แท็ก
การค้าเสรี
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2002 ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-บาห์เรน
- วันที่ 29 ธันวาคม 2002 ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทย- บาห์เรน ซึ่งรวมถึง การลดภาษีขั้นต้นก่อน (Early Harvest) จำนวน 626 รายการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ ร้อยละ 0 และร้อยละ 3 และลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005 โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีการแลกเปลี่ยน Notice of Fulfillment ซึ่งขณะนี้รัฐสภาของบาห์เรนกำลังพิจารณาอยู่
กรอบการเจรจา
- ใน Framework Agreement (FA) จะมีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ (1) การลดภาษีก่อน (Early Harvest) (2) ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน (3) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ
กลไกการเจรจา
- ตั้ง Technical Expert Group เพื่อเจรจารายละเอียดของความตกลง
แนวทางการเจรจา
- เจรจาให้มีผลทางปฎิบัติในด้านการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันก่อน ส่วนด้านอื่นๆ จะมีการเจรจารายละเอียดในขั้นต่อไป
แผนการเจรจาิ - เจรจาทุกเรื่องให้เสร็จภายในปี 2004
- Technical Expert Group มีการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม -2 เมษายน 2004 ทั้งสองฝ่ายได้เจรจา
1. แนวทางการลดภาษีสินค้าส่วนที่เหลืออีก ประมาณ 5,000 รายการ โดยแบ่งเป็นสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- Fast Track ประกอบด้วยสินค้าประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด จะลดภาษีลงเหลือ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005
- Normal Track ประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมดและลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2007
- Other Products ประมาณร้อยละ 20 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด และลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010
2. แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการ โดยทั้ง 2 ฝ่านเสนอให้เปิดเสรีในสาขาที่สนใจ คือ บาห์เรนได้เสนอการบริการด้านการเงิน (ธนาคารอิสลาม ธุรกิจหลักทรัพย์ ประกันภัย) โทรคมนาคม ส่วนไทยเสนอสาขาก่อสร้าง บริการด้านสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว และบริการเสริมความงามและผ่อนคลาย (สปา นวดแผนไทยและร้านตัดผม)
ประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรค
- บาห์เรน ขอให้ไทยเปิดการค้าบริการสาขาการเงิน แต่ไทยต้องรอนโยบายหลัก
- บาห์เรนต้องการให้ไทยไปเปิด Exhibition Center/Department Store แต่นักธุรกิจไทยไม่สนใจ
การประชุมครั้งต่อไป
- บาห์เรน จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม TEG ครั้งที่ 6 ประมาณเดือนมิถุนายน 2004
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2002 ผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-บาห์เรน
- วันที่ 29 ธันวาคม 2002 ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทย- บาห์เรน ซึ่งรวมถึง การลดภาษีขั้นต้นก่อน (Early Harvest) จำนวน 626 รายการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ ร้อยละ 0 และร้อยละ 3 และลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005 โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีการแลกเปลี่ยน Notice of Fulfillment ซึ่งขณะนี้รัฐสภาของบาห์เรนกำลังพิจารณาอยู่
กรอบการเจรจา
- ใน Framework Agreement (FA) จะมีสาระสำคัญ 3 ส่วน คือ (1) การลดภาษีก่อน (Early Harvest) (2) ความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน (3) การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ
กลไกการเจรจา
- ตั้ง Technical Expert Group เพื่อเจรจารายละเอียดของความตกลง
แนวทางการเจรจา
- เจรจาให้มีผลทางปฎิบัติในด้านการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันก่อน ส่วนด้านอื่นๆ จะมีการเจรจารายละเอียดในขั้นต่อไป
แผนการเจรจาิ - เจรจาทุกเรื่องให้เสร็จภายในปี 2004
- Technical Expert Group มีการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม -2 เมษายน 2004 ทั้งสองฝ่ายได้เจรจา
1. แนวทางการลดภาษีสินค้าส่วนที่เหลืออีก ประมาณ 5,000 รายการ โดยแบ่งเป็นสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- Fast Track ประกอบด้วยสินค้าประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด จะลดภาษีลงเหลือ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005
- Normal Track ประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมดและลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2007
- Other Products ประมาณร้อยละ 20 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด และลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010
2. แนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการ โดยทั้ง 2 ฝ่านเสนอให้เปิดเสรีในสาขาที่สนใจ คือ บาห์เรนได้เสนอการบริการด้านการเงิน (ธนาคารอิสลาม ธุรกิจหลักทรัพย์ ประกันภัย) โทรคมนาคม ส่วนไทยเสนอสาขาก่อสร้าง บริการด้านสุขภาพ สาขาท่องเที่ยว และบริการเสริมความงามและผ่อนคลาย (สปา นวดแผนไทยและร้านตัดผม)
ประเด็นที่อาจเป็นอุปสรรค
- บาห์เรน ขอให้ไทยเปิดการค้าบริการสาขาการเงิน แต่ไทยต้องรอนโยบายหลัก
- บาห์เรนต้องการให้ไทยไปเปิด Exhibition Center/Department Store แต่นักธุรกิจไทยไม่สนใจ
การประชุมครั้งต่อไป
- บาห์เรน จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม TEG ครั้งที่ 6 ประมาณเดือนมิถุนายน 2004
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-