ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2002 นายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้ประกาศให้เริ่มการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง Closer Economic Relations (CER) (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA)
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) FTA : เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุน และ (2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะเจรจา และ Expert Groups เพื่อเจรจาในรายละเอียดเฉพาะเรื่อง
แนวทางเจรจา
- ใช้หลักการต่างตอบแทนที่ให้ผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายและสอดคล้องกับกฎระเบียบของ WTO
- คำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยและออสเตรเลีย ระยะเวลาในการเปิดเสรีควรเร็วกว่าการเปิดเสรีภายใต้กรอบ APEC แต่สำหรับไทยจะไม่เกินกว่าและเร็วกว่า AFTA
- วิธีเจรจา ใช้ Requests/Offers ทั้งสินค้าและบริการ
สถานะล่าสุด
ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลียแล้ว เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2004 ณ กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งความตกลงจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2005 เป็นต้นไป
- สาระสำคัญของความตกลง สรุปได้ ดังนี้
1) การลดภาษีสินค้า ออสเตรเลียเสนอลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 83% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 และ 2015 ส่วนไทยเสนอลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 49% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 ยกเว้นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางรายการที่มีความอ่อนไหว ภาษีจะเหลือ 0% ภายใน 10 15 และ 20 ปี โดยมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) สำหรับสินค้าบางรายการ
2) การค้าบริการและการลงทุน ให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ และเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้า และได้ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้บุคลากรไทยเข้าไปให้บริการ ส่วนไทยเปิดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึง 60% ในปี 2005 สำหรับกิจกรรมย่อยๆ บางประเภท
3) มาตรการสุขอนามัย จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยกำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาที่แน่นอน
4) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ใช้หลัก 1) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) 2) การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) หรือ 3) กำหนดมูลค่าของวัตถุดิบ (Regional Value Content : RVC)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2002 นายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้ประกาศให้เริ่มการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลง Closer Economic Relations (CER) (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA)
กรอบการเจรจา
- ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทุกด้าน การเจรจาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) FTA : เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุน และ (2) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ
กลไกการเจรจา
- จัดตั้งคณะเจรจา และ Expert Groups เพื่อเจรจาในรายละเอียดเฉพาะเรื่อง
แนวทางเจรจา
- ใช้หลักการต่างตอบแทนที่ให้ผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายและสอดคล้องกับกฎระเบียบของ WTO
- คำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยและออสเตรเลีย ระยะเวลาในการเปิดเสรีควรเร็วกว่าการเปิดเสรีภายใต้กรอบ APEC แต่สำหรับไทยจะไม่เกินกว่าและเร็วกว่า AFTA
- วิธีเจรจา ใช้ Requests/Offers ทั้งสินค้าและบริการ
สถานะล่าสุด
ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทย-ออสเตรเลียแล้ว เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2004 ณ กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งความตกลงจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2005 เป็นต้นไป
- สาระสำคัญของความตกลง สรุปได้ ดังนี้
1) การลดภาษีสินค้า ออสเตรเลียเสนอลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 83% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 และ 2015 ส่วนไทยเสนอลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ประมาณ 49% ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือจะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 ยกเว้นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางรายการที่มีความอ่อนไหว ภาษีจะเหลือ 0% ภายใน 10 15 และ 20 ปี โดยมีมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguards) สำหรับสินค้าบางรายการ
2) การค้าบริการและการลงทุน ให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจต่างๆ และเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้า และได้ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้บุคลากรไทยเข้าไปให้บริการ ส่วนไทยเปิดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึง 60% ในปี 2005 สำหรับกิจกรรมย่อยๆ บางประเภท
3) มาตรการสุขอนามัย จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยกำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาที่แน่นอน
4) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ใช้หลัก 1) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly obtained) 2) การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) หรือ 3) กำหนดมูลค่าของวัตถุดิบ (Regional Value Content : RVC)
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-