ความเป็นมา/การดำเนินการ
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 23 ต.ค.2002 ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ณ เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก รมว.พาณิชย์และผู้แทนการค้าสหรัฐ ได้ลงนามใน TIFA ผลการดำเนินการภายใต้ TIFA เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
-เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2003 นายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เห็นชอบร่วมกันให้เริ่มการเจรจา FTA ระหว่างไทย-สหรัฐฯ เจรจาภายในเดือนมิถุนายน 2004
กรอบการเจรจา
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ ครอบคลุมกว้างขวางและมีเป้าหมายขยายการค้าระหว่างกัน (Comprehensive and Commercially Meaningful) ทั้งในเรื่องการค้าสินค้า มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย แหล่งกำเนิดสินค้า สิ่งทอ การค้าบริการ การเงิน การธนาคาร โทรคมนาคม การลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และ e- commerce ฯลฯ
กลไกการดำเนินการ
- จัดตั้งคณะเจรจา และ Expert Group
แผนการเจรจาิ - เริ่มเจรจาประมาณปลายเดือนมิถุนายน และเจรจาประมาณ ปีละ 6-8 ครั้ง และบางครั้งอาจจัดประชุม plenary และการประชุมแยกเป็นคณะทำงานควบคู่กันไป
สถานะล่าสุด
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบแรกเป็นการสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่างๆ ในกรอบการเจรจาลักษณะ Confidence Building
- สหรัฐฯ ได้ยื่น Text ข้อเสนอเรื่อง Services, Finance, Investment, Telecom, E-commerce, Safeguard (Trade remedies, DSU, Government procurement, Transparency และ General Provisions โดยยังไม่มีการเจรจา Text แต่เป็นการซักถาม Clarifications สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา เกษตร SPS สิ่งทอ แรงงานและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีการยื่น Text แต่ได้ยกประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ ในส่วน Science and Technology ไทยได้ยื่น concept paper โดยเน้นในด้านความร่วมมือ
- บรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยดี แต่เห็นได้ชัดเจนว่า แม้สหรัฐฯ พยายามแสดงท่าทีประนีประนอม แต่จะประนีประนอมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันและเรื่องความร่วมมือ ส่วนเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ แล้ว ฝ่ายสหรัฐฯ ยืนกรานท่าทีและข้อเสนอของตนโดยให้เหตุผลว่าเป็นแนวทางที่ใช้ในการเจรจากับคู่ภาคีอื่นๆ หรือเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ใน Trade Promotion Authority เช่น การเจรจาเรื่อง Investment และ Services จะต้องใช้ Negative List Approach และการเจรจา FTA จะต้องรวมเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงาน เป็นต้น ในการเจรจา เรื่องเกษตร ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่าจะรวมสินค้าทุกชนิดรวมทั้งน้ำตาลแต่การตัดสินใจสุดท้ายต้องอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงสุด
- ในระหว่างการเจรจานี้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (นายนิตย์ พิบูลสงคราม) ได้หารือกับฝ่าย สหรัฐฯ เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับ Treaty of Amity ซึ่งระยะเวลาการขอยกเว้น (Waiver) ใน WTO จะหมดอายุลงในวันที่ 1 มกราคม 2005 ซึ่งในชั้นนี้เป็นเพียงการ explore แนวทางต่างๆ เช่น หากไทยยื่นขอขยายเวลาการขอ ยกเว้น สหรัฐฯ จะสนับสนุนไทยใน WTO หรือไม่ ซึ่งทางสหรัฐฯ ไม่รับปาก แต่จะนำไปหารือภายในก่อน
กำหนดการประชุมครั้งต่อไป
- การประชุมครั้งที่ 2 ประมาณกลางเดือนตุลาคม 2004 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ความเป็นมา
- เมื่อวันที่ 23 ต.ค.2002 ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ณ เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก รมว.พาณิชย์และผู้แทนการค้าสหรัฐ ได้ลงนามใน TIFA ผลการดำเนินการภายใต้ TIFA เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
-เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2003 นายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เห็นชอบร่วมกันให้เริ่มการเจรจา FTA ระหว่างไทย-สหรัฐฯ เจรจาภายในเดือนมิถุนายน 2004
กรอบการเจรจา
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ ครอบคลุมกว้างขวางและมีเป้าหมายขยายการค้าระหว่างกัน (Comprehensive and Commercially Meaningful) ทั้งในเรื่องการค้าสินค้า มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย แหล่งกำเนิดสินค้า สิ่งทอ การค้าบริการ การเงิน การธนาคาร โทรคมนาคม การลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และ e- commerce ฯลฯ
กลไกการดำเนินการ
- จัดตั้งคณะเจรจา และ Expert Group
แผนการเจรจาิ - เริ่มเจรจาประมาณปลายเดือนมิถุนายน และเจรจาประมาณ ปีละ 6-8 ครั้ง และบางครั้งอาจจัดประชุม plenary และการประชุมแยกเป็นคณะทำงานควบคู่กันไป
สถานะล่าสุด
- การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบแรกเป็นการสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องต่างๆ ในกรอบการเจรจาลักษณะ Confidence Building
- สหรัฐฯ ได้ยื่น Text ข้อเสนอเรื่อง Services, Finance, Investment, Telecom, E-commerce, Safeguard (Trade remedies, DSU, Government procurement, Transparency และ General Provisions โดยยังไม่มีการเจรจา Text แต่เป็นการซักถาม Clarifications สำหรับทรัพย์สินทางปัญญา เกษตร SPS สิ่งทอ แรงงานและสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีการยื่น Text แต่ได้ยกประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสนใจ ในส่วน Science and Technology ไทยได้ยื่น concept paper โดยเน้นในด้านความร่วมมือ
- บรรยากาศทั่วไปเป็นไปด้วยดี แต่เห็นได้ชัดเจนว่า แม้สหรัฐฯ พยายามแสดงท่าทีประนีประนอม แต่จะประนีประนอมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันและเรื่องความร่วมมือ ส่วนเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ แล้ว ฝ่ายสหรัฐฯ ยืนกรานท่าทีและข้อเสนอของตนโดยให้เหตุผลว่าเป็นแนวทางที่ใช้ในการเจรจากับคู่ภาคีอื่นๆ หรือเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ใน Trade Promotion Authority เช่น การเจรจาเรื่อง Investment และ Services จะต้องใช้ Negative List Approach และการเจรจา FTA จะต้องรวมเรื่องสิ่งแวดล้อมและแรงงาน เป็นต้น ในการเจรจา เรื่องเกษตร ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่าจะรวมสินค้าทุกชนิดรวมทั้งน้ำตาลแต่การตัดสินใจสุดท้ายต้องอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูงสุด
- ในระหว่างการเจรจานี้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (นายนิตย์ พิบูลสงคราม) ได้หารือกับฝ่าย สหรัฐฯ เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับ Treaty of Amity ซึ่งระยะเวลาการขอยกเว้น (Waiver) ใน WTO จะหมดอายุลงในวันที่ 1 มกราคม 2005 ซึ่งในชั้นนี้เป็นเพียงการ explore แนวทางต่างๆ เช่น หากไทยยื่นขอขยายเวลาการขอ ยกเว้น สหรัฐฯ จะสนับสนุนไทยใน WTO หรือไม่ ซึ่งทางสหรัฐฯ ไม่รับปาก แต่จะนำไปหารือภายในก่อน
กำหนดการประชุมครั้งต่อไป
- การประชุมครั้งที่ 2 ประมาณกลางเดือนตุลาคม 2004 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐฯ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-