้ติดต่อตอบข้อสงสัยและปรับแก้ไขร่างความตกลงผ่านทาง E-Mail กันต่อไป โดยฝ่ายไทยจะเสนอร่างความตกลง ซึ่งใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ให้ฝ่ายเปรูพิจารณาต่อไป ก่อนการประชุมครั้งที่ 3
4) แผนการเจรจา
ทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะเจรจาให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนพฤศจิกายน 2004 ก่อนการเยือนเปรูของนายกรัฐมนตรี แผนการประชุมทีเหลือมีดังนี้
การประชุมครั้งที่ 3 ประมาณวันที่ 10-13 สิงหาคม 2004 ที่กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งที่ 4 ประมาณวันที่ 12-15 ตุลาคม 2004 ที่กรุงลิมา
การประชุมครั้งที่ 5 ประมาณวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2004 ที่กรุงเทพฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา - เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2002 ได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทย-เปรู
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยมีเป้าหมายเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2015 ยกเว้นสินค้าที่มีความอ่อนไหวจะพิจารณาเป็นรายการไป
กลไกการดำเนินการ
- จัดตั้งคณะเจรจาเขตการค้าเสรีไทย-เปรู
แนวทางการเจรจา
- ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทยกับเปรู เป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-เปรู โดยครอบคลุมในเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ทั้งในด้านความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ได้แก่ การขนส่งและการท่องเที่ยว ิ
แผนการเจรจา
- เริ่มเจรจาในต้นปี 2004 และเจรจาให้เสร็จภายในกลางปี 2005 มีผลบังคับใช้และเป็นเขตการค้าเสรีที่สมบูรณ์ในปี 2015
สถานะล่าสุด
ได้มีการเจรจา FTA ไทย-เปรู ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน 2004 ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู การเจรจายังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อเสนอและข้อ คิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาสำหรับการเจรจาครั้งต่อไป มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การเปิดตลาดสินค้า
- ภาษี ในการเจรจา Modality ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการลดภาษีในสินค้าทุกรายการ และฝ่ายไทยได้เร่งการลดภาษีให้เร็วขึ้นโดยขอให้เปรูลดภาษีลงเท่ากับที่ตกลงกับกลุ่มประเทศ Andean (ลดภาษีเป็น 0% ทันทีประมาณกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมด) ไทยจะลดภาษีให้เปรูเท่ากับที่ไทยให้กับ ASEAN ใน AFTA (ลดภาษีเป็น 0 ทันทีประมาณร้อยละ 60 ของรายการสินค้าทั้งหมด) แต่เปรูไม่สามารถรับได้ ไทยจึงได้ยืนยันขอให้ลดภาษีเป็น 0 ทันที อย่างน้อยร้อยละ 50 ของรายการสินค้าทั้งหมด และครอบคลุมมูลค่าการนำเข้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ด้วย สำหรับส่วนที่เหลือให้ลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี สำหรับสินค้าอ่อนไหวให้มีน้อยที่สุดและทยอยลดภาษีภายใน 10 ปี
โดยที่ข้อเสนอของไทยเป็นการเร่งลดภาษีให้เร็วกว่ากรอบความตกลง เปรูจึงต้องนำข้อเสนอของไทยไปพิจารณาในระดับสูงก่อนแจ้งผลให้ฝ่ายไทยทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม เปรูแจ้งว่าจะสามารถลดภาษีเป็น 0 ทันทีประมาณร้อยละ 50-80 ของรายการสินค้าทั้งหมด และขอให้มีรายการสินค้าอ่อนไหวร้อยละ 5 ของรายการสินค้าทั้งหมด ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะยื่น รายการสินค้าอ่อนไหวก่อนการประชุมครั้งที่ 3
- พิธีการศุลกากร ไทยได้ยื่นร่างความตกลงเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรซึ่งใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย และเปรูยอมรับเป็นพื้นฐานในการเจรจาต่อไป
- Rules of Origin ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันในหลักการทั่วไปที่จะใช้เกณฑ์การผลิตจาก วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด หรือใช้เกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ หรือเกณฑ์สัดส่วนวัตถุดิบ โดยจะรอให้มีการกำหนดรายการสินค้ากันก่อน จึงจะพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
- SPS ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้าน SPS ภายใต้ความตกลง FTA เพื่อให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาด้าน SPS ระหว่างกัน และจะพิจารณาร่างความตกลงในรายละเอียดต่อไป
- TBT ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินการด้านระบบมาตรฐานและขบวนการทดสอบสินค้ารวมทั้งการออกใบรับรองสินค้าของตน และต่างเสนอร่างความตกลงในเรื่อง TBT ให้อีกฝ่ายพิจารณา โดยร่างของฝ่ายไทยใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะมีการติดต่อแก้ไขร่างและตอบข้อซักถามกันผ่านทาง E-Mail ก่อนการประชุมครั้งต่อไป
2) การค้าบริการและการลงทุน
- การค้าบริการ ไทยเน้นในด้านความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก เพื่อขยายการค้าบริการระหว่างกันก่อน สาขาที่น่าจะร่วมมือกันได้แก่ การขนส่ง และการท่องเที่ยว ขณะที่เปรูต้องการให้รวมสาขา สาธารณสุข และการก่อสร้างด้วย ส่วนเปรูเห็นว่าควรมีการเจรจาเปิดตลาดด้วยวิธี Negative List ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่าหากจะเจรจาเปิดตลาดควรเป็นแบบ Positive List ซึ่งไทยมีประสบการณ์และจะสามารถเสร็จภายในพฤศจิกายนนี้ได้
- การลงทุน เปรูเสนอให้นำเรื่องการคุ้มครองการลงทุนเข้าไว้ในความตกลงด้วย สำหรับการส่งเสริมการลงทุนจะมีความตกลงด้านความร่วมมือระหว่างกัน และเปรูจะพิจารณาข้อเสนอฝ่ายไทยที่จะจัด Investment Road Show ระหว่างการประชุมครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ
3) ประเด็นด้านกฎเกณฑ์
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งพิจารณา Draft Text ที่เปรูเสนอมาก่อนการประชุม ในเรื่อง Dispute Settlement, Transparency, General Exceptions, Institutional Dispositions และ Safeguards แต่ยังไม่มีข้อสรุป ทั้งสองฝ่ายจะได้ติดต่อตอบข้อสงสัยและปรับแก้ไขร่างความตกลงผ่านทาง E-Mail กันต่อไป โดยฝ่ายไทยจะเสนอร่างความตกลง ซึ่งใช้แนวเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ให้ฝ่ายเปรูพิจารณาต่อไป ก่อนการประชุมครั้งที่ 3
4) แผนการเจรจา
ทั้งสองฝ่ายมีแผนที่จะเจรจาให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนพฤศจิกายน 2004 ก่อนการเยือนเปรูของนายกรัฐมนตรี แผนการประชุมทีเหลือมีดังนี้
การประชุมครั้งที่ 3 ประมาณวันที่ 10-13 สิงหาคม 2004 ที่กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งที่ 4 ประมาณวันที่ 12-15 ตุลาคม 2004 ที่กรุงลิมา
การประชุมครั้งที่ 5 ประมาณวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2004 ที่กรุงเทพฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-