ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2003 ได้มีการลงนามกรอบความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี ไทย —อินเดีย (FTA Framework Agreement)
กรอบการเจรจา
1) การค้าสินค้า กำหนดให้เปิดเสรีโดยจะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2010
2) การค้าบริการและการลงทุน ให้ทยอยเปิดเสรีในรายสาขาที่มีความพร้อมก่อน โดยจะเริ่มต้นเจรจารายละเอียดตั้งแต่เดือนมกราคม 2004
3) การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme: EHS) จำนวน 84 รายการ ได้แก่ ผลไม้ (เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน) อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณี ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น สำหรับรูปแบบการลดภาษีใช้แบบสัดส่วน (Margin of Preferences: MOP) โดยทยอยลดภาษีลงแต่ละปีในอัตราร้อยละ 50 75 และ 100 ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2004 จนถึง 1 มีนาคม 2006
4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว การสาธารณ-สุข การเงินและการธนาคาร การก่อสร้าง เป็นต้น
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย (India-Thailand Trade Negotiating Committee : TNC) เพื่อเจรจารายละเอียดของการดำเนินการเพื่อเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุน
แผนการเจรจา
- เจรจาการเปิดเสรีสินค้าให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2005
- การค้าบริการ เจรจาให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2005 สำหรับการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เจรจาให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2006
สถานะล่าสุด
- การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2004 ที่พัทยา มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การพิจารณาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
ฝ่ายไทยสามารถโน้มน้าวให้ฝ่ายอินเดียยอมรับและตกลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ในเรื่องนี้ได้เกือบหมด รวมทั้งเรื่องระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Operational Procedures) ด้วย ยกเว้นประเด็นปลีกย่อยเรื่องคำจำกัดความ และมีรายการสินค้าอีกเพียง 5 รายการที่จะต้องตกลงกันให้ได้ (ชิ้นส่วนยานยนต์ ปลาแซลมอนกระป๋อง ส่วนประกอบของโทรศัพท์) โดยปลาแซลมอนกระป๋องไทยเสนอให้มีสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศ 20% แต่อินเดียเสนอให้ใช้ 30% ส่วนสินค้าบอลล์แบริ่งและไฟสัญญาณ อินเดียเสนอหลักเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด 6 หลักและสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศ 50% ในขณะที่ไทยเสนอสัดส่วนวัตถุดิบ 40% ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาในประเด็นที่ยังคงค้างทั้งหมดภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2004
2) แหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสม ฝ่ายอินเดียยอมให้นำมูลค่าวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนจากประเทศคู่สัญญาที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย ภายในประเทศผู้ส่งออกได้ทั้งหมด และถือว่ามีแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศนั้นหากมีมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศคู่สัญญารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
3) ระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Operational Procedures) ทั้งสองฝ่ายสามารถสรุปขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้โดยใช้แนวทางเดียวกับที่ใช้ในเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และกำหนดให้แลกเปลี่ยนตราประทับหน่วยงาน และชื่อพร้อมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกใบรับรองฯ ในการประชุมครั้งต่อไป
4) การจัดทำพิธีสารแก้ไขความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย และการลงนาม ทั้งสองฝ่ายคาดว่าจะสามารถสรุปผลและดำเนินการลดอัตราภาษีสินค้าใน Early Harvest ที่ได้ตกลงกับอินเดียได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งยังคงมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอีกในเรื่องของการ Exchange of Notes การดำเนินการ ขั้นตอนภายในประเทศ และต้องมีการลงนามใน Protocol Amendment กรอบความตกลงในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และวันมีผลบังคับใช้ในการลดภาษีซึ่งล่วงเลยกำหนดในกรอบความตกลงมาแล้วด้วย
การประชุมครั้งต่อไป
- ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2004
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2003 ได้มีการลงนามกรอบความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี ไทย —อินเดีย (FTA Framework Agreement)
กรอบการเจรจา
1) การค้าสินค้า กำหนดให้เปิดเสรีโดยจะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2010
2) การค้าบริการและการลงทุน ให้ทยอยเปิดเสรีในรายสาขาที่มีความพร้อมก่อน โดยจะเริ่มต้นเจรจารายละเอียดตั้งแต่เดือนมกราคม 2004
3) การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme: EHS) จำนวน 84 รายการ ได้แก่ ผลไม้ (เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน) อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณี ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น สำหรับรูปแบบการลดภาษีใช้แบบสัดส่วน (Margin of Preferences: MOP) โดยทยอยลดภาษีลงแต่ละปีในอัตราร้อยละ 50 75 และ 100 ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2004 จนถึง 1 มีนาคม 2006
4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ให้มีการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในสาขาที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว การสาธารณ-สุข การเงินและการธนาคาร การก่อสร้าง เป็นต้น
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าไทย-อินเดีย (India-Thailand Trade Negotiating Committee : TNC) เพื่อเจรจารายละเอียดของการดำเนินการเพื่อเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการและการลงทุน
แผนการเจรจา
- เจรจาการเปิดเสรีสินค้าให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2005
- การค้าบริการ เจรจาให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2005 สำหรับการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เจรจาให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2006
สถานะล่าสุด
- การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2004 ที่พัทยา มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การพิจารณาเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้า
ฝ่ายไทยสามารถโน้มน้าวให้ฝ่ายอินเดียยอมรับและตกลงหลักเกณฑ์ต่างๆ ในเรื่องนี้ได้เกือบหมด รวมทั้งเรื่องระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Operational Procedures) ด้วย ยกเว้นประเด็นปลีกย่อยเรื่องคำจำกัดความ และมีรายการสินค้าอีกเพียง 5 รายการที่จะต้องตกลงกันให้ได้ (ชิ้นส่วนยานยนต์ ปลาแซลมอนกระป๋อง ส่วนประกอบของโทรศัพท์) โดยปลาแซลมอนกระป๋องไทยเสนอให้มีสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศ 20% แต่อินเดียเสนอให้ใช้ 30% ส่วนสินค้าบอลล์แบริ่งและไฟสัญญาณ อินเดียเสนอหลักเกณฑ์การเปลี่ยนพิกัด 6 หลักและสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศ 50% ในขณะที่ไทยเสนอสัดส่วนวัตถุดิบ 40% ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะกลับมาพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาในประเด็นที่ยังคงค้างทั้งหมดภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2004
2) แหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสม ฝ่ายอินเดียยอมให้นำมูลค่าวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนจากประเทศคู่สัญญาที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย ภายในประเทศผู้ส่งออกได้ทั้งหมด และถือว่ามีแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศนั้นหากมีมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศคู่สัญญารวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
3) ระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Operational Procedures) ทั้งสองฝ่ายสามารถสรุปขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติในการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้โดยใช้แนวทางเดียวกับที่ใช้ในเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และกำหนดให้แลกเปลี่ยนตราประทับหน่วยงาน และชื่อพร้อมลายมือชื่อของผู้มีอำนาจออกใบรับรองฯ ในการประชุมครั้งต่อไป
4) การจัดทำพิธีสารแก้ไขความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย และการลงนาม ทั้งสองฝ่ายคาดว่าจะสามารถสรุปผลและดำเนินการลดอัตราภาษีสินค้าใน Early Harvest ที่ได้ตกลงกับอินเดียได้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งยังคงมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอีกในเรื่องของการ Exchange of Notes การดำเนินการ ขั้นตอนภายในประเทศ และต้องมีการลงนามใน Protocol Amendment กรอบความตกลงในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า และวันมีผลบังคับใช้ในการลดภาษีซึ่งล่วงเลยกำหนดในกรอบความตกลงมาแล้วด้วย
การประชุมครั้งต่อไป
- ไทยจะเป็นเจ้าภาพ ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2004
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-